ปีนี้ทั้งปี ยกให้เป็น Startup Year
นี่คือคำประกาศจาก ดร. พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในงานแถลงข่าวเปิดตัวศูนย์นวัตกรรมเมืองอัจฉริยะ "IOT City Innovation Center" เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2559 ดร. พิเชฐได้เปิดเผยว่าหลากหลายโครงการดีๆเพื่อ Startup จะเกิดขึ้นในปีนี้ และ IOT City Innovation Center ที่ได้เปิดแถลงข่าวในวันนั้น ก็เป็นหนึ่งในโครงการที่ Startup ห้ามพลาด
IOT City Innovation Center หรือ ศูนย์นวัตกรรมเมืองอัจฉริยะ คือพื้นที่พิเศษภายใต้อาคารอุทยานนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาโซลูชั่นสำหรับเมืองอัจฉริยะ (Smart City)
รวมทั้งหมด 170 ล้านบาทต่อปี และจะจัดขึ้นต่อเนื่อง 3 ปี
*Fund ของที่นี่เป็นทุนให้เปล่า
*ทั้งหมดนี้เป็นประโยชน์พิเศษสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจ IOT Smart City โดยเฉพาะ ยังไม่รวมกับโครงการอื่นๆที่มีอีก เช่น Software Dee
IoT Smart City เป็นหนึ่งในแผนการสร้าง Startup District หรือพื้นที่แห่งสตาร์ทอัพขึ้นมา หากถามว่าต่างกับนิคมอุตสาหกรรมอย่างไร งานนี้จะเน้นที่ Technology มากกว่า และเป็นพื้นที่เน้นเพื่อการเรียนรู้/บ่มเพาะมากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับกลุ่ม Startup โดยจะเริ่มนำร่องที่แรกที่ ย่านโยธี-ราชวิถี เขตราชเทวีนี่เอง
นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือในการบ่มเพาะผู้ประกอบการจากหน่วยงานต่างๆ เช่น Dell ซึ่งมีโครงการ Dell OEM อยู่ทั่วโลก อันเป็นการให้การสนับสนุนด้านเทคโนโลยีทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์ แก่ผู้ประกอบการ
ตัวอย่างเช่น ย่านโยธี-ราชวิถี อันเป็นที่ตั้งของอุทยานนวัตกรรม มีองค์ประกอบที่สามารถพัฒนาต่อยอดได้ ดังต่อไปนี้
เทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี เป็นเมืองนำร่อง (Pilot project) สู่การเป็น Smart city ได้มาร่วมแชร์ประสบการณ์ภายในงานแถลงข่าว ตัวอย่างนวัตกรรมที่ได้ทำขึ้นในเทศบาล มีนวัตกรรมด้านสุขภาพ อย่าง IOT wrist band สวมใส่ข้อมือสำหรับผู้สูงอายุ ใช้กดเพื่อเรียกขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานทางการแพทย์ในเทศบาล และกำลังพัฒนาให้มีเซนเซอร์ส่งข้อมูลสัญญาณสุขภาพของผู้สวมใส่ไปยังโรงพยาบาล เป็นต้น
ภายในงานเองยังมีผู้ประกอบการที่ได้เข้าร่วม Pattaya eService สร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อนักท่องเที่ยว เช่น ตู้ Kiosk สำหรับกดใช้บริการ WiFi portal และ CCTV ที่จะช่วยให้มัคคุเทศก์หรือนักท่องเที่ยว ได้รับชมภาพสถานที่ท่องเที่ยวแบบ Real-time ซึ่งมีประโยชน์ต่อการเช็คสภาพสถานที่/สภาพอากาศก่อนการท่องเที่ยว เป็นต้น
อาจกล่าวได้ว่าในระดับโลกนั้นยังไม่มี Startup ด้าน Smart city ที่โดดเด่นชัดเจน จึงเป็นโอกาสอันดีที่ประเทศไทยเราน่าจะรีบทำ สำหรับโครงการนี้คาดการณ์ว่าภายใน 1 ปี จะมีผู้เข้าใช้บริการ 6,000 คน มีผู้เข้าอบรมกว่า 1,000 คน รวมถึงจะมีการสนับสนุนด้านการเงินในขั้นไอเดีย 100 ราย ขั้น Prototype 50 ราย ตั้งเป้าว่าจะเกิดการลงทุนกว่า 1,500 ล้านบาท และจะนำมาสู่มูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 5,000 ล้านบาทต่อปี
ข่าวดีอื่นๆนอกจาก IOT City Innovation Center ที่ได้เปิดเผยคร่าวๆโดยดร. พิเชฐ ได้แก่ การจะจัดให้มี Thailand Startup Expo ที่ใหญ่ที่สุด รวมพล Startup ไทยเอาไว้มากที่สุด รวมถึงเชิญ Startup ต่างประเทศ เช่น จีน ญี่ปุ่น อเมริกา ให้มาเข้าร่วมด้วย ในช่วงปลายเดือนมีนาคม และการจะจัดให้มี Startup District หรือพื้นที่แห่ง Startup ไทยแห่งแรก ซึ่งเล็งไว้เป็นที่สยามสแควร์ แล้วจะต่อไปยังหัวเมืองใหญ่ อย่าง เชียงใหม่ สงขลา โคราช ฟังแล้วน่าตื่นเต้นกับก้าวกระโดดครั้งใหญ่ของวงการ Startup ไทย รอติดตามข่าวเพิ่มเติมได้ที่ Techsauce นะคะ
และสำหรับผู้ที่สนใจข่าวสารเรื่อง IOT Smart City สามารถติดตามได้ในกรุ๊ปเฟสบุ๊ค Thailand IoT Smart Cities ค่ะ
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด