NIA เปิด 3 มาตรการเยียวยา Startup ทุ่มงบ 70 ล้านบาทเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังวิกฤต COVID-19 | Techsauce

NIA เปิด 3 มาตรการเยียวยา Startup ทุ่มงบ 70 ล้านบาทเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังวิกฤต COVID-19

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เผยมาตรการเยียวยา Startup  ธุรกิจนวัตกรรม หลังผ่านวิกฤตไวรัสโควิด – 19 เพื่อช่วยเหลือและฟื้นฟูธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคดังกล่าว ได้แก่ 1.การสนับสนุนด้านเงินทุนให้เปล่าผ่านกลไกหลักของสำนักงานฯ ทั้งในรูปแบบเงินให้เปล่ากว่า 70 ล้านบาท  และร่วมกับสถาบันการเงินในการอนุมัติเงินกู้เงื่อนไขพิเศษ 2.การสร้างตลาดใหม่ 

โดยเฉพาะการผลักดันให้เข้าถึงตลาดจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ พร้อมเปิดพื้นที่ประชาสัมพันธ์เพื่อโปรโมทนวัตกรรมต่าง ๆ ผ่านเพจ Startup Thailand และ 3.การส่งเสริมความรู้ผ่านการจัดหลักสูตรทั้งระดับเยาวชน และ Startup ทั่วไปมากกว่า 10 หลักสูตร ทั้งนี้ เพื่อให้กลุ่มธุรกิจดังกล่าวสามารถดำเนินต่อไปได้ในช่วงสถานการณ์นี้คลี่คลายลง

ดร. พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เปิดเผยว่า “ที่ผ่านมา NIA มีการพัฒนาระบบนิเวศที่เอื้อต่อการเติบโตของ Startup มาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการเงิน การลงทุน การตลาด กฎระเบียบ เครือข่าย รวมถึงการเสนอแนวนโยบายและจัดทำร่างพระราชบัญญัติการพัฒนาและส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้น เพื่อส่งเสริมและสนับสนุน Startup ไทยให้สามารถเติบโตอย่างก้าวกระโดด สำหรับวิกฤตการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ในครั้งนี้ ถือว่าส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมไปทั่วโลก ซึ่ง NIA ได้เตรียมมาตรการเพื่อให้ความช่วยเหลือ และฟื้นฟู Startup ธุรกิจนวัตกรรม หลังวิกฤตผ่านพ้นไป โดยแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 

1. การสนับสนุนด้านเงินทุนให้เปล่าผ่านกลไกหลักของสำนักงาน เพื่อช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้ โดยเบื้องต้นได้สนับสนุนทุนนวัตกรรมไปแล้วกว่า 10 โครงการ คิดเป็นมูลค่าเงินอุดหนุนรวม 39.8 ล้านบาท เช่น สบายดี: แพลตฟอร์มดูแลสุขภาพระหว่างการระบาดของไวรัสโควิด-19 นวัตกรรมบริการสำหรับการขนย้ายผู้ป่วย หรือผู้เสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ระบบบริหารห่วงโซ่อุปสงค์-อุปทานเพื่อรับมือการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 หน้ากากอนามัยชนิดใช้ซ้ำได้ เป็นต้น และยังได้เตรียมงบอุดหนุนแบบให้เปล่าไว้สำหรับช่วงหลังวิกฤตโควิด - 19 อีกกว่า 70 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนวิสาหกิจฐานนวัตกรรมทั้งมิติเศรษฐกิจ และสังคม นอกจากนี้ ยังได้หารือกับสถาบันการเงินหลายแห่ง เช่น ธนาคารออมสิน ธนาคารไทยพาณิชย์ ฯลฯ เพื่ออนุมัติเงินกู้เงื่อนไขพิเศษสำหรับ Startup และเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตไวรัสโควิด 19

2. การสร้างตลาดใหม่และส่งเสริมการเติบโต ด้วยการสร้างโอกาสเข้าถึงตลาดภาครัฐได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น ผ่านโครงการต่างๆ เช่น โครงการจัดซื้อจัดจ้างของตลาดภาครัฐสำหรับวิสาหกิจเริ่มต้น หรือ GPT และ แพลตฟอร์ม “YMID Portal” เป็นต้น ซึ่งในช่วงวิกฤตไวรัสโควิด-19 นี้ก็ได้สร้างโอกาสให้ Startup ที่มีผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์แก้ไขปัญหาดังกล่าวกว่า 12 ราย ได้เข้าไปร่วมทำงานจริงกับเครือข่ายโรงพยาบาลกว่า 9 แห่ง ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีและสามารถขยายโอกาสต่อไปในภาครัฐอื่นได้ นอกจากนี้ NIA ยังเตรียมเปิดพื้นที่ประชาสัมพันธ์ให้ Startup มาโปรโมท   นวัตกรรมดีๆ ผ่านช่องทางเพจ Startup Thailand ซึ่งคาดว่าจะพร้อมให้บริการได้ภายในสิ้นเดือนเมษายนนี้ สำหรับ Startup ที่มีศักยภาพและต้องการก้าวสู่ระดับประเทศหรือระดับนานาชาติมากขึ้น NIA ยังมีเครือข่ายกับบริษัทขนาดใหญ่ เช่น เครือซีพี ไทยยูเนี่ยน สยามคูโบต้า ช.การช่าง ฯลฯ ที่พร้อมจะร่วมลงทุนและผลักดันให้ Startup นั้นได้เติบโตอย่างก้าวกระโดดต่อไป

3.การส่งเสริมความรู้และการพัฒนา Startup ซึ่งที่ผ่านมามีการจัดหลักสูตรอย่างต่อเนื่องทั้งระดับเยาวชน และ Startup ทั่วไป และขณะนี้ได้มีการพัฒนาเข้าสู่ระบบออนไลน์มากขึ้นผ่านสถาบันวิทยาการนวัตกรรม โดยภายในเดือนพฤษภาคมนี้จะมีมากกว่า 10 หลักสูตร และโครงการ Startup Thailand League ที่เน้นไปยังกลุ่มนักศึกษาที่มีความสนใจจะเป็น Startup ซึ่งมีเข้าร่วมกว่า 2000 ราย ดร.พันธุ์อาจ กล่าวสรุป

ทั้งนี้ นอกเหนือจากมาตรการดังกล่าว ยังมีอีกหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐ ธนาคาร และเอกชน ได้เริ่มสนับสนุน Startup และวิสาหกกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาศ เช่น กระทรวงการคลัง NSTDA DEPA ธนาคารออมสิน ธนาคารไทยพาณิชย์ และ Innospace เป็นต้น

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

แอดวานซ์เทค ติดท็อป 5 ‘Best Taiwan Global Brands’ 7 ปีซ้อน ขับเคลื่อน Edge AI ด้วยมูลค่า 2.8 หมื่นล้าน

แอดวานซ์เทค (Advantech Co., Ltd.) ผู้นำด้านอุตสาหกรรม IoT ได้รับการจัดอันดับให้เป็น 1 ใน 5 แบรนด์ชั้นนำระดับโลกของ "2024 Best Taiwan Global Brands" ด้วยมูลค่าแบรนด์ 851 ล้านดอลลาร์...

Responsive image

PLEX MES ก้าวสู่อนาคต ยกระดับอุตสาหกรรมการผลิต ด้วย Smart Manufacturing Solutions

เมื่อวันที่ 3 ธันวาคมที่ผ่านมา วงการอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ด้วยการแนะนำ PLEX MES โซลูชันที่เปรียบเสมือน "สมองดิจิทัล" สำหรับโรงงานยุคใหม่ ระบบนี้ถูกออกแบบ...

Responsive image

ทีทีบี คว้ารางวัลธนาคารที่ดีที่สุดเพื่อลูกค้าธุรกิจ Thailand Best Bank for Corporates

ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) คว้ารางวัล Thailand Best Bank for Corporates จาก Euromoney Awards 2024 ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการสนับสนุนธุรกิจไทยด้วยโซลูชันดิจิทัลและความยั่งยืนผ่านกรอบ B+ESG พร...