Software Park เปิดโครงการบ่มเพาะ ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ (Success) รุ่น 14 ตั้งเป้าศูนย์รวมโอกาสสำหรับธุรกิจไอทีระดับเริ่มต้น | Techsauce

Software Park เปิดโครงการบ่มเพาะ ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ (Success) รุ่น 14 ตั้งเป้าศูนย์รวมโอกาสสำหรับธุรกิจไอทีระดับเริ่มต้น

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย (ซอฟต์แวร์พาร์ค) จัดปฐมนิเทศ “โครงการบ่มเพาะธุรกิจซอฟต์แวร์รุ่นที่ 14 (Success)”

เพื่อแนะนำโครงการและสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการและหน่วยงานพันธมิตรต่างๆ แก่ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์และไอทีกว่า 50 รายที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อให้พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง เกิดการต่อยอดความสำเร็จ และเรียนลัดจากประสบการณ์ของผู้ที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจแล้ว ภายใต้แนวคิดหลัก “แข็งแกร่งอย่างยั่งยืน แบ่งกันรวยช่วยกันโต และพร้อมรับโอกาสดีๆ ในชีวิต” ชี้ที่ผ่านมา โครงการ Success ดำเนินมาแล้ว 3 ปี เกิดผู้ประกอบการไอทีจำนวนมาก สามารถสร้างยอดขายรวมมากกว่า 370 ล้านบาท และมีส่วนในการจ้างงานแล้วกว่า 600 อัตรา พร้อมตั้งเป้าเป็นศูนย์รวมแหล่งโอกาสสำหรับธุรกิจซอฟต์แวร์และไอทีระดับเริ่มต้น

Success_14 (2) นายเฉลิมพล ตู้จินดา ผู้อำนวยการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย (ซอฟต์แวร์พาร์ค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า “โครงการบ่มเพาะผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ รุ่น 14 หรือ Success ในปีนี้ เป็นการรวมกลุ่มของผู้ประกอบการธุรกิจซอฟต์แวร์และ

นวัตกรรมที่มีผลงานออกสู่ตลาดแล้วจำนวนกว่า 50 ราย เพื่อเข้าร่วมบ่มเพาะธุรกิจ โดยศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ ซอฟต์แวร์พาร์ค สวทช. ได้เน้นเรื่องการเพิ่มความรู้ความเข้าใจให้ตรงกับความสามารถของผู้ประกอบการที่จะนำไปสู่การกำหนดทิศทางในการพัฒนาของตนให้ได้ว่าจะเป็นการวางแผนธุรกิจหรือ Startup ประเภทใด เพื่อที่จะมีกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจที่เหมาะสมและเป้าหมายที่ชัดเจน โดยศูนย์บ่มเพาะฯ จะเข้ามาสนับสนุนผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ในหลายกลุ่ม ตั้งแต่กลุ่มที่ยังมีเพียงแนวคิด โดยใช้โครงการเถ้าแก่น้อยเทคโนโลยีเป็นตัวผลักดัน ส่วนกลุ่มที่มีแผนธุรกิจแล้วแต่ยังไม่เกิดออกมาเป็นผลิตภัณฑ์หรือยังอยู่ในช่วงการทดสอบความเป็นไปได้ (proof of concept) จะมีโครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่หรือ NEC เข้ามารองรับ เมื่อผ่านทั้งสองขั้นตอนนี้แล้วหรือเป็นผู้ประกอบการที่มีผลงานออกสู่ตลาดแล้ว จะใช้โครงการ Success เข้ามาบ่มเพาะต่อไป”

นายเฉลิมพล กล่าวต่อว่า “การดำเนินโครงการ Success ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาของซอฟต์แวร์พาร์ค สวทช. มีการสร้างให้เกิดผู้ประกอบการซอฟต์แวร์และนวัตกรรมจำนวนมาก สามารถสร้างยอดขายรวมได้มากกว่า 370 ล้านบาท และมีส่วนในการจ้างงานแล้วกว่า 600 อัตรา ส่วนเป้าหมายยอดขายในปีนี้ทางผู้ประกอบการแต่ละรายที่เข้าร่วมโครงการจะเป็นผู้กำหนดเป้าหมายตนเองร่วมกับพี่เลี้ยง หลังจากนั้นทางซอฟต์แวร์พาร์ค สวทช. จะส่งทีมที่ปรึกษาเข้าประกบเพื่อให้คำปรึกษาตามแผนบ่มเพาะจนสามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ภายในระยะเวลาโครงการ”

“สิ่งที่เพิ่มเติมของโครงการในปีนี้คือ ศูนย์บ่มเพาะฯ จะมีงบสนับสนุนกิจกรรมพิเศษ ให้ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการได้รวมกลุ่มกันคิดกิจกรรมที่ต้องการจะทำร่วมกันเป็นกลุ่ม เช่น สัมมนาดึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เป็นต้น คาดว่าจะทำให้เกิดโอกาสทางธุรกิจมากขึ้น ซึ่งการรวมกลุ่มกันของผู้ประกอบการในโครงการสามารถช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กลุ่มผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการได้เป็นอย่างมาก เช่น การขยายโอกาสไปที่ประเทศลาว อินโดนีเซีย นอกจากนี้ ยังมีการจัดโปรแกรมให้ผู้ประกอบการได้พบกับนักลงทุนหรือ Venture Capital (VC) ในรูปแบบต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศมากขึ้น โดยจะเตรียมการในรูปแบบต่างๆ ที่เหมาะกับความต้องการของกลุ่มเหล่านี้ อีกทั้งหน่วยงานภาครัฐอาจจะมีการปรับปรุงเงื่อนไขในการเข้าถึงแหล่งทุนให้มีความยืดหยุ่นมากกว่าเดิม คาดว่าในกลุ่มนี้จะมีนักลงทุนหลายรายให้ความสนใจในการร่วมทุนและทำธุรกรรมการเงินด้วย”

“จุดสำคัญของโครงการ Success คือเป็นโครงการที่สร้าง Community หรือชุมชนของบริษัทซอฟต์แวร์รุ่นใหม่ที่ใหญ่ที่สุดในเมืองไทย โดยสมาชิกของกลุ่มจะสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกัน ตั้งแต่รวมตัวกันจัดตั้งโซลูชั่น ช่วยกันหาลูกค้า แลกเปลี่ยนเทคโนโลยีระหว่างกัน แลกเปลี่ยนทรัพยากรภายในเครือข่าย เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และงานของลูกค้าให้เสร็จทันเวลา ถือเป็นสังคมของการเกื้อกูลที่พร้อมจะเติบโตไปด้วยกันในอนาคต และเป็นการปิดช่องว่างข้อจำกัดของการเป็นบริษัทซอฟต์แวร์ขนาดเล็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะที่การเจาะตลาดต่างประเทศ ซอฟต์แวร์พาร์ค สวทช.มองเห็นศักยภาพของกลุ่ม Success อย่างมาก โดยจะจัดให้มีกิจกรรมสร้างโอกาสทางธุรกิจทั้งในและต่างประเทศให้มากขึ้น โดยสมาชิกของกลุ่มนี้มีแนวโน้มจับตลาดในระดับโลกมากขึ้น อีกทั้งมีการจ้างแรงงานจากต่างประเทศ และการร่วมทุนจากต่างประเทศด้วยเช่นกัน” นายเฉลิมพล กล่าวสรุป

ที่มา: NSTDA

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

WHA Group ผนึก ’Green Mobility‘ กลุ่มธุรกิจที่ 5 ตั้งธง 5 ปี รายได้ 1.5 แสนล้าน

WHA Group เปิดเผยว่า ปี 2568 มุ่งเน้นการเติบโตอย่างแข็งแกร่งใน 5 กลุ่มธุรกิจหลัก ครอบคลุมธุรกิจล่าสุดอย่าง Mobility โดยพัฒนาเป็นโซลูชันกรีนโลจิสติกส์ครบวงจรรายแรกในประเทศไทย ภายใต้...

Responsive image

รู้จัก เหลียง เหวินเฟิง CEO และผู้ก่อตั้ง Deepseek จากอดีตเฮดจ์ฟันด์ สู่ผู้ท้าทายยักษ์ใหญ่ AI โลก

รู้จัก เหลียง เหวินเฟิง ผู้อยู่เบื้องหลังของ DeepSeek จากอดีตผู้ก่อตั้งกองทุนเฮดจ์ฟันด์ สู่ CEO และผู้ก่อตั้ง Deepseek ที่พกความมุ่งมั่นและวิสัยทัศน์เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งส...

Responsive image

‘HoriXon T8' ธุรกิจใหม่ใต้ปีก TIPH x BE8 สู่ฮับ AI-Powered Insurance ภูมิภาค

TIPH จับมือ BE8 เปิดตัว HoriXon T8 หรือ 'T8' บริษัท ฮอไรซอน ที 8 จำกัด เพื่อปฏิวัติ Insurance Ecosystem ให้อุตสาหกรรมประกันภัย ด้วย AI-Powered Digital Transformation...