NTT ประกาศความเป็นผู้นำใน IDC MarketScape ด้านการให้บริการความปลอดภัยบนคลาวด์ ปี 2021 ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก | Techsauce

NTT ประกาศความเป็นผู้นำใน IDC MarketScape ด้านการให้บริการความปลอดภัยบนคลาวด์ ปี 2021 ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

NTT Ltd., ผู้ให้บริการเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลก ได้รับการยอมรับด้านความเป็นผู้นำด้านการให้บริการด้านการรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์ ปี 2021 ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก Leader in the IDC Marketscape: Asia/Pacific Cloud Security Services 2021 Vendor Assessment โดยรายงานดังกล่าวสะท้อนถึงความเชี่ยวชาญด้านเทคนิค ความรู้ และความสามารถของผู้เชี่ยวชาญด้านระบบคลาวด์และระบบรักษาความปลอดภัยของ NTT ตลอดจนการพัฒนาด้านกลยุทธ์เพื่อมอบประสบการณ์ให้กับลูกค้าได้อย่างดีเยี่ยม

์NTT leader in Cloud Security Service 2021

รายงานดังกล่าวมาจากการประเมินการดำเนินงานของ NTT จากผู้ให้บริการด้าน CSS ทั้งหมด 13 ราย โดยระบุว่ากลยุทธ์การให้บริการด้านรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์ของ NTT นั้น ได้เน้นไปยังความต้องการของลูกค้าเป็นศูนย์กลาง และมุ่งสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายทั่วโลกและสะท้อนถึงการขับเคลื่อนในตลาดมหภาคที่มีการบูรณาการด้านการรักษาความปลอดภัยอย่างแน่นหนา พร้อมกับแนวทางปฏิบัติอื่นๆ ภายใต้ NTT Group ซึ่งเป็นแนวทางที่มีเจตนาในการช่วยให้ลูกค้าสามารถบรรลุจุดมุ่งหมายในการออกแบบระบบรักษาความปลอดภัยให้มีประสิทธิภาพ

ปีที่แล้ว NTT ยังได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้นำของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ในการให้บริการด้านบริหารจัดการระบบรักษาความปลอดภัย หรือ IDC MarketScape : Asia/Pacific Managed Security Services 2020 ซึ่งรวมทั้งสิ้นได้รับรางวัล 4 ครั้งติดต่อกัน อีกทั้งเป็นผู้นำใน Worldwide Managed Security Services 2020 อีกด้วย

ผลงานระดับโลกอันแข็งแกร่งและความสามารถด้านความปลอดภัย

ปัจจุบัน NTT เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการเทคโนโลยีรายใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการด้านความปลอดภัยที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียแปซิฟิก ในรายงานระบุว่า NTT เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจในตลาด โดยพิจารณาจากผลงานที่มีอยู่มากมายและโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านเครือข่ายศูนย์ปฏิบัติการด้านความปลอดภัยทั่วโลก (Security Operations Centers) และศูนย์ข่าวกรองภัยคุกคามทั่วโลก (Global Threat Intelligence Center) ซึ่งมีการดำเนินงานโดยตรงใน 17 ประเทศ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยได้รับการสนับสนุนจากผู้เชี่ยวชาญด้านระบบคลาวด์ประมาณ 1,000 คน และทำงานอย่างใกล้ชิดกับผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย 800 คน

คาซุ ยูซาวะ  ซีอีโอด้านรักษาความปลอดภัยของ NTT Ltd. กล่าวว่า การได้รับการยอมรับในฐานะ 'ผู้นำ' ใน IDC MarketScape ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จาก CSS ถือเป็นเครื่องยืนยันถึงความสามารถในการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ของ NTT รวมถึงแนวทางการรักษาความปลอดภัยโดยการออกแบบที่เน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ซึ่งธุรกิจต่าง ๆ ในเอเชียแปซิฟิกหันมาใช้โมเดลบนคลาวด์มากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อเพิ่มความเร็วในการปรับใช้แอปพลิเคชันและบริการ รวมถึงความคล่องตัว และประสิทธิภาพในการลดต้นทุน อย่างไรก็ตามอุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดในการนำไฮบริดคลาวด์มาใช้ในปัจจุบัน คือ การจัดการความปลอดภัยของข้อมูลในสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อน ซึ่งไม่ใช่เรื่องยากที่จะทำให้การใช้งานบนไฮบริดคลาวด์ถูกยกเลิกโดยไม่ต้องมีการดำเนินงานที่ถูกต้อง และนั่นคือสิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญและพันธมิตรกำลังหาทางทำการช่วยเหลือ” 

“คลาวด์และความปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นภูมิทัศน์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และด้วยความเสี่ยงด้านความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้นเราจึงมองหาการขับเคลื่อนนวัตกรรมอยู่เสมอ นอกจากนี้การบูรณาการเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ เช่น AI และ ML ที่เพิ่มระดับการทำงานอัตโนมัติโดยเฉพาะในการตรวจจับภัยคุกคาม โดยเป้าหมายของเรา คือ การเพิ่มความชาญฉลาดลงในโครงสร้างพื้นฐานและแอปพลิเคชั่นไว้ในระดับสูงสุดอยู่เสมอ เพื่อให้บรรลุต่อความสอดคล้องของบริการในตลาดต่าง ๆ” คาซุ ยูซาวะ กล่าว

คาซุ ยูซาวะ กล่าวเสริมว่า เพื่อช่วยให้ลูกค้ามีความคล่องตัวและลดความซับซ้อนของกระบวนการเลือกและจัดการเทคโนโลยีที่ยุ่งยาก NTT จะทำการประเมิน พร้อมให้คำปรึกษา คัดสรรค์ และผสานรวมเทคโนโลยีของพันธมิตรเอาไว้ล่วงหน้าเพื่อลงแพลตฟอร์มการให้บริการด้านบริหารจัดการความปลอดภัย (Managed Security Services) โดยเราจะดูแลลูกค้าของเราอย่างเต็มรูปแบบและมั่นใจว่าพวกเขาจะได้รับคำแนะนำอย่างดีเยี่ยม พร้อมรับทราบวิธีให้บริการของเราสำหรับธุรกิจของพวกเขาในช่วงการระบาดของโควิด-19 อย่างมีประสิทธิภาพ และในปัจจุบันเรายังให้บริการแก้ไขการตอบสนองต่อเหตุการณ์โดยไม่มีค่าใช้จ่ายแก่ลูกค้าในกลุ่มธุรกิจสุขภาพ  (Healthcare) เนื่องจากความปลอดภัยคือสิ่งที่เราให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก”

สำหรับจุดแข็งอื่น ๆ ของ NTT ที่มีการเน้นย้ำในรายงานดังกล่าว คือ แนวปฏิบัติด้านบริการ Managed Security อย่างครอบคลุม โดยนำเสนอบริการที่เน้นคลาวด์และเครื่องมือที่เป็นกรรมสิทธิ์ของเอ็นทีทีจำนวนหนึ่ง เช่น เครื่องมือตรวจจับภัยคุกคามไซเบอร์ (Cyber Threat Sensor) ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าตรวจจับภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมบนระบบคลาวด์และเว็บแอพพลิเคชั่น 

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมดาวน์โหลดได้ที่ download the IDC MarketScape excerpt.

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

KBank เปิดผลงานปี 67 กำไร 48,598 ล้านบาท ท่ามกลางความท้าทายเศรษฐกิจ

นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2567 ยังมีสัญญาณฟื้นตัวไม่ทั่วถึง (K-Shaped Recovery) แม้ในภาพรวมสามารถประคองการขยายตัวไว...

Responsive image

SCB 10X เปิดเวที “Typhoon 2 Unveiled: Advancing AI Research in Thailand” เดินหน้าวิจัย AI ไทย พร้อมเปิดตัว ‘ไต้ฝุ่น 2.0’ เวอร์ชั่นใหม่ล่าสุด

SCB 10X เปิดตัว "ไต้ฝุ่น 2" โมเดลภาษาไทยขนาดใหญ่สุดล้ำในงาน Typhoon 2 Unveiled: Advancing AI Research in Thailand พร้อมยกระดับวิจัย AI ไทยสู่เวทีโลก...

Responsive image

จุฬาฯ จับมือ KBTG เปิดตัว AI LUCA และ Virtual Patient ในงาน Chula the Impact ครั้งที่ 29 ภายใต้หัวข้อ “Chula-KBTG: AI for the Future”

จุฬาฯ จับมือ KBTG เปิดตัว AI LUCA และ Virtual Patient ในงาน Chula the Impact ครั้งที่ 29 มุ่งขับเคลื่อนอนาคตการศึกษาไทยด้วยเทคโนโลยี AI สู่ยุคดิจิทัล...