GC สร้างระบบ Circular Economy ในอุทยานแห่งชาติ 14 แห่งลุยจัดการขยะพลาสติกอย่างยั่งยืน | Techsauce

GC สร้างระบบ Circular Economy ในอุทยานแห่งชาติ 14 แห่งลุยจัดการขยะพลาสติกอย่างยั่งยืน

หากคิดถึงสถานที่ท่องเที่ยวยอดฮิต “อุทยานแห่งชาติ” เป็นอีกแห่งหนึ่งที่นักท่องเที่ยวพลาดไม่ได้ซึ่งประเทศไทยได้ขึ้นชื่อว่ามีอยู่เป็นร้อยๆ แห่ง ในปัจจุบัน  นับเป็น จุดเช็คอิน ที่นักท่องเที่ยวสามารถสัมผัสเส้นทางธรรมชาติ ที่มีความหลากหลาย ทั้ง ทางบก และทางทะเล  ที่เปิดให้ผู้คนทั้งไทยและต่างประเทศ สามารถเดินทางไป ศึกษาธรรมชาติ ดูป่าไม้ ดอกไม้  และทะเลหมอก ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่คนไทยมักนิยมเพื่อสัมผัสกับธรรมชาติอย่างแท้จริง 

วีถีเส้นท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติ สิ่งที่นักท่องเที่ยว จำเป็นต้องพึงปฏิบัติ เพื่อการรักษาความอุดมสมบรูณ์ของธรรมชาติ นอกจากการปฏิบัติตามกฎระเบียบต่างๆ ที่มีมาไว้อย่างยาวนาน เช่น ห้ามก่อไฟ ห้ามส่งเสียงดัง ห้ามเด็ดต้นไม้ ดอกไม้ ปะการัง นำสัตว์บก สัตว์ทะเล หรือสิ่งใดๆ ที่อาศัยอยู่ในอุทยานแห่งชาติออกมานอกพื้นที่เด็ดขาด รวมถึงห้ามพกอาวุธ ปืน และไม่จับสัตว์หรือฆ่าสัตว์ในอุทยานแห่งชาติ  ที่สำคัญการรักษาความสะอาดโดยการไม่ทิ้งขยะภายในอุทยานแห่งชาติ หรือหากเห็นขยะก็ควรเก็บออกมาทิ้งภายนอก ความเข้มงวดเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่นักท่องเที่ยวที่เข้าไปใช้บริการในอุทยานก็พลาดไม่ได้ 

อุทยานแห่งชาติเป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ ที่นอกจากเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิดและพันธุ์พืชหายากแล้ว ยังมีคุณค่าทางการศึกษาในการหาความรู้ค้นคว้าและวิจัย ได้จากความหลากหลายของระบบนิเวศในอุทยานต่างๆ และยังเป็นพื้นที่โมเดลการสร้างระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ของไทยที่สมบรูณ์แบบอีกด้วย ซึ่งเป็นอีกความสำเร็จของความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการดำเนิน  โครงการ “ต้นแบบการบริหารจัดการขยะพลาสติกครบวงจรในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ เพื่อเป็นโมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียนให้กับประเทศ ” ระหว่าง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (อส.) กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) และ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (GC)  เพื่อขับเคลื่อนและสนับสนุนนโยบายการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเชิงรุก  ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี  

การเดินหน้าของ โครงการ “ต้นแบบการบริหารจัดการขยะพลาสติกครบวงจรในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ เป็นอีกแผนงานภายใต้ Roadmap การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561 – 2573 ที่มุ่งสู่เป้าหมายการนำขยะพลาสติกกลับมาใช้ประโยชน์ด้วยระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)  ซึ่งการสร้างโมเดลแบบองค์รวมนี้ คุณวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รทว.ทส.) ย้ำว่า  “จะเป็นต้นแบบที่ดี ไม่เพียงแต่การแก้ปัญหาขยะ แต่สามารถสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีต่างๆ รวมถึงนักท่องเที่ยว และประชาชน ในการร่วมกันแก้ไขปัญหานี้ได้ จะนำไปสู่ความเชื่อมั่นศักยภาพของประเทศไทย ในการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกอย่างเป็นรูปธรรม และสามารถเปลี่ยนจากวิกฤติเป็นโอกาส สร้างความเชื่อมั่นกลับคืนสู่ประเทศของเราต่อไปได้” 

ไฮไลท์ของงานนี้ อยู่ที่นำหลักการ  Circular Economy มาจัดระบบ การบริหารจัดการขยะ ให้กับพื้นที่อุทยานฯ โดย  GC  ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ จัดการขยะพลาสติกแบบยั่งยืน ด้วยการนำแพลตฟอร์ม (Platform) เพื่อแก้ไขปัญหาแบบองค์รวมตลอดห่วงโซ่อุปทาน  4  ด้าน ประกอบไปด้วย 

1)  การใช้ผลิตภัณฑ์ไบโอ( Bio Product ) ที่สลายตัวได้ด้วยการฝังกลบ (Bio-based ) 

2) มุ่งเน้นการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากปิโตรเลียม (Fossil-based ) ด้วยความรับผิดชอบ ด้วยการนำขยะพลาสติกกลับมารีไซเคิล  (Recycle) หรือ อัพไซเคิล (Upcycle) 

3)  อีโคซิสเต็ม (Ecosystem)    เดินหน้าสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วน สร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้พลาสติก เพื่อให้เกิดการขยายผลในวงกว้าง  

4) พร้อมดึงพันธมิตร เป็นแนวร่วมสำคัญในการนำระบบ Ecosystem ไปใช้ ด้วยโซลูชั่นต่าง ๆ ของผลิตภัณฑ์พลาสติก  เพื่อทางออกที่ยั่งยืน (Total Solutions for Everyone)ในการร่วมกันขับเคลื่อนธุรกิจ  ซึ่งเป็นนโยบายที่ GC ให้ความสำคัญ จะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง (Inclusiveness) โดยพร้อมให้ความช่วยเหลือลูกค้า SMEs ให้ปรับตัวกับสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค  

โดยคุณคงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท GC ในฐานะผู้นำด้านความยั่งยืนในธุรกิจเคมีภัณฑ์  มั่นใจว่า “โครงการนี้จะเป็นการสร้างต้นแบบโมเดลแห่งความสำเร็จระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ในพื้นที่ท่องเที่ยวสำคัญของประเทศ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่อื่น เพื่อขยายผลในวงกว้าง”

พื้นที่ที่จะนำมาสู่ การเป็นโมเดลที่สำคัญ ก่อนขยายผลไปสู่พื้นที่อื่น คุณธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กล่าวว่า ได้ร่วมกันคัดเลือกอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เป็นพื้นที่นำร่องในการดำเนินงานโครงการครั้งนี้  และจะขยายผลไปยังอุทยานแห่งชาติ อีกจำนวน 14 แห่ง ประกอบด้วย  

อุทยานทางบก 5 แห่ง ได้แก่ 

1) อุทยาน-แห่งชาติอินทนนท์ 

2) อุทยานแห่งชาติเอราวัณ 

3) อุทยานแห่งชาติเขาสก อุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก 

4) อุทยานแห่งชาติภูกระดึง 

5) อุทยานแห่งชาติน้ำตกเจ็ดสาวน้อย 

อุทยานทางทะเล  7 แห่ง ได้แก่ 

1) อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า - หมู่เกาะเสม็ด 

2) อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี 

3) อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา 

4) อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน

5) อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ 

6) อุทยานแห่งชาติ  ตะรุเตา 

7) อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง ซึ่งคาดว่าจะเป็นอุทยานแห่งชาติต้นแบบให้กับอุทยานแห่งชาติทั่วประเทศต่อไป

นักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบกับเส้นทางการท่องเที่ยวทางธรรมชาติของอุทยานต่างๆ ที่มีอยู่ทั่วประเทศ  ทั้งภูเขา และทะเล  ในวันนี้นอกจากจะเป็นแหล่งพักผ่อน หลบหนีชีวิตที่เร่งรีบในเมืองแล้ว ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ของระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่เราจะได้รู้จัก คุณค่าของการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลดผลกระทบจากขยะที่ตกค้างต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นภัยต่อสัตว์ ทั้งบนบกและในทะเล  ทั้งนี้เพื่อให้ พื้นที่อนุรักษ์ทางธรรมชาติในอุทยานแห่งชาติทุกแห่ง สามารถดำรงอยู่และเป็นสมบัติทางธรรมชาติที่มีค่าของประเทศสืบทอดไปสู่รุ่นลูก รุ่นหลาน

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ไทยพบเอสโตเนีย แลกเปลี่ยนมุมมองรัฐบาลดิจิทัล ศึกษาต้นแบบ e-Government

ไทยเปิดใจเรียนรู้จากเอสโตเนีย ระบบ e-Government ที่ประชาชนไว้วางใจ...

Responsive image

ม.มหิดล ชูความสำเร็จผลงานนวัตกรรมวัคซีนไข้เลือดออกเดงกี ชนิดเข็มเดียว เตรียมผลักดันออกสู่ตลาดโลก

โรคไข้เลือด เป็นหนึ่งในโรคประจำถิ่นในทุกประเทศเขตร้อนของโลกรวมทั้งประเทศไทย ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี มียุงลายหรือยุงรำคาญเป็นพาหะนำโรคมาสู่คน และในปัจจุบันมีประชากรประม...

Responsive image

ททท. ประกาศผู้ชนะ TAT Travel Tech Startup 2024 ทีม HAUP คว้าชัย ร่วมผลักดัน ท่องเที่ยวไทยกับ 11 ทีม Travel Tech

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ประกาศผลผู้ชนะโครงการ TAT Travel Tech Startup 2024 กิจกรรมบ่มเพาะและโจทย์ด้านการท่องเที่ยวสุดท้าทาย ร่วมกับพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญ ภายใต้แนวคิด WORLD...