SCB ชวนจับตา “Libra” อนาคตของสกุลเงินโลก | Techsauce

SCB ชวนจับตา “Libra” อนาคตของสกุลเงินโลก

หลังจากที่มีการประกาศข่าวใหญ่เมื่อวานนี้ เกี่ยวกับการประกาศกำเนิดเกิดขึ้นของ Cryptocurrency สกุลใหม่มีชื่อว่า “Libra” ที่จะเริ่มใช้ในต้นปีหน้านี้ 2020 ส่งผลให้สะเทือนถึงสถาบันการเงินทั่วทั้งโลก และเป็นที่จับตามองของธนาคารกลางทั่ว

ปกติเราก็เห็นการเกิดขึ้นของเงินสกุล Digital ตั้งมากมายก่อนหน้านี้ ไม่เห็นจะมีอะไรแปลกใหม่เลย

ใช่ครับ ถ้าดูกันผิวๆจะเห็นได้ว่า ไม่เห็นจะมีอะไรใหม่ แต่ที่ผมว่าไม่ธรรดาก็คือการก่อกำเนิดขึ้นของ Libra จาก พ่อ แม่ ที่มีชื่อว่า Facebook และแถมยังมี ญาติพี่น้อง อีก 27 คนมาจับมือกันร่วมกันก่อกำเนิด ถ้าเราเห็นชื่อ บริษัทที่ร่วมกันก่อตั้งแล้วแทบจะเรียกได้ว่า พี่บิ๊กๆ ทั้งนั้นเช่น Visa, MasterCard, Uber, PayPal, Spotify, eBay, Lyft, Vodafone และอีกหลายบริษัททั่วโลก เห็นไหมละแค่การเกิดก็ไม่ธรรมดาแล้ว ยิ่งกว่าเหล่า Avengers ทีมอีกนะ

คำถามต่อมาก็จะเอา Libra Cryptocurrency มาใช้ประโยชน์อะไรกันได้ล่ะ

เค้าบอกกันว่าจุดประสงค์เพื่อสร้างให้มีโครงสร้างระบบการเงินขั้นพื้นฐานที่ทุกคนๆในโลกนี้สามารถเข้าถึงได้ง่ายดายทุกคนและจะเป็นระบบทางการเงินที่มีต้นทุนต่อผู้ใช้ที่ถูกที่สุด แถมยังมีความปลอดภัยสูงสุดเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง เท่าที่เทคโนโลยีวันนี้จะมีได้ เช่นใช้ Technology Blockchain มาเป็นตัวกลาง

จะดีกว่าไหมที่ทุก ๆ คนบนโลกไม่จำเป็นต้องพกเงินสดเงินกระดาษ ที่อาจจะหาย ถูกขโมย หรือ ก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยหากพกพาติดตัวตลอดเวลา

จะดีกว่าไหมถ้า คนบนโลกนี้อีกมากมายหลายพันล้านคน ที่ไม่เคยเข้าถึงการเบิดบัญชีกับสถาบันการเงินได้เลย สามารถเข้าถึงระบบทางการเงินนี้ได้อย่างง่ายดาย เพียงแค่มีโทรศัพท์มือถืออยู่ในมือ ว่ากันว่าบนโลกเรายังมีคนอีกหลายพันล้านคนที่ใช้โทรศัพท์มือถือ แต่ยังไม่สามารถเปิดบัญชีธนาคารได้ และไม่เคยใช้ธุรกรรมทางการเงินใด ๆ เลยกับธนาคารครับ

การโอนเงินให้เพื่อน ญาติ พี่น้อง ที่อาศัยอยู่ต่างประเทศจะทำได้อย่างง่ายดาย รวดเร็ว เงินถึงผู้รับได้ทันทีที่กดโทรศัพท์มือถือ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ หรือถ้าจะมีก็ถูกมาก โดยเราไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมการโอนเงิน หรือไม่ต้องมีค่าธรรมเนียมจากอัตราแลกเปลี่ยนใด ๆ ให้เราต้องลุ้นว่าแพงไหม เช่นวันนี้ ราคาซื้อ ขาย เงินตราต่างประเทศอยู่ที่ประมาณ 3 - 5% ที่เราต้องจ่ายให้กับธนาคาร และค่าโอนเงินก็เช่นเดียวกัน ได้แก่ โอนเงินผ่านระบบ Swift ของธนาคารจะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 1,000 ถึง 1,500 บาท ที่ผู้โอนจะต้องจ่าย นอกจากนั้นผู้รับโอนเงินปลายทางก็ต้องมีการเสียค่าธรรมเนียมให้กับธนาคารปลายทางอีกด้วย เช่นอีก 400 - 500 บาทต่อรายการ ถ้าคิดเลขแบบง่ายๆ โอนเงิน 1 แสนบาท หักไปหักมา เหลือถึงผู้รับ เพียง 93,000 บาท ในขณะที่ใช้ระบบ Digital Money Transfer อาจะไม่ต้องเสียอะไรเลย หรือเสียน้อยมาก ๆ ก็ได้ ดังนั้นผลดีคือ ผู้รับปลายทางน่าจะได้รับเงินแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วยครับ

ต่อไปการเดินทางไปต่างประเทศหรือการซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ สามารถทำได้โดยใช้สกุลเงินเดียวกัน ไม่จำเป็นต้องแลกเงินหรือถือเงินสด ไม่จำเป็นต้องใช้บัตรเครดิตที่จะมีค่าธรรมเนียมที่แพงอยู่ เช่น อัตราแลกเปลี่ยนเป็นต้น การเดินทางขึ้นรถ หรือ การเดินทางโดยรถสาธารณะ การจ่ายค่ากาแฟ ต่าง ๆ ก็สามารถจ่ายผ่าน Digital Wallet ที่เก็บเงิน Digital ไว้ผ่านโทรศัพท์มือถือของเราอย่างง่ายดาย ไม่ว่าใครที่สามารถเข้าถึง Internet ได้ ก็สามารถใช้ระบบการเงินใหม่นี้ได้ด้วยเช่นกัน

แล้วถามว่า เงิน Digital สกุลนี้จะน่าเชื่อถือหรือไม่?

Cryptocurrency โดยทั่วไปจะถูกสร้างขึ้นมาโดยไม่มีสินทรัพย์ อะไรมาสำรอง Backup เงินสกุลเหล่านั้นอยู่ข้างหลัง ดังนั้นที่ผ่านมาเราจะเห็นเงิน Cryptocurrency ผันผวนได้อย่างมาก ง่ายต่อการนำมาเก็งกำไร เพราะมูลค่าที่แท้จริงยังยากต่อการค้นหาแต่คนสร้าง เงินสกุล LIBRA ว่ากันว่า จะมีสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องมา อาจจะเป็นเงินสกุลต่าง ๆ Fiat Money Bank Deposits Government Securities เป็นสิ่งที่สำรอง Backup ค่าเงิน Digital นี้ให้มีความมั่นคงน่าเชื่อถือ แบบนี้ก็จะเหมือนกับสมัยก่อน ที่เงินดอลลาร์จะถูก Backup สำรองโดยมีทองคำกันเอาไว้ข้างหลังจึงทำให้ค่าเงินดอลลาร์ ได้รับความน่าเชื่อถือและเป็นที่นิยมใช้เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยน สินค้าและบริการต่าง ๆ ในเวลาต่อมาจนถึงปัจจุบัน

สิ่งที่จะเกิดขึ้นใหม่นี้ จะเป็น Disruptor ตัวจริงที่มีทั้ง Technology, Resources และ Money สถาบันการเงินทั่วโลกจะต้องปรับตัวให้เร็วมากยิ่งขึ้นไปอีก เพื่อจะได้ไม่ตกเทรนด์ของภาวะการแข่งขันครับ ดังนั้น ควรจับตามองให้ดีครับ

โดย คุณศรชัย สุเนต์ตา, CFA ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ SCB Investment Advisory, CIO office

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

NITMX เผยสถิติพร้อมเพย์ ปี 67 ยอดธุรกรรมโตแตะ 2,096 ล้านต่อเดือน ผู้ใช้พุ่งสูงถึง 79 ล้านราย

NITMX เผยข้อมูลสถิติการใช้งานระบบพร้อมเพย์ตลอดปี 2567 ซึ่งแสดงถึงการเติบโตอย่างแข็งแกร่งในด้านธุรกรรมดิจิทัลทั้งในประเทศและข้ามพรมแดน ตอกย้ำบทบาทสำคัญในการผลักดันประเทศเข้าสู่ยุคสั...

Responsive image

มันนี่ทันเดอร์พลิกโฉมสินเชื่อไทย ด้วย AI ฝีมือคนไทย แก้ปัญหาหนี้นอกระบบ

“อบาคัส ดิจิทัล” (ABACUS digital) ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน "มันนี่ทันเดอร์" (MoneyThunder) ได้สร้างปรากฎการณ์ในวงการสินเชื่อด้วยการใช้เทคโนโลยี AI ที่พัฒนาจากทีมคนไทยที่เข้าใจถึงความต้อ...

Responsive image

iNT: พันธมิตรเพื่ออนาคต พร้อมเปิดประตูสู่นวัตกรรมและธุรกิจ Start-Up

สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือ iNT (อิ๊นท์) ตอกย้ำบทบาทผู้นำ ด้านการสนับสนุนธุรกิจ Start-Up และการส่งเสริมการต่อยอดผลงานวิจัย นวัตกรรม ไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์...