SCB CIO เปิดกลยุทธ์ลงทุนปี2022 ฝ่าผลกระทบโควิด-19 แนะลงทุนหุ้นกลุ่มประเทศและธุรกิจภูมิคุ้มกันสูง พร้อมธีมการลงทุนแห่งอนาคต | Techsauce

SCB CIO เปิดกลยุทธ์ลงทุนปี2022 ฝ่าผลกระทบโควิด-19 แนะลงทุนหุ้นกลุ่มประเทศและธุรกิจภูมิคุ้มกันสูง พร้อมธีมการลงทุนแห่งอนาคต

SCB CIO แนะนำจัดพอร์ตลงทุนแบบ Moderate Asset Allocation ในปี 2021 ส่งผลให้สามารถสร้างผลตอบแทนได้สูงถึง 14.7% และผลตอบแทนรายเดือนเป็นบวกทั้ง 12 เดือน จากการจัดสัดส่วนลงทุนให้เหมาะสมกับสภาวะตลาดในแต่ละช่วงเวลา พร้อมประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจและการลงทุนในปี 2022 ผลกระทบโควิด-19 ลดลงแต่ยังไม่หายไป นโยบายการเงินการคลังเริ่มตึงตัว เศรษฐกิจประเทศพัฒนาแล้วมีแนวโน้มการเติบโตชะลอลง ส่วนประเทศกำลังพัฒนาเศรษฐกิจจะเริ่มกลับมาฟื้นตัว แนะลงทุนกลุ่มประเทศและธุรกิจที่มีภูมิคุ้มกันสูง เช่น หุ้นสหรัฐฯ และยุโรป โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่ม quality growth โดยมีตลาดหุ้นเวียดนามยังเป็น top pick ในตลาดหุ้น ASEAN นอกจากนั้นยังเน้น 2 ธีมหลัก  ได้แก่ การลงทุนอุตสาหกรรมระยะยาวที่เติบโตต่อเนื่อง (Super Investment  theme) และอุตสาหกรรมแห่งอนาคตที่มีศักยภาพในการเติบโตสูง ( Futuristic Investment  theme) โดยธีม Super Investment  ได้แก่หุ้นในกลุ่ม Renewable Energy & Decarbonization, Healthcare & Healthtech  และ Fintech ส่วนธีม Futuristic Investment ประกอบด้วยหุ้นกลุ่ม Aerospace & Space exploration และ กลุ่ม Metaverse

นายศรชัย สุเนต์ตา ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารฝ่าย SCB Chief Investment Office ( SCB CIO ) ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า คำแนะนำจัดสรรพอร์ตการลงทุน Moderate Asset Allocation (ความเสี่ยงระดับกลาง) ของ SCB CIO ในช่วงปี 2021 (ข้อมูลถึงวันที่ 13 ธันวาคม ) สามารถสร้างผลตอบแทนได้ 14.7% โดยมีผลตอบแทนรายเดือนในแต่ละเดือนเป็นบวกตลอดทั้ง 12 เดือน ผลตอบแทนที่โดดเด่นและสม่ำเสมอนี้เป็นผลมาจากมุมมองการจัดสรรน้ำหนักการลงทุน Tactical Asset Allocation ที่เหมาะสมกับสภาวะตลาด รวมถึงการคัดสรรผลิตภัณฑ์การลงทุนรูปแบบใหม่ที่ให้ผลตอบแทนได้อย่างโดดเด่น

ในส่วนมุมมองการลงทุนผลตอบแทนของพอร์ตได้อานิสงส์หลักมาจากมุมมองเชิงบวกและเน้นจัดสรรสินทรัพย์น้ำหนักการลงทุนไปยังกลุ่มหุ้นกลุ่มเติบโตในตลาดหุ้นประเทศพัฒนาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐฯและยุโรป ซึ่งถือว่าเป็นตลาดที่ Outperform อย่างมากในปีนี้ อีกทั้งยังเสริมด้วยการลงทุนรูปแบบ Thematic ในอุตสาหกรรม Semiconductor ที่สร้างผลตอบแทนให้พอร์ตได้สูงถึง 16.5% ตลอดช่วงเวลาที่ถือครอง ในฝั่งของหุ้นตลาดเกิดใหม่ เราได้มุ่งเน้นจัดสรรน้ำหนักการลงทุนไปยังตลาดหุ้นเวียดนาม ซึ่งเป็นตลาดหุ้นที่ให้ผลตอบแทนโดดเด่นที่สุดแห่งหนึ่งในโลก โดยกองทุนที่เข้าลงทุนสามารถสร้างผลตอบแทนได้ 27.6% ตลอดช่วงเวลาที่เข้าลงทุน ในส่วนของหุ้นไทยการเลือกลงทุนในกองทุน Private Fund สามารถสร้างผลตอบแทนได้สูงถึง 20.5% ซึ่งสูงกว่า SET Index TR ที่ให้ผลตอบแทน 12.8% ในปีนี้ นอกจากนั้น Private Asset  สินทรัพย์รูปแบบใหม่ที่ปีนี้เราได้เสริมเข้ามาในพอร์ต ซึ่งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการลงทุนและลดความผันผวนแก่พอร์ตโดยรวมได้เป็นอย่างดี โดยมีกองทุน Private Equity สร้างผลตอบแทนได้ 16.5% และกองทุน Private Debt สร้างผลตอบแทนได้ 7.0%  (ข้อมูล ณ สิ้นเดือน ตุลาคม )  โดยทั้งสองกองทุนมีผลการดำเนินงานที่สม่ำเสมอแม้ในช่วงที่ภาพรวมตลาดการลงทุนปรับตัวลดลง ซึ่งมีส่วนสำคัญที่ทำให้พอร์ตการลงทุน Moderate Asset Allocation สามารถสร้างผลตอบแทนรายเดือนเป็นบวกได้ทุกเดือนในปี 2021

นอกจากนี้ในช่วงที่ตลาดเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ เช่นตลาดหุ้นไทย เราได้แนะนำให้ลูกค้าลงทุนใน Structure Note KIKO (ตราสารอนุพันธ์ที่อ้างอิงกับราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์) ที่สามารถสร้างผลตอบแทนเป็นที่น่าพอใจกว่า 8-10% ต่อปี ซึ่งเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์การลงทุนที่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีด้วยเช่นกัน


ในส่วนของมุมมองแนวโน้มเศรษฐกิจและการลงทุนในปี 2022 ดร.กำพล อดิเรกสมบัติ ผู้อำนวยการอาวุโส SCB CIO เปิดเผยว่า  SCB  CIO  ได้ประเมิน  4 ประเด็นหลัก ประกอบด้วย 


1) COVID-19 จะยังอยู่กับเราไปอีกนาน โดยผลกระทบแม้จะมีแนวโน้มลดลงแต่ยังไม่หายไป ซึ่งจะทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจแต่ละประเทศเริ่มมีความแตกต่างน้อยลง  โดยเศรษฐกิจประเทศพัฒนาแล้วหลังจากฟื้นตัวในปี 2021 จะเริ่มชะลอลงในปี 2022 ในขณะที่เศรษฐกิจประเทศกำลังพัฒนาเริ่มกลับมาฟื้นตัว แต่ทั้งนี้ การฟื้นตัวของภาคธุรกิจยังมีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจที่ยังได้รับผลกระทบจากมาตรการข้อจำกัดต่างๆ  เช่น การเดินทางระหว่างประเทศ

2) นโยบายการเงินการคลังเริ่มตึงตัวขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยธนาคารกลางสหรัฐฯ น่าจะขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 3 ครั้งในปี 2022 โดยทยอยขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางปี แต่จะมีการสื่อสารให้ตลาดรับทราบอย่างต่อเนื่อง ซึ่งน่าจะทำให้ความผันผวนในตลาดการเงินโลกแม้จะเกิดขึ้นในช่วงสั้นแต่น่าจะอยู่ในระดับที่จัดการได้ ในขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับ 0.5% ต่อไปอีก 1 ปี เพื่อประคับประคองการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ส่วนนโยบายการคลังในประเทศพัฒนาแล้วจะเริ่มเห็นการออกนโยบายเพิ่มรายได้ภาครัฐมากขึ้น  เช่น การขึ้นภาษี  แต่อาจจะไม่มากพอที่จะชดเชยการขาดดุลขนาดใหญ่ในช่วงก่อนหน้านี้ ทำให้หนี้สาธารณะยังอยู่ในระดับสูง

3) ต้นทุนทางการเงินเริ่มสูงขึ้นและค่าเงินบาทแม้ว่าจะมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นในครึ่งหลังของปีแต่มาพร้อมความผันผวน อัตราผลตอบแทนพันธบัตรโดยเฉพาะในประเทศพัฒนาแล้วมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นแต่น่าจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป ตามการขยับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ในขณะที่ค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2022 ตามการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวต่างประเทศและดุลบัญชีเดินสะพัด โดย  SCB CIO คาดว่าค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐจะอยู่ในช่วง 32-33 ในปลายปี 2022 แต่จากการปรับนโยบายการเงินในประเทศต่างๆ และความไม่แน่นอนของการกลายพันธุ์ COVID-19 ค่าเงินบาทจะมีความผันผวนสูงของ ดังนั้นการบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน (FX hedging strategy) จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับนักลงทุนในสินทรัพย์ต่างประเทศ    

4) SCB CIO ยังคงแนะนำเน้นการลงทุนในหุ้นมากกว่าพันธบัตร โดยเน้นไปที่กลุ่มประเทศและธุรกิจที่มีภูมิคุ้มกันสูงและเติบโตได้ดีในสภาวะที่ผลกระทบของ COVID-19 ยังไม่หายไป และการขยับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป เช่น หุ้นสหรัฐฯ และยุโรป โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่ม quality growth ตลาดหุ้นเวียดนามยังเป็น top pickในตลาดหุ้น ASEAN แม้ valuation เริ่มมีการขยับขึ้นก็ตาม แต่ในระยะข้างหน้าเราเชื่อว่าเศรษฐกิจและกำไรบริษัทจดจะเบียนจะมีการฟื้นตัวได้ต่อเนื่องจากภาคส่งออก SCB CIO คงมุมมองตลาดหุ้นไทยเป็น neutral จาก valuation ที่ตึงตัวกว่าตลาดหุ้นเวียดนาม การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่น่าจะเกิดขึ้นอย่างชัดเจนในช่วงครึ่งหลังของปี 2022 เพื่อป้องกันความเสี่ยงของเงินเฟ้อสูงยืดเยื้อกว่าคาด SCB CIO ยังแนะนำว่าในพอร์ตการลงทุนควรพิจารณา น้ำมัน หุ้นกลุ่ม financial และ consumer ส่วนทองคำน่าจะได้รับผลกระทบจากการปรับนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ

นายศรชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า จากแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในแต่ละประเทศที่มีความแตกต่างกันน้อยลง จะทำให้มีการลงทุนใน Thematic investment funds ในอุตสาหกรรมและบริษัทที่มีพื้นฐานแข็งแกร่งและธุรกิจเฉพาะทางมากขึ้น รวมทั้งธุรกิจที่สามารถเกาะกระแสการเติบโตของเมกะเทรนด์ในอนาคตได้ จะมีบทบาทและความน่าสนใจมากขึ้นในการจัด Global asset allocation portfolio 


โดยในปี 2022 SCB CIO แนะลงทุนใน 2 ธีมการลงทุนหลัก ได้แก่ 1) Super Investment Theme ซึ่งจับกระแสการลงทุนหุ้นโลกกลุ่ม Renewable Energy & Decarbonization และ Disruptive Technology ที่เติบโตดีต่อเนื่อง และ 2) Futuristic Investment Theme ซึ่งจับกระแสการลงทุนหุ้นโลกกลุ่มอุตสาหกรรมแห่งอนาคตที่มีศักยภาพการเติบโตสูง 

สำหรับ Super Investment Theme เป็นธีมการลงทุนอุตสาหกรรมระยะยาวที่เติบโตต่อเนื่อง มี 3 ธีมย่อยสำหรับการลงทุนที่มีความน่าสนใจ ได้แก่ 1) กลุ่ม Renewable Energy & Decarbonization เช่น ธุรกิจพลังงานหมุนเวียน รถยนต์ไฟฟ้า และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดการพลังงานและการลดการปล่อยคาร์บอน และ 2) Healthcare and Healthtech โดยเฉพาะกลุ่ม Medical Technology เช่น อุปกรณ์เครื่องมือการแพทย์ จากค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาลที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทั่วโลก และ 3) Fintech เทคโนโลยีทางการเงินที่เกาะกระแสการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลและเทคโนโลยีบล็อกเชนที่เปิดโอกาสการลงทุนในบริษัทที่มีความหลากหลายในการให้บริการทางการเงิน 

ส่วน Futuristic Investment Theme ธีมการลงทุนอุตสาหกรรมแห่งอนาคตที่มีศักยภาพเติบโตสูง มี  3 ธีมย่อยที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ได้แก่ 1) Aerospace & Space Exploration จากแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจด้านอวกาศและการบิน การท่องเที่ยวอวกาศ รวมถึงเทคโนโลยีจรวด โดรน ดาวเทียม การวัดและพยากรณ์สภาพภูมิอากาศ และระบบโทรคมนาคมขั้นสูง และ 2) Metaverse การลงทุนในวิวัฒนาการขั้นต่อไปของอินเทอร์เน็ตในเทคโนโลยีโลกเสมือนจริง ซึ่งสามารถสร้างโอกาสการเติบโตที่หลากหลายไม่จำกัดเฉพาะธุรกิจโซเชียลมีเดีย แต่รวมถึงโอกาสในธุรกิจที่เกี่ยวกับวิดีโอเกมและสันทนาการ อีคอมเมิร์ซ อุตสาหกรรมการผลิต 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

AIS คว้ารางวัล Creative Equality Award ยกระดับชีวิต ส่งต่อพลังสร้างสรรค์เพื่อสังคม

AIS ตอกย้ำความเป็นเลิศทางความคิดสร้างสรรค์ คว้ารางวัล Creative Equality Award Creative ประเภท Social Impact Awards จากเวที Creative Excellence Awards 2024 ซึ่งเป็นผลจากความสำเร็จขอ...

Responsive image

กรุงศรีตั้ง ปาลิดา อธิศพงศ์ นั่งรักษาการกรรมการผู้จัดการของ Krungsri Finnovate เดินหน้าสตาร์ทอัปไทย

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ประกาศแต่งตั้ง นางสาวปาลิดา อธิศพงศ์ ขึ้นดำรงตำแหน่งรักษาการกรรมการผู้จัดการ Krungsri Finnovate...

Responsive image

ทีทีบี จับมือ databricks ผสานพลัง Data และ AI สร้างอนาคตการเงินที่ดีขึ้นให้คนไทย

ทีทีบี ตอกย้ำความมุ่งมั่นผลักดันดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน สร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับวงการธนาคารไทย จับมือพันธมิตร databricks พร้อมเดินหน้าสร้าง Data-driven Culture ปักธงก้าวสู่ธนาคารที...