SCG พร้อมรับวิถีใหม่เพื่อผู้บริโภค ลุย Open Innovation เต็มตัว | Techsauce

SCG พร้อมรับวิถีใหม่เพื่อผู้บริโภค ลุย Open Innovation เต็มตัว

SCG หนึ่งในองค์กรผู้นำรายใหญ่ซึ่งนำร่องกระบวนการทำ Digital Transformation ตั้งแต่ปี 2560 ด้วยเป้าหมายหลักที่จะนำองค์กรไปสู่การทำงานด้วยรูปแบบดิจิทัลอย่างครบวงจร ซึ่งในปีที่ผ่านมานี้ นอกเหนือจากการรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ทางองค์กรมีการปรับตัวและมุ่งหน้าเพิ่มขีดความสามารถทางด้านเทคโนโลยีต่างๆ ให้เข้มข้นขึ้นทั้งจากการมองหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ และ เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับหน่วยธุรกิจเดิม

ฟากหน่วยงานด้านการลงทุน Startup ที่ทำหน้าที่มองหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ของ SCG อย่าง AddVentures ในปี 2563 นี้ ยังคงมีการทุ่มเงินลงทุนอย่างต่อเนื่องในกลุ่มเทคโนโลยีที่กำลังเติบโตไปทั้งหมด 4 บริษัท และ 1 กองทุน (VC Fund) ทั้งในและนอกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ควบคู่กับการดำเนินโปรแกรม “Ignitor” ซึ่งเป็นโปรแกรมที่จะช่วยเชื่อมต่อเทคโนโลยีจาก Startup ภายนอกและหน่วยงานต่างๆ ของ SCG โดยมีจุดประสงค์ที่จะเพิ่มประสิทธิภาพให้กับองค์กร หรือเรียกได้ว่า SCG เป็นลูกค้าของ Startup เหล่านั้นนั่นเอง

วิกฤติการณ์ COVID-19 ถือเป็นความท้าทาย และเป็นตัวเร่งที่ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น SCG เองจึงต้องเร่งผลักดันสร้างนวัตกรรมให้เร็วยิ่งกว่าเดิม โดยเน้นไปที่ 4 กลุ่มนวัตกรรมหลัก (Theme) ที่จะช่วยเสริมความพร้อมให้กับวิถีใหม่ (New normal) ที่เกิดขึ้น ทั้งยังเปิดประตูให้กว้างขึ้นกว่าเดิมสำหรับโอกาสใหม่ๆ ในปี 2564 ที่กำลังจะมาถึงนี้ผู้นำด้าน Digital Transformation

กว่า 3 ปีในงานทางด้าน Digital Transformation, Addventures บ่มไอเดีย "you innovate, we scale" ด้วยการลงทุนไปทั้งหมด 16 Startup และ 5 กองทุน (VC Fund)  โดยแค่ในปี 2563 นี้ AddVentures ทุ่มเงินลงทุนเพิ่มลงใน Portfolio ไปกับ 4 Startup และ 1 กองทุน (VC fund) 

นอกจากด้านการลงทุน ในปี 2563 ยังเป็นอีกปีที่ AddVentures ได้มุ่งเน้นในการปั้นโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ให้กับ SCG และบริษัทในเครือ เพื่อตอบรับกับการขยายของตลาดในอนาคต ล่าสุดร่วมกับ Validus แพลตฟอร์มสินเชื่อ SME ที่เดิมมีการดำเนินงานในสิงคโปร์ อินโดนีเซีย และเวียดนาม ร่วมมองหาโอกาสในการขยายตลาดสู่ประเทศอื่นๆเพิ่มเติม  

Open Innovation ขับเคลื่อนการเติบโตทางธุรกิจ

ฟันเฟืองที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งของการทำ Digital Transformation คือ "Ignitor” โปรแกรมที่ช่วยสร้างสรรค์นวัตกรรมภายใน เป้าประสงค์หลักคือการนำเอาเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยพร้อมใช้งานได้จริง มาปรับปรุงประสิทธิภาพและเพิ่มโอกาสในการทำรายได้สำหรับกว่า 300 บริษัทภายใต้เครือ SCG 

กิจกรรมของโปรแกรมครอบคลุมตั้งแต่การคัดเลือก "pain point" ของแต่ละธุรกิจในเครือ ค้นหาและสร้างความสัมพันธ์กับ tech startup ทั่วโลก ตลอดจนช่วยเหลือในการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้กับเคสจริง ทั้งในช่วงของการทดลองและขยายผล อาทิเช่น การใช้เทคโนโลยี Business Process Automation (BPA) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของหน่วยงานใน SCG ซึ่งที่ผ่านมาสามารถลดเวลาในการทำงานได้จริงกว่า 70% โดยเวลาที่ได้กลับมา สามารถนำไปพัฒนาการให้บริการกับลูกค้า หรืออีกตัวอย่างหนึ่งคือ การนำเทคโนโลยี Omni-channel enablement มาเสริมสร้างประสบการณ์ของลูกค้า (Customer experience) เพื่อให้ลูกค้าสามารถเยี่ยมชมและซื้อสินค้าของ SCG ได้ทั้ง online และ offline ได้อย่างต่อเนื่อง ( Seamless )  

ในปี 2563 หน่วยธุรกิจต่างๆ ได้ส่ง pain point เข้ามาที่ Ignitor โปรแกรม ถึง 55 โครงการ โดย 32 โครงการ ถูกพัฒนาให้เป็น Proof-of-Concept (กรรมวิธีทดสอบการแก้ไขปัญหาในระดับทดลอง) และขยายผลไปยังธุรกิจอื่นๆ ขององค์กร โดยคาดการณ์ว่าการนำเทคโนโลยีมาเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานดังกล่าวจะสามารถช่วยสร้างผลกำไรเพิ่มเติมได้ถึง 1 พันล้านบาทในอีก 3 ถึง 5 ปีข้างหน้าเผชิญกับ New Normal

นอกจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีแล้ว วิกฤติ COVID-19 ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่เร่งให้เกิด Business Transformation ทั้ง B2B และ B2C ทำให้ SCG ต้องให้ความสำคัญกับ 4 ประเด็นสำคัญที่จะช่วยในการรับมือกับวิกฤติดังกล่าว

  1. ธุรกิจรูปแบบใหม่ (New business models)  - SCG มองหาบริษัทที่มีแนวทางการทำธุรกิจเน้นด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเข้าไปสนับสนุนเงินทุน จับมือเป็นคู่ค้า และขยายผลธุรกิจไปในระดับภูมิภาค อาทิเช่น การร่วมมือกับ Janio แพลตฟอร์ม cross-border e-commerce ที่ SCG ได้มีส่วนร่วมขยายธุรกิจให้ครอบคลุมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  2. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ (New product development) - แทนที่จะพึ่งพาการพัฒนาจากภายในเพียงอย่างเดียว SCG เปิดโอกาสให้ Startup ที่มีไอเดียน่าสนใจ เข้ามาเสนอไอเดียเพื่อร่วมพัฒนาไอเดียให้ใช้ได้จริง เนื่องจากการมีบทบาททางธุรกิจที่ครอบคลุม ทำให้ SCG สามารถทดสอบตลาดและคอยอำนวยความสะดวกทางการค้าในแต่ละพื้นที่ผ่านการจดสิทธิบัตรทางเทคโนโลยี ให้กับ Startup ต่างๆ รวมถึงการขยายตลาดมายังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  3. พฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนไป (A shift of customer behaviors) - ความวิตกกังวลกับวิกฤติ COVID-19 ทำให้ลูกค้าเลือกซื้อของผ่านช่องทางออนไลน์มากกว่าการไปหน้าร้าน จึงเป็นหน้าที่ของระบบปฏิบัติงานอัตโนมัติ ต่างๆ ที่ SCG ได้นำมาใช้งานในทุกช่องทางที่สามารถให้ความช่วยเหลือได้ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีกับลูกค้า ในขณะเดียวกันบริษัทยังสามารถเก็บข้อมูลเชิงลึกผ่านการปฏิสัมพันธ์ของลูกค้า Bot เพื่อพัฒนาการบริการให้ดียิ่งขึ้น
  4. Business Process Automation (BPA) - หน่วยธุรกิจหลายหน่วยใช้ระบบ BPA เพื่อช่วยจัดการระบบการทำงานที่ซับซ้อน ซึ่งเป็นระบบดังกล่าวช่วยให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างราบรื่น ลดเวลาการทำงานลงถึง 50-70% ลดต้นทุนและความผิดพลาดส่วนบุคคล และเพิ่มคุณภาพการบริการไปพร้อมๆ กัน ทำให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถจัดเก็บเพื่อไปทำสื่อที่ช่วยทำความเข้าใจเชิงลึกที่แม่นยำ และช่วยพัฒนาระบบต่อไปในอนาคต

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

5 ประโยชน์จาก DUSCAP เครื่องมือ AI อัจฉริยะ ยกระดับองค์กรสู่ความสำเร็จในทุกมิติ

เมื่อเทคโนโลยีกลายเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถขององค์กร การค้นหาโซลูชันที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และตอบโจทย์การทำงานในยุคดิจิทัลเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ DUSCAP ...

Responsive image

KBank เปิดผลงานปี 67 กำไร 48,598 ล้านบาท ท่ามกลางความท้าทายเศรษฐกิจ

นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2567 ยังมีสัญญาณฟื้นตัวไม่ทั่วถึง (K-Shaped Recovery) แม้ในภาพรวมสามารถประคองการขยายตัวไว...

Responsive image

SCB 10X เปิดเวที “Typhoon 2 Unveiled: Advancing AI Research in Thailand” เดินหน้าวิจัย AI ไทย พร้อมเปิดตัว ‘ไต้ฝุ่น 2.0’ เวอร์ชั่นใหม่ล่าสุด

SCB 10X เปิดตัว "ไต้ฝุ่น 2" โมเดลภาษาไทยขนาดใหญ่สุดล้ำในงาน Typhoon 2 Unveiled: Advancing AI Research in Thailand พร้อมยกระดับวิจัย AI ไทยสู่เวทีโลก...