Sea ชูธุรกิจ E-Commerce และ Digital Entertainment และต่อยอดแผนดูแลกลุ่ม SMEs – เยาวชน | Techsauce

Sea ชูธุรกิจ E-Commerce และ Digital Entertainment และต่อยอดแผนดูแลกลุ่ม SMEs – เยาวชน

Sea (ประเทศไทย) กลุ่มบริษัทที่ให้บริการด้านอินเทอร์เน็ตแพลตฟอร์มที่ดำเนินธุรกิจอยู่ในประเทศไทย ซึ่งประกอบไปด้วยการีนา (Digital Entertainment) ช้อปปี้ (e-Commerce) และ ซีมันนี่ (Digital Financial Services) ต่อยอดแผนดูแลกลุ่ม SMEs และผู้บริโภคในช่วง New Abnormal มุ่งสนับสนุนกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs อย่างต่อเนื่องเพื่อลดผลกระทบในการดำเนินธุรกิจจากวิกฤต COVID-19  รวมทั้งสนับสนุนเยาวชนจากครอบครัวที่มีรายได้น้อยของประเทศไทยซึ่งได้รับผลกระทบทางอ้อมจากรายได้ครัวเรือนที่ลดลงในช่วงวิกฤต COVID-19 ทั้งในด้านการศึกษาและคุณภาพชีวิต

ภาพบรรยากาสคลาสฝึกสอนผู้ประกอบการ SMEs (ช่วงก่อนเกิดการระบาดของ COVID-19)

คุณมณีรัตน์ อนุโลมสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Sea (ประเทศไทย) ได้กล่าวถึงมาตรการสนับสนุนธุรกิจ SMEs ว่า “ในช่วง 2 – 3 เดือนที่ผ่านมา เราสามารถเห็นได้ว่าภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงบริษัทในเครือ Sea (ประเทศไทย) ได้ออกมาผลักดันมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการและผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง โดยเราพบว่าผู้ประกอบการ SMEs กลุ่มที่เป็นผู้ใช้งานเดิมของช้อปปี้มีอัตราการเติบโตของธุรกิจเพิ่มสูงขึ้นและมีแผนในการสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจในระยะยาว นอกจากนี้ยังมีผู้ประกอบการรายใหม่ที่ปรับตัวเข้ามาขายของบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของช้อปปี้ 

ซึ่งต้องการได้รับการสนับสนุนในการเริ่มต้นธุรกิจทั้งด้านความรู้ด้านการทำการตลาดแบบออนไลน์ รวมถึงการได้รับทรัพยากรด้านเงินลงทุนในช่วงแรก จึงเป็นจุดเริ่มต้นของโครการ “Shopee Seller Support Package” ซึ่งจัดทำร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในการให้ความรู้และการสนับสนุนร้านค้าที่เข้ามาลงทะเบียนร่วมโปรแกรมเพื่อรับรายการสนับสนุนต่างๆรวมมูลค่า 5,000 บาท และสิทธิประโยชน์จากช้อปปี้ในการเริ่มต้นธุรกิจ รวมไปถึงการสนับสนุนด้านการทำการตลาดเพื่อกระตุ้นการเติบโตของการเข้าชมร้านค้าและยอดขาย ซึ่งได้รับความสนใจจากพ่อค้าแม่ค้าทั่วประเทศไทย”  

เว็บไซต์ Shopee E-learning

ในขณะเดียวกัน ผู้บริโภคก็รับเอา Digital Solution เข้ามาใช้ในการจับจ่ายมากขึ้นเพื่อขานรับวิถีชีวิตใหม่ในยุค New Abnormal โดยพบว่าผู้ใช้งานอีคอมเมิร์ซในต่างจังหวัดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ผู้บริโภคในกรุงเทพฯ มีความถี่ในการใช้งาน

อีคอมเมิร์ซสูงที่สุด คิดเป็น 48% ของพัสดุสินค้าทั้งหมดจากอีมาร์เก็ตเพลส ด้านช้อปปี้ก็พบแนวโน้มพฤติกรรมที่สอดคล้องกันคือผู้ซื้อจากทั่วประเทศใช้เวลาบนแอปพลิเคชันช้อปปี้เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 20% ต่อสัปดาห์ และข้อมูลจากช่วงกลางเดือนมีนาคมถึงกลางเดือนพฤษภาคม 2563 ยังพบว่าผู้ซื้อเลือกชำระเงินผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยพบว่าแอปพลิเคชันแอร์เพย์เป็นตัวเลือกที่ได้รับความนิยมมากในกลุ่มวัยทำงานตอนต้น (First Jobber) และวัยทำงาน (Jobber) ซึ่งเป็นเทรนด์ที่สอดคล้องกับข้อมูลการชำระเงินเดือนมีนาคม 2563 จากธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งชี้ว่ามีการใช้ Digital Payment เพิ่มขึ้นกว่า 40% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ให้สามารถขานรับการเติบโตของความต้องการผู้บริโภคบนตลาดอีคอมเมิร์ซได้ ช้อปปี้ได้ยกระดับภาพระบบจัดการร้านค้าให้ตอบโจทย์ผู้ขายทั้งในด้านการบริหารจัดการคลังสินค้า การประเมินความต้องการที่มีต่อสินค้าแต่ละชนิด

เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้ร้านค้าสามารถหาสินค้ามาให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค ทั้งยังมีเครื่องมือทางการตลาดและการให้คำปรึกษาด้านการตลาดจากทีมงานช้อปปี้ ซึ่งผู้ขายสามารถนำไปปรับใช้เพื่อส่งเสริมการขายได้อย่างเต็มศักยภาพ ซึ่งทำควบคู่ไปกับการให้ความรู้และเพิ่มพูนทักษะในการขายสินค้าออนไลน์ทั้งในระดับพื้นฐานและขั้นสูง ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์อย่าง Shopee E-learning และ Shopee University Webinar ซึ่งมีการพัฒนาหลักสูตรให้หลากหลาย เข้าใจง่าย ไม่ว่าใครก็สามารถเลือกเรียนหลักสูตรที่เหมาะสมกับตัวเองได้

เว็บไซต์ Shopee E-learning

“นอกจากการสนับสนุน SMEs แล้ว อีกกลุ่มเป้าหมายที่ Sea (ประเทศไทย) เล็งเห็นว่ามีความเปราะบางได้แก่กลุ่มเยาวชนและคนรุ่นใหม่จากครอบครัวที่มีรายได้น้อย ซึ่งได้รับผลกระทบจากวิกฤต COVID-19 ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น การเลื่อนเปิดเทอมทั่วประเทศไทย และชีวิตความเป็นอยู่ที่อาจได้รับผลกระทบจากรายได้ครัวเรือนที่ลดลงและการเลื่อนเปิดเทอมดังกล่าว” นางสาวมณีรัตน์ กล่าวเสริมนอกจากการสื่อสารผ่านคอมมูนิตี้การีนาซึ่งเปรียบเสมือนแหล่งรวมตัวของคนรุ่นใหม่ เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนและวัยรุ่นได้รับทราบและมีความเข้าใจเกี่ยวกับการรับมือสถานการณ์ COVID-19 อย่างถูกต้องแล้ว Sea (ประเทศไทย) และการีนา (ประเทศไทย) ยังต่อยอด

การดูแลกลุ่มเยาวชนผ่าน 2 โครงการ ได้แก่ 

1.    โครงการมอบทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา     

โดยการีนา (ประเทศไทย) สมทบทุนร่วมกับมูลนิธิยุวพัฒน์เพื่อสนับสนุนทุนการศึกษาให้แก่เยาวชนผู้ด้อยโอกาส และร่วมมือกับแอปพลิเคชันการศึกษา StartDee ซึ่งมีเนื้อหาครบทุกวิชาหลัก ตั้งแต่ ป.1 - ม.6 ตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อมุ่งส่งเสริมให้เยาวชนในครอบครัวที่มีรายได้น้อยได้มีโอกาสเข้าถึงช่องทางการเรียนรู้ทางเลือกที่มีความยืดหยุ่น ตอบโจทย์การจัดสรรเวลาของเด็กๆ และส่งเสริมให้การเรียนรู้ภายในโรงเรียนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

 แอปพลิเคชันเพื่อการศึกษา StartDee

 แอปพลิเคชันเพื่อการศึกษา StartDee

2.    โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตเยาวชนในครอบครัวที่มีรายได้น้อย     

ทั้งการสนับสนุนกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เพื่อจัดหาอาหารให้แก่นักเรียนระดับชั้นอนุบาลถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวนทั้งสิ้น 761,729 คน ที่มาจากครอบครัวซึ่งมีรายได้น้อยที่สุด 20% ของประเทศไทย ซึ่งจำเป็นต้องพึ่งพาอาหารกลางวันในโรงเรียนเป็นอาหารมื้อหลัก ตลอดจนการให้ทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลเด็กเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่ด้อยโอกาส 

Sea (ประเทศไทย) ร่วมสนับสนุนกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เดลต้า ประเทศไทย ชูธงนวัตกรรม ESG คว้าดัชนี FTSE4Good ตอกย้ำความเป็นเลิศ

เดลต้าได้รับคัดเลือกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของดัชนี FTSE4Good Index Series ซึ่งจัดทำโดย FTSE Russell ผู้ให้บริการด้านดัชนีและข้อมูลระดับโลก...

Responsive image

GMM Music เผย Digital Streaming ตัวเร่งสำคัญในการเติบโตของอุตสาหกรรมเพลงไทย

อุตสาหกรรมเพลงไทยยุคดิจิทัล
อุตสาหกรรมเพลงไทยกำลังเข้าสู่ยุคทองของการเติบโตแบบก้าวกระโดด จากพลังแห่งโลกดิจิทัลที่ทำให้ดนตรีไทยทะยานสู่ระดับโลก โดยปี 2023 ตลาดเพลงไทยขยายตัว 16% เที...

Responsive image

รู้จัก MoneyThunder แก้หนี้นอกระบบด้วย AI แอปสินเชื่อออนไลน์จาก ABACUS Digital

สำรวจปัญหาหนี้นอกระบบในไทยที่ส่งผลกระทบต่อคนกว่า 21 ล้านคน พร้อมทำความรู้จัก MoneyThunder แอปสินเชื่อ AI ที่ช่วยคนไทยเข้าถึงเงินทุนอย่างปลอดภัยและยั่งยืน...