ค้นคว้า ออกแบบ ทดสอบ… กว่าจะออกมาเป็น Skooldio Live Remote Workshop | Techsauce

ค้นคว้า ออกแบบ ทดสอบ… กว่าจะออกมาเป็น Skooldio Live Remote Workshop

ในสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 ที่กำลังทำให้ธุรกิจหลายส่วนต้องลุกขึ้นมาปรับตัวกันอย่างเร่งด่วน Skooldio เองก็โดนผลกระทบไปไม่น้อย เพราะทั้งปีเรามีตาราง Workshop แบบนั่งเรียนในคลาสวางไว้อย่างแน่นเอี๊ยดทุกสัปดาห์ เมื่อเราเห็นความสำคัญของการสร้าง Social distancing เพื่อทำให้โอกาสที่ไวรัสจะระบาดมีน้อยลง เราเลยตัดสินใจเลื่อน workshop ที่จัดในปลายเดือนมีนาคม — พฤษภาคมออกไปทั้งหมด แม้ว่าเมื่อเราโทรหาลูกค้าแต่ละท่าน ลูกค้าส่วนมาก ยังอยากที่จะเข้ามาเรียนกับเราอยู่ดีก็ตาม

พอเราได้คุยกับลูกค้า ส่วนมากบอกว่า ห่วงว่าการเป็น Live คือเหมือนการสอนออนไลน์ทั่วไป คนเรียนก็นั่งดูเฉยๆ อยากถามก็พิมพ์แชทเข้าไป โดยที่ไม่รู้ว่าคำถามเราจะได้คำตอบเมื่อไหร่ หรือกิจกรรมกลุ่มต่างๆที่ปกติใน workshop จะมี พอเป็นออนไลน์แล้ว กลัวจะไม่ได้ทำกิจกรรมเหล่านั้น การพูดคุยกับผู้สอน ก็ทำไม่ได้เท่ากับการมาเจอตัวกันจริงๆ

เราเลยคิด วางแผน ออกแบบ และทดลองใช้ tools ต่างๆ และวิธีการ set up อุปกรณ์อยู่นาน กว่าจะได้ออกมา เป็น Skooldio Live Workshop ขึ้น เราเลยอยากพาทุกคนมาดูเบื้องหลังการทำ Live Workshop นี้กัน!


กลัวทำได้แค่นั่งดู

แน่นอนว่า คนที่อยากมาเรียนใน workshop ก็ต้องอยากมีการพูดคุย ทั้งกับคนสอน และกับคนอื่นๆในคลาส การ Live แบบ one-way (ผู้สอนสอนอย่างเดียว ไม่ได้ยินเสียงคนเรียน) จึงโดนตัดทิ้งไปแต่แรกแม้จะเป็นวิธีที่ง่ายและเร็วที่สุดก็ตาม


หน้าจอ Zoom ฝั่งคนเรียน



เริ่มต้น หาโปรแกรม Video Conference

โจทย์ของเราสั้นๆง่ายๆคือ “ทำยังไงให้การเรียนแบบ Live ใกล้เคียงกับการเรียนในคลาสจริงๆที่สุด”

เพราะฉะนั้น โปรแกรมที่เราจะใช้ในการทำ video conference จะต้องสามารถ;

  • เป็น 2-way communication คนสอนคุยกับคนเรียนได้ คนเรียนคุยกับคนสอนได้
  • สามารถแบ่งเป็นกลุ่มย่อย เพื่อทำกิจกรรมกลุ่มได้ — และเรียกทุกคนกลับมาได้พร้อมๆกัน
  • คนสอนสามารถ share screen ให้เห็นสไลด์ได้
  • สามารถสร้าง waiting room เพื่อทำการตรวจสอบชื่อคนเข้าเรียนได้
  • มีคนที่เป็น host และ co-host สามารถจัดการสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในห้องเรียนได้

ทำให้สุดท้ายมาจบที่ Zoom ที่ตอบโจทย์ได้ครบทุกอย่าง

หน้าแอปพลิเคชัน Zoom

Brainstorm ยังไงโดยไม่ใช้ Post-it

Workshop ของ Skooldio จะเน้นให้คนเรียน ได้ลงมือทำจริง ร่วมกันคิด ออกไอเดีย แก้ปัญหา

หนึ่งใน challenge หลักของการย้าย workshop ให้มาอยู่ online จึงเป็นการทำให้กิจกรรมเหล่านี้ยังมีอยู่ โดยที่คนเรียนไม่ได้อยู่ในห้องเดียวกัน

Collaboration tools จึงเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เรานำมาเติมเต็ม workshop ของเรา โดยจะต้องสามารถ;

  • ให้คนเรียนร่วมกันออกไอเดีย แปะ Post-it บนบอร์ดได้
  • ใช้ง่าย เป็นธรรมชาติ
  • จำนวนคนเข้าบอร์ดพร้อมกันต้องได้ 30 คนเป็นอย่างต่ำ
  • จับเวลาทำกิจกรรม
  • มีระบบให้กดโหวตไอเดีย

หลังจากทดสอบอยู่หลายโปรแกรม เราก็มาจบที่ Mural ซึ่งเป็นเว็บไซต์ เข้าง่าย ใช้ไม่ยาก ตอนเริ่มใช้ครั้งแรก อาจจะตะกุกตะกักเล็กน้อย แต่หลังจากกิจกรรมแรกผ่านไปแล้ว จะเริ่มใช้งานได้อย่างรวดเร็ว คนสอนสามารถเตรียมบอร์ดและเขียน instruction การทำกิจกรรมต่างๆไว้ก่อนได้ แล้วซ่อนกิจกรรมนั้นไว้จนกว่าจะถึงเวลา

นอกจากนี้ เรายังใช้ Google Slides/Docs, Visual Studio Code Live Share (สำหรับเวิร์คชอปเขียนโปรแกรม) และ Figma (สำหรับเวิร์คชอปด้าน Design) เพื่อทำกิจกรรมอื่นๆ อีกด้วย

หน้าบอร์ด Mural ที่เราออกแบบบอร์ดให้เหมาะกับกิจกรรมในคอร์สต่างๆเตรียมไว้ก่อน



พอตัวอยู่ไกล คนสอนคนเดียวดูไม่ไหวนะ

สิ่งหนึ่งที่เราชอบมากๆในการเลือกใช้ Zoom คือฟังก์ชัน Breakout Room

เราสามารถแบ่งคนเรียนออกเป็นกลุ่มย่อย เพื่อให้ไปคุยกันในกลุ่ม และทำกิจกรรมร่วมกันได้ โดยที่คนสอน และ Co-host สามารถกระโดดเข้าไปตามกลุ่มต่างๆ นี้ได้อย่างง่ายดาย

ในการทำ Live Workshop ครั้งแรกของเรา มีผู้เข้าเรียนกว่า 50 คน ทุกคนเป็นมือใหม่ในการเข้าร่วม Live Workshop แบบนี้ เราจึงมี Facilitator เป็นทีมงานของ Skooldio เข้าไปดูแลในทุกๆ กลุ่ม

หน้าที่ของ Facilitator คือ;

  • ช่วยสร้างบรรยากาศ — เพราะคนเรียนแต่ละคน อาจมาจากต่างที่ ไม่รู้จักกันมาก่อน ความเงียบจึงเกิดขึ้นได้เป็นธรรมดา
  • ช่วยอธิบายกิจกรรม — ในกรณีที่คนเรียนยังไม่เข้าใจว่าคนสอนให้ทำอะไร
  • ช่วย Troubleshoot ปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น โดยเฉพาะด้าน technical
  • และถึงแม้ Zoom จะมีฟังก์ชันจับเวลา ให้ทุกคนกลับมาที่ห้องใหญ่พร้อมๆ กัน แต่หน้าที่สำคัญของ Facilitator เลยคือการช่วยเตือนให้ทุกคนรีบสรุปกิจกรรมดังกล่าวให้ทันเวลา

Facilitator จะต้องเชี่ยวชาญและเข้าใจเนื้อหาและกิจกรรมทั้งหมดให้แม่นก่อนเริ่ม workshop นั้นๆ และต้องเตรียม energy ให้พร้อมรับมือกับการสร้างบรรยากาศแบบผ่านกล้อง ที่ต้องเล่นใหญ่กว่าการอยู่ใกล้ๆกันคนละเบอร์เลยทีเดียว

หนุ่มๆ Facilitator นั่งอยู่คนละห้อง เพื่อให้เสียงของทุกคนไม่ตีกัน


นอกจาก Facilitator แล้ว ก็ยังต้องมีอีกหนึ่งตัวละครหลักคือคนที่นั่งอยู่หน้าคอมของ Host ที่จะเป็นเหมือนผู้ควบคุมการทำงานทั้งหมดของผู้สอน ทั้งการให้คิวส่งทุกคนเข้า Breakout Room /การส่งคนสอนเข้าห้อง Breakout Room แต่ละห้อง / การ launch Poll ให้คนเรียนเห็น และอื่นๆอีกมากมายทีม Media ควบคุมเครื่อง Host 


ไม่ใช่แค่ประสบการณ์ของคนเรียน ประสบการณ์ของคนสอนก็สำคัญ

ถ้าจะให้คนสอนอยู่ที่บ้าน เปิดสไลด์แล้วพูดตามเฉยๆ โดยที่ไม่เห็นคนเรียนเลย คงไม่สนุกแน่ๆ เราเลยอยากจำลองการ set up ให้เหมือนกับการสอนในคลาสจริงๆ ด้วย จึงเป็นที่มาของ การ Live ในสตูดิโอ แบบนี้กล้องพร้อม! ไฟพร้อม! Lights, Camera, Action!

มี Monitor ที่หันเข้าหาคนสอน 2 จอ จอเล็ก จะให้คนสอนเห็นว่า ตอนนี้คนเรียนเห็นอะไรอยู่ ส่วนจอใหญ่ จะฉายหน้าคนเรียนให้ได้มากที่สุดพร้อมๆ กัน เพื่อให้คนสอนได้เห็นปฏิกิริยาของคนเรียน สอนตรงนี้มีใครทำหน้างงมั้ย ถามคำถามมีคนพยักหน้ามั้ย เล่นมุกไปมีคนขำมั้ย นี่คือเหตุผลที่ทำไมเราต้องขอให้คนเรียนทุกคนเปิดกล้องระหว่างเรียน

คนสอนเห็นหน้าคนเรียนได้อย่างชัดเจน



ขึ้นหน้าจอยังไงให้ดูโปร

จะให้ Live จากกล้องที่ติดมากับคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค ก็กลัวคนเรียนจะไม่ได้มองตาคนสอนชัดๆ เราเลยต้องจัดระบบไฟ เสียง กล้อง และ OBS ให้พร้อม เหมือนเวลาถ่ายทำคอร์สออนไลน์ของเรา กล้องต้องชัด หน้าคนสอนต้องวิ้งค์

ยิ่งถ้า Live แบบปกติ คนสอนแชร์หน้าจอไป คนเรียนก็จะเห็นสไลด์ใหญ่ๆ และหน้าคนสอนเป็นกล่องเล็กๆประสบการณ์ของผู้เรียนคงไม่ดีแน่ เราเลยออกแบบให้หน้าจอที่คนเรียนเห็น มีสไลด์ และหน้าคนสอน ในอัตราส่วนที่พอดี ให้เห็นชัดในจอเดียว ไม่ต้องลำบากหาหน้าคนสอนเองอยู่เรื่อยๆ นี่คือเหตุผลให้ต้องมีการ set up ระบบ OBS และกราฟิกสวยๆ ที่ขึ้นให้เห็นตลอดการเรียน

หากใครสนใจลงลึกเรื่อง Technical และระบบการเชื่อมต่อ สามารถส่งอีเมลมาสอบถามเราได้ที่ [email protected] นะคะ

หน้าจอฝั่งคนเรียน เห็นหน้าคนสอน และสไลด์ไปพร้อมๆกัน

Learning Materials ต้องครบเหมือนเดิม เพิ่มเติมคือความห่วงใย

และเพื่อให้ประสบการณ์การเข้า workshop ครั้งนี้เหมือนมานั่งเรียนอยู่ในคลาสจริงๆที่สุด เราจึงทำการส่ง Learning materials ทั้งหมดไปให้คนเรียนถึงที่บ้าน พร้อมโปสการ์ดคูลๆจาก Skooldio ด้วย


เราพร้อมแล้ว

และหลังจากการทดสอบ ทั้งซ้อม และการรัน workshop จริงเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ตอนนี้เราพร้อมแล้วที่จะนำ Workshop ทั้งหมดของเดือนเมษายน และต้นเดือนพฤษภาคม มาปรับรูปแบบให้เป็น Live Remote Workshop ด้วยประสบการณ์ที่คล้ายการเข้ามานั่งเรียนจริงให้มากที่สุด

สามารถดูรายละเอียด workshop ต่างๆและสมัครเรียนได้ที่เว็บไซต์ของ Skooldio

สำหรับองค์กรไหน หรือวิทยากรท่านใด ที่สนใจใช้ระบบ Live Workshop ของเรา เพื่อให้แผนการอบรมไม่สะดุด และส่งมอบประสบการณ์การเรียนออนไลน์ที่ดีที่สุดในช่วง Lockdown นี้ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ [email protected] ค่ะ


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เสริมสร้างความร่วมมือไทย-ฟินแลนด์ ศึกษาดูงานและขยายโอกาสนวัตกรรม

รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศและเอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮลซิงกิ นำคณะผู้แทนไทยศึกษาดูงานที่ฟินแลนด์ เพื่อกระชับความร่วมมือด้านนวัตกรรม พลังงานหมุนเวียน และเศรษฐกิจหมุนเวียน...

Responsive image

ไทยพบเอสโตเนีย แลกเปลี่ยนมุมมองรัฐบาลดิจิทัล ศึกษาต้นแบบ e-Government

ไทยเปิดใจเรียนรู้จากเอสโตเนีย ระบบ e-Government ที่ประชาชนไว้วางใจ...

Responsive image

ม.มหิดล ชูความสำเร็จผลงานนวัตกรรมวัคซีนไข้เลือดออกเดงกี ชนิดเข็มเดียว เตรียมผลักดันออกสู่ตลาดโลก

โรคไข้เลือด เป็นหนึ่งในโรคประจำถิ่นในทุกประเทศเขตร้อนของโลกรวมทั้งประเทศไทย ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี มียุงลายหรือยุงรำคาญเป็นพาหะนำโรคมาสู่คน และในปัจจุบันมีประชากรประม...