สร้าง Smart Business เสริมธุรกิจไทยเพื่ออนาคต ด้วยเทคโนโลยี Cloud, AI, IoT ครบวงจร | Techsauce

สร้าง Smart Business เสริมธุรกิจไทยเพื่ออนาคต ด้วยเทคโนโลยี Cloud, AI, IoT ครบวงจร

ปี 2020 เป็นปีสำคัญที่เราจะได้เห็นความเปลี่ยนแปลงเชิงเทคโนโลยีในการดำเนินธุรกิจของหลายภาคอุตสาหกรรมในไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผสมผสานเทคโนโลยี Cloud, AI, หรือแม้แต่ IoT มาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งมีแนวโน้มการนำมาปรับที่ชัดเจนยิ่งขึ้นหลังจากวิกฤติโควิด-19 เนื่องจากภาคธุรกิจตระหนักถึงความจำเป็นของการทำงานทางไกล การมี Cloud เก็บข้อมูลและการใช้ AI เพื่อประมวลผลข้อมูลจำนวนมหาศาลจึงเป็นสิ่งที่องค์กรต่างๆ ต้องพิจารณา ในขณะเดียวกันด้านสาธารณสุขก็มีการใช้ Cloud และ AI ในโรงพยาบาลหลายแห่งเพื่อช่วยวินิจฉัยโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วยิ่งขึ้น เทคโนโลยีจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาด จึงกล่าวได้ว่าการผสมผสานเทคโนโลยีใหม่อย่างครบวงจรเป็นสิ่งที่องค์กรธุรกิจและภาคส่วนต่างๆ ในไทยเป็นจำนวนมากล้วนให้ความสำคัญในขณะนี้

คุณอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ชี้ว่า “เทคโนโลยี Cloud ไม่เพียงแต่จะแพร่หลายมากขึ้น แต่จะกลายเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่เสริมเทคโนโลยีแห่งอนาคตทั้งหมด เปรียบเสมือนรันเวย์ที่จะพาธุรกิจทะยานสู่เทคโนโลยีขั้นสูงอื่น ๆ เช่น AI, IoT, และ VR/AR การผสานธุรกิจเข้ากับ Cloud, AI และ IoT จึงมอบโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ และมอบประสบการณ์ในภาพรวมที่ดีขึ้นให้แก่ลูกค้า โดยหัวเว่ยคาดว่าองค์กรธุรกิจทุกแห่งจะใช้ Cloud อย่างเต็มรูปแบบภายในระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี”

เห็นได้อย่างชัดเจนว่า Cloud มีบทบาทสำคัญในทุกธุรกิจและจะเริ่มทวีความสำคัญขึ้นเรื่อยๆ จากรายงาน Huawei GIV ประจำปี 2020 (Global Industry Vision) พบว่าภายในปี ค.ศ. 2025 ธุรกิจองค์กรทั่วโลกทั้งหมดจะหันมาใช้งาน Cloud อย่างเต็มที่ โดยที่ 85% ของแอปพลิเคชันธุรกิจต่าง ๆ จะทำงานอยู่บนระบบ Cloud ในขณะเดียวกัน 86% ขององค์กรธุรกิจก็จะเริ่มหันมาใช้เทคโนโลยี AI และข้อมูลกว่า 80% ขององค์กรที่ไม่เคยถูกนำไปใช้มาก่อน จะถูกนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างจริงจังมากขึ้น 

การมีอีโคซิสเต็มที่ผสานทุกเทคโนโลยีได้อย่างครบวงจรจะช่วยประสานการทำงานและการดำเนินธุรกิจได้อย่างไร้รอยต่อ ยืดหยุ่น และมีประสิทธิภาพการทำงานสูงขึ้นพร้อมกันไปด้วย โดยปัจจุบัน มีเพียงหัวเว่ยที่สามารถส่งมอบเทคโนโลยี full-stack แบบครบวงจร ผสาน AI, IoT, และ Cloud ได้อย่างครบถ้วน จากการเป็นผู้ให้บริการ Cloud รายเดียวในโลกที่มีเทคโนโลยีครบทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ พร้อมให้บริการ Cloud ในทุกรูปแบบ จึงสามารถมอบการบริการที่ยืดหยุ่น สะดวกสบาย และทรงประสิทธิภาพให้แก่องค์กรธุรกิจในประเทศไทย 

จุดแข็งของหัวเว่ยมาจากการเป็นผู้ให้บริการ Cloud รายเดียวในประเทศไทยที่มีศูนย์ข้อมูลหรือ Data Center อยู่ในไทยถึง 2 แห่ง จึงทำให้สามารถมอบบริการ Cloud ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทั้งยังมีเจ้าหน้าที่ชาวไทยพร้อมให้การดูแล ออกแบบ ติดตั้ง และบริการอย่างเต็มที่ จึงดำเนินการแก้ไขปัญหาได้รวดเร็วยิ่งขึ้น สามารถชำระค่าบริการเป็นค่าเงินบาทได้อย่างสะดวกสบาย นอกจากนี้ การที่หัวเว่ยมีศูนย์ข้อมูล Cloud ในไทยยังช่วยเสริมปราการในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลสำหรับธุรกิจ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งประเด็นหลักที่ภาคธุรกิจให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ และเมื่อมีที่ตั้งศูนย์ข้อมูลอยู่ในประเทศ การให้บริการ Cloud นั้น ๆ ก็จะอยู่ภายใต้ความคุ้มครองของกฎหมายไทย ทั้งนี้ หัวเว่ยยังได้ออกเอกสารแนะนำการใช้งานเพื่อให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ของประเทศไทย และยังได้รับใบรับรองมาตรฐานระดับโลกกว่า 50 รายการ รวมถึงมาตรฐาน ISOA27701 ยิ่งไปกว่านั้น ข้อดีที่เห็นได้ชัดที่สุดของการมีศูนย์ข้อมูล Cloud ในประเทศไทยคือการลดค่าใช้จ่ายในการรับส่งข้อมูลจำนวนมหาศาล มีจุดเด่นเรื่องของความหน่วง (Latency) ที่ต่ำ ทั้งยังพร้อมรองรับนวัตกรรมโครงข่ายแห่งอนาคตที่กำลังจะมาถึงในอีกไม่ช้า ตอบรับกับเทรนด์การใช้งานบริการ Cloud ขององค์กรในประเทศไทยที่จะให้ความสำคัญกับบริการ Cloud สาธารณะมากขึ้น (Public Cloud) เนื่องจากใช้งานได้สะดวกกว่า และให้ผลตอบแทนการลงทุน (RoI) ที่คุ้มค่ากว่า การมีศูนย์ข้อมูลในไทยจึงทำให้หัวเว่ยสามารถมอบประสิทธิภาพใน

การทำงานที่สูงกว่าบริการ Cloud ทั่วไปถึง 30% รวมถึงช่วยประหยัดต้นทุนการดำเนินงานได้ถึง 30% เช่นเดียวกัน เสริมอุตสาหกรรมและธุรกิจไทยให้เป็น Smart Business หรือ “ธุรกิจอัจฉริยะ” เต็มตัว เพื่อดึงศักยภาพของเทคโนโลยีนวัตกรรม AI และ IoT ทั้งอีโคซิสเต็มออกมาได้อย่างแท้จริง

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

NIA เปิดเวที AGROWTH เร่งการเติบโตดีพเทคสตาร์ทอัพเกษตร

NIA เดินหน้าสร้างสตาร์ทอัพ สายเกษตรให้เพิ่มขึ้น โดยมุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีเชิงลึก เพื่อเร่งการเติบโตและแก้ไขปัญหาซ้ำซ้อนในภาคเกษตร ที่ต้องการปรับเปลี่ยนการทำเกษตรแบบเดิมไปสู่การพึ่...

Responsive image

ไทยมี ‘ผู้บริหารหญิง’ นั่งบอร์ด แค่ 19% ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลก-อาเซียน

มีผู้หญิงจำนวนน้อยกว่าหนึ่งในสี่ (ร้อยละ 23.3) ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการทั่วโลก โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 นับตั้งแต่รายงานฉบับล่าสุดที่เผยแพร่ในปี 2565...

Responsive image

EVAT จับมือ กฟผ. และ ม.กรุงเทพธนบุรี จัดแข่งรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง พร้อมลงนาม MOU พัฒนายานยนต์ไฟฟ้า

สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย จับมือการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี พร้อมเดินหน้าจัดงานแข่งขันรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงเพื่อธุรกิจแห่งอนาคต ครั้งที่ 3 พร้อมลงนามบั...