ไข 5 เคล็ดลับปั้นแบรนด์ด้วยกลยุทธ์พลิกเกมรบด้วยบทสนทนา Twitter | Techsauce

ไข 5 เคล็ดลับปั้นแบรนด์ด้วยกลยุทธ์พลิกเกมรบด้วยบทสนทนา Twitter

ผู้คนใน Twitter และหัวข้อบทสนทนาต่างมีความหลากหลายและกว้างขวาง โดยหัวข้อการสนทนามีตั้งแต่เรื่องของอีคอมเมิร์ซ กีฬา ความงาม แฟชั่น หรืออาหาร ผู้คนทั่วโลกต่างคอนเน็คและพูดคุยสิ่งที่เกิดขึ้นหรือ #WhatsHappening แบบเรียลไทม์รวมถึงแบรนด์ต่างๆ ด้วยเช่นกัน

ในช่วงเวลาที่แบรนด์จำเป็นต้องใช้กลยุทธ์เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นกว่าแต่ก่อน แบรนด์ต่างๆ จึงต้องมองหาวิธีใหม่ๆ ในการคอนเน็คกับผู้บริโภค และมองหาวิธีการใหม่เพื่อสร้างการรับรู้ กระตุ้นให้เกิดความต้องการ และนำไปสู่การตัดสินใจซื้อสินค้า ในขณะที่บางแบรนด์อาจยังคงยึดติดอยู่กับยอดคลิก แต่บางแบรนด์ที่มองไปข้างหน้าต่างมีความเข้าใจเส้นทางของกลุ่มเป้าหมาย และพลิกกลยุทธ์การตลาด โดยเน้นไปที่การสร้างแรงบันดาลใจและคอนเน็คกับผู้ที่ติดตามแบรนด์ผ่านบทสนทนา

ดันธุรกิจให้เติบโตขึ้นด้วยบทสนทนา

การสร้างบทสนทนาเป็นพื้นที่ทางการตลาดรูปแบบใหม่ของแบรนด์ และยังเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการวางตำแหน่งของการเป็นผู้นำทางความคิด ทั้งนี้บทสนทนายังช่วยสร้างการรับรู้ในตัวสินค้าหรือแบรนด์ และยังเป็นวิธีที่ทรงประสิทธิภาพในการคอนเน็คระหว่างแบรนด์กับกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดี รวมทั้งยังเป็นวิธีที่สามารถเปลี่ยนสถานะคนที่ติดตามแบรนด์ให้กลายเป็นลูกค้าได้อีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทสนทนาบน Twitter

Twitter นับว่ามีประสิทธิภาพสูงที่สุดในการขับเคลื่อนบทสนทนา ด้วยสัดส่วน 4:1 ของผลตอบรับจากการสนทนาเมื่อเทียบกับช่องทางอื่นๆ  ซึ่งทำให้บทสนทนาบน Twitter คือหัวใจสำคัญของกลยุทธ์ทางการตลาดของแบรนด์ที่มีการเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ผลวิจัยของ Twitter พบว่าบทสนทนาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือแบรนด์ที่เพิ่มขึ้น 10% ส่งผลให้มียอดขายผลิตภัณฑ์หรือแบรนด์เพิ่มขึ้นถึง 3%

นายอาร์วินเดอร์ กุจรัล กรรมการผู้จัดการ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Twitter  กล่าวถึงความสำคัญของบทสนทนาที่เป็นส่วนหนึ่งในกลยุทธ์ของแบรนด์ปัจจุบันว่า “การสนทนาคือพรมแดนของการตลาดรูปแบบใหม่ของแบรนด์ และทวีตได้กลายเป็นเสมือนสกุลเงินที่สำคัญของแบรนด์ไปแล้ว แบรนด์ที่เข้าใจการตลาดได้เดินหน้าไปไกลกว่าแค่ยอดคลิก และมีความเข้าใจถึงความสำคัญของบทสนทนา โดยเข้าใจดีว่า บทสนทนาสามารถสนับสนุนกลยุทธ์การตลาดแบบ marketing funnels ทั้งในการดึงกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ และการขยายบทสนทนาให้มีประสิทธิภาพสูง และยังใช้ประโยชน์จากพลังของบทสนทนาบน Twitter เพื่อกระตุ้นการรับรู้แบรนด์ กระตุ้นให้เกิดความต้องการและนำไปสู่การตัดสินใจซื้อได้ในที่สุด”

5 เคล็ด (ไม่) ลับที่แบรนด์ต้องรู้ในการสร้างกลยุทธ์บทสนทนา #ConverseToConvert

1.เพราะผู้บริโภคทุกคนไม่เหมือนกัน

อาจเป็นประโยคที่ทุกคนทราบดีอยู่แล้ว แต่อยากให้ลองคิดไตร่ตรองว่าแต่ละแบรนด์ต่างมีน้ำเสียงของแบรนด์ที่มีเอกลักษณ์ ฉะนั้นจำเป็นต้องคิดถึงผู้บริโภคเป็นหลักว่า ใครคือผู้ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ มีรสนิยมและสไตล์อย่างไรบ้าง แต่ละชุมชนต่างก็มีคาแรคเตอร์ที่แตกต่างกัน รวมไปถึงเรื่องของการใช้ภาษา สำหรับประเทศไทย ประชากรบน Twitter ในประเทศไทยนับได้ว่ามีความหลากหลาย ซึ่งแบ่งออกเป็น Gen Y (37.6%), Gen Z (31.1%), Gen X (28.2%) และ เบบี้ บูมเมอร์ (3.1%) ผู้มีอิทธิพลทางวัฒนธรรมและการให้ลำดับความสำคัญของคนแต่ละเจนล้วนมีความแตกต่างกัน ดังนั้นการที่จะสื่อสารกับแต่ละกลุ่มประชากรก็ต้องมีความแตกต่างกันเช่นเดียวกัน

2. แตกต่าง แต่ไม่แตกแยก

ทวีตข้อความเดียวอาจจุดประกายให้เกิดบทสนทนาได้ ดังนั้นต้องให้แน่ใจว่าการสร้างบทสนทนาต้องเป็นไปในแง่บวกและช่วยเหลือเกื้อกูลกัน แบรนด์ควรจะต้องมีภาพของความเป็นตัวของตัวเอง ขณะเดียวกันก็ยินดีที่จะน้อมรับกับความคิดเห็นและฟีดแบ็กต่างๆ รวมถึงการให้คุณค่ากับไอเดียใหม่ๆ และคำแนะนำจากผู้บริโภคและนำไปสู่กระบวนการเรียนรู้ต่อไป Twitter นับเป็นช่องทางที่ทำให้แบรนด์สามารถเชื่อมต่อกับผู้บริโภคได้ในแบบที่ไม่เหมือนกับช่องทางอื่นๆ ซึ่งด้วยจุดแข็งนี้จะช่วยให้แบรนด์สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคและทำให้พวกเขาตัดสินใจซื้อสินค้าหรือใช้บริการได้

3.จากบทสนทนา...สู่ความต้องการซื้อ

บทสนทนาที่ดีจะสามารถช่วยกระตุ้นให้ผู้บริโภคต้องการซื้อสินค้า อยากจะค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวกับสินค้านั้นๆ มากขึ้น อยากที่จะคลิกเข้าไปดูสินค้าในเว็บไซต์ หรืออยากที่จะใช้โค้ดหรือคูปองส่วนลดเพื่อซื้อสินค้า โดยคนที่เป็นกระบอกเสียงของแบรนด์สามารถกระตุ้นหรือช่วยจุดกระแสให้เกิดบทสนทนาเกี่ยวกับสินค้าได้ จากข้อมูลของ Statista Global Consumer Survey พบว่า 59% ของนักช้อปออนไลน์ในประเทศไทยเห็นด้วยว่าการรีวิวของคนบนอินเตอร์เน็ตซึ่งช่วยให้พวกเขาตัดสินใจว่าจะซื้อสินค้าอะไร ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความคิดเห็นต่างๆ ของผู้บริโภคคนอื่นมีความสำคัญและอาจเปลี่ยนให้เกิดความต้องการซื้อสินค้าได้ แบรนด์จึงจำเป็นต้องรับฟังทุกความคิดเห็นใน

บทสนทนา ซึ่งเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องมีการชี้แจง และให้เหตุผลเพื่อช่วยให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้าหรือใช้บริการ

4. สร้างแรงบันดาลใจด้วยบทสนทนา

ระหว่างที่มีการสนทนาแบรนด์ควรระมัดระวังไม่ให้ดูพยายามตั้งใจขายสินค้ามากจนเกินไป เนื่องจาก Twitter เป็นสถานที่ที่ผู้คนเข้ามาพูดคุยและแบ่งปันความคิดเห็น ซึ่งการรีวิวที่จริงใจและตรงไปตรงมานี้เองที่เป็นกระบอกเสียงอันทรงพลัง แบรนด์จึงควรสนใจในบทสนทนา ทำความเข้าใจผู้บริโภคและเคารพพวกเขา พูดคุยแลกเปลี่ยนบทสนทนาให้ตรงกับหัวข้อนั้นๆ ไม่ใช่ตั้งใจขายแต่สินค้าอย่างเดียวเท่านั้น

5. คิดให้ไกลกว่าแค่ปิดการขาย

แบรนด์ส่วนใหญ่โฟกัสกับการสร้างการรับรู้ กระตุ้นให้เกิดความต้องการซื้อสินค้า และปิดการขายให้ได้ หรือนึกถึงแต่ยอดขายเป็นหลัก ซึ่งหลายๆ ครั้งไม่ได้หยุดอยู่แค่นั้น แต่มาถึงจุดที่แบรนด์อาจลืมไปแล้วว่าการสนทนากับลูกค้าเป็นพลังที่สำคัญ โดยการสนทนาสามารถสร้างความภักดีได้ ผู้บริโภคที่มีความพึงพอใจในตัวสินค้า สามารถกลายมาเป็นลูกค้าที่ภักดีต่อแบรนด์ได้ การสนทนาจะนำไปสู่การกลายมาเป็นกระบอกเสียงที่ดีที่สุดของแบรนด์ ทั้งนี้ Twitter จึงเป็นพื้นที่พิเศษไม่เหมือนใครที่ผู้บริโภคสามารถแบ่งปันประสบการณ์ที่มีต่อสินค้าและสามารถสร้างอิทธิพลต่อคนอื่นๆ พร้อมทั้งสามารถกระตุ้นยอดขายให้กับแบรนด์ได้

การที่ต้องเข้าไปอยู่ในโมเม้นท์และเข้าไปมีส่วนร่วมกับผู้บริโภคคือกุญแจสำคัญในการสร้างบทสนทนาระหว่างกลุ่มเป้าหมายและนำไปสู่การเป็นลูกค้า ดังนั้นแบรนด์ที่เข้าใจเรื่องนี้เป็นอย่างดีต้องนำบทสนทนาเข้ามาเป็นหัวใจสำคัญของกลยุทธ์ทางการตลาด โดย Twitter ขอแนะนำ 4 ฟีเจอร์สุดสร้างสรรค์ที่เป็นตัวช่วยให้แบรนด์สามารถสร้าง

แรงบันดาลใจให้กับผู้บริโภคและสร้างบทสนทนาของตัวเองบน Twitter ดังนี้

1.Promoted Trend Spotlight

ฟีเจอร์ Promoted Trend Spotlight ที่จะปรากฏด้านบนของเทรนด์ Twitter ซึ่งมีความโดดเด่นที่สุดและช่วยให้แบรนด์ปรากฏชัดเจนและทรงพลัง พร้อมขับเคลื่อนบทสนทนาให้ผู้คนพูดคุยและเข้ามามีส่วนร่วมเกี่ยวกับแบรนด์

 2. Carousel Ad

เมื่อมีการเกิดเป็นการสนทนาแล้วจึงนำมาขยายผล โดยฟีเจอร์ Carousel Ad จะปรากฎในฟอร์แมตสุดครีเอทในการช่วยกระตุ้นการสนทนาและสร้างความอยากในการซื้อสินค้าหรือใช้บริการ โดยสามารถนำมาขยายผลด้วยการใช้งานร่วมกับอินฟลูเอ็นเซอร์ได้

3. Conversational Cards

ฟีเจอร์ conversational ad formats คือ การใช้พลังของภาพหรือวิดีโอที่ช่วยให้แบรนด์สร้างบทสนทนาเกี่ยวกับสินค้าด้วยการใช้ปุ่มกด call-to-action และใช้แฮชแท็กที่ออกแบบให้มีความเกี่ยวข้อง โดยฟีเจอร์นี้มีประสิทธิภาพสูงในการสร้างเอ็นเกจกับผู้บริโภคและสามารถช่วยแชร์ข้อความสำคัญต่างๆ ของแบรนด์ได้อีกด้วย

4.Twitter Threads

เมื่อทวีตเดียวไม่เพียงพอ การสร้างเธรด Twitter threads จึงสามารถตอบโจทย์นี้ได้ แบรนด์สามารถเอ็นเกจกับผู้บริโภคด้วยหลายทวีตภายในเธรด ซึ่งจะช่วยให้แบรนด์สื่อสารอย่างต่อเนื่อง แชร์ข้อมูลที่เกียวกับสินค้าได้มากขึ้น และกระตุ้นความต้องการของผู้บริโภค และยังสามารถดึงกลุ่มเป้าหมายให้กลับมาที่ทวีตเริ่มต้นได้

ปี 2020 นับเป็นปีแห่งการดิสรัปชั่นและเป็นปีที่ต้องอยู่ห่างกัน ซึ่งคงไม่ต่างจากปี 2021 นี้มากนัก บทสนทนาอันทรงพลังจะสามารถช่วยให้เกิดความรู้สึกที่เป็นปกติได้ในปีที่มีแต่ความไม่ปกติเกิดขึ้น และจะช่วยผลักดันให้ผู้คนเข้ามา

คอนเน็คและขับเคลื่อนบทสนทนาบน Twitter ให้เติบโตขึ้น ดังนั้น แบรนด์จึงจำเป็นที่จะต้องสร้าง #ConverseToConvert ให้เป็นกลยุทธ์สำคัญในการทำการตลาดในปัจจุบัน

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ดีอี ผนึก ‘อว.- ศธ.’ ร่วมมือ UNESCO นำเวที UNESCO Global Forum on the Ethics of AI 2025

ประเทศไทยเตรียมเป็นเจ้าภาพงาน “UNESCO Global Forum on the Ethics of AI 2025” ครั้งแรกในเอเชียแปซิฟิก ภายใต้แนวคิด “Ethical Governance of AI in Motion” ย้ำบทบาทผู้นำจริยธรรม AI ระดั...

Responsive image

เสริมสร้างความร่วมมือไทย-ฟินแลนด์ ศึกษาดูงานและขยายโอกาสนวัตกรรม

รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศและเอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮลซิงกิ นำคณะผู้แทนไทยศึกษาดูงานที่ฟินแลนด์ เพื่อกระชับความร่วมมือด้านนวัตกรรม พลังงานหมุนเวียน และเศรษฐกิจหมุนเวียน...

Responsive image

ไทยพบเอสโตเนีย แลกเปลี่ยนมุมมองรัฐบาลดิจิทัล ศึกษาต้นแบบ e-Government

ไทยเปิดใจเรียนรู้จากเอสโตเนีย ระบบ e-Government ที่ประชาชนไว้วางใจ...