depa ร่วมกับ TMA จัดโครงการ ‘Startups as a Key Driver for Competitiveness’ เฟ้นหา Digital Startup มาร่วมแก้ปัญหาของประเทศ | Techsauce

depa ร่วมกับ TMA จัดโครงการ ‘Startups as a Key Driver for Competitiveness’ เฟ้นหา Digital Startup มาร่วมแก้ปัญหาของประเทศ

“Startups as a Key Driver for Competitiveness” เปิดโอกาสให้ Startups เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันประเทศ โดย depa และ TMA ร่วมกันเฟ้นหา Digital Startup ที่มี Solution เข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาของประเทศ

Startup มีบทบาทสำคัญต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศในโลกยุคใหม่ ที่เต็มไปด้วยความเปลี่ยนแปลงและความไม่แน่นอน เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ด้วยความสามารถในการสร้างมูลค่าที่เติบโตแบบก้าวกระโดด ในขณะเดียวกัน สินค้าและบริการที่ Startups สร้างขึ้นยังเป็นเครื่องมือที่ช่วยแก้ปัญหา (Pain points) และอำนวยความสะดวกแก่ธุรกิจแบบดั้งเดิม ให้สร้างมูลค่าได้เพิ่มขึ้น และยังมีส่วนช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรโดยรวมอีกด้วย

สำหรับประเทศไทย ทั้งภาครัฐและเอกชนต่างตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนี้ และได้มีนโยบาย และมาตรการรวมถึงความร่วมมือในการขับเคลื่อนเพื่อสร้างระบบนิเวศวิสาหกิจเริ่มต้น (startup ecosystem) ให้มีความเข้มแข็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมและพัฒนา Digital Startup เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) และเศรษฐกิจฐานผู้ประกอบการ (Entrepreneurial Economy) 

ทำความรู้จักโครงการ “Startups as a Key Driver for Competitiveness”

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) ร่วมกับ สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) ได้มีแนวทางการดำเนินกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสนับสนุน Startups ทั้งในด้านศักยภาพในการบริหารจัดการ และการเข้าถึงเครือข่ายใน Ecosystem และ มุ่งเน้นการเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคต โดยให้ความสำคัญกับการสร้าง Enterprise of the future โดยมุ่งสนับสนุน startups ให้เข้ามามีบทบาทในการแก้ไขปัญหาของประเทศในด้านต่างๆ

โอกาสสำหรับ Startups ในการร่วมยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

  1. เปิดโอกาส - การเปิดโอกาสให้ startups ที่มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ช่วยแก้ไขปัญหาหรือสนับสนุนการดำเนินงานของภาคธุรกิจหรือของประเทศ แต่ยังขาดเงินทุนในการขยายผลในเชิงธุรกิจ ได้มีโอกาสนำเสนอสินค้าและบริการต่อนักลงทุน บริษัทที่มีความสนใจในการลงทุนหรือร่วมมือกับ startups

  2. ได้เรียนรู้ – โครงการมีการจัดกิจกรรมสร้างความรู้และเสริมศักยภาพในด้านที่จำเป็นสำหรับ startups ที่ได้รับการคัดเลือก อาทิ ด้านการเงิน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การตลาด ฯลฯ โดยอาศัยเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญของ TMA

  3. สร้างเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจ - การเชื่อมโยง startups กับ stakeholders ใน startups ecosystem ทั้งในประเทศ ภูมิภาคอาเซียน และระดับสากลผ่านเครือข่ายของ TMA

คุณคือ Startups ที่เรากำลังตามหาหรือไม่ ?

โครงการ Startups as a Key Driver for Competitiveness เปิดโอกาสให้ Startups นำ Solution เข้ามาช่วยแก้ปัญหาและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศใน 4 ด้าน ได้แก่

  • SMART Agriculture
  • Innovation and Sustainability Driven MICE
  • Healthcare & Wellness of The Future
  • Education for the Future

เกณฑ์การคัดเลือกทีม (Team requirements)

  • Startup ที่อยู่ใน Validation stage หรือมี Minimum Viable Product (MVP) ที่มีการนำไปทดสอบในตลาดกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายแล้ว หรือ มีการรับรองไอเดีย/ คอนเซ็ปต์ของผลิตภัณฑ์แล้ว
  • ทีมที่มีทักษะทาง ธุรกิจ เทคโนโลยี รวมทั้งทักษะที่จำเป็นด้านอื่น ๆ
  • มีแนวคิดการพัฒนา Solution จะต้องเกี่ยวข้องกับ 4 สาขาหลักข้างต้น ที่สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้
  • ต้องมีสมาชิกในทีมอย่างน้อย 1 - 2 คน ที่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมในโครงการตั้งแต่เริ่มไปจนจบโครงการ (ตุลาคม – ธันวาคม 2564) 
  • สามารถใช้ภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจได้คล่อง

สำหรับผู้ที่สนใจสมัครได้แล้ววันนี้ – 12 ตุลาคม 2564 ที่ https://forms.gle/6aYYtw6LNbFJ8VB49 หรือ Scan QR Code


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เสริมสร้างความร่วมมือไทย-ฟินแลนด์ ศึกษาดูงานและขยายโอกาสนวัตกรรม

รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศและเอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮลซิงกิ นำคณะผู้แทนไทยศึกษาดูงานที่ฟินแลนด์ เพื่อกระชับความร่วมมือด้านนวัตกรรม พลังงานหมุนเวียน และเศรษฐกิจหมุนเวียน...

Responsive image

ไทยพบเอสโตเนีย แลกเปลี่ยนมุมมองรัฐบาลดิจิทัล ศึกษาต้นแบบ e-Government

ไทยเปิดใจเรียนรู้จากเอสโตเนีย ระบบ e-Government ที่ประชาชนไว้วางใจ...

Responsive image

ม.มหิดล ชูความสำเร็จผลงานนวัตกรรมวัคซีนไข้เลือดออกเดงกี ชนิดเข็มเดียว เตรียมผลักดันออกสู่ตลาดโลก

โรคไข้เลือด เป็นหนึ่งในโรคประจำถิ่นในทุกประเทศเขตร้อนของโลกรวมทั้งประเทศไทย ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี มียุงลายหรือยุงรำคาญเป็นพาหะนำโรคมาสู่คน และในปัจจุบันมีประชากรประม...