เผย 5 มาตรการควบคุมสุขลักษณะร้านอาหาร Street Food ทั่วประเทศช่วง COVID-19 | Techsauce

เผย 5 มาตรการควบคุมสุขลักษณะร้านอาหาร Street Food ทั่วประเทศช่วง COVID-19

นักวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) แนะมาตรการควบคุมสุขลักษณะสถานประกอบการขนาดเล็กอยู่ในที่โล่งแจ้ง ได้แก่ ร้านค้าประเภทหาบเร่ แผงลอย ไม่มีหน้าร้าน ตลอดจนร้านอาหารริมทาง (Street Food) ในภาวะการควบคุมสุขลักษณะอย่างเข้มงวด 

ท่ามกลางมติขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่ทั่วราชอาณาจักร โดยมี 5 มาตรการประกอบด้วย 

1. การรักษาระยะห่าง 

2. การหมั่นดูแลสุขลักษณะส่วนบุคคล 

3. การรักษาความสะอาดของพื้นผิวสัมผัส และจัดวางอุปกรณ์ตามมาตรฐาน 

4. ขอความร่วมมือผู้ซื้อให้สวมใส่หน้ากากอนามัย และใช้เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ 

5. การปรับเปลี่ยนรูปแบบการชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมชี้รัฐบาลจำเป็นต้องสนับสนุนผู้ค้าจัดการประกอบกิจการร้านอาหารริมทางภายใต้มาตรฐาน 3 ข้อ ได้แก่ สะอาดปลอดภัย อร่อย และดีต่อสุขภาพในระยะยาว เพื่อสุขลักษณะที่ดีของประชาชน 

โดยการประยุกต์เทคโนโลยีเข้ามาใช้ในรถเข็นขายอาหารริมทางเพื่อควบคุมการจัดการทางสุขลักษณะ และควบคุมการจัดการของเสียจากการประกอบอาหาร เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ สำหรับผู้ค้าที่สนใจรับคำแนะนำการประกอบการร้านอาหารอย่างถูกสุขลักษณะ รวมทั้งเทคนิคสูตรการทำอาหาร ข้อมูลโภชนาการ และเคล็ดลับการขาย ตลอดจนกิจกรรมน่าสนใจสำหรับผู้ประกอบการร้านอาหารริมทาง 

สามารถติดตามของมูลเพิ่มเติมได้ที่เฟซบุ๊กแฟนเพจ ขายอย่างไรให้รวยโคตร by KMITL หรือ facebook.com/kmitlstreetfoodacademy

ผศ.ดร.นภัสรพี เหลืองสกุล หัวหน้าศูนย์ Food Innopolis @KMITL กล่าวว่า หลังจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่ทั่วราชอาณาจักรออกไปอีก 1 เดือน โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 - 31 พฤษภาคม 2563 พร้อมประกาศผ่อนคลายมาตรการบังคับใช้กฎหมายบางอย่างให้ประชาชนสามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติขึ้น เพื่อเป็นการลดผลกระทบด้านเศรษฐกิจ และสังคม โดยคำนึงถึงปัจจัยทางด้านการสาธารณสุขเป็นหลัก

ด้วยเหตุนี้ ศูนย์ Food Innopolis @KMITL ได้ตระหนักถึงแนวทางการประกอบกิจการร้านอาหารริมทาง (Street Food) ซึ่งเป็นหนึ่งในทางเลือกการบริโภคอาหารในชีวิตประจำวันของประชาชน ในช่วงขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน อีกทั้งมีความจำเป็นต้องจัดการมาตรฐานด้านสาธารณสุขอย่างเข้มงวด 

5 มาตรการควบคุมสุขลักษณะร้านอาหารริมทาง ได้แก่

1.    รักษาระยะห่าง ยังสำคัญ ร้านค้าต้องจัดระบบการเข้าคิวสั่ง - รอรับอาหาร โดยใช้หลักการรักษาระยะห่างทั้งระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย และระหว่างผู้ซื้อด้วยกัน อาทิ การมาร์คจุดเข้าคิว การจัดที่นั่งรอโดยเว้นระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตร เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคระหว่างบุคคล

2.    ผู้ขายต้องหมั่นดูแลสุขลักษณะส่วนตัว โดยการหมั่นล้างมืออย่างถูกวิธี สวมใส่หน้ากากอนามัย ไม่พูดคุยเล่นขณะปรุงอาหาร เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค รวมถึงหมั่นเปลี่ยนหน้ากากอนามัย และผ้ากันเปื้อนเพื่อป้องกันการหมักหมมของสิ่งสกปรก

3.    รักษาความสะอาดของพื้นผิวสัมผัส จัดวางอุปกรณ์ให้ไกลเชื้อโรค พื้นผิวสัมผัสทุกจุดที่ต้องมีการวางวัตถุดิบในการปรุงอาหาร อาทิ ชั้นวางวัตถุดิบ พื้นผิววัสดุสำหรับเตรียมประกอบอาหาร หม้อ กระทะ รวมถึงภาชนะใส่อาหาร จะต้องผ่านการล้างทำความสะอาดด้วยน้ำยาทำความสะอาด และเช็ดให้แห้ง รวมถึงต้องจัดวางอุปกรณ์ต่างๆ เช่น หม้อ กระทะ ให้อยู่สูงจากพื้น 60 ซม. เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของสิ่งสกปรก

4.    คนซื้อต้องใส่แมสก์ และล้างมือเสมอ ร้านค้าต้องให้บริการเจลแอลกอฮอล์แก่ผู้ซื้อ รวมถึงขอความร่วมมือให้ผู้ซื้อสวมใส่หน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค

5.    สังคมไร้เงินสด ต้องมาให้ทันเวลา ร้านค้าควรปรับรูปแบบการชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อลดการสัมผัสระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย โดยอาจมีวิธีการชำระเงินที่หลากหลายให้ผู้ซื้อได้เลือกชำระเงินตามความสะดวก

ผศ.ดร.นภัสรพี กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม มาตรการควบคุมสุขลักษณะร้านอาหารริมทางดังกล่าว ควรนำมาปรับใช้ในระยะยาว แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะคลี่คลายลง เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพร้านอาหารริมทางให้ดำเนินกิจการภายใต้มาตรฐานด้านสาธารณสุขอย่างยั่งยืน สอดรับกับ New Normal ของผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้าเพื่อการบริโภคที่มีคุณภาพ สะอาด และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ซึ่งการนำเทคโนโลยีอันชาญฉลาดมาปรับใช้ในรถเข็นขายอาหารริมทาง เป็นทางเลือกที่สำคัญในการควบคุมสุขลักษณะ ตลอดจนควบคุมกระบวนการกำจัดของเสียที่ได้จากกระบวนการปรุงอาหารในร้าน อีกทั้งเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อม และทัศนียภาพบริเวณร้านอาหารอีกด้วย 

“ระยะเวลาผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์ ถือเป็นช่วงเวลาพิสูจน์ความสามารถของผู้ประกอบการร้านอาหารริมทาง และสถานประกอบการขนาดเล็กที่ได้รับอนุญาตให้เปิดกิจการก่อน ภายใต้การบริหารจัดการที่เป็นไปตามมาตรฐานทางสาธารณสุข หากผู้ประกอบการเหล่านี้สามารถบริหารจัดการได้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย ก็จะส่งผลดีต่อธุรกิจอื่นๆ ให้เรียนรู้แนวทางการจัดการที่ดี และมีโอกาสได้รับการผ่อนปรนในเร็ววัน เป็นการฟื้นฟูวิถีชีวิต เศรษฐกิจ และสังคมให้ดีขึ้นตามลำดับ” ผศ.ดร.นภัสรพี กล่าวทิ้งท้าย

ทั้งนี้ สำหรับผู้ค้าที่สนใจรับคำแนะนำการประกอบการร้านอาหารอย่างถูกสุขลักษณะ รวมทั้งเทคนิคสูตรการทำอาหาร ข้อมูลโภชนาการ และเคล็ดลับการขาย ตลอดจนกิจกรรมน่าสนใจสำหรับผู้ประกอบการร้านอาหารริมทาง สามารถติดตามของมูลเพิ่มเติมได้ที่เฟซบุ๊กแฟนเพจ ขายอย่างไรให้รวยโคตร by KMITL หรือ facebook.com/kmitlstreetfoodacademy

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ททท. ประกาศผู้ชนะ TAT Travel Tech Startup 2024 ทีม HAUP คว้าชัย ร่วมผลักดัน ท่องเที่ยวไทยกับ 11 ทีม Travel Tech

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ประกาศผลผู้ชนะโครงการ TAT Travel Tech Startup 2024 กิจกรรมบ่มเพาะและโจทย์ด้านการท่องเที่ยวสุดท้าทาย ร่วมกับพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญ ภายใต้แนวคิด WORLD...

Responsive image

ทำความรู้จักกับซิม IoT จาก SoftBank และ 1NCE จ่ายครั้งเดียว ใช้งานได้ต่อเนื่องถึง 10 ปี

รู้จักซิมการ์ด IoT จาก 1NCE เชื่อมต่ออุปกรณ์ได้ทั่วโลกใน 173 ประเทศ ด้วยค่าใช้จ่ายครั้งเดียวใช้งานได้นาน 10 ปี เหมาะสำหรับธุรกิจที่ต้องการโซลูชันคุ้มค่าและจัดการง่าย...

Responsive image

AIS คว้ารางวัล Creative Equality Award ยกระดับชีวิต ส่งต่อพลังสร้างสรรค์เพื่อสังคม

AIS ตอกย้ำความเป็นเลิศทางความคิดสร้างสรรค์ คว้ารางวัล Creative Equality Award Creative ประเภท Social Impact Awards จากเวที Creative Excellence Awards 2024 ซึ่งเป็นผลจากความสำเร็จขอ...