เจาะลึกนวัตกรรม Teleclinic จาก true แพลตฟอร์มเพื่อสาธารณสุขลดเสี่ยงช่วง COVID-19 | Techsauce

เจาะลึกนวัตกรรม Teleclinic จาก true แพลตฟอร์มเพื่อสาธารณสุขลดเสี่ยงช่วง COVID-19

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้คนไทยต้องใช้ชีวิตแบบรักษาระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ true จึงนำศักยภาพโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมดิจิทัล ผสานความเชี่ยวชาญนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาพัฒนานวัตกรรมที่สร้างคุณค่าให้สังคมและประเทศ โดยพัฒนาแพลตฟอร์ม Teleclinic ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแพลตฟอร์มเทคโนโลยีด้านสุขภาพ VHealth ยกระดับสาธารณสุขในยุคดิจิทัล เอื้อประโยชน์ด้านสาธารณสุขครบวงจร ทั้งสำหรับประชาชนทั่วไปและบุคลากรทางการแพทย์ เริ่มใช้งานจริงแล้วที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และจะขยายการใช้งานไปยังโรงพยาบาลอื่นๆ อีกหลายแห่งทั่วประเทศ

แพลตฟอร์ม Teleclinic ออกแบบเพื่อการใช้งานของประชาชนทั่วไปและสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาล โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลช่วยบุคลากรทางการแพทย์ทำการคัดกรองผู้สงสัยติดเชื้อโรคโควิด-19ในเบื้องต้น เปิดให้ประชาชนใช้งานผ่านแอปพลิชัน Chula Teleclinic  เพียงตอบแบบสอบถาม ระบบจะช่วยประเมินความเสี่ยงในเบื้องต้น จึงช่วยคลายความกังวลจากอาการเจ็บป่วย ทั้งยังเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ และสามารถติดต่อสื่อสารกับแพทย์ได้โดยไม่ต้องเสี่ยงติดเชื้อจากการเดินทางไปโรงพยาบาล

สำหรับฟังก์ชั่นการใช้งานของโรงพยาบาล แพลตฟอร์ม Teleclinic มีระบบบริหารจัดการด้านการแพทย์ ที่รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากผู้ใช้แอปพลิเคชัน เชื่อมโยงเข้าสู่ขั้นตอนการนัดปรึกษาแพทย์ผ่านระบบแชตและวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ การนัดเข้ารับการตรวจ และติดตามการรักษา โดยมีการแสดงผลข้อมูลเชิงสถิติผ่าน Dashboard จึงช่วยแก้ไขปัญหาการมีบุคลากรทางการแพทย์ที่มีจำกัด ช่วยลดเวลาและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ และช่วยให้โรงพยาบาลสามารถบริหารจัดการบุคลากรทางการแพทย์ได้เหมาะสมกับจำนวนผู้ป่วยอีกด้วย

ในส่วนของการสนับสนุนจาก true ในการพัฒนาแพลตฟอร์ม Chula Teleclinic ให้เกิดขึ้นนั้น  นพ.กวิรัช ตันติวงษ์ รองผู้อำนวยการ ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้กล่าวถึงการดูแลคนไข้โควิดในครั้งนี้ว่า โรงพยาบาลต้องการความชัดเจนมากที่สุดในการคัดกรองผู้ป่วยโควิด แต่เนื่องจากมีนโยบาย Social Distancing เราเลยคิดกระบวนการใหม่ 

จากการที่คนไข้ทั้งหมดต้องเดินมาเจอกับคุณหมอที่โรงพยาบาล  เราให้คนไข้เริ่มตรวจสอบตัวเองตั้งแต่ที่บ้านด้วยการใช้เทคโนโลยีบนมือถือ โดยตอบคำถามตามที่เราตั้งไว้ แล้วก็ดูว่ามีความเสี่ยงมากน้อยเท่าไร ซึ่งผู้ประเมินความเสี่ยงจะเป็นการร่วมกันระหว่างเครื่องมือและคุณหมอจริงๆ ซึ่งอยู่เบื้องหลัง  หลังจากนั้น ถ้าพบว่ามีความเสี่ยงในการติดโควิด คุณหมอจะออกตั๋วผ่านระบบเพื่อให้เดินทางมาคลินิกที่ดูแลผู้ป่วยทางด้านโควิดโดยตรงที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ฯ แพลตฟอร์มนี้จึงช่วยให้การทำงานสะดวกขึ้น ชัดเจนขึ้น ถูกต้องแม่นยำขึ้น และลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้มากขึ้น และการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ ไม่ได้ใช้เฉพาะวันนี้เท่านั้น แต่โรงพยาบาลจะยังนำมาใช้ในการดูแลผู้ป่วยทั้งหมดหรือในอนาคตของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ฯต่อเนื่องต่อไป

ด้านความร่วมมือกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย นายณัฐวุฒิ อมรวิวัฒน์ กรรมการบริหาร บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า จากการทำงานร่วมกับคุณหมอ ทำให้ได้ทราบปัญหาคือมีประชาชนมาตรวจเป็นจำนวนมาก true จึงพัฒนาแพลตฟอร์มร่วมกับทีมแพทย์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ฯ ทำระบบคัดกรองคนไข้โควิด และ ระบบสื่อสารผ่านวิดีโอ คอนเฟอร์เรนซ์  แพลตฟอร์มนี้เข้าใช้งานง่ายๆ ผ่านแอปพลิเคชัน Chula Teleclinic เมื่อคนไข้เข้ามาตอบคำถาม ระบบจะพิจารณาประเมินความเสี่ยง แพทย์จะเห็นผลประเมินผ่าน Dashboard ถ้ามีความเสี่ยงถึงระดับที่ควรเข้ามา คุณหมอจะแชตคุยให้เข้ามาโรงพยาบาล ตรวจแล้วคนไข้กลับบ้าน และคุณหมอสามารถเยี่ยมไข้ผ่านระบบวิดีโอ คอนเฟอร์เรนซ์ได้ด้วย

คุณพิชิต ธันโยดม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านธุรกิจองค์กร บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า “แพลตฟอร์ม Teleclinic เป็นนวัตกรรมที่ true เร่งสร้างสรรค์ เพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพด้านการสาธารณสุข สนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ และช่วยให้คนไทยสามารถก้าวผ่านวิกฤตในครั้งนี้ไปด้วยกัน ซึ่งจะเป็นช่องทางให้คนไทยสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้มากขึ้น และยังสามารถปรึกษาแพทย์ได้ผ่านระบบแชตและวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ จึงช่วยลดความเสี่ยงติดเชื้อจากการเดินทางไปโรงพยาบาล อีกทั้งยังเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยเพิ่มศักยภาพการทำงานสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ให้สามารถบริหารจัดการบุคลากรทางการแพทย์ที่มีจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย สำหรับแอปพลิเคชัน Chula Teleclinic เปิดให้ดาวน์โหลดฟรีแล้วที่ แอปสโตร์ (App Store) และ เพลย์สโตร์ (Play Store) 

ทั้งนี้  true ได้ขยายความร่วมมือกับโรงพยาบาลชั้นนำทั่วประเทศอีกหลายแห่ง อาทิ แอปพลิเคชันตรวจคัดกรองความเสี่ยงโควิด-19 Vachira Phuket Teleclinic จากความร่วมมือกับโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต และแอปพลิเคชันจากโรงพยาบาลอื่นๆ ที่จะทยอยเปิดให้ดาวน์โหลดใช้บริการได้เร็วๆนี้

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

NITMX เผยสถิติพร้อมเพย์ ปี 67 ยอดธุรกรรมโตแตะ 2,096 ล้านต่อเดือน ผู้ใช้พุ่งสูงถึง 79 ล้านราย

NITMX เผยข้อมูลสถิติการใช้งานระบบพร้อมเพย์ตลอดปี 2567 ซึ่งแสดงถึงการเติบโตอย่างแข็งแกร่งในด้านธุรกรรมดิจิทัลทั้งในประเทศและข้ามพรมแดน ตอกย้ำบทบาทสำคัญในการผลักดันประเทศเข้าสู่ยุคสั...

Responsive image

มันนี่ทันเดอร์พลิกโฉมสินเชื่อไทย ด้วย AI ฝีมือคนไทย แก้ปัญหาหนี้นอกระบบ

“อบาคัส ดิจิทัล” (ABACUS digital) ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน "มันนี่ทันเดอร์" (MoneyThunder) ได้สร้างปรากฎการณ์ในวงการสินเชื่อด้วยการใช้เทคโนโลยี AI ที่พัฒนาจากทีมคนไทยที่เข้าใจถึงความต้อ...

Responsive image

iNT: พันธมิตรเพื่ออนาคต พร้อมเปิดประตูสู่นวัตกรรมและธุรกิจ Start-Up

สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือ iNT (อิ๊นท์) ตอกย้ำบทบาทผู้นำ ด้านการสนับสนุนธุรกิจ Start-Up และการส่งเสริมการต่อยอดผลงานวิจัย นวัตกรรม ไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์...