วัคซีนเพื่อสุขภาพจำเป็น แต่วัคซีนทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งที่ต้องมีเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยและ mSMEs ก็จำเป็นเช่นกัน เพื่อสนับสนุน 120 วันเปิดประเทศ สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เสนอมาตรการที่เป็นวัดซีนทางเศรษฐกิจ 9 เข็ม โดยฉีด 3 เข็มแรกเร่งด่วนเพื่อป้องการการติดเชิ้อล้มละลาย และหยุดเลือดที่ไหล คือ 1.พักต้น-พักดอก-เติมทุน 2.สินเชื่อ Factoring ใบสั่งซื้อ-ใบกำกับภาษี mSMEs 3.กองทุนประกันสังคม 30,000 ล้านบาท ต่อด้วย 3 เข็มสำหรับการฟื้นฟูกิจการได้แก่ 1.ร่าง พรบ.กองทุนพัฒนาวิสาหกิจ พ.ศ.......กระทรวงอุตสาหกรรม 2.สินเชื่อ Factoring ใบสั่งซื้อ-ใบกำกับภาษี mSMEs 3.กองทุนนวัตกรรมเพื่อ mSMEs ไทย และอีก 3 เข็มสำหรับการสร้างความเข็มแข็งและยั่งยืน 1.มาตรการสร้างงาน สร้างเศรษฐกิจชาติ (Thailand e-Job Platform) 2. mSMEs ชุมชนสร้างสรรค์ (จ้างงงานผู้ว่างงานพัฒนา mSMEs ท้องถิ่น) 3.เฟรนไชส์ไทย สร้างอาชีพ สร้างเศรษฐกิจไทย\
สืบเนื่องจากการที่ได้นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ทางรองนายกรัฐมนตรี ซึ่งรองนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ประธานกรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) พบสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เม่อวันที่ 16 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา ทางนายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์ได้เปิดเผยรายละเอียดการเข้าพบและการนำเสนอต่อประธานกรรมการบริหาร สสว. เพื่อขอให้ทางนายกรัฐมนตรี ช่วยเหลือ mSMEs 9 มาตรการ ที่แก้ไขปัญหาทั้งระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว
สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ได้ทำการสำรวจผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาด COVID-19 ทั่วประเทศ เพื่อสรุปเป็นมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยสู้วิกฤติ COVID-19 เสนอต่อพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหา อุปสรรคจากการแพร่ระบาดมาอย่างต่อเนื่องนับปี และก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจฐานรากโดยเฉพาะผู้ประกอบการวิสาหกิจรายย่อย รายย่อม และรายกลางจำนวนหลายล้านรายให้มีทิศทางการแก้ไขตรงกับความต้องการ และสภาพปัญหาที่แท้จริงทางเศรษฐกิจ ซึ่งแม้ภาครัฐจะมีมาตรการออกมาเพื่อช่วยเหลือ SME แต่การเข้าถึงความช่วยเหลือยังไม่สามารถทำให้ SME เข้าถึงได้โดยง่าย SME จำนวนมากยังไม่ได้รับการช่วยเหลือจากมาตรการภาครัฐ อาทิ มาตรการ Soft loan 1 ที่มี SME เข้าถึงเพียง 77,787 ราย วงเงิน 138,200 ล้านบาท อีกทั้ง SME ส่วนใหญ่ที่เดือดร้อนอยู่ในกลุ่มรายย่อย และรายย่อมจำนวนมาก แต่การปล่อย Soft loan 1 กลับมี SME ที่ได้รับวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 20 ล้านบาท เพียง 25% ของวงเงินที่ปล่อไปทั้งหมด 138,200 ล้านบาท ที่เหลือ 75% เป็นกลุ่มผู้ประกอบการที่มีขนาดใหญ่ คือ วงเงินสินเชื่อมากกว่า 20-500 ล้านบาท ทำให้สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ผลักดันให้ Soft loan 2 วงเงิน 250,000 ล้านบาท ต้องการให้ปรับปรุง 4 เรื่อง คือ
1. นิยามของ SME ให้แต่ละธนาคารใช้คำจัดความของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อสร้างมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อที่มีการประเมินและตรวจาสอบได้เป็นรูปแบบเดียวกัน
2. แบ่งวงเงินให้แต่ละกลุ่มผู้ประกอบการอย่างชัดเจน รายย่อย รายย่อม รายกลาง และรายใหญ่ เพื่อให้แต่ละธนาคารที่รับวงเงินไปมีเป้าหมายในการปล่อยให้กับผู้ประกอบการชัดเจน คือการกระจายวงเงินครอบคลุมทุกกลุ่ม
3. เป้าหมายจำนวน SME แต่ละกลุ่มรายย่อย รายย่อม รายกลาง และรายใหญ่ เพื่อให้เป็นตัวชี้วัดแต่ละธนาคารในการดำเนินการปล่อยสินเชื่อ เพราะธนาคารมีต้นทุน มักจะปล่อยให้กับกลุ่มลูกค้าเดิมที่มีความแข็งแรงอยู่แล้ว และไม่มีผลกระทบ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้เงินมาก
4. เกณฑ์การพิจารณา ควรผ่อนปรน เพราะธนาคารแห่งประเทศมีมาตรการลดการส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) และให้วงเงินเพื่อมาปล่อยสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต้นทุนที่ต่ำอยู่แล้วให้กับแต่ละธนาคาร อีกทั้งยังมี บสย.เข้ามารับประกันความเสี่ยงอีกทางหนึ่ง
ส่วนมาตรการพักทรัพย์ พักหนี้ 100,000 ล้านบาท ที่ ธปท. ออกมาน่าจะช่วยผู้ประกอบการได้บางส่วน แต่มีกระบวนการหลายขั้นตอน ซึ่งอาจทำให้การเข้าถึงมาตรการดังกล่าวไม่รวดเร็วเท่าที่ควร
วัดซีน 3 เข็มแรกมาตรการด่วนที่สุดเพื่อหยุดการล้มละลายและหยุดเลือด
1. พักต้น-พักดอก-เติมทุน ไปต่อ โดยไม่คิดดอกเบี้ยตลอดระยะเวลาการพักต้น และยืดระยะเวลาการชำระออกไป รวมทั้งไม่ติดเครดิตบูโร เพื่อลดผลกระทบในระยะยาว NPLs บรรเทาภาระหนี้ และสร้างสภาพคล่องชั่วคราวให้กับ mSMEs ที่ไม่ได้รับ Soft loan 1 และ 2 และได้รับผลกระทบจากมาตรการภาครัฐ อาทิ กลุ่ม mSMEs ร้านอาหาร ภัตตาคาร สปา ธุรกิจบริการ ท่องเที่ยว อาชีพอิสระต่างๆ เป็นต้น จะทำให้ mSMEs ทั้งนิติบุคคล และบุคคลธรรมดาสามารถประคองธุรกิจในระยะสั้น 3-6-12 เดือน โดยมาตรการนี้ให้ความช่วยเหลือทั้ง mSMEs และลูกจ้างของกลุ่มธุรกิจดังกล่าว ที่มีสินเชื่อเชิงพาณิชย์ และสินเชื่อส่วนบุคคลอยู่กับแต่ละสถาบันการเงิน
2. สินเชื่อ Factoring ใบสั่งซื้อ-ใบกำกับภาษี mSMEs คือ การใช้ใบสั่งซื้อมาขอสินเชื่อ 30-50% ของวงเงินใบสั่งซื้อที่มีจากลูกค้าของ mSMEs เพื่อนำเงินไปใช้ซื้อวัตถุดิบ และจ้างงานช่วยเพิ่มสภาพคล่องตั้งแต่ใบสั่งซื้อ และเมื่อ mSMEs ผลิตหรือให้บริการส่งมอบเรียบร้อย สามารถนำใบสกำกับภาษีมาขอสินเชื่อ Factoring ส่วนที่เหลือ โดยธนาคารจะได้รับค่าดำเนินการและดอกเบี้ย ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย จัดระบบ AI ป้องกัน Double Factoring และจัด Credit Scoring ทั้ง mSMEs และคู่ค้าของ mSMEs ที่เป็น บมจ. บจก. หจก. ห้างสรรพสินค้า และภาครัฐ เป็นต้น เพื่อให้การปล่อยสินเชื่อเป็นไปด้วยความรวดเร็ว ไม่เกิน 1-3 วัน เป็นมาตรการเพื่อให้ mSMEs ที่เข้าไม่ถึงแหล่งทุนต่างๆ ใช้ช่องทางนี้ในการดำเนินธุรกิจต่อเนื่อง และรักษาการจ้างงาน
3. กองทุนประกันสังคม 30,000 ล้านบาท ที่มีออกมาแต่ผู้ประกอบการเข้าถึงยากมาก เนื่องจากสำนักงานประกันสังคมมีหน้าที่ออกใบรับรองผู้ประกอบการว่าอยู่ในระบบเท่านั้น และผู้ประกอบการต้องนำใบรับรองไปยื่นขอกู้กับธนาคารตามระบบปกติ ซึ่งธนาคารที่ใช้ คือ UOB EXIM BANK และธนาคารกรุงเทพ ซึ่งหากปรับเปลี่ยนเป็นให้วงเงินผู้ประกอบการที่มีประวัติการส่งเงินสมทบตรง มีการจ้างงานจำนวนหนึ่งจะช่วยรักษาการจ้างงาน และผยุงกิจการให้สามารถมีสภาพคล่องต่อไปได้ โดยมีการเพิ่มธนาคารรัฐเข้ามาเพื่อให้การปล่อยสินเชื่อกองทุนนี้รวดเร็วยิ่งขึ้น อีกทั้งควรปล่อยสินเชื่อให้กลุ่มผู้ตกงานแต่ต้องการทุนไปประกอบการกิจการแทนที่จะต้องชดเชยการว่างงาน แต่เป็นการแสวงหาอาชีพใหม่ให้กับผู้ตกงาน เป็นต้น
วัดซีน 3 เข็มสำหรับการฟื้นฟู 3 มาตรการสำคัญมาก
1. ร่าง พรบ.กองทุนพัฒนาวิสาหกิจ พ.ศ.......กระทรวงอุตสาหกรรม ที่นำกองทุนพัฒนา SME ตามแนวประชารัฐ ออกมาจากระบบ เนื่องจากที่ผ่านมา mSMEs จำนวนมากไม่สามารถเข้าถึงแหล่งทุนในระบบได้ ทำให้เกิดหนี้นอกระบบเติบโตขึ้นอย่างมากมาย การที่มีกองทุนฯนี้เป็นการเปิดโอกาสให้ mSMEs สามารถสร้างแต้มต่อให้ mSMEs มีต้นทางการเงินที่ต่ำ แข่งขันได้มากขึ้น และมีระบบบ่มเพาะสร้างการเติบโตในอนาคต รวมทั้งทำให้ mSMEs เข้าสู่ระบบฐานภาษีเพิ่มขึ้น ซึ่งกองทุนฯนี้จะเป็นเรือธงทำให้เกิดการบริหารสินเชื่อในกองทุนได้คล่องตัว และมีเกณฑ์ที่ผ่อนปรนไม่ใช้เกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยสมาพันธ์ได้ผลักดันกองทุนนี้ให้เป็นรูปธรรม และขอให้ปรับปรุงแก้ไขหลายประเด็น คือ คณะกรรมการบริหารที่ต้องให้สัดส่วนของภาคเอกชน เครือข่ายองค์กรภาคประชาชน สื่อมวลชนที่สามารถมีส่วนร่วมได้ในทุกระดับ โดยให้มืออาชีพเข้ามาบริหารกองทุน ไม่ใช่ข้าราชการ และควรนำกองทุนไปสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี รวมทั้งต้องจัดระบบผู้เชี่ยวชาญ ที่ปรึกษาธุรกิจ mSMEs เพื่อเป็นพี่เลี้ยงและให้คำแนะนำในการดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ มีวินัยทางการเงิน บัญชี และเพิ่มขีดความสามารถอย่างต่อเนื่อง
2. กองทุนฟื้นฟู NPLs เพื่อการพัฒนา mSMEs ไทย จากปัญหา mSMEs จำนวนมากที่ติดกับดักทางการเงิน เป็น NPLs ปัจจุบันกว่า 241,734 ล้านบาท หรือ 7% ของวงเงินสินเชือ mSMEs ทั้งระบบ 3,292,457 ล้านบาท (ไตรมาส 1 ปี 2564 ธปท.) ซึ่งหากประเมินสถานการณ์กลุ่มเชื่อชั้นกล่าวถึงพิเศษ (ไฟเหลือง) จะพบว่ามีถึง 432,563 ล้านบาท หรือ 13% ของวงเงินสินเชื่อ mSMEs ทั้งระบบ โดยเพิ่มขึ้นจากช่วงก่อนเกิด COVID-19 ถึง 258,519 ล้านบาท (ไตรมาส 4 ปี 2562 ธปท.) กองทุนฯนี้จะช่วยให้ mSMEs ที่เป็น NPLs จากผลกระทบ COVID-19 และก่อนหน้านี้ ได้รับบการดูแล แก้ไข ปรับปรุงหนี้อย่างเป็นระบบ และสามารถถอดบทเรียน บ่มเพาะให้ mSMEs เหล่านี้กลับสู่ระบบเศรษฐกิจอย่างมีคุณภาพ และอยู่ในระบบฐานภาษีของรัฐ
3. กองทุนนวัตกรรมเพื่อ mSMEs ไทย จากข้อมูล สสว. พบว่า GDP SME ประมาณ 34% ของ GDP ประเทศ และ mSMEs มีสัดส่วนการส่งออกจากมูลค่ารวมทั้งหมดเพียง 12.5% ขณะที่การนำเข้าของ mSMEs 16% และการนำเข้า-ส่งออก mSMEs ขาดดุลการค้า แต่ภาพรวมของประเทศ เมื่อรวมกิจการขนาดใหญ่จะพบว่าไทยเกินดุลการค้า อีกทั้งการส่งเสริมให้ทุนผู้ประกอบการ mSMEs ยังขาดการเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ ซึ่งต้องสร้าง Innovation Eco-System ให้เกิดการขับเคลื่อน mSMEs ที่ใช้การสร้างนวัตกรรมในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและการบริการรวมทั้งรูปแบบธุรกิจใหม่ๆที่ตอบโจทย์และแตกต่าง จึงจำเป็นต้องมีกองทุนฯนี้ เป็นการบ่มเพาะและเร่งสร้าง mSMEs ไทยให้มีขีดความสามารถในการแข่งขัน ยกระดับคุณภาพ มาตรฐาน และนวัตกรรม เทคโนโลยี การตลาดอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ผู้ประกอบการ และแรงงานที่มีทักษะขั้นสูงสามารถพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง และมีกลไกการส่งเสริมสนับสนุนการลงทุนเพิ่มศักยภาพการส่งออก และลดการนำเข้าของ mSMEs
3 เข็ม 3 มาตรการเพื่อความเข้มแข็งและยั่งยืน
1. มาตรการสร้างงาน สร้างเศรษฐกิจชาติ (Thailand e-Job Platform) สถานการณ์การว่างงานของแรงงานไทยช่วงการแพร่ระบาด COVID-19 มีผู้ว่างงานกว่า 2 ล้านคน และมีบัณฑิต นักเรียนระดับอาชีวศึกษา (ปวช-ปวส) จบแต่ละปีกว่า 800,000 ราย ทำให้ความสำคัญของการจับคู่งานกับนายจ้าง ผู้ประกอบการ mSMEs และกิจการขนาดใหญ่ เป็นสิ่งที่สร้างโอกาสให้ทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งงาน Part time – Full time โดยรวบรวม platform จัดหางานของภาคเอกชนเข้ามาร่วมด้วย และให้กระทรวงแรงงานและสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) เป็นผู้รับผิดชอบ โดยมีกลไกการพัฒนาฝีมือแรงงาน ทักษะ และเพิ่มขีดความสามารถให้กับ mSMEs เพื่อให้การพัฒนาควบคู่กันไปทั้งผู้ประกอบการ และแรงงาน
2. mSMEs ชุมชนสร้างสรรค์ (จ้างงงานผู้ว่างงานพัฒนา mSMEs ท้องถิ่น) จ้างงานบัณฑิต ผู้ว่างงานฝีมือ 5 ด้าน นักบริหาร นวัตกร นักการตลาด—ขาย นักบัญชี การเงิน นักดิจิทัลเทคโนโลยี เพื่อพัฒนา OTOP วิสาหกิจชุมชน และ mSMEs ในท้องถิ่นอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ เพิ่มมูลค่า ลดต้นทุน ฝึกอบรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และที่ปรึกษา โดยใช้กลไกองค์กรปกครองส่วท้องถิ่น 7,901 แห่ง ร่วมกับมหาวิทยาลัย และส่วนภูมิภาคของกระทรวง กรมที่เกี่ยวข้องทางเศรษฐกิจและแรงงานในท้องถิ่น จะเกิดการจ้างงานกว่า 39,505 ตำแหน่ง
3. เฟรนไชส์ไทย สร้างอาชีพ สร้างเศรษฐกิจไทย ให้โอกาสผู้ว่างงาน บัณฑิตตกงาน ผู้ประกอบการ mSMEs ที่ต้องการปรับเปลี่ยนธุรกิจ มาเชื่อมโยงกับเฟรนไชส์ไทย เพื่อส่งเสริมให้เกิดการสร้างธุรกิจใหม่ในกลุ่มเฟรนไชส์ โดยภาครัฐเข้ามาส่งเสริมสนับสนุน “จับคู่ธุรกิจเฟรนไชส์”
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด