Startup ไทยคิดค้น Technology ยุคใหม่ สำหรับการทำงานแบบ New Normal | Techsauce

Startup ไทยคิดค้น Technology ยุคใหม่ สำหรับการทำงานแบบ New Normal

ในช่วงเวลาที่ประชาชนทุกคนต้องใช้ชีวิตรูปแบบใหม่แบบ New Normal ให้ห่างไกลจากไวรัสโควิด-19 ธุรกิจต่างๆก็ยังต้องดำเนินต่อไปเพื่อพยุงเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้บริษัท Startup หลายๆแห่งในโลกได้เริ่มคิดค้นนวัตกรรมใหม่ เพื่อให้กิจกรรมของธุรกิจต่างๆไม่ถูกกระทบกระเทือนจากมาตรการป้องกันโควิด-19 เช่น การ lockdown นโยบาย Work from home การเว้นระยะห่างทางสังคม การกักตัวอยู่บ้าน  14 วัน หรือ การลดการสัมผัสสิ่งของต่างๆ 

Startup จากทั่วทุกมุมโลกที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่สอดคล้องมาตรการโควิด-19 และโลก New Normal ยุคปัจจุบันต่างได้รับอนิสงค์จากผลดังกล่าว และได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว ในประเทศไทยเอง นำโดย บริษัท สวิฟท์ ไดนามิคส์ จำกัด ซึ่งเป็น Deep Tech Startup ด้าน Internet of Thing (IoT)  และเพิ่งได้รับการระดมทุน Pre-Series A จากบริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ได้พัฒนาแพลตฟอร์มและอุปกรณ์ IoT แห่งแรกของประเทศโดยใช้ชื่อว่า Sentenance (www.sentenance.com) เพื่อให้สอดคล้องกับยุค New Normal และโลกในอนาคตที่ทั้งคนและอุปกรณ์รวมถึงเครื่องจักรสามารถสื่อสารกันผ่านระบบอินเตอร์เนตแบบไร้พรมแดน ทำให้ผู้คนสามารถรักษาระยะห่างทางสังคม ทำงานผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ที่บ้าน และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานในเวลาเดียวกัน 

Sentenance เป็นระบบ IoT ที่มีทั้งอุปกรณ์IoTและSoftware ซึ่งพัฒนาและผลิตในประเทศ เชื่อมต่อกับแบบไร้สาย (Wireless) ได้ทั้งแบบ WiFi, Lorawan, 4G, 5G และเทคโนโลยีใหม่อย่าง NB-IoT โดยสามารถมอนิเตอร์และควบคุม การเปิดปิดไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ เครื่องจักร หรือระบบต่างๆ ในโรงงาน อาคารสำนักงาน ที่อยู่อาศัย ได้ทันที

ระบบเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ก็เป็นหนึ่ง Solution ที่ทาง Sentenance สามารถทำได้ โดยครอบคลุมถึง 4 องค์ประกอบของเมืองอัจฉริยะซึ่งสอดคล้องนโยบายของภาครัฐและเอกชน อาทิเช่น ระบบสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment) พลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy) การเดินทางและขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility) และอาคารอัจฉริยะ (Smart Building)

ทั้งนี้ Sentenance ยังมีจุดเด่นกว่าระบบIoTอื่นๆ โดยผู้ใช้งานสามารถออกระบบ IoT ได้เองเพื่อให้เหมาะสมในแต่ละธุรกิจ และอุปกรณ์อัจฉริยะของ Sentenance หนึ่งตัวยังสามารถเชื่อมต่อกับเซ็นเซอร์หรือตัวควบคุมได้หลายจุด เพื่อสะดวกต่อการใช้งานลดค่าใช้จ่ายในการจัดการ 

ทางบริษัท สวิฟท์ ไดนามิคส์ มองว่าโลกในยุคอนาคตจะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม อุปกรณ์หรือเครื่องจักรต่างๆสามารถเชื่อมต่อและสื่อสารกันเองได้ และยังสามารถสื่อสารมายังมนุษย์ได้ผ่านระบบ IoT ทั้งนี้บริษัท สวิฟท์ ไดนามิคส์ มีแผนที่จะขยายความร่วมมือไปยังต่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่ง จีน มาเลเซียและสิงค์โปร์ ภายในปีนี้

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ไทยพบเอสโตเนีย แลกเปลี่ยนมุมมองรัฐบาลดิจิทัล ศึกษาต้นแบบ e-Government

ไทยเปิดใจเรียนรู้จากเอสโตเนีย ระบบ e-Government ที่ประชาชนไว้วางใจ...

Responsive image

ม.มหิดล ชูความสำเร็จผลงานนวัตกรรมวัคซีนไข้เลือดออกเดงกี ชนิดเข็มเดียว เตรียมผลักดันออกสู่ตลาดโลก

โรคไข้เลือด เป็นหนึ่งในโรคประจำถิ่นในทุกประเทศเขตร้อนของโลกรวมทั้งประเทศไทย ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี มียุงลายหรือยุงรำคาญเป็นพาหะนำโรคมาสู่คน และในปัจจุบันมีประชากรประม...

Responsive image

ททท. ประกาศผู้ชนะ TAT Travel Tech Startup 2024 ทีม HAUP คว้าชัย ร่วมผลักดัน ท่องเที่ยวไทยกับ 11 ทีม Travel Tech

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ประกาศผลผู้ชนะโครงการ TAT Travel Tech Startup 2024 กิจกรรมบ่มเพาะและโจทย์ด้านการท่องเที่ยวสุดท้าทาย ร่วมกับพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญ ภายใต้แนวคิด WORLD...