true digital park เปิดมุมมองวิกฤตโควิด-19 เชิญ อ.จุฬา ร่วมทอล์คใน The Great Disruption by TDPK | Techsauce

true digital park เปิดมุมมองวิกฤตโควิด-19 เชิญ อ.จุฬา ร่วมทอล์คใน The Great Disruption by TDPK

เป็นข่าวดีที่รัฐบาลมีมาตรการผ่อนคลายในระยะ 4 ตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศที่มีแนวโน้มดีขึ้น  เปิดทางให้โรงเรียนบางแห่งกลับมาจัดการเรียนการสอนได้ ภาคการศึกษาจึงยิ่งต้องเร่งปรับตัว นับเป็นความท้าทายของทั้งสถาบันการศึกษา ครูอาจารย์ และนักเรียน ที่ต้องปรับเปลี่ยนเรียนรู้อย่างรวดเร็วกับการศึกษาแบบ New Normal 

ทรู ดิจิทัล พาร์ค ศูนย์กลางเทคและสตาร์ทอัพที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน ร่วมสร้างแรงบันดาลใจในการสู้วิกฤตโควิด-19 โดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์ ดร. ปิติ เอี่ยมจำรูญลาภ ผู้อำนวยการหลักสูตรนิติศาสตร์มหาบัณฑิตสาขากฎหมายธุรกิจ (หลักสูตรนานาชาติ)  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตัวแทนภาคการศึกษาหลักสูตรนานาชาติ ร่วมทอล์กในรายการ The Great Disruption by TDPK ตอน โควิด-19 เพื่อบอกเล่าถึงการปรับเปลี่ยนแผนการเรียน การสอน และการสอบผ่านออนไลน์  โดยเริ่มตั้งแต่ช่วงเกิดวิกฤตโควิด-19 รวมถึงความท้าทายต่างๆ ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญของวงการการศึกษาที่ต้องปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์ รวมถึงการนำเทคโนโลยีปัจจุบันมาใช้ติดต่อสื่อสาร 

สิ่งที่ท้าทายจากวิกฤตโควิด-19 ในครั้งนี้  อาจารย์ ดร. ปิติ ได้ชี้ให้เห็นจุดเปลี่ยนของการศึกษาวิถีใหม่ เนื่องจากหลักสูตรนานาชาติต้องการให้ผู้เรียนได้รับความรู้ระดับสากล โดยไม่ต้องเดินทางไปเรียนที่ต่างประเทศ มหาวิทยาลัยจึงได้เชิญอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญระดับโลกทั้งจากแคนาดา สหรัฐอเมริกา มาสอนในบางวิชา อีกทั้งผู้เรียนยังมีชาวต่างชาติร่วมด้วยทั้ง ฝรั่งเศส จีน ไต้หวัน และกัมพูชา  วิกฤตโควิด-19 ทำให้คนเหล่านี้ไม่สามารถเดินทางมาสอนหรือกลับมาเรียนในไทยตามกำหนดได้  เทคโนโลยีจึงเป็นโอกาส

ทำให้เกิดการใช้แพลตฟอร์มเพื่อการสื่อสาร หัวใจสำคัญคือการที่ผู้สอนได้ deliver คอนเทนต์ที่มีคุณภาพ ผู้เรียนได้รับคอนเทนต์นั้น และมีการแลกเปลี่ยนโต้ตอบ หลักสูตรที่นี่เน้นการนำกฎหมายมาปรับใช้เป็นโซลูชันในทางธุรกิจ เพราะฉะนั้นการเรียนการสอบต้องมีการคิด วิเคราะห์และแลกเปลี่ยนกัน คือผู้สอนมีการให้ข้อมูลที่เตรียมมา ผู้รับได้ประมวลผล มีการถามกลับหากไม่เข้าใจ จะได้รู้ว่าผู้เรียนไม่เข้าใจตรงไหน ทำให้แก้ไขปัญหาได้ตรงจุด

นอกจากนี้ ได้ตั้งทีมงานสนับสนุนการเรียนออนไลน์ขึ้นมา เนื่องจากอาจารย์หลายท่านอาจไม่เชี่ยวชาญด้านไอที จึงพยายามทำทุกอย่างให้ง่ายที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการสร้างลิงก์ การเข้าพาสเวิร์ด แต่ก็ยังเกิดปัญหาอื่นๆ ที่ไม่คาดคิดตามมาและใช้เวลาแก้ปัญหาอยู่หลายวัน เช่น เบราว์เซอร์ต่างเวอร์ชันกัน ทำให้ไม่ได้ยินเสียง  แม้จะมีการเตรียมความพร้อมแต่ก็อาจเกิดปัญหา บทเรียนที่ได้คือการเผื่อเวลา เพราะการเรียนการสอนออนไลน์ไม่ได้ง่ายสำหรับทุกคน นอกจากนี้ ยังมีความท้าทายอื่นๆ ได้แก่ ไทม์โซนต่างกันจึงต้องมีการนัดเวลาให้แม่นยำหรือข้อจำกัดบางอย่าง เช่น นิสิตที่ประเทศจีนไม่สามารถเข้าลิงก์ได้ เป็นต้น

อีกส่วนที่สำคัญของการเรียนการสอน คือการวัดผลอย่างการสอบ เนื่องจากเป็นรูปแบบออนไลน์ จึงออกแบบการวัดผลตามสภาพความเป็นจริง เช่น การออกข้อสอบเป็นเชิงวิเคราะห์ หรือสามารถเปิดตำราสอบได้ เพราะในชีวิตจริง นักกฎหมายสามารถค้นข้อมูลได้ตลอดเวลาอยู่แล้ว ส่วนเรื่องการคุมการสอบในตอนแรกจะมีหลายโมเดลที่คิดไว้ เช่น การโทร หรือการเปิดกล้องมอนิเตอร์นิสิตผ่านคอมพิวเตอร์ แต่ในที่สุดการสอบของที่นี่ก็ไม่ได้ให้เปิดกล้อง เพียงแต่ต้องส่งข้อสอบภายในเวลา ส่วนปัจจัยอื่นๆ เช่น ความเร็วอินเทอร์เน็ตที่ต่างกัน ก็ได้แก้ปัญหาโดยการเผื่อเวลาในการส่งข้อสอบ ทุกอย่างต้องเป็นธรรมต่อนิสิต 

ต่อคำถามที่ว่าการเรียนการสอนแบบออนไลน์จะสามารถแทนที่การเรียนการสอบแบบเดิมได้หรือไม่นั้น อาจารย์ ดร. ปิติ มีมุมมองว่า เนื่องจากสถานการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างกะทันหัน จึงยังบอกไม่ได้ว่าการเรียนผ่านออนไลน์จะมีศักยภาพเหมือนการมาเรียนแบบเดิมเต็มร้อย แม้แพลตฟอร์มออนไลน์จะมีฟังก์ชันที่เอื้อต่อการเรียนแบบสื่อสารสองทางซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เช่น การแชร์ข้อมูลออนไลน์  โพล หรือยกมือ แต่ก็อาจมีข้อจำกัด ดังนั้น อาจารย์จึงต้องปรับตัวและปรับคอนเทนต์แบบใหม่ เพื่อให้นิสิตสนใจการเรียนผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้น 

แน่นอนว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ Disrupt หลักสูตรการเรียนการสอน เนื่องจากนิสิตต่างชาติที่ตัดสินใจมาเรียนที่นี่ อาจมีจุดประสงค์อื่นด้วย เช่น อยากได้ประสบการณ์ทำงาน การสร้างคอนเน็กชันและเครือข่าย เทคโนโลยีสามารถเติมเต็มตรงนี้ได้หรือไม่นั้นยังเป็นคำถาม  อย่างไรก็ตาม หากวิกฤตยังคงอยู่ต่อไป การให้บริการด้านการศึกษาอาจต้องอยู่ในรูปแบบออนไลน์ หากปรับตัวได้ก็ถือเป็นโอกาสใหม่ๆ ที่ช่วยให้เข้าใจอะไรได้มากขึ้น 

ในฐานะบุคลากรในแวดวงการศึกษา อาจารย์ ดร. ปิติ ได้ฝากข้อคิดทิ้งท้ายว่า การศึกษาเป็นเรื่องของคนทุกคน แม้ว่าทรัพยากรของบางท่านอาจจำกัด ต้องยอมรับว่าการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่เร็วพอหรือคอมพิวเตอร์ที่ดี อาจไม่เท่าเทียมกัน แต่ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ เพราะฉะนั้นต้องมีการช่วยเหลือกันไปเพื่อให้ทุกคนก้าวไปข้างหน้าพร้อมกัน เช่น การให้ยืมคอมพิวเตอร์ ให้ซิมการ์ดอินเทอร์เน็ต อย่างเช่นเมื่อก่อนได้มีการออกค่าย หรือการศึกษาทางไกล สิ่งเหล่านี้คือร่องรอยของความพยายาม ทั้งหมดนี้คือความท้าทายที่ทุกคนจะก้าวผ่านไปด้วยกัน

ร่วมเรียนรู้แนวคิด การปรับตัว ปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ฝ่าวิกฤตโควิด-19 จากประสบการณ์ตรงของผู้บริหารหลักสูตรการศึกษา ติดตามชมย้อนหลังได้ในรายการทอล์กสร้างแรงบันดาลใจ The Great Disruption by TDPK ตอน โควิด-19 กับ 6 ตอนพิเศษ ที่ถ่ายทอดมุมมองของเจ้าของธุรกิจ สามารถรับชมย้อนหลังได้ทาง

เฟซบุ๊ก True Digital Park  หรือ รับชมได้ที่ https://bit.ly/TheGreatDisruptionEP4 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

PLEX MES ก้าวสู่อนาคต ยกระดับอุตสาหกรรมการผลิต ด้วย Smart Manufacturing Solutions

เมื่อวันที่ 3 ธันวาคมที่ผ่านมา วงการอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ด้วยการแนะนำ PLEX MES โซลูชันที่เปรียบเสมือน "สมองดิจิทัล" สำหรับโรงงานยุคใหม่ ระบบนี้ถูกออกแบบ...

Responsive image

ทีทีบี คว้ารางวัลธนาคารที่ดีที่สุดเพื่อลูกค้าธุรกิจ Thailand Best Bank for Corporates

ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) คว้ารางวัล Thailand Best Bank for Corporates จาก Euromoney Awards 2024 ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการสนับสนุนธุรกิจไทยด้วยโซลูชันดิจิทัลและความยั่งยืนผ่านกรอบ B+ESG พร...

Responsive image

AstraZeneca รับรางวัล Most Innovative Company จาก BCCT จากความมุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรม AI ด้านสุขภาพ

แอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) เข้ารับรางวัล Most Innovative Company (รางวัลบริษัทยอดเยี่ยมด้านนวัตกรรม) จาก สภาหอการค้าอังกฤษแห่งประเทศไทย ตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของบริษัทในการเป็นผู...