ม.ธรรมศาสตร์ เปิดหลักสูตร เทคโนโลยีกับธุรกิจอสังหาฯ เตรียมรับเทรนด์ PropTech | Techsauce

ม.ธรรมศาสตร์ เปิดหลักสูตร เทคโนโลยีกับธุรกิจอสังหาฯ เตรียมรับเทรนด์ PropTech

บริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด ในกลุ่มบริษัท ซีดีจี ผู้นำด้าน Location Intelligence การวิเคราะห์ภูมิสารสนเทศในมุมมองใหม่ๆ ผนึกกำลัง คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ติดอาวุธบุคคากรคุณภาพ ตอบรับเทรนด์ธุรกิจอสังหาฯก้าวสู่ยุคแห่งการใช้เทคโนโลยี โดยการนำองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) บรรจุในหลักสูตรปริญญาโท ภาควิชาอสังหาริมทรัพย์ ในวิชา “เทคโนโลยีกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์” ชี้เป็น 1 ในทักษะที่มีความต้องการสูงสุดในตลาดแรงงาน มุ่งสร้างความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านและขีดความสามารถในการผลิตบุคลากรที่มีศักยภาพสู่อุตสาหกรรมอสังหาฯ กลไกลสำคัญของเศรษฐกิจ เผยหลังเปิดหลักสูตร บุคลากรสายงานอสังหาฯสนใจสมัครเรียนแล้วถึง 79% ตั้งเป้าผลิตบุคลากรด้าน GIS สู่แวดวงอสังหาฯเพิ่มกว่า 100 คน ต่อปี

คุณธนพร ฐิติสวัสดิ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจ ซึ่งธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ติดอันดับ 1 ในทักษะที่มีความต้องการสูงสุดในตลาดแรงงาน โดยเฉพาะบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้าน GIS โดยจะเห็นได้จากผลสำรวจของ Market Research Engine พบว่า ตลาด GIS ทั่วโลกจะมีมูลค่าเกินกว่า US $  11.2 พันล้าน หรือ 336 พันล้านบาท ภายในปี 2567 การขยายตัวดังกล่าวส่งผลให้ตำแหน่งงาน GIS ในเว็บไซต์ Indeed.com เป็นที่ต้องการถึง 11,000 ตำแหน่ง ซึ่งสถานการณ์ในประเทศไทยก็เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

“จากปัจจัยดังกล่าว ทางบริษัทฯ จึงร่วมกับคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ GIS บรรจุในหลักสูตรปริญญาโท ภาควิชาอสังหาริมทรัพย์ ในวิชา เทคโนโลยีกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยจะเน้นการเรียนการสอนไปที่การทำความรู้จักกับเทคโนโลยี GIS ArcGIS Pro, การวิเคราะห์ด้วย ArcGIS Pro, Site Selection การวิเคราะห์ทำเลที่เหมาะสมสำหรับด้านอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น เพื่อมุ่งสร้างความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านและขีดความสามารถในการผลิตบุคลากรที่มีศักยภาพสู่อุตสาหกรรมอสังหาฯ ซึ่งถือเป็นกลไกลสำคัญของเศรษฐกิจ” คุณธนพรกล่าว

คุณธนพรกล่าวเพิ่มเติมว่า หลักสูตรดังกล่าวได้เริ่มเปิดสอนแล้ว โดยเป็นการบรรยายเกี่ยวกับ GIS นับเป็น 6 คลาสเรียน ต่อ 1 คอร์ส จากทั้งหมด 14 คลาสเรียน โดยมีเนื้อหาการบรรยายคือ แนะนำระบบภูมิสารสนเทศ การใช้งานซอฟต์แวร์ ArcGIS การนำเข้าข้อมูล การสร้างข้อมูลเชิงพื้นที่ การสร้างเว็บแอปพลิเคชันสำหรับการติดตาม แก้ไขข้อมูลแปลงที่ดิน การประยุกต์ใช้เครื่องมือเพื่อวางแผน จัดการโครงการอสังหาริมทรัพย์ การวิเคราะห์เชิงพื้นที่เพื่อหาความเหมาะสมกับข้อมูลประชากร (Suitability Analysis) การวิเคราะห์เชิงพื้นที่เพื่อหาความเหมาะสมของที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ การใช้เครื่องมือภูมิสารสนเทศ

เพื่อสร้างแผนที่ และจัดทำระวางแผนที่ และส่งออกข้อมูลในรูปแบบตาราง การสร้าง Operations Dashboard เพื่อสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบของกราฟต่าง ๆ โดยหลังเปิดหลักสูตร พบบุคลากรสายงานอสังหาฯ สนใจสมัครเรียนแล้วถึง 79% นักศึกษาทั่วไป 11% และคนที่ทำงานสาขาอื่น 10% ตั้งเป้าผลิตบุคลากรด้าน GIS สู่แวดวงอสังหาฯเพิ่มกว่า 100 คน ต่อปี

ด้าน รองศาสตราจารย์ ดร. พิภพ อุดร คณบดี คณะพาณิชย ศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากกับวงการอสังหาฯ ตลอดจนหน่วยงานต่าง ๆ ระดับประเทศก็ใช้เทคโนโลยีมาขับเคลื่อน ด้านการศึกษา การนำเทคโนโลยี GIS มาปรับเข้ากับการเรียนการสอน เป็นโอกาสที่ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสลงมือจริง ได้ใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพมาใช้งานจริง ไม่จำเป็นต้องออกไปข้างนอกหรือลงเห็นสถานที่จริง เป็นการลดต้นทุนในเรื่องของเวลา เพิ่มศักยภาพในการใช้เทคโนโลยี หรือเครื่องมือ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการเพิ่มมูลค่าของผู้เรียนในสภาพการแข่งขันของธุรกิจและแรงงานคน ซึ่งนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานในอนาคตได้จริง

“ภาควิชาเทคโนโลยีกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดการเรียนการสอนมาแล้ว 30 ปี ซึ่งทางมหาวิทยาลัยได้ปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนอยู่เสมอ และการตัดสินใจนำเทคโนโลยี GIS เข้ามาใช้ในการเรียนการสอนในครั้งนี้ เพื่อปูทางสู่การเรียนการสอนแบบลงมือปฏิบัติจริง practical learning มากยิ่งขึ้น โดยมองเห็น 3 สิ่งสำคัญคือ Innovative, Practical, Connected. ความร่วมมือในครั้งนี้ช่วยให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากข้อมูลเรียลไทม์ ในแบบจำลองที่เสมือนจริง เสมือนได้ทำงานจริง เห็นปัญหาและการแก้ไขปัญหาที่แท้จริง นำมาสู่ความคิดที่เป็น Innovative กล้าคิด กล้าทำ ลงมือทำจริง เกิดเป็น Practical Knowledge และส่งผลให้เค้าเหล่านี้เป็นตัวเชื่อมระหว่างภาคการศึกษา ภาคธุรกิจ และสังคม ในภาพกว้าง คือการสร้างสรรค์ผลงานจากความรู้ ที่มีประสิทธิภาพต่อการดำเนินงาน และส่งผลให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมต่อไป” ดร. พิภพกล่าว

อย่างไรก็ดี ผลตอบรับจากคนที่ได้เรียนหลักสูตรดังกล่าว ผู้เรียนได้มีการนำความรู้จากการใช้เทคโนโลยี GIS ไปใช้กับการทำงานที่แท้จริง ซึ่งไม่เพียงแค่นักศึกษาภาควิชานี้ ที่จำเป็นต้องเรียนรู้เทคโนโลยี แต่ทุกคนสามารถเปิดรับและเรียนรู้ได้ หากการนำเทคโนโลยีมาอยู่ในการศึกษาได้ เป็นการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการเชื่อมต่อข้อมูล บูรณาการ และสร้างนวัตกรรม เพิ่มพูนศักยภาพธุรกิจ และเชื่อมโยงหน่วยงานต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เพื่อนำไปสู่การเป็น Better Society ซึ่งทั้งหมดนี้ เริ่มต้นจากการนำเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือในภาคการศึกษาเพื่อพัฒนาบุคลากร ต่อยอดสู่ความยั่งยืนของสังคม ดร. พิภพกล่าวทิ้งท้าย


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

SCB 10X เปิดเวที “Typhoon 2 Unveiled: Advancing AI Research in Thailand” เดินหน้าวิจัย AI ไทย พร้อมเปิดตัว ‘ไต้ฝุ่น 2.0’ เวอร์ชั่นใหม่ล่าสุด

SCB 10X เปิดตัว "ไต้ฝุ่น 2" โมเดลภาษาไทยขนาดใหญ่สุดล้ำในงาน Typhoon 2 Unveiled: Advancing AI Research in Thailand พร้อมยกระดับวิจัย AI ไทยสู่เวทีโลก...

Responsive image

จุฬาฯ จับมือ KBTG เปิดตัว AI LUCA และ Virtual Patient ในงาน Chula the Impact ครั้งที่ 29 ภายใต้หัวข้อ “Chula-KBTG: AI for the Future”

จุฬาฯ จับมือ KBTG เปิดตัว AI LUCA และ Virtual Patient ในงาน Chula the Impact ครั้งที่ 29 มุ่งขับเคลื่อนอนาคตการศึกษาไทยด้วยเทคโนโลยี AI สู่ยุคดิจิทัล...

Responsive image

ส.อ.ท. เตรียมจัด FTI EXPO 2025 รวมสุดยอดนวัตกรรมอุตสาหกรรมไทย

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ผนึกกำลังพันธมิตรองค์กรชั้นนำ จัดงาน FTI EXPO 2025 ภายใต้แนวคิด “4GO” ที่ครอบคลุม 4 ด้านสำคัญ ได้แก่ ดิจิทัล นวัตกรรม การขยายตลาดสู่ต่างประเทศ แ...