Twitter ชวนทุกคนร่วมแสดงความเห็นเพื่อปรับปรุงมาตรฐานระบบยืนยันตัวตนการเป็นบุคคลสาธารณะ | Techsauce

Twitter ชวนทุกคนร่วมแสดงความเห็นเพื่อปรับปรุงมาตรฐานระบบยืนยันตัวตนการเป็นบุคคลสาธารณะ

Twitter ได้มีการระงับระบบการยืนยันตัวตนการเป็นบุคคลสาธารณะไว้เมื่อสามปีก่อน เนื่องจากได้รับฟีดแบ็กว่า เครื่องหมายติ๊กถูกสีฟ้าสามารถขอได้โดยไม่มีกฎเกณฑ์และสร้างความสับสนให้กับผู้คน หลังจากนั้น Twitter ได้ลดระดับความสำคัญของระบบนี้ เพื่อไปมุ่งมั่นตั้งใจกับการปกป้องความเป็นเอกภาพของบทสนทนาสาธารณะบน Twitter ซึ่งอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญของการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา 2020 นับตั้งแต่นั้น ยังไม่มีความชัดเจนว่าใครสามารถได้รับการยืนยันตัวตนได้บ้าง หรือเมื่อไหร่และทำไมผู้ใช้บัญชีนั้นถึงไม่ได้รับการยืนยันตัวตน หรือทำอย่างไรจึงจะได้รับการยืนยันตัวตน

Twitter ทราบดีว่าการสามารถแสดงออกถึงตัวตนและรู้ว่าคุณกำลังสนทนาอยู่กับใครบน Twitter นั้นสำคัญเพียงใด ดังนั้นในวันนี้ Twitter จึงอยากบอกเล่าถึงจุดเริ่มต้นในการปรับปรุงแผนงาน ว่าทุกคนสามารถระบุตัวตนบน Twitter ได้อย่างไร โดยเริ่มจากการยืนยืนตัวตนและขอให้สาธารณชนส่งความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างนโยบายใหม่ในการยืนยันตัวตนกลับมาให้ Twitter เนื่องจากการเป็นแพลตฟอร์มที่ให้บริการบทสนทนาสาธารณะ การร้องขอความคิดเห็นและฟีดแบ็กจากสาธารณชนจึงกลายเป็นส่วนสำคัญของกระบวนการพัฒนานโยบายของเรา เพราะเราต้องการให้กฎต่างๆ นั้นมาจากเสียงสะท้อนของผู้ใช้งาน Twitter จริงๆ

เครดิตทวีตจาก: https://twitter.com/TwitterThailand/status/1331422975342432261

การกำหนดนโยบายยืนยันตัวตนของ Twitter

Twitter กำลังวางแผนที่จะกลับมาเปิดตัวการยืนยันตัวตน รวมทั้งขั้นตอนการสมัครการยืนยันตัวตนสาธารณะแบบใหม่ในช่วงต้นปี 2564 ทั้งนี้เราต้องการความช่วยเหลือจากผู้คนในการอัปเดตนโยบายการยืนยันตัวตนเสียก่อน โดยนโยบายนี้จะเป็นการวางรากฐานเพื่อการปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นต่อไปในอนาคต ด้วยการกำหนดถึงการยืนยันตัวตนว่ามีความหมายอย่างไร ใครสามารถขอเครื่องหมายเพื่อยืนยันตัวตนนี้ได้บ้าง และทำไมบัญชีผู้ใช้งานบางคนที่มีเครื่องหมายนี้อยู่แต่อาจจะถูกลบออก เพื่อให้ทุกคนมั่นใจว่าขั้นตอนการยืนยันตัวตนนั้นมีความเท่าเทียมมากขึ้น

เริ่มที่การกำหนดประเภทหลักของบัญชีผู้ใช้งาน ซึ่งเป็นบุคคลมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักจะได้รับการยืนยันตัวตนให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ตามนโยบายที่ได้เสนอไปแล้วนั้น “เครื่องหมายติ๊กถูกสีฟ้าบน Twitter ช่วยให้ทุกคนทราบว่าบัญชีผู้ใช้งานนี้เป็นบุคคลสาธารณะที่เป็นของจริง ซึ่งการจะขอรับเครื่องหมายนี้ได้ บัญชีผู้ใช้งานนั้นจะต้องมีชื่อเสียงและมีการใช้งานอยู่เป็นประจำ”

บัญชีผู้ใช้งาน 6 ประเภทที่ Twitter จะเริ่มต้นระบุการยืนยันตัวตน ได้แก่

  1. หน่วยงานรัฐบาล
  2. บริษัท แบรนด์สินค้าต่างๆ และองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร
  3. สำนักข่าว
  4. องค์กรหรือบุคคลในวงการบันเทิง
  5. องค์กรหรือบุคคลในวงการกีฬา
  6. นักกิจกรรม ผู้จัดงาน และบุคคลอื่นๆ ที่เป็นอินฟลูเอ็นเซอร์

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมถึงความหมายของเกณฑ์ที่กำหนดข้างต้นได้ในร่างนโยบายที่นี่

นอกจากนี้ Twitter ยังได้มีการกำหนดเกณฑ์เพิ่มเติมว่าสามารถลบเครื่องหมายยืนยันจากบัญชีนั้นๆ ได้โดยอัตโนมัติ เช่น ถ้าหากบัญชีนั้นไม่ได้มีการใช้งาน หรือข้อมูลของโปรไฟล์ไม่สมบูรณ์ ตลอดจนอาจจะมีการปฏิเสธหรือลบเครื่องหมายยืนยันตัวตนจากบัญชีที่ผ่านการรับรองแล้ว เนื่องจากมีการละเมิดกฎของ Twitter บ่อยครั้งเป็นต้น Twitter ตระหนักดีว่า ปัจจุบันมีบัญชีที่ไม่สมควรได้รับการยืนยันตัวตนอยู่เป็นจำนวนมากบน Twitter ดังนั้นจึงกำลังมีการเริ่มดำเนินการลบเครื่องหมายออกจากบัญชีที่ไม่ได้มีการใช้งานหรือมีโปรไฟล์ที่ให้ข้อมูลไม่สมบูรณ์โดยอัตโนมัติ เพื่อช่วยปรับปรุงการทำงานของเราและขยายแผนการเพื่อเพิ่มเติมประเภทของบัญชีต่างๆ ให้สามารถเสร็จสิ้นในปี 2564

Twitter ทราบดีว่าไม่สามารถแก้ปัญหาการยืนยันตัวตนได้จากนโยบายใหม่นี้ได้เพียงทางเดียว และนโยบายเบื้องต้นในการยืนยันตัวตนอาจไม่ได้ครอบคลุมถึงทุกกรณี แต่นี่คือก้าวแรกที่สำคัญในการช่วยให้เรามีมาตรฐานที่โปร่งใสและยุติธรรมมากยิ่งขึ้นในการยืนยันตัวตน เนื่องจากเรากำลังจัดลำดับความสำคัญของระบบงานนี้อยู่ โดยนโยบายในตอนนี้คือจุดเริ่มต้นที่เราตั้งใจที่จะขยายประเภทของบัญชีต่างๆ และกฏเกณฑ์สำหรับการยืนยันตัวตนบนทวิตเตอร์อย่างมีนัยสำคัญในปีต่อไป

ข้อเสนอแนะและความคิดเห็นจากคุณ

คุณมีความเห็นอย่างไรบ้างเกี่ยวกับเรื่องนี้ Twitter ได้จัดทำการสำรวจแบบย่อของร่างนโยบายการยืนยันตัวตนซึ่งมีทั้งฉบับภาษาอังกฤษ ภาษาฮินดี ภาษาอาหรับ ภาษาสเปน ภาษาโปรตุเกส และภาษาญี่ปุ่น และขณะนี้ทวิตเตอร์กำลังทำงานร่วมกับหน่วยงานเอกชนในแต่ละประเทศและคณะกรรมการเพื่อความเชื่อมั่นและความปลอดภัยเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าจะมีการนำเสนอมุมมองต่างๆ ให้ได้มากที่สุดหากผู้ใช้งานต้องการแสดงความคิดเห็นผ่านการทวีต ทวิตเตอร์ก็พร้อมรับฟังเช่นกัน เพียงติดแฮชแท็ก #VerificationFeedback

ระยะเวลาในการส่งฟีดแบ็กเริ่มตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 8 ธันวาคม 2563 หลังจากนั้นทวิตเตอร์จะพิจารณาความคิดเห็นของทุกคนเกี่ยวกับนโยบายนี้และฝึกอบรมทีมงานถึงแนวทางใหม่ โดยมีเป้าหมายที่จะแนะนำนโยบายขั้นสุดท้ายภายในวันที่ 17 ธันวาคม 2563 นี้

ทวิตเตอร์มุ่งมั่นที่จะให้บริการการสนทนาสาธารณะด้วยการช่วยให้ผู้คน สามารถค้นหาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ รับฟังเสียงที่มีความสำคัญ และไว้วางใจในความถูกต้องของบัญชีผู้ใช้งานบนทวิตเตอร์ ขอขอบคุณที่ทุกท่านที่สละเวลาเพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการนี้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับข้อเสนอแนะเพื่อนำมาพัฒนาปรับปรุงต่อไป

สิ่งที่จะเกิดขึ้นในลำดับต่อไป 

การแสดงออกถึงตัวตนเป็นหัวใจหลักของบทสนทนาสาธารณะ แต่ใครคือคนที่คุณกำลังพูดคุยอยู่นั้นก็มีความสำคัญเช่นเดียวกับ และสิ่งที่พวกเขากำลังพูดถึงอยู่เช่นกัน ทวิตเตอร์จึงอยากสร้างพื้นที่ให้กับทุกคนบนทวิตเตอร์ให้สามารถส่งเสียงที่แท้จริงของตัวเองด้วยการช่วยให้ทุกคนสามารถระบุตัวตนในโปรไฟล์ได้มากขึ้น เครื่องหมายติ๊กถูกสีฟ้าและการติดป้ายรับรองบัญชีเป็นสองวิธีในการช่วยให้เราสามารถจำแนกบัญชีที่เป็นผู้มีชื่อเสียงและเป็นของจริงบนทวิตเตอร์ได้ ในปีนี้ทวิตเตอร์ได้มีการตรวจสอบและยืนยันตัวตนของผู้เชี่ยวชาญทางด้านการแพทย์ไปแล้วเพื่อให้พวกเขาสามารถทวีตเพื่อให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับ #COVID19 และได้เพิ่มป้ายรับรองบัญชีเพื่อเป็นการระบุตัวตนคนที่เป็นตัวแทนผู้สมัครที่ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

แต่เครื่องหมายติ๊กถูกสีฟ้าไม่ได้เป็นเพียงวิธีเดียวที่เรากำลังวางแผนเพื่อจำแนกบัญชีผู้ใช้งานบนทวิตเตอร์ ทั้งนี้ทวิตเตอร์มุ่งมั่นที่จะให้ทุกคนสามารถมีวิธีอื่นๆ ในการระบุตัวตนบนหน้าโปรไฟล์ของตัวเอง อาทิ ประเภทของบัญชีผู้ใช้งานและป้ายรับรองบัญชีใหม่ ซึ่งนี่เป็นเพียงการเริ่มต้นของสิ่งที่เราได้วางแผนไว้ในปี 2564

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ดีอี ผนึก ‘อว.- ศธ.’ ร่วมมือ UNESCO นำเวที UNESCO Global Forum on the Ethics of AI 2025

ประเทศไทยเตรียมเป็นเจ้าภาพงาน “UNESCO Global Forum on the Ethics of AI 2025” ครั้งแรกในเอเชียแปซิฟิก ภายใต้แนวคิด “Ethical Governance of AI in Motion” ย้ำบทบาทผู้นำจริยธรรม AI ระดั...

Responsive image

เสริมสร้างความร่วมมือไทย-ฟินแลนด์ ศึกษาดูงานและขยายโอกาสนวัตกรรม

รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศและเอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮลซิงกิ นำคณะผู้แทนไทยศึกษาดูงานที่ฟินแลนด์ เพื่อกระชับความร่วมมือด้านนวัตกรรม พลังงานหมุนเวียน และเศรษฐกิจหมุนเวียน...

Responsive image

ไทยพบเอสโตเนีย แลกเปลี่ยนมุมมองรัฐบาลดิจิทัล ศึกษาต้นแบบ e-Government

ไทยเปิดใจเรียนรู้จากเอสโตเนีย ระบบ e-Government ที่ประชาชนไว้วางใจ...