UOB เร่งเพิ่มศักยภาพด้านดิจิทัลทั่วอาเซียน เตรียมรวมบริการในแพลตฟอร์มเดียวบน UOB TMRW | Techsauce

UOB เร่งเพิ่มศักยภาพด้านดิจิทัลทั่วอาเซียน เตรียมรวมบริการในแพลตฟอร์มเดียวบน UOB TMRW

ธนาคารยูโอบี (UOB) ประกาศแผนลงทุนถึง 500 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ เพื่อพัฒนานวัตกรรมด้านดิจิทัล หลังตั้งเป้าขยายฐานลูกค้ารายย่อยที่ใช้บริการธนาคารดิจิทัลอีก 2 เท่า หรือกว่า 7 ล้านราย ทั่วตลาดอาเซียนภายในปี 2569 โดยธนาคารเตรียมรวมบริการดิจิทัลแบงก์ TMRW กับแอปพลิเคชัน UOB Mighty เข้าเป็นแพลตฟอร์มเดียวในประเทศสิงคโปร์ ก่อนที่จะทยอยเปิดตัวในประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน ภายในอีก 18 เดือนถัดไป

จากสถานการณ์โรคระบาดอันยืดเยื้อที่เป็นปัจจัยเร่งให้เกิดการปรับใช้บริการดิจิทัลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว บริการธนาคารดิจิทัลจึงเป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่ลูกค้าของธนาคาร จากข้อมูลในสิงคโปร์ เมื่อปี 2563 ยอดการทำธุรกรรมโอนจ่ายผ่านช่องทางดิจิทัล เช่น PayNow หรือ QR Code เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าตัว ขณะที่การฝากและถอนเงินผ่านช่องทางแบบเดิมลดลงกว่าร้อยละ 30 

ธนาคารยูโอบี เป็นธนาคารแรกในภูมิภาคอาเซียนที่พัฒนาโมเดลธุรกิจใหม่ ที่เน้นเรื่องการสร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า ด้วยการเปิดตัว TMRW ธนาคารดิจิทัลเพื่อดิจิทัลเจนเนอเรชันแห่งแรกของอาเซียนเมื่อปี 2562 TMRW ขับเคลื่อนด้วยเอไอ และโซลูชันเทคโนโลยีการเงินที่ดีที่สุดในตลาด ที่ทำงานร่วมกันเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลธุรกรรรมขนาดใหญ่แบบเรียลไทม์ กลไกสำคัญนี้ช่วยให้ธนาคารสามารถคาดเดาความต้องการของลูกค้าล่วงหน้า และมอบคำแนะนำและบริการที่ตรงใจลูกค้ายิ่งขึ้น ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมด้านการเงินของลูกค้าเอง 

ภายใต้แพลตฟอร์ม UOB TMRW ที่เป็นหนึ่งเดียวนี้ ธนาคารจะเดินหน้าผลักดันนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อสร้างประสบการณ์ธนาคารสำหรับลูกค้าเฉพาะบุคคล ทีมงานของ UOB TMRW ซึ่งประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญในสาขาเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์พฤติกรรม วิทยาศาสตร์ข้อมูล และการธนาคาร จะเร่งพัฒนาแอปพลิเคชันให้ดียิ่งขึ้น ผ่านการอัปเดตตลอดทุก ๆ 2-3 เดือน 

มร. วี อี เชียง รองประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารยูโอบี กล่าวว่า “ปฏิสัมพันธ์กับลูกค้านับเป็นสิ่งที่ทำให้ธนาคารยูโอบีแตกต่างจากคู่แข่งอย่างชัดเจน การเปิดตัว TMRW ในประเทศไทยและอินโดนีเซียภายในสองปี เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ที่จะขยายศักยภาพด้านบริการธนาคารดิจิทัลในภูมิภาค

ในช่วงสองปีที่ผ่านมานี้ เราได้เห็นว่าการระบาดของโควิดเร่งให้เกิดการปรับใช้เทคโนโลยีมากขึ้น จนไม่ใช่บริการทางเลือกเฉพาะกลุ่มอีกต่อไป ซึ่งนับเป็นโอกาสอันดีที่ธนาคารจะรวบรวมเอาศักยภาพด้านดิจิทัลของเราเข้าไว้ด้วยกัน การรวมเอา TMRW และ UOB Mighty เข้าเป็นแพลตฟอร์มเดียว จะช่วยให้เราขยายฐานลูกค้าและนำบริการธนาคารดิจิทัลแบบเฉพาะบุคคลให้ถึงมือลูกค้าได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น” 

TMRW ได้รับรางวัลมากมาย รวมถึงการยกย่องให้เป็น Best Digital Bank ทั้งในประเทศไทยและอินโดนีเซียเมื่อเร็วๆนี้ ลูกค้าที่ใช้งาน TMRW ในสองประเทศ ได้ให้คะแนนความพึงพอใจ (Net Promoter Score) ในอันดับต้นๆ ด้าน UOB Mighty ได้รับการชื่นชม ในฐานะที่เป็นแอปพลิเคชันที่ตอบครบทุกความต้องการ ทั้งด้านโอนจ่ายเงิน การลงทุน และสิทธิประโยชน์อื่นๆ ภายในแอปเดียว ล่าสุด เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา UOB Mighty ได้รับรางวัล Investment Product Innovation of the Year สำหรับโซลูชันด้านการลงทุนแบบดิจิทัล SimpleInvest 

ส่วนหนึ่งของแผนการเปิดตัว UOB TMRW ธนาคารได้เปิดให้พนักงานของธนาคารในประเทศสิงคโปร์ ทดลองใช้งานแอปพลิเคชัน UOB TMRW ในเวอร์ชันเบต้า ก่อนที่จะเปิดตัวกับลูกค้าในสิงคโปร์อย่างเป็นทางการภายในช่วงปลายปีนี้ ซึ่งลูกค้าที่ใช้ UOB Mighty ในสิงคโปร์ จะได้รับการย้ายเข้าสู่ UOB TMRW โดยอัตโนมัติ

มร. เควิน แลม Head of TMRW and Group Digital Banking กล่าวว่า “เรากำลังเข้าสู่จุดเริ่มต้นของการเดินทางระยะใหม่ การเปิดตัว UOB TMRW ในสิงคโปร์นี้ตอกย้ำความมุ่งมั่นของเราที่มีต่อโมเดลธุรกิจธนาคารดิจิทัลที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล เพื่อสร้างประสบการณ์แบบเฉพาะบุคคลให้กับลูกค้าของเรา ในเฟสต่อไป เรามีเป้าหมายที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อมอบบริการธนาคารที่ฉลาดขึ้น และใช้งานง่ายยิ่งขึ้น เราจะมุ่งหน้าพัฒนาแอปพลิเคชัน UOB TMRW อย่างสม่ำเสมอ ผ่านการอัปเดตทุก 2-3 เดือน”

ธนาคารยูโอบีเตรียมที่จะเปิดตัว UOB TMRW ในประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน ภายในระยะเวลาอีก 18 เดือนข้างหน้า 



ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

OR มุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ เป้าหมาย Net Zero ปี 2050 ผ่าน 3 กลยุทธ์

OR เร่งเครื่องสู่การเป็นผู้นำด้านพลังงานสะอาด พร้อมมุ่งสู่การเป็นผู้นำการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน ผ่านการปฏิบัติจริง...

Responsive image

MFEC ตั้งเป้า ปี 67 รายได้โต 15% ปักธงฟื้นเศรษฐกิจไทยด้วยเทคโนโลยี

MFEC ตั้งเป้าหมายปี 2567 สร้างรายได้เติบโต 15% และฟื้นฟูเศรษฐกิจประเทศไทยด้วยเทคโนโลยี ชูกลยุทธ์ผสานโซลูชันไอที พร้อมเดินหน้าเพิ่มขีดความสามารถและยกระดับมาตรฐานการให้บริการด้านเทคโ...

Responsive image

KBank เดินหน้า Net Zero ภายในปี 2030 ชวนธุรกิจไทยรับมือ Climate Game ผ่าน 4 กลยุทธ์

KBank พลิกโฉมสู่ธนาคารแห่งความยั่งยืนรับยุค Climate Game จัดเตรียมยุทธศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อมปี 2024 ที่อยากชวนธุรกิจไทยก้าวสู่โลกธุรกิจรูปแบบใหม่ TOGETHER ‘Transitioning Away’ ผ่าน ...