VISA เผย 8 ใน 10 ของคนไทยหันมาใช้จ่ายแบบคอนแทคเลสมากขึ้น แทนการใช้เงินสด | Techsauce

VISA เผย 8 ใน 10 ของคนไทยหันมาใช้จ่ายแบบคอนแทคเลสมากขึ้น แทนการใช้เงินสด

วีซ่าผู้นำการให้บริการการชำระเงินดิจิตอลระดับโลก เปิดเผยถึงผลการสำรวจเกี่ยวกับการศึกษาเรื่องทัศนคติการชำระเงินของผู้บริโภคประจำปีของวีซ่า1 (Visa Consumer Payment Attitudes Study) ที่แสดงให้เห็นว่าแปดในสิบของชาวไทย (79 เปอร์เซ็นต์) เลือกใช้จ่ายในรูปแบบคอนแทคเลสมากขึ้นกว่าเมื่อสองปีที่ผ่านมา 

ผลสำรวจฉบับนี้ ศึกษาถึงพฤติกรรมและทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อการชำระเงินทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยังได้แสดงให้เห็นว่าสามในสี่ของผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทย (75 เปอร์เซ็นต์) ที่ยังไม่เคยชำระเงินในรูปแบบคอนเทคเลสในปัจจุบัน มีความสนใจที่จะเลือกใช้วิธีนี้ในอนาคต

คุณสุริพงษ์ ตันติยานนท์ ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย กล่าวว่า “เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ได้เห็นคนไทยเปิดใจยอมรับเทคโนโลยีการชำระรูปแบบใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการชำระเงินผ่านบัตรคอนแทคเลส การเปลี่ยนแปลงทางด้านพฤติกรรมที่เกิดขึ้นรวมถึงความเชื่อมั่นที่เพิ่มมากขึ้นของผู้บริโภค เกิดจากที่ธุรกิจทุกภาคส่วนช่วยกันให้ข้อมูลความรู้แก่ประชาชนในเรื่องของประโยชน์ของการชำระเงินในรูปแบบคอนแทคเลส รวมถึงการเพิ่มจุดรับชำระบัตรคอนแทคเลส  ในประเทศไทยวิธีการชำระเงินในรูปแบบคอนแทคเลสยังถือว่าอยู่ในขั้นเริ่มต้น  แต่เราก็ยังมองเห็นแนวโน้มการเติบโตของการชำระเงินด้วยวิธีนี้ เพราะความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และบัตรวีซ่า คอนแทคเลสยังเป็นที่ยอมรับทั่วโลก”

เหตุผลที่สำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคใช้วิธีการชำระแบบคอนแทคเลส คือ ไม่ต้องการถือเงินสด (68 เปอร์เซ็นต์) ต้องการใช้นวัตกรรมใหม่ในการชำระเงิน (58 เปอร์เซ็นต์) และเป็นวิธีการชำระที่รวดเร็วกว่าวิธีการอื่นๆ (55 เปอร์เซ็นต์) 

เมื่อพูดถึงความถี่ของการชำระเงินในรูปแบบคอนแทคเลสพบว่า มากกว่าสี่ในห้าของผู้ตอบแบบสอบถาม (82 เปอร์เซ็นต์) ใช้บัตรคอนแทคเลสในการใช้จ่ายอย่างน้อยหนึ่งถึงมากกว่าสี่ครั้งต่อสัปดาห์โดยจุดที่คนเลือกใช้จ่ายด้วยบัตรคอนแทคเลสมากที่สุด คือ ระหว่างการเดินทางในต่างประเทศ (17 เปอร์เซ็นต์) ตามมาด้วยซูเปอร์มาร์เก็ต (12 เปอร์เซ็นต์) และร้านค้าปลีกต่างๆ (11 เปอร์เซ็นต์) 

ในด้านประชากรศาสตร์พบว่า กลุ่ม Gen Y (55 เปอร์เซ็นต์) เลือกใช้การชำระเงินในรูปแบบคอนแทคเลสมากกว่า  เมื่อเทียบกับกลุ่ม Gen X (45 เปอร์เซ็นต์) ที่มีผู้ใช้ระบบการชำระแบบนี้น้อยกว่า  นอกจากนี้ ประชากรกลุ่ม Gen Y เลือกชำระเงินในรูปแบบแบบคอนแทคเลสบ่อยครั้งมากกว่า โดยสามในสิบเลือกชำระเงินด้วยวิธีคอนแทคเลสมากกว่าสี่ครั้งต่อสัปดาห์ ขณะที่มีเพียงหนึ่งในห้าของประชากรกลุ่ม Gen X ที่เลือกการชำระด้วยวิธีนี้มากกว่าสี่ครั้งต่อสัปดาห์

การขับเคลื่อนของประเทศไทยสู่สังคมไร้เงินสด

การสำรวจโดยวีซ่าในครั้งนี้ยังพบว่า มากกว่าสองในห้าของผู้ตอบแบบสอบถาม (43 เปอร์เซ็นต์) บอกว่าพวกเขาถือเงินสดน้อยกว่าเมื่อสองปีที่ผ่านมา ด้วยเหตุผลว่าการถือเงินสดไปในที่ต่างๆ ไม่ปลอดภัย (65 เปอร์เซ็นต์) เลือกที่จะชำระเงินในรูปแบบคอนแทคเลสมากขึ้น (62 เปอร์เซ็นต์) และจุดสำหรับการเบิกถอนเงินสดหาได้ง่ายขึ้น (62 เปอร์เซ็นต์)

นอกจากนี้ มากกว่าสี่ในห้าของผู้ตอบแบบสอบถาม (82 เปอร์เซ็นต์) สามารถใช้ชีวิตได้โดยไม่พึ่งเงินสดและหันมาใช้การชำระเงินในรูปแบบไร้เงินสดแทนในชีวิตประจำวัน  จำนวนผู้ตอบแบบสอบถามเกือบสามในสี่ (70 เปอร์เซ็นต์) ใช้ชีวิตแบบไร้เงินสดมากถึงสองสามวันต่อครั้ง โดย 21 เปอร์เซ็นต์ สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้โดยไม่พึ่งเงินสดมากกว่าหนึ่งสัปดาห์แต่ยังน้อยกว่าหนึ่งเดือน  ส่วนอีก 9 เปอร์เซ็นต์ที่เหลือสามารถใช้ชีวิตได้โดยไม่ใช้จ่ายด้วยเงินสดได้ถึงหนึ่งเดือนหรือมากกว่า

เมื่อพูดถึงแนวโน้มที่มีต่อการใช้จ่ายแบบไร้เงินสดในอนาคต  เจ็ดในสิบของผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทย (72 เปอร์เซ็นต์) กล่าวว่า พวกเขาคาดว่าจะเลือกชำระเงินในรูปแบบไร้เงินสดเพิ่มมากขึ้นในปีหน้า ด้วยเหตุผลด้านความสะดวก (69 เปอร์เซ็นต์) ลดความยุ่งยากในการใช้จ่ายด้วยเงินสด (62 เปอร์เซ็นต์)  และความสะดวกสบายที่เพิ่มขึ้นกับวิธีการชำระเงินในรูปแบบไร้เงินสด (51 เปอร์เซ็นต์) 

นอกจากนี้ ผู้บริโภคชาวไทยยังมีความมั่นใจที่จะเข้าสู่สังคมไร้เงินสด ซึ่งสองในห้า (38 เปอร์เซ็นต์) เชื่อว่าพวกเขาสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้มากกว่าหนึ่งเดือนโดยไม่พึ่งพาการใช้เงินสด โดยส่วนใหญ่กว่าหกในสิบของผู้ตอบแบบสอบถาม (58 เปอร์เซ็นต์) เชื่ออยู่ว่าพวกเขาสามารถอยู่โดยไม่ชำระเงินผ่านเงินสดได้เพียง 24 ชั่วโมง 

หากถามว่าเมื่อไรที่ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมไร้เงินสด 40 เปอร์เซนต์ ของกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามเชื่อว่าน่าจะใช้เวลาระหว่างสองถึงห้าปี  27 เปอร์เซ็นต์ คิดว่าอาจจะใช้เวลาประมาณหกถึงสิบปี และที่น่าสนใจคือ 7 เปอร์เซ็นต์เชื่อว่าประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมไร้เงินสดภายในปีหน้า

กลุ่มตัวอย่างเชื่อว่าประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับจากการพัฒนาสู่สังคมไร้เงินสด คือ ความสะดวกสบาย (58 เปอร์เซ็นต์)  เพิ่มความสามารถในการวางแผนทางการเงิน (56 เปอร์เซ็นต์) การลดความเสี่ยงจากการโจรกรรม (55 เปอร์เซ็นต์) และการส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงิน (44 เปอร์เซ็นต์)

“เป็นที่ทราบกันดีว่าเทคโนโลยีด้านการชำระเงินเป็นตัวแปรสำคัญอันดับต้นๆ ที่จะช่วยให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมไร้เงินสด อย่างไรก็ตาม อีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันก็คือการเข้าถึงและการทำความเข้าใจด้านความต้องการในปัจจุบัน และคาดการณ์ถึงความต้องการในอนาคตของผู้บริโภคชาวไทย  เราหวังว่าการศึกษาด้านทัศนคติการชำระเงินของผู้บริโภคประจำปี ของวีซ่า ซึ่งได้ทำอย่างต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 6 ติดต่อกัน จะช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับลูกค้าและพันธมิตรของเรา และในขณะเดียวกันก็หว้งว่าข้อมูลเหล่านี้จะช่วยสนับสนุนภาครัฐในการกำหนดมาตรการและกลไกต่างๆ ที่จะเอื้อประโยชน์ต่อประชาชน ธุรกิจไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ และเป็นอีกแรงขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจของประเทศไทยเติบโตอย่างต่อเนื่อง” นายสุริพงษ์ กล่าวสรุป  

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทีทีบี คว้ารางวัลธนาคารที่ดีที่สุดเพื่อลูกค้าธุรกิจ Thailand Best Bank for Corporates

ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) คว้ารางวัล Thailand Best Bank for Corporates จาก Euromoney Awards 2024 ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการสนับสนุนธุรกิจไทยด้วยโซลูชันดิจิทัลและความยั่งยืนผ่านกรอบ B+ESG พร...

Responsive image

AstraZeneca รับรางวัล Most Innovative Company จาก BCCT จากความมุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรม AI ด้านสุขภาพ

แอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) เข้ารับรางวัล Most Innovative Company (รางวัลบริษัทยอดเยี่ยมด้านนวัตกรรม) จาก สภาหอการค้าอังกฤษแห่งประเทศไทย ตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของบริษัทในการเป็นผู...

Responsive image

Gourmet Market เปิดตัวรถเข็น Smart Cart ครั้งแรกในไทย ค้นหาสินค้า หาโปรโมชัน คิดเงิน ครบจบในคันเดียว

กูร์เมต์ มาร์เก็ต ยกระดับประสบการณ์ช้อปปิ้งสู่ยุคดิจิทัล เปิดตัว “Gourmet Market Smart Cart” เจ้าแรกในประเทศไทย ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Shopping Made Easy at Once” ก้าวสู่การเป็นสมาร์ทซูเ...