ตามติดเรื่องความสุขของคนไทย | Techsauce

ตามติดเรื่องความสุขของคนไทย

ดร. วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ เสนอแนะให้ประเทศไทยมีการวัดระดับความสุข ความพึงพอใจในชีวิตของคนไทย นอกเหนือจากรายได้เพียงอย่างเดียว เพื่อให้รู้ว่าสิ่งที่รัฐทำมีส่วนช่วยให้คนไทยรู้สึกดีขึ้นหรือแย่ลง ถ้าต้องการให้คนไทยมีความสุขมากขึ้นรัฐต้องทำหรือไม่ทำอะไร

รายงานสถิติความสุขใน World Happiness Report ในปี 2555 จนถึงปี 2562 ได้แสดงให้เห็นว่า คนไทยมีความสุข ลดลงเรื่อย ๆ และปี พ.ศ. 2562 เป็นปีที่คนไทยมีความสุขต่่าที่สุด คนในประเทศ ฟิลิปปินส์ซึ่งเคยมีความสุขโดยรวมน้อยกว่าคนไทย ณ บัดนี้ได้ขยับระดับความสุขสูงขึ้นแซงหน้าคนไทยไปเสีย แล้ว และเราคงเดาได้ไม่ยากเลยว่าปีพ.ศ. 2563 นี้คนไทยน่าจะมีความสุขลดลงไปอีก

 ในปัจจุบันนี้มีหลายประเทศที่ให้ความใส่ใจกับความรู้สึกของประชาชน การวัดความเจริญที่ดูจาก รายได้และความเจริญทางวัตถุไม่เพียงพอแล้วกับการประเมินว่า คุณภาพชีวิตของคนไปในทิศทางไหน คนใน ประเทศโอเคไหมกับชีวิต

 ตัวอย่าง ประเทศที่ถามประชาชนเกี่ยวกับระดับความพึงพอใจในชีวิตประกอบด้วย ประเทศอังกฤษ เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 ประเทศเยอรมันเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 ประเทศออสเตรเลีย เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 ในที่นี้ขอยกตัวอย่างการถามความอยู่ดีมีสุขของประเทศอังกฤษ ที่ใช้ชุดค่าถาม 4 ข้อในการวัดว่า คนในประเทศมีพึงพอใจในชีวิตและมีความสุขหรือไม่ 

ข้อ 1 โดยรวมแล้ว ปัจจุบันนี้ ท่านพึงพอใจกับชีวิตของท่านมากน้อยเพียงใด ซึ่งเป็นการวัดภาพรวมของชีวิต 

ข้อ 2 โดยรวมแล้ว เมื่อวานนี้ ท่านรู้สึกมีความสุขมากน้อยเพียงใด 

ข้อ 3 โดยรวมแล้ว เมื่อวานนี้ ท่านรู้สึกวิตกกังวลมากน้อยเพียงใด 

โดยข้อ 2 และ 3 เป็นการวัดภาวะทางอารมณ์ 

ข้อ 4 โดยรวมแล้ว ท่านรู้สึกว่าสิ่งที่ท่านทำชีวิตมีคุณค่ามากน้อยเพียงใด ข้อนี้เป็นการวัดการมี คุณค่าของชีวิต

 คำถามทั้งสี่ข้อนี้ถูกถามในการสำรวจหลายเรื่องที่จัดทำโดยสำนักงานสถิติ ของประเทศอังกฤษ และ ยังรวมในการสำรวจอื่นที่จัดทำโดยสถาบันการศึกษา หน่วยงานของรัฐ และหน่วยงานอิสระอีกจำนวนมาก รวมกันทั้งหมดไม่น้อยกว่า 33 การสำรวจที่มีการวัดความพึงพอใจในชีวิตของคนอังกฤษ การสำรวจมีการ จัดทำทั้งรายเดือน รายไตรมาส รายครึ่งปี และรายปี การสำรวจมากมายนี้เริ่มทำจริงจังตั้งแต่ยุครัฐบาล David Cameron

ในช่วงวันที่ 1 พฤษภาคม – 15 มิถุนายน 2563 โครงการวิจัยนโยบายสาธารณะและความพึงพอใจ ในชีวิตของคนไทย ได้รับการสนับสนุนจากส่านักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภายใต้แผนงาน ยุทธศาสตร์เป้าหมาย (Spearhead) ด้านสังคม คนไทย 4.0 ได้ทำการสำรวจความพึงพอใจชีวิตของคนไทย การสำรวจเป็นแบบถามตัวต่อตัวและการถามทางออนไลน์จำนวน 3,880 คนทั่วประเทศ โดยใช้คำถามความ พึงพอใจในชีวิตและความสุข 4 ข้อเช่นเดียวกับที่ถามโดยสำนักงานสถิติของประเทศอังกฤษ 

ผลการสำรวจพบว่าโดยรวมประมาณร้อยละ 48 ของคนไทยมีความพึงพอใจในชีวิตตั้งแต่ระดับ 8 ขึ้นไป โดยที่ 0 คือ ไม่มีความพึงพอใจในชีวิตเลย และ 10 มีความพึงพอใจในชีวิตมากที่สุด แต่เมื่อแบ่งคนเป็นตามรุ่นแล้วพบว่า คนที่มักมีความพึงพอใจในชีวิตระดับสูงคือ รุ่น Baby boomer มีความพึงพอใจใน ชีวิตระดับ 9-10 ประมาณ 36% ซึ่งในระดับความพึงพอใจเดียวกันนี้ของคนรุ่น Gen Y มีเพียง 20% และ Gen Z มีเพียง 7% เท่านั้น เมื่อถามภาวะทางอารมณ์สุขและเครียด พบว่า คนรุ่น Baby boomer โดยรวมมีความสุข มากกว่าและเครียดน้อยกว่าคนรุ่นอื่นๆ โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับรุ่น Gen Y และ Gen Z คนสองรุ่น นี้ยังมีความรู้สึกว่าชีวิตมีคุณค่าค่อนข้างต่่ากว่ารุ่นพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย อีกด้วย การพยายามสร้างบทบาท ทางสังคมจึงอาจเป็นวิธีหนึ่งที่ท าให้รู้สึกว่าชีวิตมีคุณค่ามากขึ้น

ถ้าให้มองว่าคนไทยจะมีความสุขเพิ่มขึ้นหรือลดลงในอีกหนึ่งหรือสองปีข้างหน้า เราคงคาดเดาได้ยาก การคาดเดาก็คงเป็นไปตามอคติของผู้ที่เดา อย่ากระนั้นเลย เราน่าจะมีการวัดระดับความสุขเชิงอัตวิสัยหรือ ความพึงพอใจในชีวิต ความสุข ความวิตกกังวล และการมีชีวิตที่มีคุณค่าอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เห็น แนวโน้มว่าคนไทยรู้สึกอย่างไรในแต่ละปี ท่าไมคนไทยถึงมีหรือไม่มีความสุข สิ่งที่รัฐทำมีส่วนช่วยให้คน ไทยรู้สึกดีขึ้นหรือแย่ลง ถ้าต้องการให้คนไทยมีความสุขมากขึ้นรัฐต้องท่าหรือไม่ท่าอะไร 

ข้อคำถามความพึงพอใจในชีวิตและความสุขสี่ข้อนี้สามารถเพิ่มเข้าไปในการสำรวจที่จัดทำโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ เช่น การสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน การสำรวจภาวการณ์ทำงาน ของประชากร การสำรวจเด็กและเยาวชน การสำรวจอนามัยและสวัสดิการสังคม การสำรวจประชากร ผู้สูงอายุ การสำรวจผู้พิการ และการสำรวจสังคมและวัฒนธรรม ข้อคำถามสี่ข้อนี้จะช่วยให้เชื่อมโยงความสุข ของคนในประเทศเข้ากับประเด็นทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ วัฒนธรรม และ อื่นๆ และช่วยให้ติดตาม ความอยู่ดีมีสุขของคนไทย เพิ่มเติมไปจากการติดตามภาวะทางเศรษฐกิจที่มักได้รับการพูดถึงกันอยู่ตลอดเวลา 

ถ้าจะคืนความสุขให้ประชาชน เราต้องรู้ก่อนว่าประชาชนมีความสุขระดับใดอยู่ และอะไรบ้าง ทำให้เขามีความสุขมากขึ้น


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ไทย-สวีเดน ผนึกกำลังเร่งเครื่อง Startup สู่เวทีโลก ด้วย The Scaleup Impact! Thailand-Sweden Global Startup Acceleration Program

ประเทศไทยและสวีเดนได้ประกาศความร่วมมือครั้งสำคัญในการส่งเสริมสตาร์ทอัพไทยให้ก้าวไกลสู่ตลาดโลกผ่านโครงการ 'The Scaleup Impact! Thailand-Sweden Global Startup Acceleration Program' ณ...

Responsive image

STelligence ผลักดันองค์กรไทยสู่ยุค AI ด้วย 5 โซลูชันใหม่

STelligence บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้าน Digital Transformation ของไทย เปิดตัว 5 โซลูชัน AI ใหม่ มุ่งตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะของธุรกิจไทยและช่วยให้องค์กรไทยสามารถนำ AI มาใช้ได้อย่างมีประ...

Responsive image

ETDA ก้าวสู่ปีที่ 14 โชว์แผนใหญ่ 4 ปี ชูธง “ก้าวที่มั่นคง เพื่อชีวิตดิจิทัลที่มั่นใจ”

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) พร้อมก้าวสู่ปีที่ 14 แห่งการขับเคลื่อนอนาคตธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ...