“Zipmex” (ซิปเม็กซ์) แพลตฟอร์มซื้อขายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลชั้นนำของประเทศไทย ที่เติบโตเร็วที่สุดในเอเชียแปซิฟิก จับมือร่วมกับ วิทยาลัยนานาชาตินวัตกรรมดิจิทัล (International College of Digital Innovation: ICDI) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แถลงความร่วมมือจัดทำหลักสูตรอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
เพื่อสร้างกำลังคนสมรรถนะสูง New Growth Engine ตามนโยบาย Thailand 4.0 และการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย พร้อมตอบสนองความต้องการด้านอาชีพของผู้เรียน และกระแสผู้ประกอบการที่ต้องการบุคลากรรอบรู้เรื่องสินทรัพย์ดิจิทัล และการเงินยุคใหม่
ภายในงานแถลงข่าววันนี้ จัดขึ้นที่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) สาขาภาคเหนือ ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภราดร สุรีย์พงษ์ ตัวแทนจากวิทยาลัยนานาชาตินวัตกรรมดิจิทัล (International College of Digital Innovation: ICDI) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และตรัยคุณ ศรีหงส์ Country Manager Zipmex Thailand ร่วมด้วย คณาจารย์, ผู้มีเกียรติ และสื่อมวลชนร่วมงาน ภายใต้มาตรการ ตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข
ผศ.ดร.ภราดร สุรีย์พงษ์ ตัวแทนจากวิทยาลัยนานาชาตินวัตกรรมดิจิทัล (International College of Digital Innovation: ICDI) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า “ICDI ได้จัดให้มีโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ขึ้น เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับนักศึกษา โดยร่วมร่างหลักสูตรกับทั้งภาครัฐ และเอกชน และดำเนินการจัดทำหลักสูตรที่น่าสนใจ ล่าสุดนี้เราได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจาก ซิปเม็กซ์ ประเทศไทย (Zipmex) จัดทำหลักสูตรการฝึกอบรมดิจิทัล และหลักสูตรการฝึกอบรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะขึ้น
โดยมุ่งเน้นสร้างกำลังคนที่มีสมรรถนะสูงสำหรับอุตสาหกรรม New Growth Engine ตามนโยบาย Thailand 4.0 และการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย ประเภทประกาศนียบัตร (Non-Degree) อาทิ มีสมรรถนะในการปรับตัวและแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนนโยบายยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งกำหนดวิสัยทัศน์ ประเทศมีความมั่นคง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง"
“หลักสูตรการฝึกอบรมดิจิทัล และหลักสูตรการฝึกอบรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ เป็นหลักสูตรประกาศนียบัตร (Non-degree)ลักษณะโมดูล (Module) มีความยืดหยุ่นสามารถบูรณาการตามศาสตร์และสาขาวิขาที่ถนัด และตรงตามความต้องการด้านอาชีพของผู้เรียน รวมทั้งตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการ มีการเชื่อมต่อภายในสถาบันอุดมศึกษา ระหว่างคณะกับภาควิชา ระหว่างระดับอุดมศึกษาหรือระดับองค์กรทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งมีระบบเทียบโอน (Credit Transfer) ได้กับกระบวนวิชาในระดับปริญญาโทด้านนวัตกรรมดิจิทัล และเทคโนโลยีการเงินของวิทยาลัย”
ผศ.ดร.ภราดร กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของหลักสูตรที่จัดทำขึ้นว่า เพื่อปรับทักษะของบุคลากรที่อยู่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้ตรงความต้องการของอุตสาหกรรมดิจิทัล และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะของประเทศไทยในอนาคตอันใกล้ ทั้งยังเป็นการรองรับหลักสูตรระดับปริญญาโทด้านดิจิทัล และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะในอนาคต โดยผู้เรียนสามารถสะสมและเทียบโอนหน่วยกิตเพื่อสอบประมวลความรู้ และทำการศึกษาวิจัยทั้งในระดับการค้นคว้าอิสระหรือวิทยานิพนธ์ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้จริง ที่สำคัญ เป็นการเพิ่มสมรรถนะบุคลากรในภาคเอกชน และภาคอุตสาหกรรมทางด้านดิจิทัล (Digital) ระบบโลจิสติกส์ (Logistic) พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) เมืองอัจฉริยะ (Smart City) และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronic)
ด้าน คุณตรัยคุณ ศรีหงส์, Country Manager Zipmex Thailand กล่าวถึงความร่วมมือครั้งนี้ว่า “Zipmex (ซิปเม็กซ์) ให้ความสำคัญเป็นอย่างมากกับการให้ความรู้ ที่ถูกต้อง และครบวงจรในเรื่องสินทรัพย์ดิจิทัล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเราในฐานะแพลตฟอร์มซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่ได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงการคลัง และสำนักงาน ก.ล.ต. จึงทำให้เราได้รับความเชื่อมั่นจากลูกค้าและนักลงทุนจำนวนมาก ในนามของฝ่ายบริหาร ซิปเม็กซ์ ประเทศไทย เรามีความยินดีอย่างยิ่ง ในการร่วมจัดทำหลักสูตรที่มีองค์ความรู้ที่ครบถ้วน มีความทันสมัย และตรงกับความต้องการของธุรกิจในยุคดิจิทัล”
คุณตรัยคุณ เผยด้วยว่า ในหลักสูตรที่จัดทำขึ้นนี้ Zipmex (ซิปเม็กซ์) จะร่วมจัดการเรียนการสอนในเนื้อหาที่เกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Assets) ร่วมพัฒนาหลักสูตรสาขาการเงิน หลักการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล และคริปโตเคอร์เรนซี เพื่อตอกย้ำให้เห็นถึงพันธกิจของ Zipmex ในการก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำทางด้านการศึกษาผ่านการถ่ายทอดความรู้ที่ถูกต้อง และเชื่อถือได้เกี่ยวกับโลกการเงินแห่งอนาคต และคริปโตฯ ให้แก่ประชาชนทั่วไป รวมถึงเพื่อตอบสนองความต้องการของนักศึกษาและบุคคลที่สนใจ
รวมถึงพัฒนาบุคลากรสำหรับสายงาน Fintech ที่กำลังเป็น Mega Trend ของโลกอยู่ในตอนนี้ ซึ่งในวิชาจะประกอบไปด้วยเทคโนโลยีทางการเงินต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Blockchain, DeFi, NFT, GameFi และ Metaverseตลอดจนอธิบายถึงหลักการพื้นฐาน ไปจนถึงการนำไปใช้ (Use case) และการปรับตัวเข้าสู่ยุคใหม่ของโลกการเงิน รวมไปถึงการแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับเทรนด์ใหม่ๆ ด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง จึงนับเป็นโอกาสที่ดี ที่ผู้เรียนในหลักสูตรนี้ จะได้รับความรู้ความเข้าใจในเนื้อหา เพื่อต่อยอดความรู้ในอนาคต และประสบความสำเร็จในการทำงาน โดยได้เข้าถึงแหล่งความรู้ จากวิทยากรที่เป็นผู้เชี่ยวชาญอย่างแท้จริง
ภายหลังการแถลงข่าว ผศ.ดร. ภราดร สุรีย์พงษ์ ตัวแทนจากวิทยาลัยนานาชาตินวัตกรรมดิจิทัล (International College of Digital Innovation: ICDI) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และนายตรัยคุณ ศรีหงส์, Country Manager Zipmex Thailand ได้ร่วมลงนามแสดงเจตจำนงความร่วมมือ ในการจัดทำหลักสูตรอิเล็คทรอนิกส์อัจฉริยะ เพื่อสร้างกำลังคนสมรรถนะสูง New Growth Engine ปฏิรูปอุดมศึกษาไทย ต่อไป ท่ามกลางผู้มีเกียรติ และสื่อมวลชนร่วมเป็นสักขีพยาน
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด