5 วิธีการปรับตัวของ Gen Z เมื่อเข้าสู่โลกการทำงาน | Techsauce

5 วิธีการปรับตัวของ Gen Z เมื่อเข้าสู่โลกการทำงาน

ปี 2022 เป็นปีของ Gen Z ที่จะเข้ามาขับเคลื่อนตลาดแรงงานซึ่งสามารถเพิ่มอัตราการแข่งขันในตลาดแรงงานมากขึ้น คน Gen Z เป็นคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ด้านเทคโนโลยีในระดับที่สร้างอาชีพได้ ซึ่งทำให้การทำงานร่วมกับคนรุ่นก่อนหน้าเกิดช่องว่างระหว่างวัยค่อนข้างกว้าง และอาจจะมีรูปแบบการทำงานที่ต่างกัน

Gen Z คือ คนที่เกิดหลังจากปี ค.ศ. 1995 หรือปี พ.ศ. 2538 เป็นต้นมา เด็กๆ กลุ่ม Gen Z นี้จะเติบโตมาพร้อมกับสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ มากมาย มีความสามารถในการใช้งานเทคโนโลยี และเรียนรู้ได้เร็ว คนกลุ่ม Gen Z เป็นประชากรกลุ่มอายุน้อยที่สุดและมีความมั่นใจในตัวเองค่อนข้างสูง 

เมื่อ Gen Z ก้าวเข้าสู่ชีวิตการทำงานจะมีปัจจัยหลายอย่างที่สำคัญซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจเข้าทำงาน ทั้งความชื่นชอบในสายงาน ค่าตอบแทน สวัสดิการ ความก้าวหน้าขององค์กร ฯลฯ และเมื่อตัดสินใจก้าวเข้าสู่องค์กรเรื่องที่สำคัญที่สุดสำหรับคน Gen Z  คือ การปรับตัวเพื่อให้เข้ากับบุคคลและวัฒนธรรมขององค์กร

1.ลดความมั่นใจ

เนื่องจาก Gen Z เป็นคนที่มีความมั่นใจค่อนข้างสูง ทั้งด้านเทคโนโลยีที่มีความเชี่ยวชาญในหลากหลายโปรแกรม หรือมีจุดเด่นด้านหน้าตาและการทำกิจกรรมที่ผ่านมาค่อนข้างมาก ซึ่งอาจจะทำให้กลายเป็นจุดสนใจ แม้เราจะมีดีแต่ก็ไม่ควรนำเสนอตัวเองมากจนเกินไป ทุกอย่างควรแสดงออกแต่พอดี และเนื่องจากในองค์กรมีคนอยู่มากมาย ต่างคนต่างถิ่น ต่างที่มา ส่งผลให้ทุกคนมีความคิดเห็นที่ต่างกัน จึงต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมของที่ทำงานเป็นหลัก เพื่อการวางตัวที่ถูกต้อง

2.ลดเวลาเล่น

คนที่เกิดในยุคของ Gen Z เติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยี ทำให้คนยุคนี้ส่วนใหญ่จะติดโซเชียลมีเดีย และบางครั้งก็ไม่ค่อยมีสมาธิต่องานที่ทำ เพราะสมาธิผูกติดอยู่กับโซเชียลมีเดียเป็นหลัก ทำให้งานที่ออกมาไม่เป็นไปตามที่หวัง และยังทำให้เสียเวลาที่จะต้องมานั่งแก้ไขงาน หรืออาจจะทำให้งานเสร็จไม่ทันเวลาที่กำหนด ถึงแม้ว่าการเล่นโซเชียลเป็นสิ่งที่ดีที่ทำให้เราได้รู้ทันข่าวสาร และเหตุการณ์ต่างๆ แต่หากเข้าสู่โหมดของการทำงานจะต้องมีสมาธิจดจ่อกับงานเพื่อให้งานที่ทำออกมามีประสิทธิภาพและไม่ส่งผลกระทบกับองค์กร

3.สร้างสัมพันธ์ลดช่องว่างระหว่างวัย

การสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นในองค์กรส่งผลให้หลายสิ่งหลายอย่างพัฒนาดีขึ้นได้ ดังนั้นการพูดคุยและสื่อสารที่ดีจึงเป็นสิ่งสำคัญ การจะทำให้สิ่งที่เราแสดงออกชัดเจน และมีประสิทธิภาพ จะต้องมีการใช้ทั้งวัจนภาษาและอวัจนภาษา เพราะทั้งภาษาพูด และภาษากายจะทำให้เกิดความเข้าใจกันและสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น แม้ว่าจะเป็นการทำงานกับคนต่าง Generation กัน หากมีการพูดคุยก็จะทำให้ทุกอย่างเข้าใจกันได้มากขึ้น

4.เพิ่มความเย็น สร้างความอดทน

เนื่องจากคน Gen Z เป็นคนใจร้อน ทำอะไรได้รวดเร็วแต่บางครั้งกลับมีความอดทนต่ำ คน Generation นี้จะมองว่าหากสามารถทำงานอยู่ที่ใดได้ถึง 2 ปี ก็เป็นอายุงานที่นานมาก ทำให้อัตราการเปลี่ยนงานเพิ่มมากขึ้น เพราะต้องการความก้าวหน้าที่รวดเร็ว ถึงแม้ว่าการเปลี่ยนงานจะเป็นการได้เรียนรู้และพัฒนาตัวเอง แต่ก็ยังถือเป็นการเริ่มต้นกับสิ่งใหม่ ผู้คนใหม่ วัฒนธรรมในองค์กรใหม่ หากจะต้องนับหนึ่งทุกๆ 2 ปีความมั่นคงทางอาชีพอาจจะเลือนราง จึงต้องอาศัยความอดทนที่จะนำมาซึ่งความสำเร็จหรือที่เรียกว่า “ช้าๆได้พร้าเล่มงาม”

5.ไม่เป็นน้ำเต็มแก้ว

Gen Z เติบโตมาพร้อมความสะดวกสบาย ได้เรียนรู้หลายสิ่งหลายอย่างในโลกยุคใหม่ ชอบทำอะไรหลายๆ อย่างพร้อมกัน แต่เมื่อก้าวเข้าสู่วัยทำงาน และยังไม่มีประสบการณ์ จึงต้องได้รับความรู้การทำงานจากคนที่มีประสบการณ์ จึงต้องปรับตัวให้เหมือนน้ำที่ยังไม่เต็มแก้ว โดยที่น้ำเป็นตัวแทนของความรู้ใหม่ๆ และสามารถเติมลงไปได้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดการพัฒนาในด้านการทำงาน 

อ้างอิง : Genz Man Power

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

บทเรียนความสำเร็จจาก มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก 20 ปีที่ Meta ผ่านมุมมองผู้บริหารคนสนิท

Naomi Gleit ผู้บริหารระดับสูงของ Meta และพนักงานรุ่นบุกเบิกของบริษัท ได้มาเปิดเผยประสบการณ์การทำงานกับ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ซีอีโอของ Meta ที่ยาวนานเกือบ 20 ปีในพอดแคสต์ชื่อดัง "Le...

Responsive image

วัยเด็ก ‘Sundar Pichai’ การเติบโตและแรงบันดาลใจจากเด็กธรรมดา สู่ซีอีโอ Google

ค้นพบแรงบันดาลใจจากเรื่องราววัยเด็กของ Sundar Pichai เด็กชายจากเจนไนผู้ก้าวข้ามขีดจำกัด สู่การเป็นซีอีโอของ Google ด้วยพลังแห่งการเรียนรู้และเทคโนโลยี...

Responsive image

จดหมายจากปี 1974 ข้อคิดการเลี้ยงลูกจาก LEGO

LEGO ยืนยันว่าจดหมายฉบับนี้เป็นของจริง เนื้อหาในจดหมายเน้นย้ำว่า "เด็กทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย”...