ส่อง 6 บุคลิกผู้ก่อตั้ง Startup โลกนี้มีแค่ 8% ตรงกับคุณไหม | Techsauce

ส่อง 6 บุคลิกผู้ก่อตั้ง Startup โลกนี้มีแค่ 8% ตรงกับคุณไหม

นักวิจัยชี้มีบุคลิกภาพของผู้ก่อตั้งบริษัท 6 แบบ ที่สามารถเพิ่มโอกาสให้บริษัท Startup ประสบความสำเร็จมากขึ้น คาดว่าในโลกใบนี้มีคนอยู่ประมาณ 8% เท่านั้นที่มีบุคลิกภาพที่ตรงกับงานวิจัย จะมีอะไรบ้าง และตรงกับคุณไหม ไปดูกัน

6 บุคลิกภาพผู้ก่อตั้ง Startup ที่พาธุรกิจรุ่ง

ทีมนักวิจัยใช้อัลกอริธึม AI ในการตรวจสอบโพสต์และกิจกรรมต่าง ๆ บน X (Twitter) ของบริษัทกว่า 21,000 แห่ง เพื่อวิเคราะห์ว่าผู้ก่อตั้งบริษัทเหล่านี้มีบุคลิกภาพแบบใด และใช้ข้อมูลจาก Crunchbase บริษัทที่ให้ข้อมูลทางธุรกิจเกี่ยวกับบริษัท Startup ทั่วโลก ในการเปรียบเทียบบุคลิกและความสำเร็จของบริษัท

โดยผลการศึกษาพบว่า ผู้ก่อตั้ง Startup ที่ประสบความสำเร็จมักมีลักษณะบุคลิกภาพที่แตกต่างจากคนส่วนใหญ่ ซึ่งแบ่งบุคลิกภาพได้เป็น 6 ประเภท ดังนี้

1. นักสู้ (Fighter)

ผู้ก่อตั้งที่อาจจะต้องเผชิญกับอารมณ์ที่หลากหลาย เช่น ความโกรธ ความวิตกกังวล ความหดหู่ และบางครั้งก็ต้องเจอวิกฤตที่ทำให้ไม่ค่อยมั่นใจในตนเอง 

ซึ่งล้วนแล้วแต่สร้างความกดดัน แต่ก็สามารถรับมือกับอารมณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ได้ดี เช่น Jeff Bezos ผู้ก่อตั้งบริษัทอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ของโลกอย่าง Amazon ในงานวิจัยยกให้เขาเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทที่สามารถนิ่งสงบได้ แม้อยู่ภายใต้แรงกดดัน

2. ผู้ดำเนินการ (Operator)

ผู้ดำเนินการ หมายถึง ผู้ก่อตั้งที่สามารถจัดการ และดำเนินงานได้เป็นระบบระเบียบ ภายใต้การทำงานร่วมกับผู้ก่อตั้งในกลุ่มนี้จะมีความเป็นกันเอง อ่อนน้อมถ่อมตน  และเป็นที่พึ่งพาได้ โดยผู้ก่อตั้งที่มีชื่อเสียงและบุคลิกภาพแบบนี้ ก็คือ Mark Zuckerberg ผู้ก่อตั้ง Facebook นักวิจัยให้คำนิยามบุคลิกของ Zuckerberg เอาไว้ว่า มีระเบียบวินัยและมีความมุ่งมั่น

3. ผู้พิชิตความสำเร็จ (Accomplisher)

ผู้ก่อตั้งที่ได้รับขนานนามว่าเป็นตัวแทนของบุคลิก ผู้พิชิตความสำเร็จ ก็คือ 2 คู่หูอัจฉริยะอย่าง Larry Page และ Sergey Brin ผู้ก่อตั้ง Google กลุ่มคนที่มีลักษณะแบบนี้ ไม่ว่าเป้าหมายยากแค่ไหน พวกเขาก็จะมุ่งไปทำให้สำเร็จ ผู้ก่อตั้งที่มีบุคลิกแบบนี้ส่วนใหญ่จึงมักเป็นคนที่ชอบเข้าสังคม ถนัดในการหาคอนเน็กชันและโอกาสใหม่ ๆ ให้แก่ธุรกิจ รวมถึงเป็นกลุ่มคนที่มีความรับผิดชอบสูงมาก ซึ่งส่งผลให้พวกเขามีภาพลักษณ์ที่น่าเชื่อถือ 

4. ผู้นำ (Leader)

การสร้างความแปลกใหม่ให้ธุรกิจเป็นจุดสำคัญที่ช่วยสร้างความแตกต่างและโดดเด่น ซึ่งบุคลิกภาพผู้นำ เป็นหนึ่งในบุคลิกที่ส่งเสริมให้เกิดไอเดียใหม่ ๆ เและเปิดกว้างสำหรับความคิดใหม่ ๆ และมีความเห็นอกเห็นใจและใจดี 

ซึ่งตัวอย่างของผู้ก่อตั้งในกลุ่มนี้ก็คือ Melanie Perkins ผู้ก่อตั้งแพลตฟอร์มสำหรับ Creator ที่ใช้งานง่ายอย่าง Canva โดยนิยาม Perkins ตัวเองไว้ 3 คำว่า “มีความมุ่งมั่น ดื้อรั้น และชอบผจญภัย” ซึ่งทำให้เธอค้นพบแนวทางใหม่ และพา Canva ประสบความสำเร็จ

5. ผู้เชี่ยวชาญหรือวิศวกร (Experts/Engineer)

มีความรู้และเชี่ยวชาญ ชื่นชอบในการใช้จินตนาการและสติปัญญาร่วมกัน คือ ลักษณะสำคัญของผู้ก่อตั้งกลุ่มนี้ โดย Steve Jobs ได้รับคำนิยามว่าคือ ผู้ก่อตั้งที่มีกล้าแสดงออกและมีความมั่นใจสูง เขามักเป็นคนที่มาพร้อมไอเดียแปลกใหม่อยู่เสมอ รวมถึงยังเป็นนักสร้างสรรค์ที่ดีอีกด้วย 

6. นักพัฒนา (Developer)

ล้มแล้วรีบลุก จัดการกับความกดดันได้ดี และเข้ากับคนง่าย คือบุคลิกภาพแบบนักพัฒนา แม้ในบางแง่มุมจะมีลักษณะคล้ายผู้ก่อตั้งแบบนักสู้ แต่คนในกลุ่มนักพัฒนามักไม่ได้มีบุคลิกที่สุดโต่งไปในด้านใดด้านหนึ่ง แต่จะมีลักษณะที่ผสมผสานกันในหลาย ๆ ด้าน

หนึ่งในคนที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับบุคลิกนี้ก็คือ Richard Branson ผู้ก่อตั้ง Virgin Group ล้มเหลวมาหลายครั้ง แต่ก็ไม่เคยเข็ด จนปั้น Virgin Group ให้ยิ่งใหญ่ได้ทุกวันนี้

อ้างอิง: newsroom, businessinsider

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

5 เคล็ดลับมองโลก จากผู้นำระดับท็อปที่ประสบความสำเร็จ

แม้ว่าจะไม่สูตรตายตัวที่จะประสบความสำเร็จแต่มี 5 อันดับที่ขาดไม่ได้ของเหล่า ผู้นำที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลกตั้งแต่ Elon Musk , Jeff Bezos จนไปถึง Susan Wojcicki ถ้าอยากรู้ว่า...

Responsive image

5 คนที่ควรมีในชีวิต ถ้าคิดอยากประสบความสำเร็จ

เส้นทางสู่ความสำเร็จ เดินคนเดียวอาจไปถึงช้า จะดีกว่าไหมถ้ามีคนที่ใช่เคียงข้างไปด้วย บทความนี้จะชวนทุกคนตามหา 5 ความสัมพันธ์ที่เราควรมี เพื่อเส้นทางสู่ความสำเร็จ...

Responsive image

ถอด 4 บทเรียนธุรกิจ Taylor Swift ชื่อศิลปินที่มีมูลค่า 4 หมื่นล้านบาท

Taylor Swift ไม่ใช่แค่ของชื่อศิลปินอีกแล้ว กลายเป็น Branding ที่มีมูลค่าสูงถึง 2 หมื่นล้านบาท ความสำเร็จของ Taylor Swift ก็มีส่วนที่หยิบมาใช้ในการพัฒนาโมเดลธุรกิจได้เช่นเดียวกัน...