เทียบสวัสดิการหญิง ไทยสู้ใครได้บ้าง? | Techsauce

เทียบสวัสดิการหญิง ไทยสู้ใครได้บ้าง?

กว่า 100 ปีที่ผู้หญิงทั่วโลกต่อสู้เพื่อสิทธิสตรี จากโลกที่เคยมีแค่ผู้ชายเท่านั้นที่ได้โอกาสทางสังคม มาสู่โลกที่หญิงและชายสามารถยืนอยู่ข้างกันได้อย่างเท่าเทียม บทความนี้ Techsauce จึงจะพามาดูว่าการต่อสู้กว่า 1 ศตวรรษที่ผ่านมา ในปัจจุบัน ‘สิทธิสตรี’ ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศก้าวหน้าไปถึงไหนแล้ว 

รัฐสวัสดิการเพื่อสตรีในไทย

สำหรับรัฐสวัสดิการเพื่อผู้หญิงในไทยนั้นมาจาก 2 หน่วยงานสำคัญ ได้แก่ กรมแรงงานและประกันสังคม ซึ่งนโยบายต่างๆ จะครอบคลุมในเรื่องการดูแลความปลอดภัยของสตรี สิทธิในการลาคลอดและการเลี้ยงดูบุตร โดยแยกย่อยได้ดังนี้

กรมแรงงาน

  • ห้ามผู้หญิงทำงานแบกหามของที่มีหนักเกิน 25 กิโลกรัม
  • ค่าจ้างต้องเท่าเทียมกันทั้งหญิงและชาย (ตำแหน่งเดียวกัน)
  • ห้ามกระทำการล่วงเกินและคุกคามทางเพศลูกจ้าง

การคุ้มครองลูกจ้างหญิงมีครรภ์

  • ห้ามทำงานล่วงเวลา 22.00 - 06.00 น.
  • ห้ามทำงานในวันหยุด
  • สิทธิลาคลอดก่อนและหลังคลอดครรภ์หนึ่งไม่เกิน 90 วัน
  • สิทธิลาคลอดจ่ายเงินเต็มจำนวนไม่เกิน 45 วัน

ประกันสังคม

กรณีคลอดบุตร ผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบครบ 5 เดือน

  • 15 เดือนก่อนคลอดมีสิทธิได้รับค่าคลอดบุตร (ไม่จำกัดจำนวนครั้ง)
  • ได้ค่าตรวจและรับฝากครรภ์ 

กรณีสงเคราะห์บุตร ผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบครบ 12 เดือน 

  • ได้รับเงินสงเคราะห์บุตร ครั้งละไม่เกิน 3 คน

รัฐสวัสดิการเพื่อสตรีจากต่างชาติ

จากการศึกษาของ World Economic Forum พบว่า ในแง่ของรัฐสวัสดิการ ประเทศแถบนอร์ดิกและยุโรปหลายประเทศนั้นมีความก้าวหน้าด้านการส่งเสริมสิทธิสตรี และความเท่าเทียมทางเพศมากที่สุด โดย 4 อันดับแรกที่มีรัฐสวัสดิการเพื่อผู้หญิงดีที่สุดในโลกได้แก่

ไอซ์แลนด์: ความเท่าเทียมไม่ใช่เพียงแค่การรณรงค์ แต่บัญญัติเป็นกฏหมาย ‘พระราชบัญญัติว่าด้วยสถานะที่เท่าเทียมกันและสิทธิที่เท่าเทียมกันของผู้หญิงและผู้ชาย’ ซึ่งได้รับการประกาศใช้มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 แล้ว โดยมีรัฐสวัสดิการเพื่อผู้หญิงที่โดดเด่น ได้แก่

  • กฎหมายคุ้มครองสิทธิสตรีในที่ทำงาน
  • ห้ามโฆษณาสื่อว่าผู้หญิงเป็นเพียงวัตถุทางเพศ
  • รัฐสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการคลอดบุตรทั้งหมด
  • ลาคลอดสูงสุดได้ 12 เดือน
  • สิทธิในการลาเพื่อเลี้ยงดูบุตรได้นานถึง 24 เดือน
  • ยุติการตั้งครรภ์ถูกกฏหมาย  (12 สัปดาห์)

นอร์เวย์: รัฐบาลส่งเสริมความเท่าเทียมในบริษัทและได้ออกกฎหมายกำหนดให้บริษัทต่างๆ ต้องมีสมาชิกคณะกรรมการอย่างน้อย 40% เป็นผู้หญิงเพื่อสร้างสมดุลให้กับการตัดสินใจในองค์กร และเป็นประเทศที่รัฐบาลลงทุนเพื่อสร้างสมดุลระหว่างชีวิตครอบครัวและการทำงานให้กับมารดาและบิดา โดยรัฐสวัสดิการเพื่อผู้หญิงที่โดดเด่น ได้แก่

  • ลาคลอดได้ 35 สัปดาห์ ค่าจ้างเต็มจำนวน
  • รัฐสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการคลอดบุตรทั้งหมด
  • กฏหมายป้องกันการเลือกปฏิบัติทางเพศบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญของนอร์เวย์
  • นโยบายสนับสนุนเงินเลี้ยงดูบุตร
  • ยุติการตั้งครรภ์ถูกกฏหมาย  (12 สัปดาห์)

สก็อตแลนด์: หนึ่งในประเทศที่สู้เพื่อสิทธิสตรีมาอย่างยาวนาน และผู้หญิงสามารถลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในสถานะที่เท่าเทียมผู้ชายได้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1928 มีรัฐสวัสดิการเพื่อผู้หญิงที่โดดเด่น ได้แก่

  • ผลิตภัณฑ์สำหรับประจำเดือนฟรี
  • มีศูนย์สิทธิสตรีแห่งสกอตแลนด์ (SWRC) ให้คำปรึกษาผู้หญิงฟรี เมื่อประสบปัญหาความรุนแรงหรือการล่วงละเมิด
  • พระราชบัญญัติความเท่าเทียมกันปี 2010 ครอบคลุมทุกเพศเพื่อป้องกันการเลือกปฏิบัติ
  • ลาคลอดได้ 39 สัปดาห์ ค่าจ้างเต็มจำนวน
  • หน่วยงานมาตรฐานการโฆษณา (ASA) กำหนดแนวทางปฏิบัติที่ไม่สนับสนุนการใช้สตรีเป็นวัตถุทางเพศในสื่อ

ฝรั่งเศส: ความเท่าเทียมโดดเด่นมากในฝรั่งเศส เพราะเป็นหนึ่งในประเทศที่เปิดโอกาสผู้หญิงมีสิทธิ์ในการกำหนดแม่บทกฏหมายของประเทศ ในปี 2021 ที่นั่งในรัฐสภากว่า 39.5% เป็นของผู้หญิง ซึ่งรัฐสวัสดิการสำหรับผู้หญิงที่โดดเด่น ได้แก่

  • คุมกำเนิดและยุติการตั้งครรภ์ฟรี
  • เหยียดเพศเป็นเรื่องผิดกฏหมาย
  • ลาคลอดได้ 16 สัปดาห์ ค่าจ้างเต็มจำนวน
  • ลดภาษีผ้าอนามัย และเอาออกจากสินค้าฟุ่มเฟือย
  • ซื้อผลิตภัณฑ์สำหรับประจำเดือนที่มีความยั่งยืน (เช่น ถ้วยรองประจำเดือนและผ้าอนามัยแบบใช้ซ้ำได้) จะได้รับเงินคืนเต็มจำนวนจากประกันสังคมของฝรั่งเศส
  • ยุติการตั้งครรภ์ถูกกฏหมาย  (14 สัปดาห์)

อ้างอิง: globalcitizen, labour.go.th, library.parliament.go.th, valtioneuvosto, workingwithnorwegians, These 4 Nordic countries hold the secret to gender equality | World Economic Forum (weforum.org), webportal.bangkok

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

5 ข้อแตกต่างที่ทำให้ Jensen Huang เป็นผู้นำใน 0.4% ด้วยพลัง Cognitive Hunger

บทความนี้จะพาทุกคนไปถอดรหัสความสำเร็จของ Jensen Huang ด้วยแนวคิด Cognitive Hunger ความตื่นกระหายการเรียนรู้ เคล็ดลับสำคัญที่สร้างความแตกต่างและนำพา NVIDIA ก้าวสู่ความเป็นผู้นำระดับ...

Responsive image

เรื่องเล่าจาก Tim Cook “...ผมไม่เคยคิดเลยว่า Apple จะมีวันล้มละลาย”

Apple ก้าวเข้าสู่ยุค AI พร้อมรักษาจิตวิญญาณจาก Steve Jobs สู่อนาคตที่เปี่ยมด้วยนวัตกรรม โดย Tim Cook มุ่งเปลี่ยนโฉมเทคโนโลยีอีกครั้ง!...

Responsive image

วิจัยชี้ ‘Startup’ ยิ่งอายุมาก ยิ่งมีโอกาสประสบความสำเร็จ

บทความนี้ Techsauce จะพาคุณไปสำรวจว่าอะไรที่ทำให้ วัย 40 กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของนักธุรกิจและ Startup หลายคน...