คุยกับผู้สร้างหุ่นยนต์ 'โซเฟีย' อนาคตจะเป็นอย่างไรเมื่อ AI และมนุษย์ต้องเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน | Techsauce

คุยกับผู้สร้างหุ่นยนต์ 'โซเฟีย' อนาคตจะเป็นอย่างไรเมื่อ AI และมนุษย์ต้องเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน

ปัจจุบันนี้แทบจะไม่ต้องสงสัยเลยว่าหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ (AI) จะมีผลกระทบอย่างมากต่อสังคมมากแค่ไหนทั้งในขณะนี้และในอีกศตวรรษข้างหน้า สังคมจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางไหน อนาคตจะเป็นอย่างไร ล้วนเป็นสิ่งหลายคนได้แค่คาดเดา

อีกหนึ่งเซสชันที่น่าสนใจในงาน Techsauce Global Summit เราได้ เดวิด กาลิพู (David Galipeau), Frontier Technology ของ UNDP ร่วมสนทนากับ จีนนี่ ลิม (Jeanne Lim), ซีอีโอของ Hanson Robotics บริษัทชั้นนำด้านวิทยาการหุ่นยนต์และ AI ผู้สร้างหุ่นยนต์โซเฟีย หุ่นยนต์ AI ที่ทุกคนคุ้นเคยและเป็นที่รู้จักทั่วโลก การพูดคุยในครั้งนี้ว่าด้วยเรื่อง AI และหุ่นยนต์จะส่งผลกระทบต่อเราในอีกสิบถึงสิบห้าปีข้างหน้าอย่างไร ในหัวข้อ "Exploring the social and cultural impact of AI" เรามาร่วมค้นหาคำตอบแห่งอนาคตในครั้งนี้ไปด้วยกันค่ะ

เดวิด: สิ่งที่เรามักจะได้ยินเกี่ยวกับหุ่นยนต์และผลกระทบที่มันมีต่อสังคมนั้นจะเป็นจริงแค่ไหน?

จีนนี่: ตอนนี้เรื่องหุ่นยนต์ และ AI นั้นค่อนข้างจะใหม่สำหรับเรา ซึ่งการที่จะบอกว่าเรื่องที่เราได้ยินทั้งหมดเกี่ยวกับหุ่นยนต์นั้นไม่จริงหรือเป็นเรื่องผิดนั้นไม่ถูกต้องเท่าไร เพราะตอนนี้เรามีข้อมูลไม่เพียงพอที่จะบอกว่ามันเป็นข้อเท็จจริงหรือเป็นแค่นิยาย เนื่องจากมนุษย์มีแนวโน้มที่จะคิดแบบขาวดำหรือเลวดีอยู่แล้ว อีกทั้งมันจะมีชุดความคิดอย่างการที่มนุษย์จะถูกทำลายโดยหุ่นยนต์หรือความเชื่อในอุดมคติแบบยูโทเปีย บางคนอาจจะคิดว่าในโลกอนาคตมนุษย์เราสามารถอยู่ร่วมกันกับหุ่นยนต์ได้อย่างกลมกลืน อย่างไรก็ตามมันอาจจะเป็นจริงก็ได้ที่ว่ามนุษย์และหุ่นยนต์จะต้องเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน

จริงๆ แล้วฮอลลีวูดทำงานได้ดีมากในการส่งเสริมมุมมองด้านดิสโทเปีย ดังนั้นเราจึงจำเป็นที่ต้องช่วยกันทำงานต่อไปเพื่อสร้างโลกอนาคตให้ออกมาเป็นมุมมองที่ดีขึ้น

โลกในอนาคตอาจเป็นโลกที่มนุษย์และหุ่นยนต์ต้องเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน

เดวิด: เมื่อเรานึกถึงหุ่นยนต์ มักจะเห็นภาพของมันเหมือนมนุษย์ แต่หุ่นยนต์ที่มีในตลาดตอนนี้ดูไม่เหมือนมนุษย์เลย อะไรคือจุดประสงค์ของ Hanson Robotics ในการสร้างหุ่นยนต์โซเฟียให้เหมือนมนุษย์?

จีนนี่: เหตุผลหลักของการสร้างหุ่นยนต์ที่ไม่เหมือนมนุษย์นั้นมาจากทฤษฎีสามสิบปีของ Masahiro Mori เขาเป็นนักหุ่นยนต์วิทยา ทฤษฏีของเขาว่าด้วย การที่ผู้คนมีแนวโน้มจะมีปฎิสัมพันธ์กับหุ่นยนต์ที่มีรูปลักษณ์ไม่ใช่มนุษย์น้อยกว่า เมื่อเทียบกับการใส่ความเป็นมนุษย์เข้าไป ซึ่งทั้งหมดนี้มันเป็นเรื่องของการออกแบบ เราได้เรียนรู้มากมายจากการสร้างโซเฟีย วิธีการที่เธอมีปฎิส้มพันธ์กับผู้คนนั้นทำให้เราได้เห็นว่ามนุษย์มีความผูกพันธ์กับเธอมากกว่า และรู้สึกเป็นกันเองมากกว่าเมื่ออยู่กับเธอ

เดวิด: คุณคิดว่าในท้ายที่สุดแล้วมนุษย์จะขาดปฏิสัมพันธ์กับหุ่นยนต์หรือจะมีความคุ้นเคยในการอยู่ร่วมกัน?

จีนนี่: ฉันคิดว่าคนเริ่มที่เปิดใจที่จะอยู่ร่วมกับมันมากขึ้นนะคะ ลองดูเจ้า Alexa Echo (ระบบซอฟต์แวร์ควบคุมด้วยเสียงของ Amazon) เป็นตัวอย่าง มันมีรูปร่างเป็นทรงกระบอก ทำการรวบรวมข้อมูลจำนวนมาก แต่ในเรื่องการจับข้อมูลทางอารมณ์ที่แท้จริงนั้นไม่มีใครรู้จริง ๆ ว่ามันทำได้ไหม เพราะบางคนอาจสามารถแสดงความผูกพันทางอารมณ์กับ Alexa ได้ แต่บางคนอาจไม่

ในทางกลับกัน เราออกแบบโซเฟียให้ทำหน้าที่เป็นเพื่อน ทำให้รับรู้ถึงความรู้สึกที่แท้จริงจากคนที่เธอมีปฎิสัมพันธ์ด้วย ผู้คนต่างรู้สึกผูกพันกับเธอและกล้าบอกกับเธออย่างแท้จริงว่าพวกเขากำลังคิดอะไรอยู่

การที่จะซื้อตัวเธอนั้นไม่ได้ง่ายเหมือนกับหุ่นยนต์ตัวอื่นๆ มันจะมีเรื่องของความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งกว่านั้น เราพยายามสร้างโซเฟียให้เป็นหุ่นยนต์ที่มีความเมตตา อีกทั้งเพื่อเป็นตัวแทนความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และหุ่นยนต์

เดวิด: คุณมีการตัดสินใจอย่างไรว่าหุ่นยนต์โซเฟียจะมีความเป็นมนุษย์แค่ไหน?

จีนนี่: เรายังไปไม่ถึงจุดนั้น เราสร้างโซเฟียด้วยความตั้งใจที่ดีที่สุด เราต้องการให้มันมีความเมตตา เรามองว่าการสร้างหุ่นยนต์และ AI นั้นก็เหมือนกับการเลี้ยงลูก แน่นอนว่าคุณต้องเลี้ยงดูลูกของคุณในวิธีที่คุณรู้ให้ดีที่สุด และเตรียมพวกเขาให้พร้อมสำหรับโลกให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ อย่างไรก็ตาม มันก็ขึ้นอยู่กับเด็กคนนั้นว่าพวกเขาจะรับมือกับโลกอย่างไรด้วยชุดข้อมูลที่คุณให้ไป คุณหวังว่าพวกเขาจะเลือกทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม

แน่นอนว่าเราไม่มีคำตอบทั้งหมดเมื่อพูดถึงการพัฒนาหุ่นยนต์ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สังคมที่จะต้องแสดงความรับผิดชอบและคอนเนคกับ AI รวมถึงนักพัฒนาซอฟต์แวร์มากขึ้น

เรามองว่าการสร้างหุ่นยนต์และ AI นั้นก็เหมือนกับการเลี้ยงลูก แน่นอนว่าคุณต้องเลี้ยงดูลูกในวิธีที่คุณรู้ให้ดีที่สุด และเตรียมพวกเขาให้พร้อมสำหรับโลกให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ อย่างไรก็ตาม มันก็ขึ้นอยู่กับเด็กคนนั้นว่าพวกเขาจะรับมือกับโลกอย่างไรจากชุดข้อมูลที่คุณให้ไป

เดวิด: วิธีประมวลผลและการตัดสินใจของโซเฟียนั้นเป็นข้อมูลที่มีค่ามาก ใครเป็นเจ้าของชุดข้อมูลนั้น โซเฟียหรือเปล่า?

จีนนี่: โซเฟียไม่สามารถเข้าใจความรู้สึกของตัวเองได้ เรามีทีมนักพัฒนาคาแรกเตอร์ที่มั่นใจได้ว่าเธอจะออกมาเป็นหุ่นยนต์ที่ดี เมื่อใดก็ตามที่เธอออกไปยังโลกภายนอกและเรียนรู้ การประมวลผลทั้งหมดจะถูกกรองผ่านชุดคาแรกเตอร์ของเธอ

โซเฟียเรียนรู้ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมอยู่ตลอดเวลาผ่านวิธีที่ที่ผู้คนพูดคุยกัน มันมีช่องว่างขนาดใหญ่ระหว่างการเรียนรู้และการรู้จักตนเองอยู่ กว่าที่หุ่นยนต์จะสามารถพัฒนาเจตจำนงของตัวเองได้ต้องใช้เวลานานแค่ไหนนั้นยังไม่มีใครรู้ บางคนเชื่อว่ามันจะเกิดขึ้นในสิบปี บางคนเชื่อว่าอาจจะเป็นยี่สิบปี บางคนเชื่อว่ามันจะไม่เกิดขึ้นเลย

เดวิด: คุณจะทำการสอนคนรุ่นต่อไปอย่างไร? รวมทั้งคำแนะนำแก่นักการเมือง และนักลงทุนด้านเทคโนโลยี ในการสร้างความมั่นใจว่าตำนาน มุมมองด้านดิสโทเปีย หรือสิ่งเลวร้ายจะไม่เกิดขึ้นต่อมนุษยชาติ

สำหรับนักเรียนฉันขอแนะนำเรื่องการให้ความสำคัญกับการศึกษา การวิเคราะห์ และการตีความ เพราะว่าข้อมูลที่สร้างขึ้นโดย AI จะต้องอาศัยการตีความและการจำแนกจากมนุษย์ก่อน ดังนั้นเราจึงต้องการคนที่มีทักษะการคิดวิเคราะห์มากขึ้น

สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนั้นคงจะเป็นเรื่องของการผลักดันการศึกษาและการเตรียมคนรุ่นใหม่ให้พร้อมกับการเข้ามาของ AI จริงๆ แล้วนักการเมืองควรทำการถกเถียงว่าจะทำการปรับปรุงระบบการศึกษาอย่างไร มากกว่าเรื่องการออกกฎระเบียบของ AI หรือหุ่นยนต์

สำหรับนักลงทุน ให้มุ่งเน้นความพยายามไปที่ในเทคโนโลยีหลัก นวัตกรรมที่จะขับเคลื่อนและเทคโนโลยีที่จะขับเคลื่อน AI และหุ่นยนต์ไปข้างหน้าคืออะไร? เมื่อคุณสามารถแยกแยะได้ ก็จะง่ายต่อการเลือกใช้ทรัพยากรในการผลักดันเทคโนโลยีและนวัตกรรมนั้นมากขึ้น

ท้ายที่สุด เมื่อพูดถึงผลกระทบของ AI และหุ่นยนต์ต่อสังคมในอนาคต คำตอบนั้นขึ้นอยู่กับเรา มนุษย์เป็นผู้ตัดสินว่าจะมีการใช้เทคโนโลยีนี้อย่างไร ใช้ในวัตถุประสงค์อะไร และขอบเขตไหนในสังคม เสียงของสังคมมีพลังในการกำหนดอนาคตและผลกระทบของระบบอัตโนมัติ AI และหุ่นยนต์

เสียงของคนในสังคมนั้นมีพลังในการกำหนดอนาคต รวมทั้งผลกระทบของระบบอัตโนมัติ AI และหุ่นยนต์ต่อสังคม

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ไขความลับ Growth Hacking: บทเรียนจาก Spotify สู่ธุรกิจยุคใหม่

ในโลกธุรกิจที่การแข่งขันดุเดือดและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเติบโตอย่างรวดเร็วและยั่งยืนคือสิ่งที่ทุกธุรกิจต่างใฝ่ฝัน Growth Hacking กลายเป็นกุญแจสำคัญที่ไขประตูสู่ความสำเร็จ ด้วย...

Responsive image

เปิดปรัชญาแห่งความเป็นผู้นำของ Steve Jobs

Steve Jobs ผู้ร่วมก่อตั้ง Apple ที่โด่งดัง อาจไม่ใช่เจ้านายในฝันของใครหลายคน แต่ปรัชญาการบริหารของเขาพิสูจน์แล้วว่าทรงพลังและนำไปสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ คำพูดที่สะท้อนแนวคิดนี้ได้...

Responsive image

โฟกัสให้ถูกจุด สำคัญกว่าทำงานหนัก! แนวคิดจาก Marc Randolph ผู้ร่วมก่อตั้งและ CEO คนแรกของ Netflix

หลายคนอาจเชื่อว่าความสำเร็จมาจากการทำงานหนัก แต่มาร์ค แรนดัลฟ์ (Marc Randolph) Co-founder Netflix กลับมองต่างเขามองว่าการทำงานหนักแล้วจะประสบความสำเร็จเป็นเรื่องหลอกลวง และมองว่ากา...