เจาะแนวคิด 2 นักธุรกิจหญิงไทย ติดโพลนักธุรกิจหญิงสุดแกร่งปี 2023 ของ Forbes | Techsauce

เจาะแนวคิด 2 นักธุรกิจหญิงไทย ติดโพลนักธุรกิจหญิงสุดแกร่งปี 2023 ของ Forbes

สองนักธุรกิจหญิงไทยติดโพล รายชื่อ 20 นักธุรกิจหญิงผู้ทรงอิทธิพลในเอเชีย ปี 2023 ที่จัดโดย นิตยสาร Forbes รวมนักธุรกิจที่สามารถเริ่มต้นธุรกิจใหม่ ๆ ท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจโลก วันนี้ Techsauce จะพามารู้จักกันว่าเป็นใคร และแต่ละคนมีมุมมองการดำเนินธุรกิจภายใต้ความเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง

ปิยจิต รักอริยะพงศ์ CEO ของ Sappe

“ทำไมคนไทยสร้างแบรนด์ไปแข่งขันในเวทีสากลไม่ได้?”

คำถามที่คุณปิยจิต รักอริยะพงศ์ นักธุรกิจหญิงไทยวัย 48 ปีพยายามหาคำตอบ เธอเริ่มต้นจากการเข้ามาสานต่อธุรกิจเครื่องดื่มของครอบครัวจากพี่ชายในปี 2012 โดยมีเป้าหมายที่จะผลักดันแบรนด์ Sappe ให้ได้รับการยอมรับไปทั่วโลก และสร้างรายได้เพิ่มเป็น 2 เท่า (ประมาณ 1 หมื่นล้านบาท) ภายในปี 2026

ภายใต้การบริหารของเธอ ในปี 2015 แบรนด์ Sappe สามารถขยายตลาดส่งออกมากขึ้นเป็น 2 เท่าหรือกว่า 98 แห่ง และกลยุทธ์ที่คุณปิยจิตใช้ขยายตลาดก็คือ การนำสินค้าเข้าสู่ตลาดใหม่แบบค่อยเป็นค่อยไป และทำการตลาดออนไลน์ เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้ารุ่นใหม่ที่ทันสมัย

ปัจจุบันรายได้ของ Sappe กว่า 83% มาจากการขายสินค้าให้กับลูกค้าในต่างประเทศ ในส่วนนี้เกือบครึ่งหนึ่งมาจากประเทศฝั่งเอเชีย (รายได้ส่วนใหญ่มาจากเครื่องดื่มหลัก 3 ชนิด ได้แก่ เครื่องดื่มน้ำ Mogu Mogu และว่านหางจระเข้ และ Beauti Drink พร้อมคอลลาเจน) และในอนาคตเธอก็หวังว่าจะสามารถขยายตลาดไปฝั่งยุโรปได้

คุณปิยจิตค้นพบว่า แท้จริงแล้วประเทศไทยมีทรัพยากรธรรมชาติและผลิตภัณฑ์คุณภาพดีมากมาย ซึ่งเธอเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่ามันสามารถทำให้แบรนด์ไทยมีศักยภาพมากพอที่จะไปแข่งขันในระดับสากล เช่นเดียวกับแบรนด์ใหญ่อื่น ๆ ได้

ศุภจี สุธรรมพันธุ์ “ผู้พลิกชีวิตดุสิตให้เติบโต”

หนึ่งในบริษัทโรงแรมและรีสอร์ตยักษ์ใหญ่ของไทยอีกแห่ง ซึ่งคุณศุภจี สุธรรมพันธุ์ เรียกได้ว่าเป็น “ผู้พลิกชีวิตดุสิตให้เติบโต” นับตั้งแต่เธอเข้ามาดำรงตำแหน่งเป็น CEO ของ Dusit International ในปี 2016 จากที่เคยมีโรงแรมและรีสอร์ตอยู่ 27 แห่งใน 8 ประเทศ เพิ่มขึ้นเป็น 340 แห่งใน 20 ประเทศ

และหลังจากผ่านพ้นวิกฤตการณ์แพร่ระบาดของโควิด 19 ดุสิตก็ได้รับผลกระทบอย่างหนัก สูญเสียรายได้มหาศาล เนื่องจากการท่องเที่ยวหยุดชะงัก แต่วิกฤตในครั้งนี้ก็เป็นโอกาสที่คุณศุภจีเล็งเห็นว่า นอกจากธุรกิจโรงแรมแล้ว ดุสิตเองก็มีศักยภาพในเรื่องของการผลิตอาหาร และการจัดเลี้ยง จนเกิดเป็น Dusit Foods

คุณศุภจีมีเป้าหมายที่นำ Dusit Foods เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ภายในต้นปี 2025 และคาดว่าธุรกิจใหม่นี้จะสามารถทำกำไรได้ภายในปี 2024 

นอกจากนี้คุณศุภจีกำลังขับเคลื่อนโครงการมูลค่า 46 พันล้านบาทของกลุ่มธุรกิจ Hospitality ของไทย (มีมูลค่าตลาดกว่า 7 พันล้านบาทมากกว่ามูลค่าบริษัทดุสิตถึง 6 เท่า) โดยเป้าหมายโครงการ คือ การพัฒนาโรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ เก่า ให้เป็นโครงการมิกซ์ยูสสมัยใหม่ในชื่อ Dusit Central Park ที่มีทั้งโรงแรม บ้านหรู ร้านค้า และสำนักงาน อยู่ใจกลางกรุงเทพ คาดว่าโครงการนี้จะเสร็จในปี 2025

นี่ก็คือ 2 นักธุรกิจหญิงชาวไทยผู้ทรงอิทธิพลของ Forbes Asia 2023 ที่ดำเนินธุรกิจด้วยความ เชื่อมั่นในทรัพยากรของไทย และถ่ายทอดมันออกมาในรูปแบบที่ทันสมัย รวมถึงยัง มองหาโอกาสใหม่ ๆ จากธุรกิจเดิม เพื่อฟื้นฟูบริษัทหลังผ่านวิกฤต ซึ่งทั้ง  2 มุมมองนี้ธุรกิจก็สามารถนำไปปรับใช้ในการพลิกวิกฤตเป็นโอกาส และสร้างธุรกิจให้สำเร็จท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้

อ้างอิง: forbes

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Founder Model วิถีผู้นำแบบ Brian Chesky CEO เบื้องหลังความสำเร็จของ Airbnb

Founder Mode เป็นแนวทางการบริหารที่กำลังได้รับความสนใจในวงการสตาร์ทอัพ โดยแนวคิดนี้ได้รับการพูดถึงอย่างกว้างขวางจาก Brian Chesky, CEO ผู้พา Airbnb เติบโตจนกลายเป็นธุรกิจระดับโลก ด้...

Responsive image

ไขความลับ Growth Hacking: บทเรียนจาก Spotify สู่ธุรกิจยุคใหม่

ในโลกธุรกิจที่การแข่งขันดุเดือดและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเติบโตอย่างรวดเร็วและยั่งยืนคือสิ่งที่ทุกธุรกิจต่างใฝ่ฝัน Growth Hacking กลายเป็นกุญแจสำคัญที่ไขประตูสู่ความสำเร็จ ด้วย...

Responsive image

เปิดปรัชญาแห่งความเป็นผู้นำของ Steve Jobs

Steve Jobs ผู้ร่วมก่อตั้ง Apple ที่โด่งดัง อาจไม่ใช่เจ้านายในฝันของใครหลายคน แต่ปรัชญาการบริหารของเขาพิสูจน์แล้วว่าทรงพลังและนำไปสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ คำพูดที่สะท้อนแนวคิดนี้ได้...