ถกเรื่องความเป็น "พลเมืองโลก" ความหวังและอุปสรรคของการไปสู่โลกไร้พรมแดน | Techsauce

ถกเรื่องความเป็น "พลเมืองโลก" ความหวังและอุปสรรคของการไปสู่โลกไร้พรมแดน

ยุคที่เทคโนโลยี ไอเดีย นวัตกรรมสามารถแพร่ขยายข้ามเขตแดนจากประเทศหนึ่งไปสู่อีกหลายๆ ประเทศได้รวดเร็วและกระจายเป็นวงกว้างอย่างมีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีสามารถเชื่อมคนที่มาจากทุกมุมโลกซึ่งยึดถือคุณค่าเดียวกันให้สามารถทำบางสิ่งร่วมกันได้ ไม่ว่าคุณจะเป็นคนชาติใด สีผิวไหน ศาสนาใด สิ่งเหล่านี้ทำให้ความหมายของคำว่าเขตแดนแบ่งประเทศเปลี่ยนไปอย่างไร นิยามของคำว่าพลเมืองเปลี่ยนไปอย่างไร และอะไรคือการเกิดขึ้นมาของคำว่า "พลเมืองโลก" ในแง่หนึ่งเราก็เห็นแนวโน้มของการพยายามปิดกั้นพรมแดนในหลายประเทศ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลด้านเศรษฐกิจ หรือปัญหาผู้อพยพ แล้วกลุ่มนักเคลื่อนไหวทั่วมุมโลกผู้มีอุดมการณ์อยากสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกจะขยาย community ของพวกเขาท่ามกลางความท้าทายเหล่านี้ได้อย่างไร

อ่านการถกประเด็นแห่งโลกอนาคตซึ่งเต็มไปด้วยคำถามมากมายนี้จากเวทีงาน Techsauce Global Summit 2019 ในหัวข้อ Bridges over boundaries: Are we in an era of Global Citizenship? ร่วมพูดคุยโดยสามสปีคเกอร์ผู้เชี่ยวชาญ Yoseph Ayele, Co-Founder and CEO of Edmund Hillary Fellowship (EHF) Arnaud Castaignet, Head of International Public Relations of e-Residency, Government of Estonia และ Gita Wirjawan, Founder and Chairman of Ancora Group ดำเนินรายการโดย คุณณัฏฐา โกมลวาทิน ผู้ประกาศข่าวและบรรณาธิการข่าวอาเซียนของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส

นิยามของความเป็น "พลเมืองโลก"

"การเป็นพลเมืองโลกไม่ใช่เรื่องของโลกาภิวัฒน์ ธุรกิจ หรือเรื่องการเงิน แต่คือเรื่องของการแบ่งปันความรับผิดชอบ คุณค่า และเคารพซึ่งกันและกัน" - Arnaud Castaignet

การเป็นพลเมืองโลกไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าคุณเป็นคนชาติใด อาศัยอยู่ที่ไหน แต่คือการสร้างเครือข่ายและความเชื่อมโยง สร้างความรับผิดชอบร่วมกัน ทุกวันนี้ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็นในทางที่ดีหรือไม่ดี ทุกการกระทำของเราย่อมส่งผลกระทบต่อคนอื่นๆ ทั่วโลก หัวใจหลักของการเป็นพลเมืองโลกคือเราจะสร้างความร่วมมือและรับผิดชอบร่วมกันได้อย่างไร ปัญหาสำคัญคือเมื่อทุกคนไม่ได้เกิดมาอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งถือเป็นความท้าทายและเป็นอุปสรรคสำคัญในการจัดเตรียมผู้คนให้มีประสิทธิภาพ และสามารถมีโอกาสที่จะร่วมสร้างผลกระทบเชิงบวกที่ยิ่งใหญ่ด้วยกัน

Yoseph Ayele, Co-Founder and CEO of Edmund Hillary Fellowship (EHF)

Yoseph ให้ความเห็นว่าหลายครั้งการที่คนอยากจะสร้างประโยชน์ให้กับคนหมู่มากมักจะถูกจำกัดด้วยความเป็นเขตแดน เขายกตัวอย่างที่ดีของประเทศนิวซีแลนด์ซึ่งมีลักษณะของความเป็น Agile มีความยืดหยุ่นสูง และมีพื้นที่สำหรับทดลองทำสิ่งต่างๆ ดังนั้นจึงเป็นบริบทที่เหมาะสมมากในการสร้างผลกระทบเชิงบวกไปสู่ประเทศอื่นๆ

Arnaud เล่าถึงโปรแกรมที่รัฐบาลเอสโตเนียมีความพยายามที่จะเปิดให้คนจากทั่วโลกสามารถมีโอกาสเข้าถึงบริการจากรัฐเอสโตเนีย สามารถเข้ามาสร้างธุรกิจและร่วมกันขับเคลื่อนพัฒนาเทคโนโลยี โปรแกรมที่ชื่อ e-Residency เกิดขึ้นจากความต้องการของภาครัฐที่จะทำ Digital ID ให้กับทุกคนทั่วโลกสามารถเป็น "พลเมืองเสมือน" ของเอสโตเนีย มีสิทธิเข้าถึงบริการต่างๆ จากรัฐและสร้างธุรกิจในเอสโตเนีย เชื่อมพวกเขาให้เข้ากับตลาดในยุโรป โปรแกรมนี้เริ่มตั้งแต่ปลายปี 2014 จนถึงตอนนี้มีคนเข้ามาร่วมเป็นพลเมืองในโครงการกว่า 60,000 คนจาก 160 ประเทศทั่วโลก

Arnaud Castaignet, Head of International Public Relations of e-Residency, Government of Estonia

อะไรคือตัวฉุดรั้งไม่ให้เราสามารถไปถึงความเป็นพลเมืองโลก

สำหรับ Gita ปัญหาความไม่เท่าเทียม การเข้าถึงโอกาสอันจำกัด รวมถึงปัญหาด้านการศึกษา เหล่านี้เป็นอุปสรรคต่อการไปให้ถึงความเป็นพลเมืองโลก ในประเทศที่เศรษฐกิจกำลังพัฒนาอย่างอินโดนีเซียจะมีภาวะของการแบ่งแยกกันค่อนข้างสูง ไม่ว่าจะเป็นในทางการเมือง เศรษฐกิจ หรือประเด็นถกเถียงในสังคมที่มีหลายประเด็นของท้องถิ่นถูกปัดตกลงไป และปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนการแบ่งแยกคือความไม่เท่าเทียม ซึ่งต่อไปนี้รัฐบาลจะยังคงสวมบทเป็นตัวหลักในการกำหนดอนาคตของชาติ แต่อย่างน้อยที่สุดเราสามารถให้ความรู้ผู้คนในการที่จะให้พวกเขาเปิดใจกว้างขึ้น รวมถึงการสนับสนุน Talents ในท้องถิ่น มันอาจต้องใช้ระยะเวลายาวนานกว่าหลายปีในการสร้างรากฐานสำคัญเพื่อจัดเตรียมพลเมืองในชาติเองให้พร้อมในการที่จะสามารถเป็นพลเมืองโลกได้

Gita Wirjawan, Founder and Chairman of Ancora Group

พลเมืองชาติ vs พลเมืองโลก vs พลเมืองดี

คนจำนวนมากเชื่อว่าอัตลักษ์ของคนถูกกำหนดด้วยเชื้อชาติ ซึ่งค่อนข้างห่างไกลจากสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน ที่จริงแล้วสิ่งที่นิยามบุคคลนั้นคืออัตลักษ์อันหลากหลายที่ไม่ถูกจำกัดกรอบเพียงแค่เรื่องเชื้อชาติ เมื่อเราพิจารณาจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกตอนนี้ ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การเกิดขึ้นของนวัตกรรมต่างๆ ไปจนถึงเรื่องของแฟชั่น สิ่งเหล่านี้คือปรากฎการณ์ที่พ้นเลยกรอบของเชื้อชาติไป เพราะล้วนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นและเคลื่อนไหวไปทั่วโลกอย่างไร้พรมแดน

ในการจะรับมือกับปัญหาของโลกอย่างการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนั้นจำเป็นจะต้องสร้างให้เกิดความร่วมมือในเชิงลึกจากผู้คนทุกภาคส่วนของโลก เราต้องเชื่อมต่อกับผู้คนที่มีประสบการณ์แตกต่างจากเรา หากเราทำเช่นนั้นได้เขาก็เขยิบเข้าใกล้ความร่วมมือกันสร้างสิ่งที่เราต้องการ เพราะในความเป็นจริงแล้ว Silicon Valley ไม่ได้แก้ปัญหาของเรา เพราะสิ่งที่เกิดจากที่นั่นมักคือการผูกขาด แต่สิ่งที่เราต้องการจริงๆ คือการร่วมมือกันแก้ปัญหาที่มีความหลากหลายและทั่วถึง

สำหรับ Yoseph พลเมืองโลกเป็นเรื่องของการอุทิศตนเป็นส่วนหนึ่งของสมาชิกที่ร่วมกันทำภารกิจ เป็นเรื่องของการรวมคนที่มีความสามารถหลากหลายมาร่วมกันทำสิ่งที่คนเพียงคนเดียวไม่สามารถทำได้

คนจำนวนมากเชื่อว่าอัตลักษ์ของคนถูกกำหนดด้วยเชื้อชาติ ซึ่งค่อนข้างห่างไกลจากสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน ที่จริงแล้วสิ่งที่นิยามบุคคลนั้นคืออัตลักษ์อันหลากหลายที่ไม่ถูกจำกัดกรอบเพียงแค่เรื่องเชื้อชาติ

จัดเตรียมคนรุ่นอนาคตสู่ความเป็นพลเมืองโลก

ที่ผ่านมาเราเคยมีการตกลงความร่วมมือกันในระดับนานาชาติ ผ่านการตั้งองค์กรหรือการประชุมต่างๆ เช่น WTO, APAC หรือความตกลงเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศปารีส แต่ก็ยังมีความแตกต่างและการถูกแบ่งแยกโดยเฉพาะประเด็นในระดับท้องถิ่นที่เข้าไม่ถึงการแก้ไขปัญหาในความร่วมมือระดับโลก

วิธีลดการแบ่งแยกระหว่างคนคือต้องให้คนมีโอกาสด้านการศึกษาซึ่งจะนำมาสู่การได้งานอย่างทั่วถึง กรณีนี้มักจะเกิดขึ้นเมื่อมีความเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมในระดับมหภาคซึ่งก็เคยเกิดขึ้นที่จีน การสร้างประชากรแห่งอนาคตคือการให้โอกาสด้านการศึกษามากเท่าที่จะทำได้เพื่อรวมพวกเขาเข้ามา การทำให้ทุกอย่างเป็นประชาธิปไตยคือกุญแจสำคัญ แต่สิ่งที่เป็นปัญหาตอนนี้คือความเป็นประชาธิปไตยมักถูกนิยามใช้อย่างไม่ทั่วถึงคนทุกคนจริงๆ ซึ่งนั่นเป็นสาเหตุของปัญหาความไม่เท่าเทียม

พลเมืองโลกเป็นเรื่องของการอุทิศตนเป็นส่วนหนึ่งของสมาชิกที่ร่วมกันทำภารกิจ เป็นเรื่องของการรวมคนที่มีความสามารถหลากหลายมาร่วมกันทำสิ่งที่คนเพียงคนเดียวไม่สามารถทำได้

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เรื่องเล่าจาก Tim Cook “...ผมไม่เคยคิดเลยว่า Apple จะมีวันล้มละลาย”

Apple ก้าวเข้าสู่ยุค AI พร้อมรักษาจิตวิญญาณจาก Steve Jobs สู่อนาคตที่เปี่ยมด้วยนวัตกรรม โดย Tim Cook มุ่งเปลี่ยนโฉมเทคโนโลยีอีกครั้ง!...

Responsive image

วิจัยชี้ ‘Startup’ ยิ่งอายุมาก ยิ่งมีโอกาสประสบความสำเร็จ

บทความนี้ Techsauce จะพาคุณไปสำรวจว่าอะไรที่ทำให้ วัย 40 กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของนักธุรกิจและ Startup หลายคน...

Responsive image

ทำไม Fastwork ขาดทุนเกือบทุกปี ? ฟังเหตุผลของ CK Cheong

Fastwork เป็นอีกหนึ่งชื่อธุรกิจที่มาแรงในช่วงเวลานี้ ด้วยความไวรัลบนโลกออนไลน์ของผู้บริหาร CK Cheong (ซีเค เจิง) ที่มักทำคลิปให้ทัศนะเรื่องการเงิน การใช้ชีวิต และธุรกิจ แต่กลับถูกต...