Futures Thinking Mindset เตรียมพร้อมรับมืออย่างไรในโลกที่ไม่มีอะไรเหมือนเดิม โดย William Malek | Techsauce

Futures Thinking Mindset เตรียมพร้อมรับมืออย่างไรในโลกที่ไม่มีอะไรเหมือนเดิม โดย William Malek

เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินประโยคที่ว่า ชีวิตมักจะผันแปรตามความคิดของเราเสมอ ดังนั้น ทัศนคติจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อการกำหนดอนาคตของเรา ในงาน Techsauce Virtual Summit 2020 คุณวิลเลียม มาเลค (William Malek) Senior Executive Director ของ SEAC ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน ได้มาพูดในประเด็น Futures Thinking Mindset for COVID Recovery Planning ท่ามกลางสถานการณ์วิกฤตเช่นนี้ที่ทุกคนล้วนตกอยู่ในความไม่แน่นอน เราจะปรับทำอย่างไรจึงจะสามารถวางแผนหรือกลยุทธ์ เพื่อฟื้นฟูและคว้าโอกาสใหม่ให้กับธุรกิจได้ในระยะหลังจากนี้

คุณวิลเลียม กล่าวว่า การเข้ามาของ COVID-19 ส่งผลกระทบต่อชีวิตของทุกคนค่อนข้างมาก เพราะสถานการณ์เช่นนี้มันบังคับให้ทุกคนต้องคิดทบทวนว่าจะต้องปรับตัวอย่างไรกับสถานการณ์เช่นนี้ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับเหตุการณ์นี้ คือ ทัศนคติ เพราะอนาคตของเราล้วนแล้วแต่ขึ้นกับมุมมองของเราทั้งนั้น ถ้าทุกคนเอาแต่มองที่ ‘ความกลัว’ อนาคตมันก็จะเต็มไปด้วย ‘ความกลัวและการเอาตัวรอด’ 

แต่ถ้าเราตั้งคำถามใหม่ แล้วเราบอกว่าจะอย่างไรให้ทุกอย่างดีขึ้น ทำอะไรเพื่อตัวเอง หรือครอบครัวและประเทศชาติได้บ้าง มันก็จะทำให้โลกของเราสดใสยิ่งขึ้นกว่าเดิมมาก ดังนั้นเราจะต้องดูว่า COVID-19 มันเกิดขึ้นมาในแง่ร้าย เพื่อมาทำร้ายเรา หรือ เกิดขึ้นเพื่อเรา?

ทุกการตัดสินใจของเรามันเป็นตัวกำหนดอนาคตของเรา ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม

สิ่งที่พวกผู้นำระดับโลกมักจะบอกเสมอว่า...ถ้าคุณอยากที่จะกำหนดอนาคต ให้กำหนดจากความคิดของตัวเองก่อน ไม่ว่าประเทศจะเป็นอย่างไร บริษัทจะเป็นอย่างไร ตัวคุณจะเป็นอย่างไร ทุกอย่างเริ่มต้นจากความคิดของคุณทั้งนั้น

โดยอนาคต เป็นเพียงแค่ช่วงเวลาหนึ่งของห้วงเวลาเท่านั้น แต่ถ้าหากว่าทุกคนเริ่มจากการเปลี่ยนความคิดและการตัดสินในวันนี้ อนาคตของทุกคนจะเปลี่ยนอย่างแน่นอน ดังนั้นเราจะต้องใช้ประโยชน์จากการที่เราเปลี่ยนแปลงและตัดสินใจใหม่

เราต้องอย่ามัวแต่ยึดติดกับอดีต อย่าไปคิดว่าอะไรก็ตามมันต้องกลับไปเป็นเหมือนเดิม แต่ให้คิดพยายามสร้างอนาคตใหม่ที่ดีกว่าเดิม ...เราต่างมีตัวเลือกและเราสามารถที่จะทำให้สถานการณ์มันดียิ่งขึ้นกว่าเดิมได้ 

แล้วเราจะตอบโต้กับวิกฤตได้อย่างไร ?

เมื่อเกิดวิกฤตที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อนเกิดขึ้น ในแง่ของการบริหารองค์กรจะเห็นได้ว่า แผนงานระยะยาวที่วางไว้ 5 ปี ตอนนี้คือหายไปหมดเลย จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ทุกคนจะคิดว่า จะทำยังไงให้มีเงินสดเข้ามา ต่อไปอนาคตจะเป็นอย่างไร พฤติกรรมผู้บริโภคจะเปลี่ยนไปเป็นอย่างไร ทุกคนรู้สึกว่าชีวิตมีความไม่แน่นอน คำถามคือ แล้วเราจะวางแผนอนาคตที่เราไม่สามารถคาดการณ์นี้ได้อย่างไร ดังนั้นนี่จึงเป็นโอกาสใหญ่ของการเปลี่ยนแปลง 

Future thinking Process

สถานการณ์ตอนนี้หลายคนอาจจะเกิดความกลัว เพราะความกลัว เกิดขึ้นเมื่อเรารู้สึกถึงความไม่แน่นอน ดังนั้นการที่เราจะสามารถเปลี่ยนทัศนคติใหม่ได้นั้น เราจะต้องรู้สึกว่าเราอยู่กับความเป็นจริง เพราะโอกาส หรือตัวเลือกใหม่ๆ มักจะมองเห็นได้ก็ต่อเมื่อเราพยายามมองด้วยเหตุและผล รวมถึงจะต้องตีโจทย์ให้แตกว่าหากเป็นเช่นนี้ อะไรจะเกิดขึ้นบ้าง 

Input - What is current situation ?

เริ่มต้นจากการที่ให้เราตั้งคำถามและจะเห็นผลของสิ่งที่เกิดขึ้น โดยเราจะต้องเข้าใจและเห็นชัดเจนว่าสถานการณ์ในปัจจุบันเป็นอย่างไร และสิ่งสำคัญอีกอย่างที่ต้องมีด้วย คือ ความตระหนัก หากเราไม่มีความตระหนัก ที่ถูกต้องจะทำให้เราไม่สามารถคาดเดาหรือคาดการณ์อะไรได้เลย

เราต้องถามตัวเองว่าเราชัดเจนว่าตอนนี้สิ่งที่เกิดขึ้นคืออะไร….

การมองอย่างชัดเจนให้รู้ว่าควรทำ หรือไม่ควรทำอะไร มันคือ การศึกษาความเป็นไปได้ ประเด็นคือ ถ้าเราทำ X สิ่งที่เกิดขึ้นอาจจะเป็น 1 2 3 แต่ถ้าเราทำ  Y สิ่งที่เกิดขึ้นอาจจะเป็น 5 6 7 มันแค่มีโอกาสที่จะเป็นไปได้ 

Foresight

  • Scan Analysis - Why are things happening? : เมื่อเราเข้าใจแล้วว่า สิ่งที่เกิดขึ้นคืออะไร เราต้องสแกนดูว่าตอนนี้สิ่งที่เกิดขึ้นมีอะไรบ้าง และมีการเชื่อมโยงกันอย่างไร นโยบายต่างๆที่ออกมาส่งผลกับอุตสาหกรรมในแต่ละภาคส่วน อย่างไรบ้าง
  • Sense-making - What is really happening? : ต่อมาถึงกระบวนการของการสืบค้นว่า สิ่งที่เกิดขึ้นจริง ๆ คืออะไร 
  • Prospection - What might happen? : หลังจากนั้นเราถึงมาถามต่อว่าแล้วมันมีอะไร ที่อาจจะเกิดขึ้นได้บ้าง

Reframe -What might we need to do?

เมื่อได้คำตอบจากกระบวนการด้านบนแล้ว เราและทีมก็จะมารวมตัวกัน แล้ว reframe ใหม่ว่าเมื่อสิ่งนี้กำลังเกิดขึ้น เราจะต้องทำอะไร เอาตัวเลือกต่างๆที่มีมากางแล้วเลือกว่าอันไหนจะเหมาะที่สุด หรือ ดีที่สุด 

Strategy - What will we do ? How will we do it?

Alternative Futures

กลยุทธ์ต่าง ๆ ที่เราจะได้ออกมานั้น จะเกิดจากการที่เราได้ประเมินทั้งหมดแล้วว่าโอกาสความเป็นไปได้ว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร มันมีอะไรบ้าง อันไหนที่น่าจะเป็นประโยชน์กับเราที่สุด ต้องอยู่กับโลกของความเป็นจริงให้ได้ 

  • Pivot -การที่เราจะต้องเปลี่ยนแปลง มันมีความเป็นไปได้อะไรใหม่บ้าง
  • Slow-down -เวลาที่เราชะลอลง มันมีเวลาให้คิดมากขึ้นว่าจะสามารถเชื่อมโยงกับลูกค้าใหม่ ๆ อย่างไรได้บ้าง 
  • Transformation - มักจะเกิดขึ้นกับบริษัทที่เข้าใจจริง ๆ ว่าโลกใบใหม่คืออะไร และสามารถที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้ทันที ปัจจุบันจะเห็นได้ว่ามีหลายบริษัทที่มีการยกเครื่องทั้งองค์กร 
  • Localization - การมองธุรกิจในสเกลของประเทศไทยก่อนว่าจะสามารถทำอะไรได้บ้าง ในเมื่อ ธุรกิจหลักของเรา คือ การท่องเที่ยว เราจะฟื้นมันอย่างไร ทำอย่างไรให้เศรษฐกิจเดินหน้า ในเมื่อสถานการรืตอนนี้ยังไม่สามารถที่จะควบคุมการระบาดของไวรัสได้ 100% แต่มันคือการที่เราต้องรู้บทบาท รับรู้ถึงทางเลือกอื่นที่จะทำให้เราเดินต่อได้ 


นับตั้งแต่เกิด COVID-19 ส่งผลให้ตอนนี้หลาย ๆ บริษัทกำลังพุ่งทะยาน เพราะว่ารูปแบบการดำเนินธุรกิจที่เหมาะกับโลกอนาคต ดังนั้นเราเองถึงต้องคิดเพื่ออนาคตตลอด ว่าอะไรที่จะทำให้เราเติบโต

เช่น ตอนนี้คนไม่ค่อยไปกินข้าวกันในร้านอาหาร เราจะปรับตัวอย่างไร บางทีพวกร้านอาหารต่างๆ ก็ต้องหันมาขายอาหารออนไลน์ มากกว่าที่จะให้คนไปเจอกันที่ร้าน

ดังนั้นในช่วงเวลาแบบนี้ สำหรับคนที่อยู่ในบทบาทของผู้นำองค์กร สิ่งที่ผู้นำควรทำ คือ การเดินเข้ามาบอกฉันจะทำอะไรบ้าง เพราะเวลาที่เราไม่รู้ว่าเราจะทำอะไร สิ่งที่สำคัญคือ การถามคำถามที่ถูกต้องในเวลาที่เหมาะสม

ถ้าหากว่าเราเป็นผู้นำที่ดี เราเดินเข้าไปเราไปถามถามพนักงาน ถามลูกค้า ถามคนรอบตัว เพื่อที่จะได้ข้อมูลที่ทำให้เราเข้าใจสถานการณ์ได้มากขึ้น รวมถึงการที่เราเก็บข้อมูลมากขึ้นมันก็ช่วยลดความเสี่ยงและจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ของเราด้วย

เพราะความคิด คือ สิ่งกำหนดอนาคต  

คุณวิลเลี่ยม กล่าวว่า ตอนนี้เราจะเห็นว่า มีผู้เชี่ยวชาญสามารถที่จะทำนายได้เลยว่าปีนี้จะเป็นอย่างไรเกิดขึ้นค่อนข้างมาก สำหรับผมมองว่า อนาคตของเรามันจะเปลี่ยนไปอย่างต่อเนื่อง หลาย ๆ คนจะต้องปรับความคิดของตัวเอง เพื่อที่จะเข้าใจว่า ชีวิตมันจะไม่เป็นเส้นตรงอีกต่อไปแล้ว เหมือนที่เราเคยใช้ชีวิตตามปกติได้มา 20 -30 ปี และเราจะต้องอาศัยอยู่ในโลกที่มันคาดการณ์อะไรไม่ได้ แน่นอนว่ามันเป็นสิ่งที่ยาก แต่เราจะต้องรับรู้ และลองมองดูให้ดี ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่นั้นมันไม่ได้เป็นเพียงช่วงวิกฤตระยะสั้น แต่มันจะมีความเกี่ยวโยงไปในอีกหลาย ๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็น ภาวะโลกร้อน เศรษฐกิจที่ชะลอลง และมีอีกหลาย ๆ เรื่องที่เกิดขึ้น ให้เราต้องชินกับมัน จะต้องเข้าใจว่าชีวิตจะยุ่งเหยิงและไม่มีความมั่นคง และมันเป็นเรื่องปกติ ดังนั้นคุณต้องเดินออกมาจากความกลัวของคุณให้ได้ 

สุดท้ายนี้สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การรู้ว่าสิ่งที่คุณควบคุมได้ คือ ความคิดของคุณ และการตอบสนองต่อความคิดของคุณ คุณจะตอบสนองต่อข้อมูลและสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างไร ถ้าคุณตอบสนองด้วยความกลัว หรือรู้สึกสิ้นหวังอนาคตของคุณก็จะมีแต่ความกลัวและสิ้นหวัง

ดังนั้นเราต้องตั้งคำถามว่า ฉันจะคิดต่างได้อย่างไร ฉันจะตอบสนองได้อย่างไร หากเราทำแบบนี้ได้ มันจะทำให้คนมีความสุขและมีความหวังมากขึ้น และจะส่งผลให้สามารถพลิกโฉมทั้งชุมชนได้ เราจะดูแลกันและกันได้ ระวังหลังให้กันและกันได้ และสถานการณ์นี้จะทำให้เศรษฐกิจและชุมชนของเรา ดีขึ้นมาในแบบที่เราไม่เคยจินตนาการมาก่อน

***สำหรับ material ประกอบ session นี้ สามารถลงทะเบียนขอรับได้ที่ https://forms.gle/NCJLsWSYjhtkbDwF8


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Bill Gates แนะนำ 'The Coming Wave' หนังสือ AI ที่ควรอ่าน ทำนายการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในโลกการทำงาน

Bill Gates ผู้ก่อตั้ง Microsoft แนะนำหนังสือ "The Coming Wave" เขียนโดย Mustafa Suleyman ซีอีโอของ Microsoft AI ซึ่งเขายกให้เป็นหนังสือ AI ที่สำคัญที่สุดและอยากให้ทุกคนอ่าน เพื่อเต...

Responsive image

The Puzzle Principle เคล็ดลับของไอน์สไตน์ที่จะทำให้คุณฉลาดขึ้น

เรียนรู้หลักการ The Puzzle Principle ของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และแนวคิดจาก Adam Grant ที่ช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เปิดใจกว้าง และทำให้คุณฉลาดขึ้น พร้อมตัวอย่างงานวิจัยที่ยืนยันผลลัพ...

Responsive image

บริหารแบบ Micromanagement ใส่ใจไม่จู้จี้ บทเรียนพลิกธุรกิจจาก Brian Chesky CEO ของ Airbnb

สำรวจว่าแนวทางการบริหารที่ใส่ใจในรายละเอียดของ Chesky ช่วยเปลี่ยน Airbnb ให้กลายเป็นหนึ่งในบริษัทเทคโนโลยีที่ประสบความสำเร็จที่สุดในโลกได้อย่างไร และเพราะเหตุใดการ micromanagement ...