ยอมจำนนต่อปัญหา หรือลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงตัวเอง ? ปรับ mindset อย่างไร ให้เป็นคนใหม่ใน New Normal โดย คุณอริญญา เถลิงศรี | Techsauce

ยอมจำนนต่อปัญหา หรือลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงตัวเอง ? ปรับ mindset อย่างไร ให้เป็นคนใหม่ใน New Normal โดย คุณอริญญา เถลิงศรี

ใคร ๆ ต่างก็พูดกันว่า ทุกวิกฤตมีโอกาส ดังนั้นในวิกฤตใหญ่ระดับโลกทั้งที คุณได้เปลี่ยนให้มันกลายเป็นโอกาสบ้างแล้วหรือยัง ? ในงาน Techsauce Virtual Summit 2020 คุณอริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ SEAC ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน ได้มาพูดในประเด็น Evolve or Expire – In the New Normal Individuals Drive Their Development  ในวิกฤตครั้งนี้ ระหว่างการยอมจำนนต่อปัญหา หรือ การลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงตัวเอง ควรจะปรับ mindset อย่างไร เพื่อที่จะสามารถพัฒนาตัวเองให้เป็นคนใหม่ได้ใน New Normal

new normal

คุณอริญญา กล่าวว่า New Normal หรือ ความปกติใหม่ ทุกคนล้วนแล้วแต่พูดถึงเรื่องนี้ ซึ่งยังไม่มีใครรู้ว่า จริงๆ แล้วมันจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกคนต่างก็ทราบดี คือ หลัง COVID-19 ไม่มีอะไรเหมือนเดิมอีกต่อไปแล้ว

ทุกคนต่างมองชีวิตหลังจากนี้จะเป็นเช่นนั้น จะเป็นเช่นนี้ ต่างคนต่างคาดการณ์ต่าง ๆ กันไป แต่สิ่งสำคัญ คือ เราทุกคนสามารถเลือกที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ในระดับปัจเจกบุคคล และมีหลายอย่างที่เราทราบดีอยู่แล้ว เช่น

  • ตอนนี้สิ่งต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เวลาหมุนเวียนไปอย่างรวดเร็ว เราอยู่ในโลกที่ไม่เหมือนเมื่อก่อน ช่วงเวลามันเปลี่ยนแปลงไปเร็วกว่าที่เคยเป็น

  • ธุรกิจเองก็จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปแล้ว เราจะเจอภูมิทัศน์ แบบใหม่ จะเห็นถึงสิ่งต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปรอบตัว สิ่งเหล่านี้คงเป็นสิ่งที่หลายคนเคยผ่านประสบการณ์มาบ้างแล้ว 

เมื่อเรารู้ว่าไม่มีอะไรเหมือนเดิม แล้วเราตัวเราจะเป็นแบบเดิม หรือเริ่มที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเอง...

เราสามารถถามตัวเองได้ว่าเราอยากที่จะเปลี่ยนไหม หรืออยากที่จะตายไปกับกาลเวลาหลังจาก COVID-19 นี้ เพราะเราไม่รู้ว่าเมื่อไหร่มันจะจบ แต่แน่นอนว่ามันจะจบในวันหนึ่ง สิ่งที่เราทำได้ คือ เราต้องพาตัวเองเดินไปในเส้นทางใหม่ที่จะเป็นเราคนใหม่ 

ดังนั้นเรามาดูกันว่า แล้วเราจะเริ่มเส้นทางใหม่นี้ได้อย่างไร เราจะเปลี่ยนแปลงตัวเองได้อย่างไร ?

คุณอริญญาได้ยกตัวอย่างจาก 2  Case study ที่น่าสนใจซึ่งอาจจะไม่ได้พูดถึงคนดังที่เรารู้อยู่แล้ว แต่อยากจะให้ทุกคนคิดว่าสิ่งต่อไปนี้มันเกี่ยวกับตัวของทุกคนอย่างไร

Julie Smolyansky ,CEO Lifeway Foods 

  • ผู้หญิงคนนี้เป็น CEO ที่อายุน้อยที่สุดของบริษัทที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ โดยมีอายุเพียงแค่ 27 ปี 

  • องค์กรของเธอเป็นองค์กรที่ได้รับรางวัลว่าเป็นบริษัทขนาดเล็กที่ดีที่สุดของนิตยสาร Forbes เรื่องราวของเธอ

  • ประเด็นสำคัญไม่ได้มีเพียงแค่เธอเป็นคนที่ประสบความสำเร็จมาก แต่เธอทำธุรกิจที่ไม่ได้เปิดให้บริการที่สหรัฐอเมริกา แต่ได้มีการขยายไปที่เม็กซิโก  อังกฤษ และไอร์แลนด์ด้วย และเธอดูแลพนักงานมากว่า 300 คน

ปัญหาของเธอ คือ เมื่อเกิด COVID-19 ทำให้สินค้าของเธอกลายเป็นที่ต้องการมากขึ้น ซึ่งดูเหมือนว่าเป็นปัญหาที่ดี ที่มีลูกค้าล้นในช่วงเวลาแบบนี้ ในทางกลับกันคนอื่นหลายๆคนอาจจะรู้สึกเครียดที่ไม่มีงาน แต่ผู้หญิงคนนี้งานล้นมือเกินไป 

แต่ปัญหาที่แท้จริงของเธอ คือ เธอไม่รู้ว่าสินค้านี้มันจะเป็นที่ต้องการไปนานแค่ไหน และไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ COVID-19 มันจะจบ แต่สิ่งที่สำคัญคือ เธอต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองในช่วงวิกฤตนี้ และเธอไม่อยากที่จะจ้างพนักงานเพิ่มในตอนนี้  เพราะไม่รู้ว่าสถานการณ์มันจะเป็นแบบนี้ไปอีกนานแค่ไหน  และตัวเธอเองก็ไม่อยากที่จะลงทุนอะไรเพิ่ม แต่สิ่งที่เธอจะเปลี่ยนมีดังนี้

  • เป็นผู้นำแบบใหม่ให้พนักงาน : ต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง ต้องปรับตัวเปลี่ยนสไตล์ และต้องเปลี่ยนวิธีการนำทีม  โดยเธอยากที่จะเข้าใจคนของเธอให้ดีขึ้น เพื่อที่จะเชื่อมโยงกับพวกเขาอย่างลึกซึ้งขึ้นกว่าเดิม และอยากเข้าใจว่าปัญหาที่พนักงานมีคืออะไรบ้างและถ้าจะขอให้พนักงานทำงานหนักในช่วงนี้ จะทำอย่างไรให้พนักงานอยากทำแบบนั้น คำตอบ คือ ต้องให้ใจ และซื้อใจพนักงาน ...

เมื่อเราพูดถึงการพัฒนาตัวเองมันเริ่มจากตัวเราเองคนเดียว ไม่ใช่การคาดการณ์ว่าคนอื่น เขาจะต้องเป็นคนเปลี่ยน

  • การมีส่วนร่วมกับลูกค้า : การทำงานร่วมกันกับธุรกิจรอบตัว เธอได้สร้างทักษะใหม่  ด้วยการทำ Social Media Marketing เดิมเธอไม่เคยทำมาก่อน แต่เธอก็เห็นว่ามันสำคัญมาก เธอเริ่มที่จะเป็นเพื่อนกับลูกค้า  เริ่มที่จะสร้าง Network ยิ่งไปกว่านั้นเธอไม่สามารถเห็นได้ว่าเธอทำอะไร ๆ แบบเดิมได้ จึงได้เรียนรู้ทักษะในการสร้างคอนเทนท์ และเธอก็รู้สึกว่า การทำงานร่วมกับคนอื่นแค่นั้นยังไม่พอ แต่ต้องทำงานร่วมกับคนอื่นในวิธีการที่ทำให้ สามารถเติบโตร่วมกันทั้งคู่ 

เวลาเราพูดถึงเรื่องของการพัฒนาตัวเอง มันขึ้นอยู่กับตัวเราเองว่า เราจะเลือกทางไหน มันไม่ใช่ทักษะเดียว หรือ ความรู้เดียวที่เราจะต้องสร้าง แต่มันจะเป็น set เลย  เพราะว่าจะต้องมีหลายทักษะและมีความรู้หลายๆอย่างที่เราจะต้อง เรียนรู้เพิ่ม

Julia Cheek Founder Everlywell

  • บริษัทของจูเลียร์ ทำในเรื่องของการรับตรวจสุขภาพที่บ้าน โดยเจาะกลุ่มลูกค้ารายย่อย

  • ตอนนี้ธุรกิจของเธอก็กำลังระดมทุนในระดับ  Series B 

  • เธอได้เริ่มธุรกิจเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา และเธอก็มีความมุ่งมั้นที่จะขยายธุรกิจในช่วง COVID-19

จูเลียร์ ต้องการขยายธุรกิจ เพื่อจะพิสูจน์คำมั่นสัญญาให้กับนักลงทุน โดยจะพยายามขยายธุรกิจในความเร็วที่แตกต่าง และวิธีที่แตกต่าง ดังนั้นจึงต้องมีการทำงานร่วมกับคนอื่น ในการที่จะแสดงให้เห็นว่า เธอสามารถทำได้ทุกๆไมล์สโตนที่ตั้งไว้ และทำให้คนอื่นคิดว่าเราจะชนะไปด้วยกัน

วิธีการของเธอ คือ  เธอเชื่อมั่นในวิธีการที่ว่องไวมาก ๆ  โดยเธอมองว่าไม่สามารถใช้วิธีเดิมได้แล้ว แต่จะต้องสามารถพัฒนาขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง ให้เร็วกว่าเดิม ดังนี้

  • พยายามพัฒนาทักษะแรงงานที่เกี่ยวข้อง 

  • พยายามมีส่วนร่วมกับผู้คนให้ได้มากที่สุด 

  • พยายามที่จะทำตัวเป็นตัวอย่างในการที่จะปรับ mindset ให้ทุกคนรู้สึกว่าเราสามารถทำได้ และเธอก็ได้เปลี่ยนมายเซตของเธอ และสร้าง ความมั่นใจว่าทุกคนที่ทำงานด้วยกัน จะต้องมีแนวความคิดเดียวกัน 

ภายในช่วงระยะเวลาสั้นๆเท่านั้นเธอสามารถทำตามจุดมุ่งหมายที่เธอเคยประกาศไว้ได้ เพื่อที่สุดท้ายเธอจะได้ไม่ต้องมานั่งอธิบายแก้ตัวอีก เพราะฉะนั้นนี่คือ สิ่งที่เธอเลือกเองในเส้นทางของเธอที่จะเปลี่ยนตัวเองก่อน

คุณอริญญา กล่าวทิ้งท้ายว่า เวลาที่เราพูดถึงความปกติใหม่ ไม่มีใครรู้หรอกว่าหน้าตาจะเป็นอย่างไร แต่เมื่อเรารู้ว่ามันไม่เหมือนเดิมแล้ว และเราต้องเลือกเส้นทางที่เราจะประสบความสำเร็จ ในทางปกติใหม่นั้น จาก 2 case study ที่ได้ยกตัวอย่างมานั้น สรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้

  1. เราจะต้องเริ่มที่จะเลือก ไม่ว่าเราจะต้องการหรือไม่ : ไปต่อหรือถอย แล้วก็บอกว่ามันถึงที่สิ้นสุดแล้ว แล้วถ้าเราบอกว่ามันจบแล้ว  มันก็จะเหมือนเดิมไม่มีอะไรแตกต่าง แต่ถ้าเราเลือกอีกวิธีหนึ่งบอกว่าเราจะไปข้างหน้า เราจะทำในสิ่งที่แตกต่างสำหรับตัวเอง นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้น

  2. เราไม่สามารถที่จะไปเรียนรู้สิ่งต่างๆได้โดยไม่ปรับ mindset ของเราก่อน : เราไม่สามารถที่จะพูดได้ว่า นี่มันไม่ใช่บทบาทของเรา ไม่ใช่งานของเรา และไม่ใช่สิ่งที่เราเคยทำมาก่อน เราต้องปรับ mindset ของเราเอง ต้องไม่แคร์ว่าเคยทำหรือไม่ หรือ ใครเคยทำมาก่อน แต่เราต้องการพัฒนาขีดความสามารถในการที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเราเองในความปกติใหม่

  3. เราจะต้องเริ่มคิดถึงความรู้ใหม่ๆ ทักษะใหม่ๆ ที่ต้องการที่จะพัฒนา และจะเห็นได้ว่าไม่ใช่มีแค่ความรู้เดียวหรือทักษะเดียวที่จะต้องพัฒนา : เวลาที่เราพูดถึงเรื่องของการเปลี่ยนแปลงบุคคล เราจะต้องคิดถึงขีดความสามารถทั้งหมดที่เราอยากจะพัฒนา 

ทุกคนสามารถเริ่มเส้นทางใหม่ของตัวเองได้ เพียงคิดว่า เราจะสร้างผลกระทบหลังจาก COVID-19 ได้อย่างไร เราจะเป็นคนใหม่ได้อย่างไร เพื่อที่จะเป็นคนที่จะประสบความสำเร็จมากกว่า COVID-19

***สำหรับ material ประกอบ session นี้ สามารถลงทะเบียนขอรับได้ที่ https://forms.gle/NCJLsWSYjhtkbDwF8

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

“อยากได้อะไร ก็แค่พูดตรงๆ” เคล็ดลับความสำเร็จจาก Sam Altman

Sam Altman CEO ของ OpenAI บริษัทผู้สร้าง ChatGPT แนะนำ วิธีช่วยให้คุณได้ในสิ่งต้องการ และทำได้ง่ายๆ...

Responsive image

มรดกแนวคิด Steve Jobs ที่ส่งต่อถึง Tim Cook เบื้องหลังความยิ่งใหญ่ของ Apple

Tim Cook ยกหนึ่งคำสอนล้ำค่าในการทำงานจาก Steve Job ที่ทำให้ Apple เป็นหนึ่งในบริษัทชั้นนำของโลก ในด้านการส่งเสริมนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ภายในองค์กร นั่นก็คือ ‘ทุกคนสามารถสร้าง...

Responsive image

ทำไมความสำเร็จของ Bruno Mars มาจากความซื่อสัตย์ ไม่ใช่ทักษะทางดนตรี?

หลายคนคงรู้จัก Bruno Mars นักร้องชื่อดังที่มีเพลงฮิตติดหูมากมาย แต่ความสำเร็จในวันนี้ นอกจากความสามารถทางดนตรีแล้ว เจ้าตัวเผยว่า ‘ความซื่อสัตย์’ ต่อสิ่งที่ทำ เป็นคุณสมบัติที่สำคัญท...