เคยได้ยินคำว่า Binary กันหรือไม่? ศัพท์คำนี้เราอาจใช้กันในวงการคอมพิวเตอร์ ซึ่งหมายถึง 0 หรือ 1 เท่านั้น หากเปรียบกับความคิด ก็เหมือนกับการคิดด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น ซึ่งคนส่วนใหญ่มักเชื่อว่าความคิดมีเพียงแค่สองด้านเสมอ แล้ววิธีคิดแบบ Non-binary เป็นอย่างไร? การพยายามเข้าใจคนอื่น เอาใจเขามาใส่ใจเรา การเปลี่ยนความคิดจะเป็นวิธีที่ดีกว่าหรือไม่? ค้นหาคำตอบจากบทความนี้
เนื้อหาในบทความนี้ เรียบเรียงจากคุณอภิรัตน์ หวานฉะเอม หรือคุณอาร์ต Chief Digital Officer ของธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี (SCG) ที่ได้มาให้ความรู้กับ Techsauce กับ วิธีคิดแบบ Non-binary
ดังนั้นคำว่า ‘Binary Thinking’ นี้จึงมีความหมายก็คือ การที่เรามีความคิดแค่ 2 ด้านเท่านั้น เช่น 0 หรือ 1, ปิดหรือเปิด, ขาวหรือดำ, ดีหรือไม่ดี และถูกหรือผิด ซึ่งในชีวิตของเรา เราอาจจะเผชิญกับการสอนแบบนี้และอาจจะชินไปกับความคิดแบบนี้ อย่างไรก็ตามแต่คุณอาร์ตได้เผยว่า เมื่อก่อนเขาก็มีชีวิตที่อยู่กับความคิดแบบ Binary Thinking แต่เมื่อเขาโตขึ้น เข้าไปเจอกับสังคมใหม่ วัฒนธรรมใหม่ ที่มีคนมาจากหลากหลายเชื้อชาติ หลากหลายความคิดมากขึ้น ทำให้เขานั้นตระหนักว่าจริง ๆ แล้ว ชีวิตของเรานั้นมันไม่ได้มีแค่ขาวหรือดำ แต่มันมีสิ่งที่เรียกว่า ‘Shade of Grey’ หรือพื้นที่สีเทาที่อยู่ตรงกลางระหว่างขาวและดำ
แน่นอนว่าทุกคนจะได้ประโยชน์จากการคิดแบบ Non-binary ในทุก ๆ ส่วนของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องชีวิตส่วนตัวหรือในชีวิตการทำงาน ซึ่งหลาย ๆ คนอาจจะถูกหล่อหลอมมาแบบ Binary Thinking ที่ต้องชี้ให้ชัดว่าสิ่งต่าง ๆ ถูกหรือผิด และเชื่อว่าความคิดมีสองด้านเสมอ แต่สำหรับคนไหนที่มีความฝันอยากจะสร้างอิมแพคหรือความเปลี่ยนแปลงประเทศชาติหรือสังคม ก็ควรจะสามารถที่จะก้าวข้ามความคิดแบบ Binary Thinking นี้ให้ได้ก่อน รวมถึงในยุคปัจจุบัน ที่เป็นยุคของการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ยุคของ Startup และเป็นยุคที่มีความไม่แน่นอน
การคิดแบบ Binary นี้จะทำให้เกิดข้อจำกัดและขีดจำกัดขึ้น เช่น การมองว่าเด็กนั้นฉลาด แต่แบบไหนที่เรียกว่าฉลาด เราอาจจะมองไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เด็กอาจจะจบได้เกียรตินิยม แต่ไม่ใช่เก่งในลักษณะที่อุตสาหกรรมนั้นมองหา ดังนั้นการมองแบบนี้จึงเริ่มเบลอขึ้น ซึ่งการมองแบบ Non-binary หรือ Directional จะเป็นสิ่งช่วยทำให้เราประสบความสำเร็จในสังคมการทำงานในปัจจุบัน
สำหรับ Startup บริษัทเหล่านี้ล้วนมีเป้าหมายที่ชัดเจนว่าอยากจะเดินไปจุดไหน แต่พวกเขาไม่รู้แน่ ๆ ว่าจะเดินไปทางไหน และพวกเขาก็ไม่มีทรัพยากรเหมือนบริษัทใหญ่ ๆ ดังนั้นก็ต้องมีการลองผิดลองถูกกันบ้าง ซึ่งนี่ต้องการวิธีการคิดแบบ Non-Binary ในการค่อย ๆ ลองหลาย ๆ วิธี เพื่อที่จะหาทางและวิธีที่เหมาะกับบริษัทที่สุด
อย่างแรกที่จะต้องยอมรับก็คือเราไม่สามารถไปเปลี่ยนคนอื่นได้ แค่เพราะว่าเค้าคิดหรือมีอารมณ์ที่ไม่เหมือนกับเรา ไม่ได้แปลว่าเค้าผิดหรือถูก ซึ่งตัวช่วยที่เราจะใช้นี่ก็คือ “Communication” หรือ “การสื่อสาร” เพื่อที่จะได้รู้ว่าฝ่ายตรงข้ามนั้นคิดอะไรอยู่และรู้สึกอย่างไร แต่หลาย ๆ ครั้งมันจะมีสิ่งที่เรียกว่า “Noise” ตามมา ซึ่ง Noise ก็คืออารมณ์ สีหน้าที่ออกมา และพลังงานลบ ซึ่งสิ่งที่เราจะทำได้คือการมี “Emotional Maturity” หรือที่เรียกว่า “วุฒิภาวะทางอารมณ์”
ซึ่งในการที่เราจะมี Emotional Maturity คือการ “Denoise” หรือความสามารถที่เราจะรับมาแต่ข้อมูลและสารโดยไม่สนใจ Noise เหล่านั้น โดยเราจะต้องมี Empathy ในการทำความเข้าใจฝ่ายตรงข้ามว่าเค้าอาจจะมีความเครียดอะไรบางอย่าง ทำให้เค้าแสดงการกระทำด้านลบออกมา ซึ่งการคิดแบบ Non-binary อาจจะช่วยทำให้เราเข้าใจและวิเคราะห์เหตุของการกระทำนั้น ๆ ได้มากขึ้น และการที่องค์กรจะเดินไปได้และไปได้ไกล เราก็ต้องพึ่งการมี Emotional Maturity ของทุกคนในองค์กรด้วย
ซึ่งการคิดแบบ Non-binary หรือ Directional ไม่ใช่แค่การไม่ใช่แค่การคิด 2 ด้านเท่านั้น แต่รวมถึงการคิดบวกด้วย แทนที่เราจะคิดแบบ Reactive เราก็คิดแบบ Proactive
ในสถานการณ์ที่มีข่าววิกฤตเศรษฐกิจ และปัญหาทางสังคมต่าง ๆ บน Social Media ทำให้เกิดคนอยู่ 2 แบบก็คือ คนที่หลีกเหลี่ยงที่จะไม่เสพเพื่อที่จะไม่ให้จิตตก และคนที่เสพข่าวแต่สามารถที่จะดึงข้อมูลออกมาโดยไม่มีอารมณ์ร่วม แบบไหนถึงจะดี?
อย่างแรกคือการที่เราไม่ควรจะ Disconnect และในการคิดแบบ Non-Binary เราก็ไม่ควรจะ Ignore ข่าวสารต่าง ๆ เราควรจะหาคำตอบกับทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นในชีวิต โดยเฉพาะสิ่งที่เราไม่ชอบ ซึ่งสิ่งแรกที่เราต้องทำคือการ Aware ว่าเราไม่ชอบ สองคือการถามตัวเองว่าทำไมเราถึงไม่ชอบสิ่งเหล่านั้น และทำการเข้าใจและวิเคราะห์เหตุของสิ่งนั้น หลาย ๆ คนอาจจะเคยได้ยินประโยคว่า “ในวิกฤตมีโอกาส” ซึ่งถ้าเราเลือกที่จะปิดประตูใส่ข้อมูลวิกฤตเหล่านั้น เราก็จะเสียโอกาสของเราไป
ถ้าเรา Disconnect กับวิกฤต เราก็จะไม่เห็นโอกาส
ทริคก็คือการที่เสพทุกข้อมูลทุกอย่าง และวิเคราะห์ว่าทำไมมันถึงเป็นอย่างนั้น และ Denoise ความรู้สึกและอารมณ์เหล่านั้นออกไป ซึ่งถ้าเราทำได้เราก็ไม่ควรที่จะต้องเครียดกับมัน
ชีวิตจริง ๆ มันสั้นมาก เมื่อเราแก่ตัวไปเวลามองกลับมาเราจะรู้สึกเสียดายไหมที่ไม่ได้ทำบางอย่างหรือเราใช้ชีวิตคุ้มค่าหรือยัง แน่นอนว่ามนุษย์ทุกคนนั้นถูกสร้างมาพร้อมกับความกลัว ปฎิเสธไม่ได้ว่าความกลัวนั้นมีผลต่อชีวิตของเรามาก แต่จริง ๆ แล้วความกลัวนั้นก็เป็นประโยชน์ แต่เราต้องใช้ให้ถูก เราอาจจะใช้ความกลัวของเราเพื่อกระตุ้นความกล้า ในการที่จะคิดนอกกรอบ และในการที่จะออกจาก Comfort Zone ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ได้ทั้งกับชีวิตส่วนตัวและการทำงาน
คำถามที่ถูกถามจากนักเรียนหลาย ๆ คนที่เคยพบเจอคือ “ไม่มี” แต่สิ่งที่ได้พบหลังจากคุยกับพวกเขาเหล่านี้ไปคือจริง ๆ แล้วพวกเขาไม่ได้ไม่มีแพชชัน แต่แค่ไม่กล้าและไม่เชื่อว่าจะทำตามแพชชันนี้ได้ ซึ่งสิ่งที่มากั้นขวางพวกเขาไปสู่แพชชันคือ “Expectation” และ “Status Quo” ของคนรอบข้างที่คาดหวังให้พวกเขาเป็นสิ่งที่พวกเขาไม่อยากเป็น ซึ่งในยุคนี้ บางทีถ้าเราสามารถที่จะตัดเรื่องของ Expectation และ Status Quo ออก แน่นอนว่าเรายังมี Option มากกว่านั้นเยอะ ที่เราสามารถทำให้แพชชันกับการหาเลี้ยงชีพเป็นสิ่งเดียวกันได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะเลือกทางเลือกแบบนี้ เราสามารถที่จะเลือกทางที่ทำตามความคาดหวังของคนอื่นได้ แต่ขอให้มั่นใจว่าเราจะมีความสุขกับสิ่งและทางที่เราเลือก
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด