ถาม-ตอบประเด็น ICO กับ คุณกรณ์ จาติกวณิช ในงาน FinTech Challenge 2017 | Techsauce

ถาม-ตอบประเด็น ICO กับ คุณกรณ์ จาติกวณิช ในงาน FinTech Challenge 2017

หลังจากประกวดรอบชิงชนะเลิศ 10 ทีมสุดท้ายของ FinTech Challenge 2017 คุณกรณ์ จาติกวณิช ประธานสมาคมฟินเทคแห่งประเทศไทย ได้ตอบคำถามสื่อเกี่ยวกับเรื่อง ICO ที่เป็นประเด็นอยู่ในความสนใจจากผู้คนอย่างมากในขณะนี้

การเปิด ICO ในประเทศไทยตอนนี้ถูกกฎหมาย หรือ ผิดกฎหมาย?

ไม่ผิดกฏหมายครับ สมมติมีบริษัทไทยไปเข้าสู่กระบวนการนี้ในตลาด Cyber ก็ไม่ได้มีกฏหมายใดที่จะไปกำกับ และสาเหตุที่ผมมาพูดคุยเรื่องนี้วันนี้คือ หนึ่ง ต้องยอมรับข้อเท็จจริงว่าในบางเรื่องอาจจะไปกำกับดูแลยาก ถึงจะมีเจตนาที่จะเข้าไปกำกับก็กำกับยาก เพราะมันเป็นการแลกเปลี่ยนกันโดยไม่ผ่านตลาดหรือสถาบัน เป็นเรื่องของบุคคลต่อบุคคล P2P จึงค่อนข้างเป็นเรื่องยากสำหรับใครที่จะมากำกับดูแล เมื่อเป็นเช่นนั้นก็เป็นเรื่องสำคัญที่กลไกตลาดต้องทำงาน ในที่นี้หมายถึง ต้องมีระบบที่มากำกับดูแลกันเอง

ที่ผมกังวลก็คือ ของดีมันจะเสีย ถ้าสมมติว่าไม่มีใครสามารถมากำกับดูแลได้ แล้วก็จะมีผู้ที่ต้องการเข้ามาฉวยโอกาส เช่นเอาของปลอมมาขายเป็นของจริง

ตอนนี้มีตัว Platform ที่คุยกันอยู่ว่าจะกำหนดมาตรฐาน ICO ว่าควรจะผ่านมาตรฐานอย่างไร ถึงจะเป็น ICO ที่นักลงทุนควรจะพิจารณา แม้ความเสี่ยงมันยังมีอยู่ เมื่อเราพูดถึง startup ในช่วงเริ่มต้น ยังไงมันเสี่ยงอยุ่แล้ว และมันควรจะมีกระบวนการการกรองว่า startup รายไหนควรจะ qualify เพื่อเข้าสู่การระดมทุนผ่านกระบวนการ ICO และจากตัวอย่าง ประมาณ 40 % ของ startup ที่สนใจจะออก ICO อาจจะสามารถผ่านกระบวนการตามขั้นตอน นอกเหนือจากนั้น การให้ความมั่นใจกับผู้ที่เอาเงินมาลงก็สำคัญ ว่า startup นั้นๆ เมื่อระดมเงินทุนไปแล้วเขามีข้อผูกมัดกับคุณอย่างไร มีใครที่จะมาคอยดูแลว่าปฏิบัติตามเงื่อนไขที่มีการตกลงกัน ทั้งหมดนี้เหมือนกับเวลาเรียกร้องปฏิวัติสื่อในเมืองไทย แล้วสื่อบอกว่าทางที่ดีที่สุดคือขอกำกับดูแลตัวเอง ซึ่งบางครั้งก็ใช้ได้บางครั้งก็ใช้ไม่ได้ เพราะทางเลือกอื่นในการมีคนอื่นมากำกับมันอาจจะไม่ดี อาจจะมีข้อจำกัดหรือปัญหาอื่นๆ ที่จะตามมา

เมื่อไม่มีกฏหมายและไม่ผิดกฏหมาย แต่ก็มีผู้ประกอบการที่ไม่ใช่ Fintech เข้ามาขอปรึกษาที่จะทำ ICO และยังมีข้อสงสัยว่าเขาทำได้หรือไม่?

ถ้าถามว่าเขาสามารถออกได้เลยไหม ถ้าคิดจะออกในรูปของหุ้นมันก็จะขัดกับกฎหมายหลักทรัพย์ ถ้าออกในรูปของเงินกู้ ก็จะไปติดประเด็นที่เกี่ยวข้องกับแบงค์ชาติ แต่รูปแบบของการออก ICO ที่คลาสสิคที่สุดก็คือการแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการ ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ไม่ได้เข้าเกณฑ์ของแบงค์ชาติหรือ ก.ล.ต. และเป็นสิ่งที่ถ้าคิดจะทำจริงๆ ก็น่าจะทำได้

อย่างไรก็แล้วแต่ สิ่งที่เราอยากจะเห็นก่อนที่จะมีการสนับสนุนให้บริษัทไทยและนักลงทุนไทยที่จะเข้าไปมีส่วนในฐานะผู้ซื้อ Token คือมาตรฐานที่เขาจะสามารถพึ่งพาได้ และเชื่อมั่นได้มากกว่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพราะถ้าจะให้ตลาดนี้เป็นตลาดที่ผู้ประกอบการพึ่งพาได้ในระยะยาวและยั่งยืน มันจะต้องมีมาตรฐานที่สูงกว่านั้น และนี่คือความตั้งใจของทุกคนและ ก.ล.ต. ที่คิดว่ามันสามารถจะกำหนด standard นี้ขึ้นมาได้

ในอเมริกามี token ในรูปแบบที่ชื่อว่า DAO (Decentralized Autonomous Organization) ซึ่งเขาบอกว่า token อันนี้มีลักษณะเป็นหลักทรัพย์ และมีคุณสมบัติคล้ายหุ้น คือคนที่ถือ token ก็สามารถมีส่วนร่วมในการออกความเห็นได้ ถ้าเป็นแบบนี้มันขัดกับตลาดไทย แปลว่า token ในลักษณะนี้ก็จะเป็นไปได้หรือไม่?

ถ้าให้ตอบแทนในส่วนของ ก.ล.ต. ที่กำกับดูแลในเรื่องของหลักทรัพย์ว่าเข้าข่ายหลักทรัพย์หรือไม่ นอกจากต้องดูในเรื่องของการแบ่งปันผลประโยชน์แล้ว ก็ต้องดูเรื่องสิทธิในฐานะผู้ถือหุ้น โดยเฉพาะสิทธิในการออกเสียง ซึ่งอะไรที่ไม่มี Voting rights ผมคิดว่าถ้านิยามตามกฎหมายไทย มันอาจจะไม่ใช่หลักทรัพย์เสียทีเดียว

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

5 ข้อแตกต่างที่ทำให้ Jensen Huang เป็นผู้นำใน 0.4% ด้วยพลัง Cognitive Hunger

บทความนี้จะพาทุกคนไปถอดรหัสความสำเร็จของ Jensen Huang ด้วยแนวคิด Cognitive Hunger ความตื่นกระหายการเรียนรู้ เคล็ดลับสำคัญที่สร้างความแตกต่างและนำพา NVIDIA ก้าวสู่ความเป็นผู้นำระดับ...

Responsive image

เรื่องเล่าจาก Tim Cook “...ผมไม่เคยคิดเลยว่า Apple จะมีวันล้มละลาย”

Apple ก้าวเข้าสู่ยุค AI พร้อมรักษาจิตวิญญาณจาก Steve Jobs สู่อนาคตที่เปี่ยมด้วยนวัตกรรม โดย Tim Cook มุ่งเปลี่ยนโฉมเทคโนโลยีอีกครั้ง!...

Responsive image

วิจัยชี้ ‘Startup’ ยิ่งอายุมาก ยิ่งมีโอกาสประสบความสำเร็จ

บทความนี้ Techsauce จะพาคุณไปสำรวจว่าอะไรที่ทำให้ วัย 40 กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของนักธุรกิจและ Startup หลายคน...