“สิ่งที่เราเติมเต็มระหว่างกันได้และทำให้เราทำงานด้วยกันได้ดี คือความเชื่อใจและเคารพในศักยภาพของกันและกัน พลังการทำงานร่วมกันนั้นจึงจะเกิดประสิทธิภาพและมีศักยภาพมากกว่าที่องค์กรใดองค์กรหนึ่งทำกันเอง เพราะการเอาจุดเด่น รวมถึงความเชี่ยวชาญในแต่ละด้านที่แต่ละฝ่ายต่างมีมารวมกัน จะช่วยผลักดันและขับเคลื่อนภารกิจให้บรรลุเป้าหมายได้เร็วกว่าและมีประสิทธิภาพมากขึ้น” - ‘เอม - อมฤต เจริญพันธ์’ CEO&Co-founder HUBBA
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ผู้อ่านน่าจะได้เห็นการตื่นตัวของวงการธุรกิจทั่วโลก ที่ต่างก็ลุกฮือขึ้นมา ‘จับมือ’ และ ‘ผนึกกำลัง’ กัน ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่านี่เป็นหมากรุกในกระดานเกมธุรกิจที่สร้างสรรค์อีกหนึ่งวิธี โดยกระดานเกมนี้เป็นการพลิกวิธีการแข่งขันจากเดิมที่ใช้กลยุทธ์เอาจุดแข็งมางัดกัน กลับเปลี่ยนมาเป็นต่างฝ่ายต่างการผลัดกันเติมเต็มให้กันแทน
ทว่า การจับมือทางธุรกิจในรูปแบบ ‘พันธมิตร’ นั้น จะขับเคลื่อนระบบนิเวศของธุรกิจของประเทศได้อย่างไร การร่วมมือเพื่อสร้างจุดเชื่อมระหว่างกันนั้น ช่วยเสริมศักยภาพในการสร้างโอกาสทางธุรกิจครั้งใหม่เพื่อช่วยให้ธุรกิจแข็งแกร่งขึ้นกว่าเดิมได้จริงหรือไม่?
การผนึกกำลังทางธุรกิจในรูปแบบ ‘Partnership’ นั้น เป็นการเสริมทัพของหน่วยธุรกิจที่มีบทบาทต่างกันแต่มีเป้าหมายร่วมกัน มีทัศนคติ ค่านิยมที่ใกล้เคียงกัน มุ่งส่งเสริมและผลักดันกัน อย่างในช่วงปีที่ผ่านมาเราน่าจะได้เห็นการประกาศร่วมมือกันของแบรนด์ต่างๆ ไม่เว้นแม้กระทั่งแบรนด์ระดับโลกที่เป็นผู้นำด้านยานยนต์อย่าง TOYOTA ที่พลิกประวัติศาสตร์ธุรกิจมาจับมือกับ Panasonic จัดตั้งกิจการเพื่อผลิตแบตเตอรี่ร่วมกัน หรือแม้แต่คู่แข่งสุดโต่งสองแบรนด์ที่ไม่เคยเป็นรองให้กันเลย อย่าง Samsung ที่หยุดสงครามกับ Apple และประกาศว่าจะร่วมมือกัน โดย Samsung กำลังจะออกผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สามารถรองรับแอปพลิเคชัน iTunes Movie & TV Shows และ Apple Airplay
กลับมาที่วงการธุรกิจในเมืองไทย เชื่อว่าเราจะยังได้เห็นการประกาศการร่วมมือระหว่างแบรนด์ต่างๆ ในบ้านเราไปอีกระยะยาวเลย ซึ่งไม่เพียงแต่แบรนด์ใหญ่ๆ เท่านั้นที่หันหน้ามาจับมือกัน ในวงการ Startup ก็ได้มีการประกาศการร่วมมือกันหลายกิจการแล้วด้วย
การจับมือเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ ไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็นการดำเนินการเพียงเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันเท่านั้น หากมองย้อนกลับไป อาจจะพบว่ามีหลายปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดการร่วมมือกัน ในบทความนี้ ทีมงาน Techsauce.co ได้ชวนหนึ่งหัวเรือใหญ่จาก ‘ภาคเอกชน’ อย่าง HUBBA ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ผลักดัน ‘Startup Ecosystem’ ในเมืองไทย มาร่วมพูดคุยเกี่ยวกับ ‘เป้าหมาย’ และ ‘จุดร่วม’ ในการร่วมมือและขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับ ‘พันธมิตร’ ในบริบทที่แตกต่างกันไปในรูปแบบของ ‘Partnership’
จุดเด่นที่ HUBBA มีมากกว่าใครในฐานะผู้บุกเบิกธุรกิจ Co-working space ในเมืองไทย คือความไม่หยุดนิ่งและวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลของผู้บริหาร ซึ่งอาจจะเรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งองค์กรที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้เกิดแวดล้อม Startup ในประเทศไทยด้วย นอกจากการพัฒนาเพื่อยกระดับการให้บริการ ‘co-working space’ ในการสร้าง ‘คอมมูนิตี้’ ที่แข็งแกร่งของคนสายเทคและ Startup ร่วมกับพันธมิตรแล้ว ที่ผ่านมาเรายังได้เห็นเทรนด์การจัดกิจกรรมหรือเทคอีเวนต์ต่างๆ ที่จัดขึ้นภายใต้ HUBBA โดยในปีที่ผ่านมามียอดผู้ร่วมงานถึง 15,717 คนภายใต้ 128 อีเวนต์ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นแผนการรับมือที่ทาง HUBBA ได้เตรียมพร้อมและทำการบ้านมาแล้วเป็นอย่างดี
การร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจที่จะมาเสริมศักยภาพ ก็เป็นหนึ่งในแผนการรับมือที่น่าจับตามอง ในปีที่ผ่านมา HUBBA ได้ดึงพันธมิตรที่มีจุดแข็งที่แตกต่างกันมาร่วมงานและร่วมสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับ Startup ในคอมมูนิตี้โดยการเสริมทัพครั้งนี้ เกิดจากการร่วมมือระหว่างพันธมิตรที่แข็งแกร่งรวม 4 แบรนด์หลัก ได้แก่ หน่วยงานรัฐบาลอย่าง สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) พาร์ทเนอร์ระดับโลกอย่าง Google for Startup และ Techstars ซึ่งเป็น Accelerator อันดับต้นๆ ของโลกที่ปั้นสตาร์ทอัพมาแล้วกว่า 1,557 Startups รวมถึง Techsauce ผู้นำเสนอข่าวสารด้านเทคโนโลยีและธุรกิจที่ได้ร่วมงานกับ HUBBA มาตั้งแต่เริ่มต้น นอกจากนี้ยังมีบริษัทในตลาดหลักทรัพย์อีกกว่า 80 บริษัท ที่ร่วมโปรเจคกันและจะมีแผนจะร่วมงานกันอีกมากมายในปีนี้
ในการผนึกกำลังร่วมกับพันธมิตรแต่ละแบรนด์นั้น ต่างก็มีเป้าหมายและทิศทางในการร่วมมือที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นเหตุผลให้เราต้องไปค้นหาคำตอบและถอดแนวคิดที่เป็นปัจจัยในการร่วมมือกับพันธมิตรจาก ‘เอม-อมฤต เจริญพันธ์’ CEO & Co-founder HUBBA, Co-founder Techsauce.co
การร่วมมือกันในการผลักดันและขับเคลื่อน ‘Startup Ecosystem’ ในเมืองไทยครั้งนี้ ได้มีการประกาศการผนึกกำลังครั้งสำคัญระหว่าง ‘ภาครัฐ’ และ ‘ภาคเอกชน’ เพื่อร่วมกันผลักดันและพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศให้แข็งแกร่ง พร้อมยกระดับความสามารถในการแข่งกับนานาประเทศ แต่กระดานเกมการแข่งขันที่ไร้ซึ่งขอบเขตและขีดจำกัดครั้งนี้ยังได้ดึงเอา ‘พันธมิตรระดับโลก’ มาร่วมด้วย นับเป็นสัญญาณที่ดี ที่ฉุดให้กองเชียร์ขอบสนามอย่างเราๆ ต้องจับจ้องหมากรุกตัวต่อไปที่กำลังจะเดินบนเกมกระดานนี้อย่างไม่สามารถละสายตาได้เลยแม้แต่เสี้ยววินาทีเดียว
ปลายปีที่ผ่านมา แม่ทัพใหญ่จากหน่วยงานรัฐบาลอย่างสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า (DEPA) ซึ่งเป็นองค์กรแนวหน้าในการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ได้จับมือกับบริษัท ฮับบา จำกัด องค์กรที่รู้จักตลาดเมืองไทยเป็นอย่างดี มีศักยภาพและรู้วิธีการในการพัฒนาโปรแกรมให้ถูกจริตของคนไทย จัดโปรแกรมที่ชื่อ ‘Startup Battleground’ หนึ่งกิจกรรมสำคัญในงาน ‘Digital Thailand Bigbang 2018’ เพื่อเฟ้นหาสุดยอดนักสร้างสรรค์นวัตกรรมกว่า 10 อุตสหกรรมหลักของประเทศ โดยมุ่งส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล เพื่อกระตุ้นให้เกิดการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและส่งเสริมความมั่นคงของประเทศไทยให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนระดับชาติที่ว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
สำคัญไปกว่านั้น งานนี้ยังได้ดึงเอาพันธมิตรระดับโลกอย่าง Techstars ซึ่งเป็น Accelerator อันดับต้นๆ ของโลกในการปั้น Startup มาร่วมผนึกกำลังเพื่อยกมาตรฐานการจัดงาน Hackathon ที่รวมเอาผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ในแวดวง Startup ระดับโลกมาร่วมสมทบกับกูรูด้าน Startup ในเมืองไทย เพื่อเป็น Mentor ในการแข่งขันครั้งนี้ รวมกว่า 60 คน
โปรแกรมเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัลที่กระตุ้นให้เกิดการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ครั้งนี้ ถูกออกแบบร่วมกันจากทั้ง 3 ฝ่าย ก่อนที่จะตกตะกอนเป็นงาน Hackathon ที่ใหญ่ที่สุดใน Sounth East Asia ที่รวบรวมผู้แข่งขันจากทุกภูมิภาคในเมืองไทยมารวมตัวอยู่ในงานนี้ถึง 800 คน
“ตลอด 6 ปีที่ผ่านมา HUBBA ได้ร่วมงานกับ DEPA ซึ่งเป็นองค์กรแนวหน้าในการสนับสนุนและผลักดันให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิตอลในเมืองไทย แม้ว่าเราจะมีโอกาสได้ร่วมงานกันทุกปี แต่ปีนี้ถือเป็นปีแรกที่ HUBBA ได้รับโอกาสจากทาง DEPA กับโจทย์ที่ยากขึ้นเพื่อร่วมพัฒนาโปรแกรมสนับสนุนวิสัยทัศน์ของ DEPA ในการผลักดันประเทศไทยเข้าสู่ยุค Thailand 4.0
ในขณะที่เราเปิดเวทีให้ผู้มีไอเดียได้แสดงความสามารถอย่างเต็มที่ ทางฝั่ง HUBBA เองก็มีโอกาสได้แสดงศักยภาพอย่างเต็มรูปแบบด้วยเช่นกัน ซึ่งที่ผ่านมาเราได้เรียนรู้ว่าการทำงานกับรัฐบาลนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย การทำงานร่วมกับ DEPA ซึ่งเป็นองค์กรที่มีทั้งความน่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับของสังคมนั้น ทำให้เราต้องทำการบ้านหนักกว่าเดิม ครั้งนี้ เราได้ดึงผู้เชี่ยวชาญอย่าง Techstars ที่พร้อมที่จะทำงานร่วมกับรัฐบาลไทยเข้ามาร่วมกันพัฒนาและออกแบบโปรแกรม รวมถึงสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับการแข่งขันครั้งนี้เพื่อที่จะสร้างผู้เล่นในประเทศให้มีศักยภาพในการแข่งขันกับนานาชาติได้” - ‘เอม อมฤต’ กล่าว
ไม่เพียงแค่งานใหญ่อย่าง Startup Battleground ที่ HUBBA กับ DEPA ได้จับมือกัน แต่เพื่อสานต่อการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล กระตุ้นให้เกิดการนำเทคโนโลยีดิจิทัล ทั้งสองหน่วยงานนี้ยังได้ร่วมมือกันอย่างต่อเนื่องและดึงพันธมิตรอย่าง Techsauce ผู้นำผู้นำเสนอคอนเทนต์เพื่อวงการเทคโนโลยีในโลกธุรกิจ มาร่วมกันจัดโครงการ ‘DEPA Accelerator’ ด้วย
การจับมือข้ามองค์กรของทั้งสองฝั่ง ทั้งจาก ‘รัฐบาล’ และ ‘เอกชน’ ในครั้งนี้ นับเป็นการผนึกกำลังกันครั้งแรกในวงการเทคโนโลยีและนวัตกรรมไทย ซึ่งเราเชื่อเหลือเกินว่า เร็วๆ นี้จะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจในทิศทางที่ดีขึ้นและคงได้เวทีใหม่ๆ ที่เปิดโอกาสให้กับนักนวัตกรรมไทยได้แสดงศักยภาพ ‘นักรบเศรษฐกิจใหม่’ คนต่อไปได้มีบทบาทในการพัฒนาประเทศด้วย!
ใน ‘การผนึกกำลัง’ ของแต่ละองค์กร แต่ละแบรนด์นั้น ไม่เพียงเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจเท่านั้น ช่วงที่ผ่านมา มีหลากหลายองค์กรที่ผุดแนวคิดเพื่อการดำเนินธุรกิจที่ใกล้เคียงกัน ร่วมใจกันในการขับเคลื่อนสังคมให้ไปสู่สิ่งที่ดีกว่าในรูปแบบที่สร้างสรรค์กว่าเดิม
ในปีที่ผ่านมา เราจะเห็นการร่วมมือขององค์กรต่างๆ ที่ดำเนินธุรกิจภายใต้แนวคิดเดียวกัน หันหน้าเข้ามาจับมือกันสร้างการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ให้กับกับสังคมมากขึ้น อย่างเช่นหลายยักษ์ใหญ่ระดับโลกที่ขยายเครือข่ายเข้ามาในเมืองไทยและจับมือกับองค์ต่างๆ ในประเทศไทยเพื่อการดำเนินธุรกิจเป็นมิตรต่อสังคม อย่างในช่วงปลายปีที่ผ่านมา Google เว็บไซต์ที่ให้บริการในการค้นหาข้อมูลในโลกของอินเตอร์เน็ตได้จับมือกับ Youtube เว็บไซต์ผู้ห้บริการแลกเปลี่ยนภาพวิดีโอระหว่างผู้ใช้งาน เปิดตัว YouTube Pop-Up Space เพื่อสนับสนุนให้ผู้ผลิตเนื้อหาวีดีโอชาวไทยได้เข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกและเทคโนโลยีเพื่อการผลิตเนื้อหาวีดีโอที่สะดวกและทันสมัยขึ้น นอกจากนี้ยังได้จับมือกับ AIS องค์กรในประเทศซึ่งเป็นผู้ให้บริการเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเปิดตัวแอปพลิเคชัน ‘YouTube GO’ ภายใต้เป้าหมายในการสร้างการเรียนรู้อย่างไร้ขอบเขตเพื่อกระตุ้นแรงบันดาลใจจาก Content จำนวนมหาศาลที่ถูกสร้างสรรค์จากกลุ่มคนทั่วโลกในทุกๆ วินาที เพื่อให้กลุ่มผู้ใช้งานในต่างจังหวัดและพื้นที่ห่างไกลได้ใช้งาน Data เหล่านี้ผ่านสมาร์ทโฟนรุ่นที่ประหยัดกว่าแต่มี Feature ที่สร้างสรรค์กว่า
เช่นเดียวกับ Techstars ที่ขยายเครือข่ายเข้ามาในเมืองไทย โดยได้เข้ามาจับมือกับ HUBBA และร่วมงานกันภายใต้เชื่อเดียวกันที่เชื่อใน ‘ปรัชญาแห่งการให้’
ซึ่ง Techsเป็น VC และ Accelerator ที่มีเครือข่ายอยู่ทั่วโลกที่ถูกจัดอันดับให้เป็น Platinum Level Accelerator จาก Seed Accelerator Ranking ล่าสุดในปีที่ผ่านมายังได้รับการจัดอันดับให้เป็น Accelerator ที่มีจำนวนสตาร์ทอัพที่ได้รับการระดมทุนมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก โดยมีจำนวนรวมของ Startup ที่ได้รับการระดมทุนถึง 1,557 บริษัท และสตาร์ทอัพที่ถูกซื้อกิจกรรมไปแล้ว 134 บริษัทด้วย
“จุดเชื่อมที่ทำให้ HUBBA ได้ร่วมงานกับ Techstars อย่างใกล้ชิดมาโดยตลอดคือ ‘ความเชื่อ’ รวมถึง ‘แรงบันดาลใจ’ ที่ HUBBA ได้รับจาก Techstars มาโดยตลอด
เราต่างเชื่อในพลังของคอมมูนิตี้และพลังแห่งการให้ หรือที่ Techstars ใช้ปรัชญา #Givefirst เป็นตัวกลางในการสร้างเครือข่ายทั่วโลก ซึ่งแปลความหมายตรงตัว คือการให้ก่อนที่เริ่มสร้างความสัมพันธ์จากการให้ความช่วยแก่ Startup และผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นเสมือนการส่งคนกลุ่มนี้ไปถึงฝั่งฝันนั่นเอง
หากพูดกันตามหลักการพุทธ ความเชื่อที่เรามีร่วมกันคือ ‘การสร้างกัลยาณมิตร’ ผมเชื่อว่า การที่วงการของ Startup แต่ละเมือง แต่ละประเทศจะแข็งแกร่งได้ ขึ้นอยู่ที่ว่าคนในสังคมนั้นอยากใช้ชีวิตและอยู่ในสังคมแบบไหน ถ้าเขาอยากอยู่ในสังคมที่มีโอบล้อมไปด้วยมิตรภาพ คนในสังคมนั้นก็จะพยายามช่วยเหลือกัน ผลัดกันเป็น ‘ผู้ให้’ และ ’ผู้รับ’ เมื่อสังคมนั้นสร้าง momentum แบบนี้ได้แล้ว กลุ่มคนในสังคมนั้นก็จะมีประสบการณ์ที่ดีจากการได้แลกเปลี่ยนและช่วยเหลือกัน” ‘เอม - อมฤต’ กล่าว
การจับมือกันในรูปแบบของ ‘กัลยาณมิตร’ ที่ทั้งสองฝ่ายต่างก็สลับกันเป็นทั้งผู้ให้-ผู้รับ รวมไปถึงการส่งต่อแรงบันดาลใจให้แก่กัน อย่าง HUBBA และ Techstars ก็นับเป็นอีกหนึ่งกรณีศึกษา ซึ่งล้วนแล้วแต่เกิดจากการที่ทั้งสองฝ่ายต่างก็มีวิสัยทัศน์และเป้าหมายการทำธุรกิจที่ใกล้เคียงกัน ในทางตรงข้ามหากต่างฝ่ายต่างอยากเดินไปคนละทาง ก็คงไม่มีประโยชน์เลยที่จะดำเนินการทางธุรกิจร่วมกัน
ทั้งนี้ เป้าหมายที่ HUBBA ร่วมมือกับ Techstars ก็เพื่อมุ่งสร้าง Startup Ecosystem ให้เกิดขึ้นในเมืองไทยและเชื่อมโยงกับเครือข่ายของ Techstars ที่มีอยู่ทั่วโลก โดย HUBBA เองก็ใช้วิธีในการการสร้าง Startup Ecosystem ในคอมมูนิตี้ผ่านการจัดกิจกรรมในรูปแบบที่แตกต่างกันไป อย่างเช่นในช่วงปีที่ผ่านมาได้เอารูปแบบการจัดงาน Tech Festival ของ Techstars ที่ชื่อ ‘Thailand Startup Week’ โดยเมืองไทยเป็น 1 ใน 3 ประเทศในเอเซียที่ใช้รูปแบบการจัดงานนี้ ซึ่งเป็นเทศกาลที่จัดสัมนาและ Workshop รวมกว่า 60 กิจกรรมกับ 60 หัวข้อ ที่กินระยะเวลากว่า 5 วัน งานนี้ยังมีผู้เชี่ยวชาญในวงการเทคโนโลยีและ Startup สมัครใจและสละเวลาเข้ามาแบ่งประสบการณ์และความรู้ รวมกว่า 60 คนด้วย
อย่างที่ได้ให้ข้อมูลไปแล้วข้างต้นว่าในช่วงปลายปีที่ผ่านมา HUBBA จับมือกับ Techstars ในฐานะ Accelerator ระดับโลกและได้ผนึกกำลังร่วมกับ DEPA จัดงานกิจกรรม Startup Battleground การร่วมมือกันในครั้งนี้ นับเป็นการจับมือกับพันธมิตรระดับสากลที่นำมาซึ่งการดึงเอา Mentor ในเครือข่ายของ Techstars จากนานาประเทศ อย่างเช่น ออสเตรเลีย มองโกเลีย อินเดีย ใต้หวัน มาเลเซีย สิงคโปร์และจีน เพื่อเข้ามาสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับผู้ร่วมงานให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกับ Techstars นับเป็นหนึ่งเป้าหมายของ HUBBA ในการร่วมมือกับ DEPA และ Techstars เพื่อผลักดันและขับเคลื่อน Startup Ecosystem ในเมืองไทยเพื่อสร้างมาตรฐานใหม่ในการจัดงาน Hackathon เฉกเช่นกับหลายๆ องค์กรที่ร่วมกันผลักดันเพื่อสร้างการเปลียนแปลงให้กับสังคม ให้ไปสู่สิ่งที่ดีกว่า ซึ่งเราก็หวังว่าต่อจากนี้การดำเนินธุรกิจจะไม่เป็นเพียงแข่งขันกันเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจเท่านั้น แต่ยังอยากเห็นการร่วมมือกันเพื่อขับเคลื่อนไปสู่เพื่อสิ่งที่ดีกว่า
ปลายปี 2017 ที่ผ่านมา ทาง Google for Startup หรือชื่อเดิม Google for Entrepreneurs ได้ประกาศเป็นพันธมิตรกับ HUBBA อย่างเป็นทางการ การเป็นพันธมิตรครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อสนับสนุนผู้ใช้งาน Co-working space สตาร์ทอัพและผู้ประกอบการที่อยู่ภายใต้คอมมูนิตี้ของ HUBBA
การผนึกกำลังกับเจ้าใหญ่ในวงการเทคโนโลยีที่มีเครือข่ายอยู่ทั่วโลกอย่างเช่น Google ในครั้งนี้ ถือเป็นผลจากการทำงานหนักของ HUBBA อีกเช่นกัน ที่อาจจะเรียกได้ว่าผลงานที่ผ่านมาสะท้อนให้เห็นถึงความตั้งใจในการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการและ Startup ไทยอย่างจริงจัง Google จึงได้เข้ามาสนับสนุน HUBBA ในส่วนของ Co-working space Operator และ Community Builder ให้ขยายกิจการได้อย่างยั่งยืน เพื่อส่งเสริมให้ Co-working space และคอมมูนิตี้ของ HUBBA แข็งแกร่งขึ้นกว่าเดิม
การลงนามเพื่อเป็นพันธมิตรระหว่าง HUBBA และ Google For Startups นอกจากจะมุ่งช่วยเหลือสตาร์ทอัพไทยผ่านโปรแกรม Google Launchpad Accelerator ที่ร่วมกับ HUBBA ในการจัดโปรแกรมอบรมสำหรับสตาร์ทอัพเป็นเวลา 6 เดือนแล้ว สมาชิกของ HUBBA เองยังจะถูกเชื่อมโยงเข้ากับคอมมูนิตี้และ Co-working space อื่นๆ ภายใต้ Google Campus ทั้ง 53 HUB ทั่วโลก รวมไปถึงการเชื่อมโยงกับพันธมิตรและเครือข่ายระดับโลก ที่จะเปิดโอกาสให้ Startup และผู้ประกอบการไทยภายใต้ HUBBA ได้ใช้ทรัพยากรด้านต่างๆ ของ Google อย่างไร้ขีดจำกัด และยังได้สิทธิประโยชน์อื่นๆ อย่างเช่น
นอกจากการร่วมมือกับทาง HUBBA แล้ว ในปี 2018 ที่ผ่านมา Google ยังได้จับมือกับองค์กรชั้นนำในเมืองไทยอีกหลายองค์กร ซึ่งมีพันธกิจที่แตกต่างกันไป โดย Google ได้ประกาศการร่วมมือกับพันธมิตรต่างๆ ในแต่ละพันธกิจ ในงาน ‘Google for Thailand’ เมื่อกลางปีที่ผ่านมา ได้ประกาศถึงเป้าหมายในการจับมือครั้งนี้ว่ามีความมุ่งมั่นในการช่วยคนไทยและภาคธุรกิจของไทยให้มีโอกาสในการเข้าถึงเครื่องมือในการพัฒนาธุรกิจในยุคดิจิตอลและร่วมผลักดันการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิตอลของเมืองไทย
องค์กรชั้นนำของไทยที่ร่วมผนึกกำลังกับทาง Google ภายใต้วิสัยทัศน์และเป้าหมายเดียวกันในครั้งนี้ เช่น CAT ได้เข้าร่วมในโครงการ Google Station เพื่อให้บริการ Wi-Fi ความเร็วสูงในพื้นที่สาธารณะ และ AIS ที่จับมือเปิดตัวแอปพลิเคชัน ‘YouTube GO’ เพื่อช่วยให้คนไทยได้เข้าถึงเนื้อหาวีดีโอที่สร้างสรรค์ นอกจากนี้ Google ยังได้ประกาศการร่วมมือกับธนาคารไทยพาณิชย์เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ให้ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อมด้วย
เมื่อ ‘การผนึกกำลัง’ ที่เรากำลังพูดถืงคือการร่วมมือกันโดยเอาจุดแข็ง เอาความเชี่ยวชาญที่แตกต่างกันของแต่ละฝ่ายมาเสริมทัพเพื่อสร้างศักยภาพที่ดีกว่าในดำเนินธุรกิจให้แข็งแกร่งกว่าเดิม
HUBBA และ Techsuace ได้ดำเนินธุรกิจในรูปแบบบริษัทพี่น้อง โดยผู้ก่อตั้งทั้งสององค์กรนี้ได้ทำงานร่วมกันอย่างแน่นแฟ้น ภายใต้ความเชื่อ วิสัยทัศน์และเป้าหมายเดียวกัน
“การจับมือกับ Techsuace นับเป็นการร่วมมือที่ลงตัวมากๆ การที่ได้รวมเอาทั้ง 2 องค์กรที่เชี่ยวชาญกันคนละด้านมาร่วมกันทำในสิ่งที่ทุกคนอาจจะคิดว่าเป็นไปไม่ได้ แต่เราก็ทำให้มันเกิดขึ้น ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนกับวงการธุรกิจในเมืองไทย
เรามีความมุ่งมั่นในการทำงานร่วมกันเพื่อสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับวงการธุรกิจและเทคโนโลยี รวมถึงต้องการสร้างแวดล้อมที่ดีในการทำธุรกิจให้เกิดขึ้นในเมืองไทย จึงได้จับมือกันจัดงาน Tech Conference ขึ้นมา เพื่อเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงและสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับคนในคอมมูนิตี้ รวมถึงดึงผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลกมารวมกันในงานนี้ ภายใต้ชื่องาน Techsuace Global Summit โดย HUBBA ได้ผนึกกำลังความสามารถในการจัดอีเวนต์และความเป็นผู้เชี่ยวชาญในการสร้างประสบการณ์ที่แตกต่างให้กับผู้ร่วมงาน ที่เข้าใจความต้องการของ Startup แล้วก็เสริมทัพกับทีมงาน Techsauce ผู้นำเสนอคอนเทนต์ด้านธุรกิจและเทคโนโลยีที่มีศักยภาพ เพื่อสร้าง Tech Confernece ร่วมกัน ภายใต้ความใส่ใจและความตั้งใจที่อยากจัดงานที่ดีที่สุดให้เกิดขึ้นในประเทศไทย ที่หลายๆ คนอาจจะคิดว่าเป็นแบรนด์จากต่างประเทศ” - ‘เอม - อมฤต’ กล่าว
Techsuace Global Summit ที่กล่าวถึงนี้ นับเป็นงาน Tech Conference ที่ทาง HUBBA จับมือกับ Techsuace จัดขึ้นในทุกปี โดยเริ่มขึ้นครั้งแรกในปี 2012 จากงานเล็กๆ ที่มีผู้ร่วมงาน 100 คนจนในปีล่าสุดมีจำนวนผู้ร่วมงานมากถึง 10,000 คนจากทั่วโลก และดึงกว่า 300 ผู้เชี่ยวชาญในวงการเทคโนโลยีระดับโลก มาแชร์ประสบการณ์บนเวทีแห่งนี้
งาน Techsuace Global Summit ภายใต้การร่วมมือกันของ HUBBA และ Techsauce เริ่มได้รับการยอมรับจาก 3 ปีทีผ่านมาว่าเป็นงานที่เป็นงาน Tech Conference ที่มีคุณภาพอันดับต้นๆ ในเอเชีย ซึ่งปีนี้ Techsuace Global Summit 2019 จะถูกจัดขึ้นระหว่างวันที่ 19 - 20 มิถุนายน โดยจะมีเนื้อหาที่เข้มข้นกว่าเดิมจากวิทยากรระดับโลกที่หลากหลายกว่าเดิม ภายใต้พื้นที่จัดงานที่ใหญ่กว่าเดิม เพื่อรองรับจำนวนผู้ร่วมงานที่คาดว่าจะมากกว่าเดิมอีกเท่าตัว โดยเปิดจำหน่ายบัตรแล้ว ที่นี่ https://summit.techsauce.co
ในการร่วมมือและผนึกกำลังกันของทุกภาคส่วน ภายใต้ความเชื่อเดียวกันแต่ต่างเป้าหมาย เราเชื่อเหลือเกินว่า นี่คือจุดเริ่มต้นในการส่งเสริมสภาพแวดล้อมการทำธรุกิจที่จะเอื้อประโยชน์ต่อผู้เล่นในวงการนี้ในอนาคตได้อย่างแน่นอน
เชื่อว่าอนาคตอันใกล้นี้ ‘ประเทศไทย’ จะไม่ใช่แค่ ‘ทางผ่าน’ ในการทำธุรกิจอีกต่อไป เมื่อ ‘ภาครัฐ’ เข้ามามีบทบาทร่วมกับ ‘เอกชน’ ในการขับเคลื่อนการสร้าง ‘Startup Ecosystem’ และปี 2019 นี้ อาจเป็นปีที่เราจะต้องจับตามองหมากรุกตัวที่กำลังจะเดินต่อ บนเกมกระดานธุรกิจนี้แบบที่ไม่สามารถ ‘ลด’ และ ‘ละสายตา’ ได้เลยแม้แต่เสี้ยววินาที
ARTHITTAYA BOONYARAT : Full-time Community Builder, part-time Podcasting
อ้างอิง: https://www.forbes.com/ http://www.techstars.com/companies/ http://www.depa.or.th/
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด