คุยกับอาจารย์รัฐศาสตร์ มธ. ครั้งแรกกับการย้ายห้องเรียนขึ้นสู่ออนไลน์ รับ Social distancing | Techsauce

คุยกับอาจารย์รัฐศาสตร์ มธ. ครั้งแรกกับการย้ายห้องเรียนขึ้นสู่ออนไลน์ รับ Social distancing

หลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบให้ประกาศปิดสถานศึกษาทุกประเภท และสถานบริการทุกประเภทเป็นเวลา 14 วัน นับตั้งแต่ 18 มีนาคม ไปจนถึง 31 มีนาคม 2563 จึงทำให้การเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยและโรงเรียนหลายแห่งอาจต้องหยุดชะงักไป 

ในช่วงวิกฤตแบบนี้ จึงเป็นโอกาสสำหรับสถานศึกษาที่จะทดลองการเรียนการสอนออนไลน์อย่างจริงจังและกว้างขวางมากขึ้น การสอนออนไลน์กลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำคัญที่ช่วยให้อาจารย์และนักศึกษาสามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ อีกทั้งช่วยประหยัดเวลาการเดินทาง และประหยัดค่าใช้จ่าย รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงจากโรคระบาด 

อย่างไรก็ตาม การสอนออนไลน์จำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์และการเตรียมตัวไม่ใช่น้อย ทั้งมหาวิทยาลัยและตัวอาจารย์เองที่ต้องศึกษาวิธีการใช้ tools ต่าง ๆ ไม่รวมถึงความท้าทายสำหรับอาจารย์บางท่านที่อาจไม่คุ้นเคยกับการใช้อุปกรณ์ดิจิทัล และการกระตุ้นให้นักศึกษามีส่วนร่วมในชั้นเรียน

ในบทความนี้ Techsauce ได้พูดคุยกับ อ.ดร. พีระ เจริญวัฒนนุกูล หนึ่งในอาจารย์ของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถึงตัวอย่างของการปรับตัวจากรั้วมหาวิทยาลัยอันดับต้นของประเทศ ในการขับเคลื่อนการเรียนการสอนให้ก้าวต่อไปอย่างปกติในช่วงวิกฤตครั้งนี้ 

ปกติที่คณะมีการสอนออนไลน์ควบคู่อยู่แล้วไหม ?

ไม่เคยมีเลย นี้ถือเป็นครั้งแรกที่มีการยกการสอนเข้าสู่ออนไลน์ จึงเป็นเรื่องใหม่สำหรับคณะ

ทางคณะได้ดูสถานการณ์และมีการเตรียมตัวตั้งแต่เมื่อไหร่ ?

ผู้บริหารคณะรัฐศาสตร์ มีการเตรียมตัวตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์ ที่เริ่มมีเรื่องโรคระบาดอู่ฮั่นแรก ๆ มีการเตรียมแผนฉุกเฉินให้เตรียมการเรียนการสอนทั้งหมดผ่านออนไลน์ ซึ่งตอนแรกไม่คิดว่าจะเร็วขนาดนี้ ทำให้พอมีประกาศปิดมหาวิทยาลัย ก็สามารถสอนต่อได้ทันทีจากการเตรียมการล่วงหน้า ส่วนคณะอื่นๆ ทางมหาวิทยาลัยได้ประกาศให้เริ่มต้นอาทิตย์หน้า 

เตรียมตัวอย่างไรและใช้ Tools อะไรบ้าง ?

เริ่มแรกก็มีการพูดถึงความเป็นไปได้ถึง worst-case ที่มีการประกาศปิดเมือง หรือปิดมหาวิทยาลัย แบบที่เพิ่งมีประกาศไป การเรียนการสอนออนไลน์ก็ต้องนำมาใช้ โดยผู้บริหารคณะได้ลองศึกษาว่าจะนำแพลตฟอร์มไหนมาใช้บ้าง 

Tools อันแรกที่ใช้คือ Microsoft Teams ที่เป็นแพลตฟอร์มให้เราจัด Webinar ซึ่งอาจารย์สามารถบรรยายไป แล้วนักศึกษาก็เข้ามาฟัง โดยการเปิดกล้องฟังและสามารถโต้ตอบหรือมี interaction กันสดๆ ได้เลย 

อีกแพลตฟอร์มที่ใช้ คือ Zoom ซึ่งใช้ง่ายกว่า นักศึกษาสามารถนำรหัสเข้าห้องมาเพื่อนั่งเรียนออนไลน์ได้

นอกจากนี้ก็มีใช้ Google Classroom ที่เอาไว้โพสต์ข่าวสารภายในคลาสที่สอน 

สำหรับอาจารย์บางท่านที่ไม่คุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยี ทางมหาวิทยาลัยมีการช่วยเตรียมตัวอย่างไร ?

ในระดับคณะรัฐศาสตร์ มีการเตรียมการสำหรับอาจารย์ที่มีอายุหรือท่านที่ไม่คุ้นกับการใช้เทคโนโลยี โดยให้อาจารย์เดินทางมาที่คณะ แล้วจะมีทีม IT Support ช่วยจัดการเรื่องการ Live สอนและแนะนำวิธีใช้ให้เลย ส่วนเด็กนักศึกษาไม่ต้องเดินทางมา 

ซึ่งการเตรียมตัวลักษณะนี้ก็ทำให้เกิดความเชื่อมต่อ แม้มีการประกาศปิดมหาวิทยาลัยก็ไม่ต้องกังวลอะไรเพราะสามารถเรียนสอนได้ตามปกติ 

พอปรับการสอนมาเป็นออนไลน์ ทำให้นักศึกษาเข้าเรียนตามปกติยากไหม ?

ก่อนหน้านี้เรายังไม่เคยทดสอบมาก่อนว่าเด็กจะโดดเรียนไหม แต่ในแง่ของการเช็ครายชื่อมันเช็คได้ง่ายกว่า เพราะว่าดูได้เลยว่ามีใครเข้ามาบ้าง ดังนั้นถ้าจะใช้มาตรการเช็คชื่อนี้ก็สามารถทำได้

แต่ในสถานการณ์ที่มีเชื้อไวรัสและมี Social distancing เป็นนโยบายหลักแบบนี้ คิดว่านักศึกษาน่าจะชอบและพอใจมากกว่าที่ไม่ต้องเดินทางผ่านรถติด แค่อยู่บ้านก็ฟัง lecture ได้ ซึ่งเวลาเรียนก็ควรจะเปิดกล้องเพื่อเป็นการ identify ตัวตนและป้องกันคนนอกมานั่งเรียนด้วย 

การสอนออนไลน์ให้ประสิทธิผลขนาดไหนเมื่อเทียบกับการสอนในห้องเรียน ? 

จากมุมมองของการเรียนการสอนแบบคณะรัฐศาสตร์ที่ต้องมีการตั้งคำถามกับเด็ก ประสิทธิผลที่ได้มันอาจจะต่ำลงเล็กน้อย เพราะมันทำให้นักศึกษาตอบคำถามเรายากมากขึ้น ปกติถ้าเป็นบรรยากาศการสอนในห้องเรียนก็เดินเข้าไปถามได้ ว่าคิดอย่างไรกับเรื่องนี้ แต่พอเป็น Live ก็อาจจะยากกว่า บางทีนักเรียนอาจมีความเห็นแต่ไม่อยากตอบก็เป็นไปได้ 

เพราะโดยธรรมชาติของนักศึกษาไทยก็จะไม่ค่อยกล้าโต้ตอบกับผู้สอนอยู่แล้ว พอเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ยิ่งบังคับยาก ส่วนตัวจึงมองว่าการสอนออนไลน์ เหมาะเป็นมาตรการชั่วคราวในช่วงที่มีวิกฤตมากกว่า  

สถานการณ์การระบาดของไวรัส COVID-19 เปรียบเสมือนการบังคับให้ทั้งภาคการศึกษาและภาคธุรกิจต่างๆ ต้องปรับตัวกันอย่างรุนแรง ซึ่งนี่อาจเป็นโอกาสให้เราได้เห็น business model และ innovation ใหม่ๆ เกิดขึ้นตามมาหลังจากนี้ 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Founder Model วิถีผู้นำแบบ Brian Chesky CEO เบื้องหลังความสำเร็จของ Airbnb

Founder Mode เป็นแนวทางการบริหารที่กำลังได้รับความสนใจในวงการสตาร์ทอัพ โดยแนวคิดนี้ได้รับการพูดถึงอย่างกว้างขวางจาก Brian Chesky, CEO ผู้พา Airbnb เติบโตจนกลายเป็นธุรกิจระดับโลก ด้...

Responsive image

ไขความลับ Growth Hacking: บทเรียนจาก Spotify สู่ธุรกิจยุคใหม่

ในโลกธุรกิจที่การแข่งขันดุเดือดและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเติบโตอย่างรวดเร็วและยั่งยืนคือสิ่งที่ทุกธุรกิจต่างใฝ่ฝัน Growth Hacking กลายเป็นกุญแจสำคัญที่ไขประตูสู่ความสำเร็จ ด้วย...

Responsive image

เปิดปรัชญาแห่งความเป็นผู้นำของ Steve Jobs

Steve Jobs ผู้ร่วมก่อตั้ง Apple ที่โด่งดัง อาจไม่ใช่เจ้านายในฝันของใครหลายคน แต่ปรัชญาการบริหารของเขาพิสูจน์แล้วว่าทรงพลังและนำไปสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ คำพูดที่สะท้อนแนวคิดนี้ได้...