AIS the StartUP ผู้ชนะเลิศ Rice Bowl Startup Awards ปี 2018

8 ปีในบทบาท Startup Ecosystem Builder ไทยเราขาดอะไร ควรเสริมอะไร มุมมองจาก AIS the StartUP ผู้ชนะเลิศ Rice Bowl Startup Awards ปี 2018

รางวัล Asean Startup Awards ที่จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปีโดย Rice Bowl เป็นการคัดเลือกตัวแทนจากแต่ละประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในหมวดต่างๆ พึ่งประกาศผลผู้ชนะเลิศระดับภูมิภาคไป และข่าวดีคือ ตัวแทนประเทศไทยอย่าง AIS the StartUP คือผู้ชนะเลิศในระดับภูมิภาคนี้ด้วย โดยคว้าไปถึง 2 รางวัลด้วยกันคือ Best Accelerator or Incubator Program 2018 และ People's Choice 2018 เราไปพูดคุยกับ ดร.ศรีหทัย พราหมณี ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จครั้งนี้ และในฐานะของ Startup Community Builder ที่สนับสนุนวงการ Startup มากว่า 8 ปีนั้น (ถ้าใครยังจำกันได้ตั้งแต่ปี 2011 ที่มีการจัดแข่งขัน AIS Startup Weekend ซึ่งน่าจะเป็นการแข่งขันแรกๆ ของประเทศไทยเลยทีเดียว) พวกเขามองเห็นการเติบโตและเปลี่ยนแปลงของ Ecosystem บ้านเราเป็นไปอย่างไรบ้าง เมื่อเทียบกับเพื่อนบ้านอื่นๆ

ในฐานะที่เป็นหนึ่งใน Startup Community Builder และเห็นความเปลี่ยนแปลงใน Startup เราเริ่มสร้าง Community อย่างไร และมีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้ประสบความสำเร็จ

ย้อนกลับไปปี 2011-2012 ตอนที่ Startup ยังไม่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายหรือยังไม่เป็นที่ยอมรับในประเทศไทยแบบตอนนี้ วิธีริ่เริ่มคือ เราต้องเริ่มจากการมีวิสัยทัศน์ก่อนว่า ประเทศไทยในอีก 10 ปีข้างหน้าหรือที่เราอยากเห็นในระยะยาวจะเป็นอย่างไร และเราต้องไม่รอให้มันถึงเวลานั้นแต่เราต้องเริ่มสร้างใหม่ตั้งแต่ต้น

เช่น ในปี 2012-2013 ที่พวกเราเริ่มสร้างกันขึ้นมา ประเทศไทยในอีก 10 ปีข้างหน้าหรือในอีกไม่กี่ปีจะต้องถูกขับเคลื่อนด้วย Digital Economy เมื่อโลกเปลี่ยน ประเทศไทยเองก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงด้วย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ต้องช่วยกันทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐบาล ภาคเอกชน หรือแม้แต่ภาคส่วนเล็กๆ ก็ตาม นั่นคือแต่ละคนที่เป็นประชาชนคนไทย จากวันนั้นที่เรามองเห็นว่าวันหนึ่งประเทศไทยจะต้องเปลี่ยนแปลง แต่ใครจะเป็นคนแรกที่ลุกขึ้นมาแล้วทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ และกล้าพอที่จะออกมาบอกว่ามันมีคำว่า Startup อยู่บนโลกนี้

โดยครั้งนั้นก็เป็นจุดเริ่มต้นว่าถ้ายังไม่มี เราจำเป็นที่จะต้องให้การศึกษากับตลาดว่ามันมีกลุ่มนักธุรกิจกลุ่มหนึ่งที่เราเรียกกันว่า Startup ที่เขามีแนวคิดในการทำธุรกิจเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ และนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ ซึ่งเมื่อมันเป็นจุดเริ่มต้นของวิสัยทัศน์ที่เรามองข้างหน้า เราก็กลับมาดูว่าถ้าเราจะทำให้มันเกิด คนที่จะลุกมาเป็นคนแรกจะเป็นใคร วันนั้นเราก็มองเห็นว่าเราเองก็มีความพร้อม เพราะเรามีวิสัยทัศน์ อีกอย่างคือเรามี Execution Plan ที่ชัดเจนระดับนึงว่าเราจะทำมันอย่างไร จากทั้งหมดนี้เราก็ลุกขึ้นมาบอกกับตลาดว่าเรามีเรื่องของ Startup เกิดขึ้น แต่ตอนนั้นเราทำในรูปแบบของกิจกรรม ด้วยเหตุผลที่ว่าเราต้องการสร้างการรับรู้ในเรื่องของ Startup ในวันแรกที่เริ่มทำมันยากแน่นอน ฉะนั้นปัจจัยที่จะทำให้เกิดความสำเร็จจึงต้องมีแน่นอน

ในฐานะ  community Builder เราจะต้องมีปัจจัยที่สำคัญเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จและต้องสำเร็จในระยะยาว

ปัจจัยแรกคือ การเข้าใจในสิ่งที่เราจะทำ เพราะก่อนที่เราจะไปบอกคนอื่นว่าstartupคืออะไร เราจำเป็นต้องรู้และเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าstartupมันคืออะไร ฉะนั้นสิ่งที่เราต้องทำคือไปศึกษาจากต่างประเทศ เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในสิ่งที่เราจะทำ

ปัจจัยที่สองคือ เราต้องให้ใจในสิ่งที่เราทำ เพราะถ้าให้ใจแล้วเราจะไปศึกษามันอย่างจริงจังเพื่อให้รู้ว่าสิ่งที่เราเข้าใจมันทำได้จริงหรือไม่ เมื่อเราศึกษาแล้วเราจะรู้ว่าทฤษฎีหลายๆ อย่างที่เราศึกษามาจากต่างประเทศ เมื่อนำมาใช้ในเมืองไทยแล้วกลับไม่สามารถนำมาใช้ได้จริงๆ มันจะต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับพฤติกรรมของคนไทย

ปัจจัยที่สามคือ เราจะต้องใส่ใจอย่างสม่ำเสมอ ถ้าการที่เราสามารถเริ่มทำแบบนรี้มาได้ 5-6 ปี ทุกๆ ช่วงเวลาเราจะต้องมีการศึกษาดูว่าสิ่งที่เรากำลังทำอยู่มันเพียงพอไหม ซึ่งในตอนนี้มันอาจจะเพียงพอ แต่ในอนาคตเราไม่รู้ มันอาจจะไม่เพียงพอก็ได้ หรือสิ่งที่เราเคยทำในอดีตเราก็คิดว่ามันดีที่สุดแล้ว แต่มันไม่ใช่ เพราในปัจจุบันมันอาจจะต้องปรับปรุงให้ดีขึ้น

มุมมองของ Startup community ในไทย ดร.อร คิดว่ายังขาดอะไรบ้าง

Startup community เราโตขึ้นและเป็นที่น่ายินดีที่โตขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทุกคนกระโดดเข้ามาช่วยเหลือกัน แต่สิ่งที่ขาดคือความเชื่อมโยงในแต่ละภาคส่วน ซึ่งเราอาจจะสามารถพัฒนาให้ดีขึ้นกว่านี้ ในความเชื่อมโยงนี้ไม่ใช่แค่ความเชื่อมโยงในภาครัฐ ภาคเอกชน แต่รวมไปถึงความเชื่อมโยงในแต่ละอุตสาหกรรมด้วย เช่น Startup รายหนึ่งทำเทคโนโลยีขึ้นมา ซึ่งการเชื่อมโยงของ Startup รายนี้เป็นในเชิงให้ทำ Business ขึ้นมา แต่เทคโนโลยีของเขาจริงๆ ยังสามารถเป็นประโยชน์ให้กลุ่มลูกค้าบางกลุ่มได้ ในขณะเดียวกันมันก็จะมีคนอีกกลุ่มที่เขาจะมี Ecosystem ของอุตสาหกรรมนั้นๆ ยกตัวอย่าง เราสนับสนุนstartup สายเกษตร ซึ่งถือว่าเป็น Mission ที่ดีเลยเพราะเมืองไทยก็เป็นประเทศเกษตร Startup ก็ทำเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อมาให้กับกลุ่มเกษตรกร แต่ก็จะมีอีกกลุ่มที่เขาสนับสนุนทางเกษตรกรอยู่แล้ว ถ้าเราสามารถทำทั้งสองกลุ่มนี้ให้มาเชื่อมโยงซึ่งกันและกันได้ มันก็จะสามารถทำให้เทคโนโลยีของstartupเข้าถึงผู้ใช้งานในอุตสาหกรรมอื่นๆ ได้ยิ่งขึ้น กรณีนี้เห็นได้ชัดเจนเลยว่ากลุ่มหนึ่งเขามองหาเทคโนโลยี และอีกกลุ่มเขามองหาผู้ใช้งาน เพียงแต่ว่า Ecosystem ของทั้งสองมันยังแยกกันอยู่ แต่ละ Ecosystem มีการรวมตัวกันที่แข็งแรงแต่เราจะทำอย่างไรให้ทั้งสอง Ecosystem มารวมกันได้ มันจะทำให้ประเทศไทยสามารถก้าวขึ้นไปได้เยอะขึ้น

รู้สึกอย่างไรที่ได้รับรางวัลระดับ Regional ในฐานะตัวแทนประเทศไทย

แน่นอนว่าต้องดีใจ เพราะเมื่อเราเทียบกับประเทศอื่นๆ แล้ว เราเป็นประเทศเดียวที่การสร้างเกิดจากคนไทย เราไม่ได้ซื้อ License มาจากต่างประเทศ แต่เราศึกษาจากทั้งในประเทศและต่างประเทศและปรับปรุงวิธีการให้เข้ากับคนไทย สิ่งที่เราทำมันไม่ได้ส่งผลในเชิงผลแค่กับคนไทย แต่ส่งผลให้กับทั้งอาเซียน หมายความว่าเมื่อก่อนที่เรามองว่าประเทศไทยจะต้องมีการขับเคลื่อนด้วย Digital ต่างๆ เราเชื่อมโยงให้กับเพื่อนบ้านและสังคมอื่นๆ ด้วย และเป็นบทพิสูจน์ว่าประเทศไทยที่ถือว่าเป็นประเทศต้นๆ ของอาเซียนที่ทำเรื่อง startup สิ่งที่เราทำกันมาแม้ว่าจะผ่านอุปสรรคอะไรกันมาก็ตาม แต่ก็ยังอยู่ในทิศทางที่มันเกิดและไปตามทิศทางการเคลื่อนไหวของโลก ซึ่งเราในฐานะคนไทยก็สามารถที่จะเป็นตัวอย่างให้กับเพื่อนบ้านในอาเซียนได้

จากการไปร่วมงานมี lesson learn อะไร ที่จะเอามาปรับใช้ในไทยให้ดีขึ้นได้บ้าง

คำแนะนำสำหรับ Startup อันดับแรกที่อยากจะแชร์คือทุกๆ ครั้งที่ออกไปงานต้องมีการเตรียมตัวให้พร้อม เพราะเราไปถึงแล้วเราไม่รู้ว่าวันนั้นมันจะเป็นอย่างไร ไม่รู้ว่าวันนั้นจะไปเจอใครบ้าง อาจจะไปเจอสื่อต่างชาติ เราไม่ได้เตรียมพร้อมเพื่อนไปบอกว่าเราคือใคร แต่การพรีเซนต์ของเราคือในฐานะตัวแทนประเทศไทย

อันดับสองใน Panel Discussion เรื่องของ Funding เวลาเราจะไปขอ Funding เราต้องรู้ตัวเลขของตัวเองก่อนที่จะไปคุยกับคนอื่น ตัวเลขที่ว่าคืออะไร ยกตัวอย่าง Active User, Burn Rate, ROI  เท่าไร เราต้องสามารถบอกได้ ถ้าเราไปคุยกับนักลงทุนหรือใครก็ตามโดยที่เราไม่สามารถบอกตัวเลขของธุรกิจ มันมีความยากที่คนอื่นจะเชื่อใจหรือเชื่อมั่นในตัวของคน ๆ นั้น

อยากจะฝาก Startup ทั้งหลายว่าที่เราเห็น Startup รุ่นพี่ที่เขาประสบความสำเร็จทุกวันนี้ เขาผ่านร้อนผ่านหนาวมาเยอะ ไม่เพียงแต่ผ่านในเรื่องของการทำ Product แต่เขาผ่านในเรื่องของการทำแผนงานต่างๆ ซึ่งช่วงหลังๆ นี้เมื่อเห็นความสำเร็จของรุ่นพี่แล้วให้เราลองมองย้อนกลับมาเลยว่าเส้นทางของเขามีอะไรบ้างที่เป็นปัจจัยที่ทำให้เขาสำเร็จและมีอะไรบ้างที่ทำให้เขาไม่สำเร็จ เพื่อเราจะได้เรียนรู้เส้นทางของเขาด้วย

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

5 ข้อแตกต่างที่ทำให้ Jensen Huang เป็นผู้นำใน 0.4% ด้วยพลัง Cognitive Hunger

บทความนี้จะพาทุกคนไปถอดรหัสความสำเร็จของ Jensen Huang ด้วยแนวคิด Cognitive Hunger ความตื่นกระหายการเรียนรู้ เคล็ดลับสำคัญที่สร้างความแตกต่างและนำพา NVIDIA ก้าวสู่ความเป็นผู้นำระดับ...

Responsive image

เรื่องเล่าจาก Tim Cook “...ผมไม่เคยคิดเลยว่า Apple จะมีวันล้มละลาย”

Apple ก้าวเข้าสู่ยุค AI พร้อมรักษาจิตวิญญาณจาก Steve Jobs สู่อนาคตที่เปี่ยมด้วยนวัตกรรม โดย Tim Cook มุ่งเปลี่ยนโฉมเทคโนโลยีอีกครั้ง!...

Responsive image

วิจัยชี้ ‘Startup’ ยิ่งอายุมาก ยิ่งมีโอกาสประสบความสำเร็จ

บทความนี้ Techsauce จะพาคุณไปสำรวจว่าอะไรที่ทำให้ วัย 40 กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของนักธุรกิจและ Startup หลายคน...