Fintech Ecosystem กลไกดัน 'สิงคโปร์' สู่ศูนย์กลางการเงินของโลก | Techsauce

Fintech Ecosystem กลไกดัน 'สิงคโปร์' สู่ศูนย์กลางการเงินของโลก

ฟังแนวคิด Fintech Ecosystem ของสิงคโปร์ ประเทศผู้นำด้านการเงินโลกจาก Session ของ Ravi Menon, MD ของ MAS ในงาน Singapore Fintech Festival 2019

เป็นอีกงานที่แสดงถึงศักยภาพของโลกเทคโนโลยีการเงินในเวลานี้กับ Singapore Fintech Festival 2018 ซึ่งจัดโดย Monetary Authority of Singapore หรือธนาคารกลางสิงคโปร์ โดยงานนี้นอกจากจะรวบรวม Showcase ด้านเทคโนโลยีการเงินแล้ว ยังเป็นโอกาสดีที่จะได้รับฟังแนวคิดไอเดียที่ขับเคลื่อน Fintech ไปสู่อนาคตด้วย

ด้วยเหตุนี้ เราจึงได้นำ Opening Speech โดย Ravi Menon, Managing Director, Monetary Authority of Singapore (MAS) ซึ่งพูดถึงแนวคิดการพัฒนาเทคโนโลยีการเงินที่ต้องครบทั้งนวัตกรรม (Innovation), การหลอมรวม (Inclusion) และแรงบันดาลใจ (Inspiration) ผ่าน Fintech Ecosystem ที่สิงคโปร์กำลังใช้เพื่อเป็นผู้นำด้าน Fintech ของโลก

Tech Talk: Innovation, Inclusion, Inspiration โดย Ravi Menon, Managing Director, Monetary Authority of Singapore (MAS)

การเดินทางของ Fintech เริ่มต้นขึ้นราวปี 2015 ในสมัยที่ศูนย์กลางทางการเงินมองว่าเทคโนโลยีและนวัตกรรมกำลังแทรกซึมไปทุกที่ MAS คาดหวังจะสร้างโลกที่บริการทางการเงินหมุนตามความต้องการของผู้ใช้ ที่อัตลักษณ์ตัวตนคือความเป็นมนุษย์ การจ่ายเงินเป็นกระบวนการที่ไม่ต้องเพ่งเล็ง ประกันภัยตอบสนองความต้องการอย่างแท้จริง และการให้คำปรึกษาทางการเงินพร้อมผสานเข้ากับชีวิต ด้วยเหตุนี้ภาคการเงินของเราต้องพร้อมต่อการดัดแปลงตามความต้องการ โปร่งใสเมื่อมองด้วยตา และส่งมอบความเบิกบานให้กับทุกคน

ธนาคารในประเทศสิงคโปร์เองเข้าใจเรื่องนี้ดี จึงเปลี่ยนมาใช้แนวคิดยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลางกันหมด อย่าง UOB Bank’s Right by you, OCBC Bank’s Simply Spot On!, หรือ DBS Bank’s Live More, Bank Less!

นวัตกรรมและเทคโนโลยีคือกุญแจที่คลี่คลายอนาคต แต่มันไม่พอ เราต้องสร้าง Fintech Ecosystem ซึ่งมี 6 องค์ประกอบหลักด้วยกัน

องค์ประกอบที่ 1 ผู้คน (People)

สิงคโปร์ดำเนินการเกี่ยวกับบุคลากรหลายช่องทาง ตั้งแต่การออกแบบหลักสูตรการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สามารถทำงานกับ Emerging Technology ได้ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วย Re-skill บุคลากรในตลาดแรงงานปัจจุบันเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของอาชีพในอนาคต นอกจากนี้ ยังเปิดรับ Talent จากที่ต่างๆ ทั่วโลกให้มาทำงานที่สิงคโปร์ได้สะดวกยิ่งขึ้นด้วย

องค์ประกอบที่ 2 อัตลักษณ์ (Identity)

Pain Point ของการตรวจสอบอัตลักษณ์คือกระบวนการ KYC (Know Your Customer) สำหรับ KYC รายบุคคล รัฐบาลสิงคโปร์ได้ริเริ่มโครงการ National Digital Identity (NDI) ซึ่ง NDI มีส่วนประกอบที่สำคัญคือ MyInfo ซึ่งเป็น Digital Service ที่ประชาชนสามารถอนุมัติการส่งมอบข้อมูลของตัวเองที่เก็บโดยหน่วยงานรัฐให้กับบุคคลที่ 3 เพื่อเปิดใช้บริการต่างๆ ได้

ด้วยวิธีนี้ทำให้สิงคโปร์แก้ปัญหา KYC รายบุคคลได้ แต่สำหรับ KYC เพื่อภาคธุรกิจที่ซับซ้อนกว่านั้น ซึ่งองค์กรด้านการเงินในปัจจุบันกำลังทำงานเพื่อสร้าง Solution นี้ให้เกิดขึ้น นอกจากนี้  MAS ได้ร่วมมือกับ GovTech  (หน่วยงานที่ดูแลด้านเทคโนโลยีของรัฐบาลสิงคโปร์) พัฒนาระบบ Credit สำหรับ SME โดยอาศัยข้อมูลที่แม่นยำของภาครัฐ

ทำความรู้จักกับ Digital ID ในประเทศไทยได้ที่นี่

องค์ประกอบที่ 3 การจ่ายเงิน (Payment)

สิงคโปร์มี National e-Payment Infrastructure ซึ่งประกอบด้วย

  • FAST : Infrastructure Platform การโอนเงินแบบ Realtime เปิดใช้งานตลอด 24 ชั่วโมง
  • Paynow : บริการโอนเงินถึงผู้รับผ่าน E-mail หรือเบอร์โทรศัพท์
  • UPOS : ระบบ Point of Sale ที่ออกแบบตามมาตรฐานโลก
  • SGQR : ระบบมาตรฐานการชำระเงินด้วย QR Code ของประเทศสิงคโปร์

แม้จะมีระบบขนาดนี้แต่ก็ยังมีปัญหา เพราะในโลกการเงินมีทั้งธนาคาร ธุรกิจ และรายย่อยอื่นๆ ซึ่งมีวิธีจ่ายเงินผ่านช่องทาง วิธี หรือแม้แต่สกุลเงินที่ต่างกัน จึงต้องพัฒนาวิธีการจ่ายเงินแบบ Cross Border ที่สะดวก รวดเร็ว และไม่ผูกขาดความน่าเชื่อถือไว้องค์กรใดองค์กรหนึ่ง จึงเกิดแนวคิดนำ Distribute Ledger มาใช้ในส่วนนี้

ในปี 2016 Project Ubin ได้เปิดให้ธนาคารจ่ายเงินได้โดยไม่ต้องผ่าน MAS โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี Blockchain สร้างตัวแทนของเงินสกุลดอลลาร์สิงคโปร์แบบดิจิทัลขึ้นมา ในปี 2017 Project Ubin ประสบความสำเร็จในการกระจายศูนย์ (Decentralize) การทำธุรกรรมโดยรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลไว้ได้

ในปี 2018 Project Ubin ไปไกลกว่าเดิมด้วยการแปลงสินทรัพย์ (Asset) เป็น Token เพื่อใช้ประโยชน์จาก Blockchain และกำลังพัฒนา Cross-border Payment ให้มีประสิทธิภาพมากชึ้นทั้งในแง่ความเร็วและต้นทุนการจัดการ

(ประเทศไทยก็มี National e-Payment ในชื่อ Prompt pay และเคยเกือบมีความร่วมมือระหว่าง Prompt Pay กับ Paynow ของสิงคโปร์ด้วย อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่นี่)

องค์ประกอบที่ 4 การกำกับดูแลข้อมูลโดยรัฐ (Data Governance)

MAS ทำงานร่วมกับองค์กรในภาคธุรกิจเพื่อพัฒนาหลักการใช้งานข้อมูลสำหรับภาคการเงินในชื่อ FEAT (อ่านรายละเอียดของแนวทาง FEAT ได้ที่นี่) โดยเน้นที่หลักการใช้งานเทคโนโลยีอุบัติใหม่อันเกี่ยวข้องกับข้อมูลอย่าง Artificial Intelligence และ Data Analytic

ในระดับนานาชาติ เราจำเป็นต้องเชื่อมโยงข้อมูลถึงกันให้มากขึ้น และลดการจัดการข้อมูลเพื่อใช้เฉพาะภายในประเทศ ซึ่งเป็นประเด็นที่ Technology Community ต้องทำงานร่วมกันกับ Policy Maker คือทำอย่างไรให้สามารถขยายการเชื่อมโยงของข้อมูล พร้อมกับใช้งานข้อมูลได้เต็มประสิทธิภาพ

มาตรฐานการขัดการข้อมูลเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้ข้อมูลสามารถนำมาใช้ได้อย่างปลอดภัยและน่าเชื่อถือ ในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลที่จะเกิดขึ้น ข้อตกลงการเชื่อมต่อข้อมูล (Data Connectivity Agreement) จะมีความสำคัญเทียบเท่ากับข้อตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement) เลยทีเดียว

องค์ประกอบที่ 5 การวิจัยเชิงประยุกต์ (Applied Research)

ในปี 2017 MAS ได้สนับสนุนการค้นคว้า AI, Data Analytic และภาคการเงินเป็นมูลค่ารวม 27 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ประมาณ 650 ล้านบาท) โดยมีผู้ได้รับการสนับสนุนประมาณ 30 ราย นอกจากนี้ ยังมีความร่วมมือกับ MIT Media Lab เพื่อค้นคว้าวิจัยในด้าน Fintech ด้วย ส่วนในปี 2018 สิงคโปร์ได้เปิด Fast Track สำหรับจดสิทธิบัตรสำหรับ Fintech โดยเฉพาะ

องค์ประกอบที่ 6 พื้นที่รองรับนวัตกรรม (Platform for Innovation)

นวัตกรรมไม่ใช่สิ่งที่จะเกิดขึ้นเพียงลำพัง ผู้คนและความคิดต่างๆ จำเป็นต้องเชื่อมถึงกัน รวมถึงปัญหาก็ต้องเชื่อมให้ถึงวิธีแก้ปัญหาด้วย จึงเกิดเป็น AFIN - ASEAN Financial Innovation Network เป็นตัวกลางนำพาธนาคารและ Fintech เข้าด้วยกันเพื่อพัฒนา Solution มาปรับปรุงภาคการเงินในระดับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

AFIN จะเปิดตัว APIX หรือ API Exchange ซึ่งนับเป็น Platform แบบ Cross-Border เพื่อเชื่อมต่อระบบการเงินทั้งภูมิภาคอันแรกของโลก

นอกจากนี้ MAS ยังจับมือกับ InfoComm Media Development Authority เพื่อสร้าง Cross-Border Innovation Platform สำหรับ SME ในชื่อว่า Business san Border

หลังจากจบทั้ง 6 องค์ประกอบแล้ว คุณ Ravi ย้ำว่า Fintech ไม่ใช่เรื่องของเทคโนโลยี แต่เป็นการผสานรวมระหว่างจิตวิญญาณของการทำงานร่วมกันและความโอบอ้อมอารีที่อยากให้ผู้คนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ซึ่งนวัตกรรม (Innovation), การหลอมรวม (Inclusion) และแรงบันดาลใจ (Inspiration) คือ 3 คำที่นำไปสู่เรื่องราวทั้งหมดที่เกิดขึ้นในวงการ Fintech ของสิงคโปร์นั่นเอง

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

บทเรียนความสำเร็จจาก มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก 20 ปีที่ Meta ผ่านมุมมองผู้บริหารคนสนิท

Naomi Gleit ผู้บริหารระดับสูงของ Meta และพนักงานรุ่นบุกเบิกของบริษัท ได้มาเปิดเผยประสบการณ์การทำงานกับ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ซีอีโอของ Meta ที่ยาวนานเกือบ 20 ปีในพอดแคสต์ชื่อดัง "Le...

Responsive image

วัยเด็ก ‘Sundar Pichai’ การเติบโตและแรงบันดาลใจจากเด็กธรรมดา สู่ซีอีโอ Google

ค้นพบแรงบันดาลใจจากเรื่องราววัยเด็กของ Sundar Pichai เด็กชายจากเจนไนผู้ก้าวข้ามขีดจำกัด สู่การเป็นซีอีโอของ Google ด้วยพลังแห่งการเรียนรู้และเทคโนโลยี...

Responsive image

จดหมายจากปี 1974 ข้อคิดการเลี้ยงลูกจาก LEGO

LEGO ยืนยันว่าจดหมายฉบับนี้เป็นของจริง เนื้อหาในจดหมายเน้นย้ำว่า "เด็กทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย”...