ถกประเด็น ทำไม Startup ไทยไม่มี Unicorn และพบกับ Demo Day สุดร้อนแรงของเอเชีย

ถกประเด็น ทำไม Startup ไทยไม่มี Unicorn และพบกับ Demo Day สุดร้อนแรงของเอเชีย

เมื่อพูดถึง Startup ในประเทศไทยมักมีคำถามต่อมาว่า ทำไมประเทศไทยถึงไม่มี Unicorn สักที? หรือทำไมจึงเห็น Startup ไทย Fail บ่อย ในบทความนี้เราได้คุยกับคุณปารดา ทรัพย์ประเสริฐ จาก 500 Tuk Tuks , คุณธนฉัตร ตั้งศรีวงศ์ Chief Representative of Bangkok Office, CyberAgent Capital และคุณจูน ธมนวรรณ เฉิน จาก Monk's Hill Ventures ในหมวกของนักลงทุนกับมุมมองต่อ Startup ในไทย  พร้อมเตรียมพบกับงาน Event ใหญ่ของ Startup อย่าง dtac Accelerate Batch 7 DEMO DAY ที่ Startup จะได้โชว์ของบนเวทีสุดยิ่งใหญ่

ทำไมไทยไม่มี Unicorn

คุณมะเหมี่ยว ปารดา ทรัพย์ประเสริฐ มองว่า การที่ Unicorn จะเกิดได้ตัวหนึ่งจริงๆอาศัยหลายปัจจัยมาก และทุกปัจจัยจะต้องอยู่ในสภาวะที่เหมาะสมพอดี ตัวอย่างเช่น ตัวธุรกิจจะต้องอยู่ใน Market Size ที่มีขนาดใหญ่และกำลังเป็นขาขึ้น เรื่องที่สอง คือเรื่อง ช่วงเวลาที่ธุรกิจนี้ออกมาจะต้องเข้ากับไลฟ์สไตล์หรือรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้ใช้ (user) ในยุคนี้ 

และเงินทุนสนับสนุนจากทั้ง Angels, VCs, CVCs, Strategic Investors ต้องมีพร้อมตั้งแต่รอบ Seed จนถึง Pre-IPO และตัวผู้ประกอบการเองจะต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่สามารถทำธุรกิจได้ง่าย หาความรู้ได้รอบตัวจาก Ecosystem ที่แข็งแรงและไม่ติดประเด็นเรื่องกฎหมายหรือ policy ที่ยุ่งยากตั้งแต่การจดทะเบียนบริษัทไปจนถึงการ Exit บริษัท และยังมีอีกหลากหลายปัจจัยที่แต่ละ Industry ต้องการต่างกัน ในเวลานี้ประเทศไทยกำลังค่อยๆพัฒนา Ecosystem ในทุกๆด้านทั้งการศึกษา , เงินทุน, กฎหมายและการสนับสนุนจากภาครัฐ

“มะเหมี่ยวเชื่อว่าวันหนึ่ง เมื่อ Ecosystem ของเราพร้อมและแข็งแรงพอ การที่จะมี Unicorn นี่ไม่ไกลเกินเอื้อมเลย และเราก็สมควรที่จะตั้งเป้าให้มี Unicorn จากประเทศไทยด้วย เพื่อทั้งเป็นแรงบันดาลใจให้หน้าใหม่และดึงดูดผู้เล่นใน Ecosystem จากทั้งระดับ Regional และระดับ International มาเพื่อสร้าง Momentum ให้กับ Ecosystem”

คุณธนฉัตร ตั้งศรีวงศ์ Chief Representative of Bangkok Office, CyberAgent Capital ได้ให้ความเห็นว่า   จริงๆ สาเหตุที่ส่งผลให้ประเทศไทยยังไร้เงา Unicorn มีอยู่หลายปัจจัย ในระดับมหภาค (macro-level factors) ไล่มาได้ตั้งแต่การขาดความมั่นคงและน่าเชื่อถือทางการเมือง ไปจนถึงภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอการเติบโตในภาพรวมตลอดระยะหลายปีที่ผ่านมา 

แต่ที่น่าสนใจผมมองว่าปัจจัยสนับสนุนอื่นๆ ที่เหลือกลับบ่งชี้ว่าในทางทฤษฎีแล้ว ประเทศไทยเองก็อาจจะให้กำเนิด Unicorn ได้เช่นกัน มีอุตสาหกรรมบางประเภทที่มีมูลค่าของตลาดมหาศาล และสามารถรองรับการมีอยู่ของ Unicorn ภายในประเทศได้ ไม่ว่าจะเป็น Social Commerce (เพราะกรุงเทพฯ ยังคงเป็นเมืองที่มีผู้ใช้งาน Facebook มากที่สุดในโลก และประเทศไทยมีผู้ใช้งาน LINE มากเป็นอันดับสองของโลกรองจากญี่ปุ่น รวมไปถึงพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยผ่านช่องทาง social media ในอัตราที่สูงเป็นอันดับหนึ่งในภูมิภาค) ไปจนถึง Fintech (ประเทศไทยมีอัตราการเข้าถึง mobile banking ดีที่สุดในโลก) ตลาดเหล่านี้มีความเป็นไปได้สูงที่จะคลอด Unicorn สยามออกมาได้ หากมองในมุมนักลงทุน การขาดแคลนกลุ่มทุนที่มีความเชื่อมโยง ตั้งแต่ Pre-seed ไปจนถึง growth-stage ที่ให้การสนับสนุนด้านการเงินและทรัพยากรอย่างมีคุณภาพ ต่อเนื่องไปจนถึงเส้นชัย ยังเป็นปัจจัยที่ทำให้ Startup ไทยที่สามารถระดมทุนในรอบใหญ่ๆ ได้ มีเพียงจำนวนจำกัดเท่านั้น หากเรามองไปที่เวียดนาม กลุ่มทุนหลายเจ้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ (โดยเฉพาะเกาหลีใต้) เลือกที่จะทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายในการผลักดันและปลุกปั้น Startup อย่างต่อเนื่อง จนใกล้จะปั้น Unicorn ตัวที่สองได้สำเร็จในอนาคตอันใกล้นี้ แต่ที่สำคัญไปกว่านั้น หากเรากลับมามองบ้านเราเอง นอกจากการสนับสนุนอย่างจริงจังของภาครัฐและเอกชน เช่นที่เราเริ่มเห็นกันในระยะหลังมานี้ ผมกลับมองว่าหากเราส่งเสริมให้มีการ exit ของกลุ่ม Startup ที่เป็นเซนทอร์ (มูลค่าบริษัทมากกว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) อย่างเป็นรูปธรรมและสม่ำเสมอ น่าจะช่วยกระตุ้นความสนใจของนักลงทุนในระดับภูมิภาค ให้มีความเชื่อมั่นในศักยภาพของตลาดการลงทุน Startup ไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า และนั่นน่าจะเป็นเป้าหมายพื้นฐาน ที่นำพาไปสู่การปั้น Startup ระดับ Unicorn สัญชาติไทยได้สำเร็จในระยะยาว

ความท้าทายของ startup จาก seed to series A และ จาก A ไป B

คุณจูน จาก Monk's Hill Ventures ให้ความเห็นว่า ความท้าทายส่วนใหญ่ตอนโตจาก Seed ก็น่าจะเป็นการจ้าง talent ที่จะมาช่วยเติมเต็มฟังก์ชั่นที่ขาดในตอนแรกเริ่ม เช่น head of sales, CTO, head of operations ที่จะมาเป็นคนโฟกัส ช่วยสร้างทีม และ พัฒนา tech ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อรองรับลูกค้าและความท้าทายที่เพิ่มมากขึ้นเมื่อบริษัทโต พอไป B, startup ก็จะเริ่มขยายต่างประเทศ จะเริ่ม พัฒนา product ที่เหมาะสมกับประเทศนั้นๆ ต้องสร้าง local team และเริ่มคิดว่าทำอย่างไรที่เมื่อขยายแล้วยังสามารถคงหัวใจหลักของธุรกิจและถ่ายทอด culture, vision, mission ให้ทุกคนอยู่ในใจตรงกัน

ทำไม Startup ไทย fail บ่อย

คุณฉัตรได้เปิดเผยว่า จากประสบการณ์ส่วนตัว ผมคิดว่ามีสองสามประเด็นใหญ่ๆ ประเด็นแรก ผมมองว่า Startup ไทยภูมิใจและ ‘เหลิง’ ในความสำเร็จระยะสั้นมากเกินไปจนละเลยเป้าหมายใหญ่ในระยะยาว คนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยเลือกที่จะมองภาพสวยงามของชีวิตการทำงานอิสระ การได้เป็นเจ้าของกิจการเองโดยไม่ต้องฟังคำสั่งใคร และมองข้ามไปว่าการทำ Startup ให้ประสบความสำเร็จ ต้องใช้ความพยายาม ความมุ่งมั่น และความทุ่มเทแรงกายแรงใจมากน้อยเพียงใด ประจวบกับการที่เราอยู่ในยุคที่โลกของสื่อหมุนไปไวมาก และให้ความสนใจในประเด็นนี้ค่อนข้างเยอะ จึงทำให้ Startup จำนวนมาก คิดว่าการระดมทุนได้นั้นคือความสำเร็จอย่างแท้จริง ทว่า ในโลกความเป็นจริง นั่นเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเล็กๆ เพื่อจะให้ Startup ก้าวกระโดดไปให้ไกลกว่าเดิม และลงแข่งขันในสนามที่ท้าทายและยิ่งใหญ่กว่ามาก การถูกแสงสีของสื่อชักนำมากๆ ตั้งแต่ต้นจนเกินพอดี อาจทำให้ Startup เสียโฟกัสและความตั้งใจในการทำงานได้ไม่น้อย ดังนั้นผู้ประกอบการที่มีคุณภาพ จะมีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าในการขับเคลื่อนธุรกิจไปข้างหน้า และพึงระลึกถึงเป้าหมายสุดท้ายที่เคยวางวิสัยทัศน์เอาไว้ตั้งแต่วันแรกอยู่เสมอ การที่ภาครัฐและเอกชนมีบทบาทสนับสนุนในด้านเงินทุนมากขึ้น เป็นเรื่องที่ดี แต่การวางหลักเกณฑ์และตั้งมาตรฐานความสำเร็จของ Startup ที่จะได้รับเงินทุนสนับสนุนกลับมีความสำคัญยิ่งกว่า การได้เงินทุนสนับสนุนมาง่ายเกินไป อาจทำให้มาตรฐานของ Startup ไทย ต่ำกว่าในระดับที่พึงจะเป็น

ประเด็นที่สอง คือการประเมินตลาดโดยขาดความเข้าใจที่แท้จริง Startup ไทยยังขาดความสามารถในการประเมินมูลค่าของตลาดอย่างสมเหตุสมผล ขาดความพึงระวังในเรื่องอัตราการแข่งขันในธุรกิจของตัวเอง และละเลยการหาปมเด่นทางธุรกิจที่สร้างข้อได้เปรียบของธุรกิจตัวเองในระยะยาว มันมีเหตุผลที่ทำไมในวงการ Startup เราใช้คำว่า Pain Point ในการเรียกปัญหาที่ธุรกิจต้องการจะแก้ไข เพราะมันต้องเป็นปัญหาที่สร้างความ ‘เจ็บปวด’ อย่างแท้จริง และจะต้องสร้างความเจ็บปวดให้กับคนจำนวนมหาศาลในตลาดที่มีความสำคัญต่อโลกปัจจุบัน (และอนาคต) อีกด้วย เมื่อเราอยู่ในอุตสาหกรรมที่คำถามสำคัญกว่าคำตอบ การตั้งคำถามผิดตั้งแต่ต้น คำตอบที่ได้มาย่อมใช้การไม่ได้ในที่สุด ฉะนั้น การเริ่มทำ Startup จากปัญหาที่สัมผัสมาด้วยตัวเอง โดยเริ่มจากตลาดที่เรามีความสนใจอยู่แล้ว รวมถึงการหาข้อมูลเชิงลึกด้วยตัวเอง น่าจะช่วยเพิ่มแนวโน้มความเข้าใจในตลาด และนำมาซึ่งการตั้งคำถามที่ถูกต้องได้อย่างมีนัยสำคัญ

ประเด็นที่สาม ที่คนมองข้ามไปมาก คือ Startup ไทยขาดวินัยและการให้ความสำคัญทางการเงินและการบัญชีในระดับที่น่าตกใจ ประเด็นนี้ครอบคลุมตั้งแต่การจัดสรรงบประมาณใช้จ่าย การวางแผนทางการเงินล่วงหน้า การจัดการบัญชีของตัวเองที่ดีและเป็นระบบ (ซึ่งสำคัญมากๆ ในระดับ Series-A เป็นต้นไป) รวมไปถึงความตื่นตัวในการวางแผนระดมทุน และที่สำคัญที่สุด คือการวาง revenue model ที่ทำเงินให้ธุรกิจได้ตั้งแต่แรกเริ่ม เรื่องพวกนี้อาจจะไม่ต้องทำให้เรียบร้อยสมบูรณ์ตั้งแต่วันแรก แต่ผมมองว่า Startup ไทยส่วนมากมองข้ามเรื่องนี้ไปเลย และมันกลับมาทำร้ายพวกเขาในท้ายที่สุด ธุรกิจที่ดีไม่ใช่ธุรกิจที่ระดมทุนได้มากที่สุด แต่เป็นธุรกิจที่ทำเงินได้มากที่สุด และสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนบนโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินที่เข้มแข็งต่างหาก

โครงการที่สนับสนุน Startup

เราได้เห็นหลายองค์กรใหญ่ในประเทศไทยที่ให้การสนับสนุน Startup ทั้งการให้เงินลงทุน และการจัดโครงการบ่มเพาะต่างๆ และหนึ่งใน Accelerator ที่แข็งแกร่งและเป็น Accelerator เบอร์ต้นในประเทศไทย จะเป็นใครไปไม่ได้นอกจาก dtac Accelerate ซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินโครงการมาถึง Batch ที่ 7 แล้ว ทั้งในปีนี้ยังได้รับการโหวตจาก Startup ให้เป็นบริษัทที่ Startup อยากร่วมงานมากที่สุดอีกด้วย หนึ่งในไฮไลท์ของโครงการนี้คืองาน Demo Day ที่ถูกเรียกว่าเป็น  Best Demo Day in Asia

ที่สุดของ Demo Day งานที่ Startup ได้โชว์ของ

dtac Accerelate เป็นโครงการที่ให้การสนับสนุน Startup มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน และเติบโตขึ้นทุกปี ทั้งมี Startup ในโครงการมากที่สุด และยังมีการจัดงาน demo day ที่เรียกได้ว่าโดดเด่นที่สุดในเอเชีย โดยในปีที่ผ่านมามีการจัดงานที่มีสีสัน และตื่นตาตื่นใจเป็นอย่างมาก จนถูกยกย่องให้เป็น Best Demo Day in Asia

งาน Demo Day ของ dtac Accerelate เป็นเหมือนงานที่เป็นวันจบการศึกษาของ Startup ที่อยู่ใน Batch ซึ่งจะมีการจัด Event เป็นครั้งสุดท้ายให้ Startup ได้มา Pitching ผลิตภัณฑ์หรือบริการของตนเอง ต่อนักลงทุนที่มาร่วมงาน รวมทั้งคณะกรรมการที่มาตัดสิน เพื่อให้รางวัลกับ Startup ที่มีความโดดเด่น

ในปีที่ผ่านมา dtac Accelerate จัดงานอย่างยิ่งใหญ่ในสถานที่ๆใช้จัดคอนเสิร์ตอย่าง GMM Live House at CentralWorld ขนแสง สี เสียง การแสดง ที่ไม่เคยเห็นในงาน Demo Day ที่ไหนมาก่อน ประกอบกับการ Pitching ของ Startup ในโครงการ ที่ได้รับการบ่มเพาะเป็นเวลากว่า 4 เดือน จากผู้เชี่ยวชาญในระดับโลกเช่น  Jacon Greenshpan ,  Nir Eyal

โดยใน Batch ที่ 7 ก็มี Startup ดังนี้

  1. Arincare Health Techระบบบริหารร้านขายยา ที่ใช้งานง่ายที่สุด ช่วยร้านขายยาบริหารสต็อคสินค้า ลดต้นทุน เพิ่มกำไรอย่างมีประสิทธิภาพ
  2. Fingas แพลตฟอร์มกลางระหว่างลูกค้าและหน้าร้านแก๊สหุงต้ม เพื่อช่วยในการซื้อขาย และบริหารจัดการระบบได้ง่ายขึ้น
  3. Foodie แพลทฟอร์มสำหรับใช้ในการบริหารจัดการ การสั่งอาหารออนไลน์จากหลายช่องทาง สำหรับร้านอาหาร
  4. Hisobus บริการเช่ารถบัสและรถตู้ออนไลน์ เป็นSharing economy หรือ gig economy ด้วยแนวคิดสังคมเศรษฐกิจแบบแบ่งปัน
  5. Instawash แอปพลิเคชั่นล้างรถตามตำแหน่งที่ลูกค้าต้องการ ให้บริการล้างรถระดับพรีเมี่ยม ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ไม่ต้องรอเข้าคิว เพียงแค่ปักหมุดตำแหน่งที่ต้องการ
  6. Kinkao บริการส่งอาหารเดลิเวอรี่ที่ช่วยให้พนักงานออฟฟิศได้รับสวัสดิการอาหารเที่ยงฟรีตรงเวลา เพื่อตอบโจทย์สูงสุดคือให้ทั้งองค์กรและทั้งพนักงานมีความสุขกันทั้ง 2 ฝ่าย
  7. LING แอปวัดแปลงที่ดินใช้คำนวณขนาดที่ดินเพื่อการซื้อ-ขาย ให้เช่าทำประโยชน์ วัดขนาดงานด้านเกษตรกรรม ช่วยให้การทำแผนที่ที่ดินสะดวกและง่ายขึ้นอย่างมาก
  8. Loops บริการร่วมเดินทาง (Ride-Sharing)จองรถตู้หลังงานคอนเสิร์ต และกิจกรรมบันเทิง
  9. Skooldio Education Techสคูลดิโอคือการเรียนผ่านห้องเรียนจริงและออนไลน์ ที่จะช่วยให้ทุกคนมีความเชี่ยวชาญในทักษะสมัยใหม่ที่กำลังเป็นที่ต้องการสูงสุดในปัจจุบัน เช่น การเขียนโปรแกรม วิทยาศาสตร์ข้อมูล กระบวนการคิดเชิงออกแบบ หรือการทำธุรกิจดิจิทัล
  10. Sneak แพลตฟอร์มวางแผนการท่องเที่ยวโดยใช้รูปภาพ
  11. System Stone แพลตฟอร์มสำหรับช่างวิศวกร ช่วยจัดการงานPM ปิดใบงานซ่อม เบิกอะไหล่ ทำได้ผ่านมือถือ สะดวก รวดเร็ว
  12. Trash Lucky ผู้สร้างแคมเปญ “ขยะลุ้นโชค” ให้สามารถแลกขยะรีไซเคิลเป็นฉลากจับรางวัลเงินสด
  13. Viabus แอปพลิเคชันติดตามและนำทางรถโดยสารประจำทาง ภายในกรุงเทพ และปริมณฑล ที่จะทำให้การเดินทางไม่เป็นเรื่องยากอีกต่อไป
  14. Ztrus ระบบช่วยทำบัญชีสำหรับนักบัญชีให้กับเจ้าของกิจการ SME และองค์กร

ประสบการณ์ในงาน Demo Day

คุณจูน : นอกจากจะไม่เคยผิดหวังแล้ว ยังมีอะไรให้ตื่นเต้นตลอด ไม่ว่าจะเป็นการนำเอา mentor ใหม่ๆมาช่วยให้ความรู้ startup แล้วยังเตรียมความพร้อมของ pitch แต่ละทีมได้ดีมาก จะเห็นว่าทุกคนรู้ว่าต้อง present อะไร ตอบคำถามเป็น เป็นงานที่จัดทีไรจะเห็นนักลงทุนต่างชาติจำนวนมากตั้งใจบินเข้ามาไทยเพื่อมางานนี้ ประทับใจในความทุ่มเทของ dtac ที่ให้แก่ startup ใน batch และยังจัดงานที่ทำให้ทุกคนรู้สึกว่าพลาดไม่ได้

ทำไมถึงต้องมางานนี้

คุณจูน : ถ้าเป็นนักลงทุนที่อยากเจอ startup ที่ถูกคัด train มาแล้ว ก้ต้องมางานนี้ ถ้าเป็น startup แล้วอยากเจอนักลงทุน งานนี้ก็เป็นหนึ่งในงาน Demo Day  ที่ดึงดูดความสนใจของนักลงทุนได้มากที่สุดงานนึง เอาเป็นว่า มายังไงก็ไม่ผิดหวังเพราะจะได้พบปะคนจำนวนมากที่สนใจ Tech เหมือนเรา

คุณฉัตร : อันนี้ไม่ได้อวยนะครับ แต่จากประสบการณ์ที่ได้มีโอกาสร่วมงานอีเวนท์เกี่ยวกับ Startup จำนวนมากในช่วงระยะเวลาร่วม 6 ปี งาน dtac accelerate Demo Day คืองาน Demo Day ที่ดีที่สุดในเอเชียอาคเนย์ และนับเป็นอันดับต้นๆ ของภูมิภาคเอเชียเลยก็ว่าได้ งานถึงพร้อมทั้งคุณภาพของ Startup ทั้งใน batch ปัจจุบันและ batch ก่อนหน้าทั้งหมด แขกที่มาร่วมมงาน ไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนและบริษัทชั้นนำระดับโลก และผู้มีบทบาทสำคัญในการบ่มเพาะ ecosystem ของวงการ Startup ทั้งในไทยและเอเชียอาคเนย์ทั้งหมด ทีมงานเองก็ทุ่มเททำงานมาก โปรดักชั่นที่ออกมาเลยน่าตื่นตาตื่นใจทุกปี ไม่ว่าผมจะไปกี่ครั้ง ก็ได้รับความประทับใจกลับมาทุกครั้ง และทึ่งในความสามารถของทีมงานที่ทำงานนี้ให้ออกมาดีขึ้นทุกๆ ปีจริงๆ ต้องขอชื่นชมทีมงานเป็นอย่างมากครับ เพราะฉะนั้น ใครที่สนใจไม่ว่าจะเป็นมุมไหนของวงการ Startup ถ้าไม่ได้มางานที่ดีที่สุดของปีงานหนึ่ง ที่เปิดโอกาสให้คุณสัมผัสได้ครบถ้วนแบบนี้ ต้องถือว่าพลาดอย่างมหันต์จริงๆ ครับ

สิ่งที่คุณอยากเห็นใน Batch 7

คุณมะเหมี่ยว การเป็น Batch 7 หมายความว่าเรามีรุ่นพี่ถึง 6 รุ่นที่มีประสบการณ์ล้ม ลุก แก้ไข อดทน จนสำเร็จมาก่อน อยากให้ทุกคนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงจากรุ่นพี่ เราจะได้สามารถหลีกเลี่ยง mistake แบบเดิมๆเพื่อเติบโตอย่างรวดเร็วและมีคุณภาพมากขึ้น รวมถึง ecosystem ในวันนี้มีความพร้อมมากขึ้นกว่าทุกปี มะเหมี่ยวเลยตั้งความหวังกับ Batch นี้ว่าควรเป็น Batch ที่โหดและ pitch จะต้องเจ๋งกว่าทุกปีค่ะ

งาน Demo Day ของ dtac Accelerate Batch 7 จะจัดขึ้นในวันที่ 6 กันยายน 2019 อย่างยิ่งใหญ่ที่ GMM Live House, Central World เหมือนเดิม โดย Techsauce จะนำความตื่นเต้น Startup ที่น่าสนใจและได้รับรางวัลมาเสนอต่อไป

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

5 ข้อแตกต่างที่ทำให้ Jensen Huang เป็นผู้นำใน 0.4% ด้วยพลัง Cognitive Hunger

บทความนี้จะพาทุกคนไปถอดรหัสความสำเร็จของ Jensen Huang ด้วยแนวคิด Cognitive Hunger ความตื่นกระหายการเรียนรู้ เคล็ดลับสำคัญที่สร้างความแตกต่างและนำพา NVIDIA ก้าวสู่ความเป็นผู้นำระดับ...

Responsive image

เรื่องเล่าจาก Tim Cook “...ผมไม่เคยคิดเลยว่า Apple จะมีวันล้มละลาย”

Apple ก้าวเข้าสู่ยุค AI พร้อมรักษาจิตวิญญาณจาก Steve Jobs สู่อนาคตที่เปี่ยมด้วยนวัตกรรม โดย Tim Cook มุ่งเปลี่ยนโฉมเทคโนโลยีอีกครั้ง!...

Responsive image

วิจัยชี้ ‘Startup’ ยิ่งอายุมาก ยิ่งมีโอกาสประสบความสำเร็จ

บทความนี้ Techsauce จะพาคุณไปสำรวจว่าอะไรที่ทำให้ วัย 40 กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของนักธุรกิจและ Startup หลายคน...