ศึกชิง Talent ในต่างแดนขององค์กรไทย กับการขาดแคลนบุคลากรในยุค Disruption

ศึกชิง Talent ในต่างแดนขององค์กรไทย กับการขาดแคลนบุคลากรในยุค Disruption

ความท้าทายสำคัญขององค์กรใหญ่ในยุค Disruption นั้น ไม่ได้มีเพียงแค่กลยุทธ์การแข่งขันระหว่างภาคธุรกิจเดียวกันเอง หรือกับผู้เล่นที่มาจากภาคธุรกิจอื่น แต่รวมไปถึงความท้าทายที่เป็นต้นน้ำ คือความขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ โดยเฉพาะสาย data scientist, data engineering, UX designer, software engineer, developer เป็นต้น จริงๆ แล้วปัญหานี้เกิดขึ้นทั่วโลก และสำหรับบ้านเรายิ่งเป็นหนัก ในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วแบบนี้ ถ้ารอบุคลากรที่มีความพร้อมในบ้านเราเองคงไม่ทันได้ทำอะไรกันพอดี

หนึ่งในรูปแบบที่เราเห็นกันนั้น คือการจัด Career Roadshow ในต่างประเทศ แน่นอนว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ที่พึ่งเกิดขึ้นอยู่แล้ว แต่เราเริ่มเห็นมากขึ้นและถี่ขึ้นมากกว่า ขององค์กรขนาดใหญ่ที่ต้องการหา Talent

บ้างจัด Roadshow เพื่อมุ่งหาบุคลากรมาร่วมงานโดยเฉพาะ ปีหนึ่งๆ อาจจะมีมากกว่าหนึ่งครั้ง บ้างก็มีทริปที่ต้องไปที่นั่นอยู่แล้ว และใช้ช่วงเวลานั้นในการพบเจอกับกลุ่มคนไทยที่นั่นไปเลย จนมีคนพูดกันอย่างขำๆ ว่าเจอผู้บริหารไทยที่นั่นง่ายกว่าเจอที่ไทยเสียอีก

โดยในช่วงล่าสุดธนาคารทั้ง 3 ค่าย โดยมีหน่วยงานที่ดูแลด้าน Innovation, Technology และ HR ต่างมุ่งหน้าสู่ศูนย์กลางประเทศแห่งเทคโนโลยีที่มีทั้งนักศึกษาไทย และคนไทยที่ทำงานที่นั่น

ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB)

ธนาคารกสิกรไทย (Kbank และ KBTG)

ธนาคารกรุงศรี

เมืองหลักๆ ที่มักมุ่งหน้าไปกัน ประกอบด้วย

  • San Francisco และ Silicon Valley แหล่งรวมบริษัท Top ด้านเทคโนโลยี ทั้ง Apple, Google, Facebook และอื่นๆ อีกมากมาย และแหล่งรวมมหาวิทยาลัยชั้นนำ ทั้ง Stanford, Carnegie Mellon ฝั่ง Silicon Valley และ Berkeley เป็นต้น
  • New York ที่มีบริษัท Top หลากหลายสาขา และมีความหลากหลายกว่า และศูนย์กลางธุรกิจด้านการเงินของโลก
  • Boston หนีไม่พ้นมหาวิทยาลัยชั้นนำอย่าง MIT และ Harvard ที่มีคนไทยระดับหัวกะทิเรียนอยู่ไม่น้อย
  • Seattle มีคนไทยที่ทำงานที่นั่น และถือเป็นเมืองแห่ง Cloud ค้นหาคนเก่งๆ จาก Amazon ได้จากที่นี่

และใช่ว่าจะมีแต่ที่สหรัฐฯ อังกฤษก็เป็นประเทศหนึ่งที่หลายบริษัทให้ความสนใจ อาทิ SCB, Kbank, Bangkok Bank, SCG, PTT, AIS, ThaiBev ซึ่งที่นั่นมีการรวมตัวกันของนักศึกษาไทยที่อยู่ที่นั่นอยู่แล้วช่วยเป็นศูนย์กลางอย่าง สามัคคีสมาคม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตัวอย่างมหาวิทยาลัยชื่อดัง อาทิ Cambridge, Oxford, Imperial College, Nottingham, Warwick, London School of Economics เป็นต้น  เป็นต้น

เรามีโอกาสได้พูดคุยกับคนไทยที่ใช้ชีวิตอยู่ที่สหรัฐฯ กว่า 14 ปี อธิวรรธน์ วงศ์ไวศยวรรณ Lead Consultant แห่ง ThoughtWorks เขากล่าวว่า "ช่วงหลังๆ มานี้เห็นองค์กรมาที่นี่ค่อนข้างบ่อยขึ้น โดยมีทั้งรูปแบบคือตั้งใจมาหาบุคลากรโดยตรง อาทิ SCB, KBTG  หรือบางรายก็คือมาทริปมาดูงานที่นี่อยู่แล้ว และก็รวมพลนัดพบกับคนไทยที่นี่เช่น ปตท, dtac accelerate, ananda เป็นต้น เชื่อว่าการมาหาคนที่นี่ แม้ยังไม่กลับไทยในช่วงเวลานี้ทันที โดยเฉพาะนักศึกษาที่ยังเรียนอยู่ หรือคนที่พึ่งจบใหม่ยังอยากหาประสบการณ์ที่นี่ก่อน แต่ก็ถือเป็นการดีที่ได้ทำความรู้จักกันไว้ เผื่ออนาคตจะเป็นบริษัทแรกๆ ที่นึกถึง ส่วนคนไทยที่พร้อมจะกลับไปส่วนใหญ่คือมีประสบการณ์ทำงานที่นี่มาระดับหนึ่งแล้ว มี Profile พอสมควร อาจด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันไป ที่ทำให้อยากกลับไทย และหนึ่งในนั้นก็มีเรื่องครอบครัวนั่นเอง"

การที่ได้เห็นคนไทยเก่งๆ ได้กลับมาใช้ความรู้ความสามารถ และช่วยขับเคลื่อนประเทศชาตินั้น ย่อมเป็นเรื่องที่ดี โดยปีหนึ่งๆ นั้นจะมีผู้ตัดสินใจกลับมามากน้อยแค่ไหนและกลับมาอยู่กับองค์กรใดนั้น มีปัจจัยหลายอย่างทั้ง ถูกที่ และถูกเวลาของช่วงชีวิตแต่ละคนด้วยหรือไม่

และจุดที่น่าสนใจอีกอย่าง คือ กลับมาแล้ว สามารถอยู่กับองค์กรนั้นได้นานแค่ไหน หลายคนอาจคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมการทำงานที่อินเตอร์มานาน และมาอยู่ที่นี่ก็อาจเจออาการที่เกิดความไม่คุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม หรือที่เราเรียกกันว่า Culture Shock ได้ ทำให้กลับไปใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศอีกครั้ง หรือบางคนรู้สึกโอกาสและความท้าทายที่นี่ไม่มากพอก็เลือกที่จะไม่กลับเลย ถ้ามีโอกาสก็ทำงานต่อที่นั่นดีกว่า หรือที่เราเรียกกันว่าสภาวะสมองไหลนั่นเอง

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เรื่องเล่าจาก Tim Cook “...ผมไม่เคยคิดเลยว่า Apple จะมีวันล้มละลาย”

Apple ก้าวเข้าสู่ยุค AI พร้อมรักษาจิตวิญญาณจาก Steve Jobs สู่อนาคตที่เปี่ยมด้วยนวัตกรรม โดย Tim Cook มุ่งเปลี่ยนโฉมเทคโนโลยีอีกครั้ง!...

Responsive image

วิจัยชี้ ‘Startup’ ยิ่งอายุมาก ยิ่งมีโอกาสประสบความสำเร็จ

บทความนี้ Techsauce จะพาคุณไปสำรวจว่าอะไรที่ทำให้ วัย 40 กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของนักธุรกิจและ Startup หลายคน...

Responsive image

ทำไม Fastwork ขาดทุนเกือบทุกปี ? ฟังเหตุผลของ CK Cheong

Fastwork เป็นอีกหนึ่งชื่อธุรกิจที่มาแรงในช่วงเวลานี้ ด้วยความไวรัลบนโลกออนไลน์ของผู้บริหาร CK Cheong (ซีเค เจิง) ที่มักทำคลิปให้ทัศนะเรื่องการเงิน การใช้ชีวิต และธุรกิจ แต่กลับถูกต...