คณะปิด นักศึกษาน้อย ทิศทางการศึกษาไทยจะอยู่หรือไป การปรับตัวไวคือทางออก

คณะปิด นักศึกษาน้อย ทิศทางการศึกษาไทยจะอยู่หรือไป การปรับตัวไวคือทางออก

ผลกระทบจากยุค Disruption ทำให้หลายธุรกิจได้สั่นสะเทือนกันไปแล้ว ซึ่งก็ไม่เว้นแม้แต่วงการการศึกษา เพราะทุกวันนี้ทุกคนต่างมีโลกการเรียนรู้ของตนเองเป็นหน้าจอสี่เหลี่ยมเล็กพกพาได้ เพียงค้นหาในไม่กี่คลิกก็พบเจอคำตอบ หรือแม้กระทั่งการเรียนออนไลน์ที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ เรียกได้ว่าอินเทอร์เน็ตเป็นผู้ทำหน้าที่เชื่อมต่อความรู้กับผู้คนได้อย่างสมบูรณ์แบบ

ทำให้ในเวลานี้หลายสถานศึกษาต่างเริ่มตระหนักและตื่นกลัวกับวิกฤตการขาดแคลนผู้เรียน พร้อมหลักสูตรเก่าที่ไม่ตอบโจทย์ลักษณะงานใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น  โดยผลลัพธ์ที่เรากำลังเห็นในเวลานี้คือ มีหลายคณะเกิดใหม่ ในขณะเดียวกันหลายคณะก็ปิดตัวลง

สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของการศึกษาระดับโลกในปัจจุบัน

  • ในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่ามีการปิดตัวของมหาวิทยาลัยไปกว่า 500 แห่ง และนักศึกษาที่น้อยลงถึง 8 แสนคน
  • ขณะที่ทางฝั่งออสเตรเลียประสบปัญหานักศึกษาไม่เชื่อว่าใบปริญามีความจำเป็นกับพวกเขา เพราะสุดท้ายก็มักจะไม่ได้ทำงานตรงกับสายที่ต้องการ พวกเขาอยากใช้เวลาไปกับการค้นหาตัวเองและได้ทำงานจริงมากกว่า รวมถึงมีการเปิดเผยว่าคณะด้านนิเทศศาสตร์ ศิลปศาสตร์ กำลังเผชิญกับวิกฤตนักศึกษาลดลงเช่นกัน
  • มาทางด้านเอเชียของเราประเทศที่ขึ้นชื่อว่ามีความเข้มข้นทางการเรียนสูงอย่างประเทศญี่ปุ่น ก็ต้องประสบปัญหาเดียวกันนี้เอง ไม่ว่าจะเป็นการปิดตัวของมหาวิทยาลัยไปแล้วไม่ต่ำกว่า 15 แห่ง ถึงแม้ว่าที่ผ่านมามหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงทั้งหลายจะมีความเข้มข้นมากแค่ไหน แต่ในตอนนี้ต่างก็ต้องยอมปรับตัวใหม่ และหาจุดดึงดูดเพื่อเปิดรับนักศึกษามากขึน
  • ประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงของเราอย่างสิงคโปร์ ผู้นำด้านการศึกษาแห่งอาเซียน ก็เตรียมรับมือกับวิกฤตการศึกษาในขณะนี้ โดยมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (NUS) ได้จัดสร้าง “มหาวิทยาลัยตลอดชีวิต” เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกคนได้เข้าถึงการศึกษาในทุกช่วงวัย และก็ดูเหมือนว่าโมเดลหลักสูตรใหม่นี้จะตอบโจทย์และประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก

Lay off อาจารย์ ปิดสาขาวิชา - ปัญหาการศึกษาในไทย

นี่คือวิกฤตของวงการศึกษาทั่วโลก แน่นอนว่าประเทศไทยเองก็ประสบปัญหานี้ไปด้วยเช่นกัน จากหลากหลายปัจจัยทำให้เกิดการ Lay off อาจารย์จากมหาวิทยาลัย และยิ่งไปกว่านั้นพบว่า จำนวนผู้สมัครสอบ Admission ปีการศึกษา 2562 ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ มีการขายธุรกิจให้ต่างชาติและเลิกกิจการเป็นจำนวนมาก

ในช่วงที่ผ่านมานั้น มีข่าวการศึกษาใหญ่ๆ เกิดขึ้นในบ้านเรา ได้แก่ข่าวการปิดตัวของคณะเศรษฐศาสตร์ในหลายๆ มหาวิทยาลัยเอกชน เนื่องจากจำนวนผู้สมัครเรียนลดน้อยลงเรื่อยๆ ปีละ 20-40% โดยสาเหตุหลักๆนั้นมากจากที่ผู้เรียนรู้สึกว่าเป็นสายวิชาที่หางานยาก เพราะในยุคปัจจุบันนายจ้างและผู้ประกอบการนั้นต้องการบัณฑิตจบใหม่ที่มีความรู้เฉพาะทางมากกว่า อีกทั้งเศรษฐศาสตร์เป็นเสมือนสาขาวิชาที่ตอบโจทย์การทำงานของภาครัฐ แต่ในยุคปัจจุบันภาครัฐเองเป็นเพียงกลุ่มองค์กรขนาดเล็กในไทยหากเทียบกับเหล่าบริษัทเอกชนที่ดูจะขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ จากปัจจัยเศรษฐกิจและกระแสโลก และนี่ส่งผลให้มหาวิทยาลัยเอกชนหลายแห่งในไทยต้องปรับหลักสูตรการสอนให้สอดคล้องกับบริบททางสังคมมากขึ้น และยังเปลี่ยนวิชาเศรษฐศาสตร์ให้เป็นวิชาพื้นฐานของทางมหาวิทยาลัย รวมไปถึงลดค่าเทอมลง 20-30%

อีกหนึ่งคณะที่ต้องถึงคราวหลั่งน้ำตาคือคณะนิเทศศาสตร์และวารสารศาสตร์ เพราะจากข่าวการสัมภาษณ์นักวิชาการและอาจารย์ในหลายมหาวิทยาลัยก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า จำนวนนักศึกษาในคณะดังกล่าวมีจำนวนลดลง และยังมีข่าวว่ามหาวิทยาลัยเอกชนหลายแห่งจ่อปิดคณะสื่อสารมวลชนหรือนิเทศศาสตร์ในปี 2562 เช่นเดียวกันกับมหาวิทยาลัยของรัฐในบางแห่ง เช่น ราชภัฏและเทคโนโลยีราชมงคล

เนื่องด้วยการทำงานสายสื่อนั้น โดยปกติในการทำงานก็ถือว่ามีความรวดเร็วแตกต่างไปจากการเรียนอยู่มากพอควร แต่เมื่อยุคดิจิทัลคลืบคลานข้ามาก็ยิ่งเพิ่มความรวดเร็วของข้อมูลเข้าไปอีก เป็นเรื่องน่าชวนคิดว่าคณะสายนี้จะปรับตัวไปในทิศทางใด หากคณะไม่ยอมปรับตัวให้ไวและให้ทันสื่อออนไลน์ยุคใหม่จะทำให้อยู่รอดได้ยากในยุคอนาคต และแน่นอนว่าเหล่าบุคลากรทางการศึกษาในหลากหลายสถาบันก็ไม่ได้นิ่งเฉยกับวิกฤตการณ์ในครั้งนี้ มหาวิทยาลัยจำนวนมากพยายามปรับคณะนิเทศศาสตร์และวารสารศาสตร์ให้เข้ากับยุคสมัยมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนชื่อหลักสูตรให้ดูครอบคลุมเนื้อหาด้านดิจิทัล หรือพัฒนาหลักสูตรให้มีความใหม่และเข้าถึงเทคโนโลยียุคปัจจุบันตลอดเวลา  เช่น สอนการเขียนข่าวบนแพลตฟอร์มออนไลน์ การวิเคราะห์ data บนโลกอินเทอร์เน็ตแล้วนำมาใช้ในการผลิตเนื้อหา

ไม่ใช่เพียงเศรษฐศาสตร์และนิเทศศาสตร์เท่านั้นที่กำลังซบเซา ยังมีสาขาวิชาอื่นๆ ที่มีข่าวแว่วตามมาว่ากำลังอยู่ในช่วงขาลงเช่นกัน อย่างเช่น คุรุศาสตร์และศึกษาศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ ประวัติศาสตร์และปรัชญา แม้ว่าหลากหลายองค์กรจะออกมาแจ้งว่าหนึ่งในสาเหตุหลักคือการลดลงของประชากรเด็กเกิดใหมที่เคยสูงถึงปีละ 1,000,000 คนในอดีต แต่ปัจจุบันกับลดเหลือเพียง 600,000 คน ซึ่งทำให้จำนวนที่นั่งในมหาวิทยาลัยนั้นมีสัดส่วนที่ไม่สอดคล้องกันกับผู้เรียนเท่าไหร่นัก แต่ถึงอย่างไรก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีการสื่อสารยุคใหม่นี้ โลกดิจิทัลที่เราทุกคนกำลังพบเจอกำลังจะนำพาเทรนด์การศึกษารูปแบบใหม่มาสู่สังคมของเรา

ในวิกฤตมีโอกาสใหม่ภาคเทคโนโลยียังโต

ในปัจจุบันนี้เราได้เห็นคอร์สเรียนออนไลน์ที่มอบใบประกาศณียบัตรให้ผู้จบการศึกษา ได้เห็น MOOC หรือ Massive Open Online Course หลักสูตรเรียนฟรีในรูปแบบออนไลน์ที่รวบรวมมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลกไว้ในที่เดียวกัน โดยผู้เรียนสามารถที่จะจัดการเลือกสรรวิชาเรียนได้ด้วยตนเอง นี่ถือว่าเป็นมิติใหม่แห่งการศึกษาเพราะไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ใดในโลก คุณสามารถเรียนรู้ออนไลน์ในมหาลัยระดับท็อปของโลกได้ ไม่ว่าจะเป็น Harvard MIT หรือแม้กระทั่งมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ของไทย

ในขณะเดียวกันกระแสดิจิทัลที่หลั่งไหลเข้ามาในไทยส่งผลให้มีหลักสูตรใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นสาขาวิชาด้านการพัฒนาเกมส์ ผู้ประกอบการยุค 4.0  วิชาประเภทดิจิทัล อี-คอมเมิร์ซ หรือ สาขาวิชา AI ที่เพิ่มเข้ามาในหลายหลักสูตร ซึ่งสร้างความสนใจให้ผู้เรียนรุ่นใหม่จำนวนมาก เหตุจากคนรุ่นใหม่หันความสนใจไปทางการเป็นผู้ประกอบการมากกว่าการเป็นลูกจ้าง หรือรับราชการดั่งเช่นในอดีต แต่ถึงอย่างไรในช่วงปีที่ผ่านมาเราก็ได้เห็นการปรับตัวทางการศึกษาของมหาวิทยาลัยรายใหญ่ในไทยอยู่บ้าง เช่น จุฬาลงกรณ์ และ ธรรมศาสตร์ ที่เริ่มออกมาเปิดหลักสูตรออนไลน์หรือห้องเรียนสำหรับประชาชนมากขึ้น

สรุป

ต่อจากนี้ไปมหาวิทยาลัยจะไม่เป็นแค่สถานที่ในการเข้าไปนั่งเรียน ฟังและจดเพียงเท่านั้น แต่มหาวิทยาลัยจะต้องพัฒนาตนให้เหมือนพื้นที่แห่งการเรียนรู้ สถานศึกษาจะต้องมีความสามารถที่ให้ความรู้หรือทักษะที่นักศึกษาจะหาไม่ได้ในโลกอินเทอร์เน็ตและจะต้องปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยแห่งอนาคต ยิ่งเร็วและมีคุณภาพมากเท่าไหร่อัตราการอยู่รอดก็สูงมากขึ้นเท่านั้น

 

อ้างอิง dailymail.co.uk, nus.edu.sg, CNBC, JapantimesMGRonline.comdailynews.co.th, the101.world, chula.ac.th

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

บทเรียนสำคัญ จากการปลดพนักงานครั้งใหญ่ของ Meta องค์กรควรเรียนรู้อะไร?

เมื่อต้นปี 2024 มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ซีอีโอของ Meta ประกาศเตือนพนักงานว่า ปีนี้จะเป็นปีที่ท้าทาย พร้อมย้ำว่าบริษัทจะเข้มงวดกับการประเมินผลงานมากขึ้น โดยเฉพาะกับพนักงานที่ทำผลงานไม่...

Responsive image

เช็กวัฒนธรรมองค์กรให้ชัวร์ก่อนรับงาน! เคล็ดลับสัมภาษณ์จาก Adam Grant

เวลาสัมภาษณ์งานหลายคนมักถามว่า 'วัฒนธรรมองค์กรของที่นี่เป็นยังไง' แต่คำตอบที่ได้มักจะฟังดูดีเกินจริง เช่น 'เราทำงานเป็นทีม เหมือนครอบครัวและคอยช่วยเหลือกัน' ซึ่งคำตอบเหล่านี้ไม่ได้...

Responsive image

6 วิธีบริหารเวลาให้คุ้มค่าจากผู้นำระดับโลกที่ใช้ทุกวัน

แม้ทุกคนจะมี 24 ชั่วโมงเท่ากัน แต่ทำไมบางคนถึงใช้เวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะที่บางคนต้องวิ่งไล่ตามงานอยู่ตลอดเวลา? คำตอบคือ พวกเขามีระบบจัดการเวลาที่ดี หากคุณต้องการพัฒนาทักษะการ...