ทักษะแบบ T-Shape คืออะไร และ mindset แบบไหนที่คนรุ่นใหม่ต้องมี เพื่อตอบโจทย์องค์กร โครงการ WEDO Young Talent Program 2021 จะพาคุณไปหาคำตอบ | Techsauce

ทักษะแบบ T-Shape คืออะไร และ mindset แบบไหนที่คนรุ่นใหม่ต้องมี เพื่อตอบโจทย์องค์กร โครงการ WEDO Young Talent Program 2021 จะพาคุณไปหาคำตอบ

เมื่อองค์กรในปัจจุบันไม่ได้มองหาคนที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเท่านั้น แต่ต้องการคนที่มีทักษะ ศักยภาพ และ mindset ที่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา จึงเกิดเป็นโครงการ WEDO Young Talent Program 2021 และทาง WEDO ได้จัดกิจกรรมวัน Hell Day ขึ้น โดยมีพาร์ทเนอร์ BASE Playhouse มาช่วยคิดและจัดกิจกรรมนี้เพื่อคนรุ่นใหม่ที่ต้องการความท้าทายและเตรียมความพร้อมในการทำงานกับองค์กรแห่งอนาคต ในบทความนี้จะพาทุกคนไปพูดคุยกับ คุณอาร์ท อภิรัตน์ หวานชะเอม Chief Digital Officer บริษัท SCG Cement-Building Materials จำกัด และ คุณม๋ำ เมธวิน ปิติพรวิวัฒน์ CEO & Co-Founder พร้อมด้วย คุณแม็ก ภีศเดช เพชรน้อย Co-founder & Learning Designer ของ BASE Playhouse ถึงที่มา แนวทางการจัดงาน Hell Day ผลที่ได้รับจากผู้เข้าร่วมงาน รวมทั้งความท้าทายต่างๆ

ทักษะ 3 อย่างของคนรุ่นใหม่ ที่องค์กรค้นหา

ทักษะ 3 อย่างและ mindset ของคนรุ่นใหม่ ที่องค์กรค้นหา

ภารกิจหลักของ WEDO ของ SCG ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง คุณอาร์ทได้เล่าว่า คือการ transform องค์กร สร้างธุรกิจ และวิธีการใหม่ ๆ ในการเข้าถึงลูกค้าด้วยการนำเอาเทคโนโลยีมาช่วย สิ่งที่สำคัญกว่าที่ได้ค้นพบกลับไม่ใช่เทคโนโลยี แต่เป็นคน เราจะต้องทำความเข้าใจคนให้ได้เสียก่อน และนำเอาความเข้าใจเหล่านั้นมาสร้างสรรค์เป็นนวัตกรรม และท้ายสุดนวัตกรรมเหล่านั้นก็จะสร้างรูปแบบธุรกิจใหม่ ๆ ได้เช่นกัน ดังนั้นสิ่งที่ WEDO ต้องการคือ คนที่มีความสามารถเรียนรู้ และสร้างทักษะทั้ง 3 อย่าง ซึ่งได้แก่ Design, Business และ Technology เป็น T-Shape เพื่อให้เหมาะสมกับพื้นที่ของ WEDO นอกจากทักษะทั้ง 3 ด้านนี้ คนที่เรามองหายังจะต้องมี mindset ที่เหมาะสม

Wedo young talent hell day 2021

แต่การจะหาคนแบบนี้ให้ได้ ยังมีความท้าทายอยู่ ถึงแม้ว่าเราจะเห็นผลการเรียน คณะที่จบมา แต่จะต้องหาวิธีการใหม่เพื่อเฟ้นหาคนที่มีทักษะ และศักยภาพแบบนี้ให้ได้ สำหรับ WEDO เรามองหาคนที่‘DODEE’ ซึ่งจะเป็นคนที่ mindset ดี skillset ดี และ contribution ดี โดยจะมีการแบ่งคนที่เหมาะกับกลุ่มนี้เป็น 3 ส่วน คือ 

  • กลุ่มน้อง ๆ ที่กำลังจะจบ หรือเพิ่งจบการศึกษามาจากมหาวิทยาลัย 

  • กลุ่มคนที่ปัจจุบันอยู่ในระบบการทำงานแล้ว แต่ยังต้องมีการ reskill & upskill รวมทั้งปรับ mindset ในด้านต่าง ๆ 

  • กลุ่มคนวัยเกษียณ ที่จะเปิดให้เข้ามาร่วมงานด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นการให้โอกาสพวกเขากลับเข้ามาในระบบการทำงานอีกครั้ง ให้ลองมาทำงานในรูปแบบใหม่ ๆ 

    ซึ่ง WEDO Young Talent Program 2021 ยังเป็นแค่ 1 ใน 3 ของการค้นหาคนที่มีศักยภาพที่เหมาะสมกับทาง WEDO โดยจะโฟกัสไปเฉพาะกลุ่มเด็ก นักศึกษาที่กำลังจะจบ หรือเพิ่งจบการศึกษาออกมาใหม่ ๆ และในปีหน้านี้ ทาง WEDO ก็จะมีการจัดโครงการ WEDO Senior Talent Program ที่จะเป็นการเข้าไปจับกลุ่ม senior เพื่อให้กลับเข้ามาในระบบของการทำงานอีกครั้ง อีกทั้งยังมี Apprentice Program ที่จะช่วย reskill & upskill ให้กับพนักงานที่ทำงานอยู่แล้ว

ในส่วนของ concept ของ WEDO Young Talent Program ก็คือการทดลองทำงานจริง 10 สัปดาห์กับทาง WEDO เพื่อค้นหาผู้ที่มีทักษะ T-Shape รวมทั้งมี mindset เหมาะสมที่จะต้องตีโจทย์ทางด้านธุรกิจให้เกิดขึ้นจริง ๆ ภายในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งจะแตกต่างจากโปรแกรมการฝึกงานแบบทั่วไป น้อง ๆ จะต้องมีความอึดพอที่จะต้องผ่านทั้งในแง่ของ emotion และ passion 

และสำหรับปีนี้ เนื่องด้วยมีการระบาดของโควิด-19 ทำให้ต้องปรับรูปแบบการคัดเลือกน้อง ๆ เป็นแบบ virtual ซึ่งมีความท้าทายคือต้องทำให้ได้ outcome และ concept เดิม

ระหว่างทางการคัดเลือกน้อง ๆ ทุกคนก็ยังได้เรียนรู้ mindset, skillset, soft skill และ hard skill ได้ความรู้ที่จะเอาไปใช้ในการทำงานอีกด้วย

โดยในการจัดกิจกรรมคัดเลือกรอบสุดท้าย WEDO ได้ร่วมงานกับพาร์ทเนอร์ อย่าง BASE Playhouse ซึ่งคุณม๋ำและคุณแม็กก็กล่าวถึงบทบาทของ BASE Playhouse ว่าพวกเขาเป็น startup ที่ช่วยในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ (Design Learning) ให้กับองค์กร ได้เข้ามาช่วยออกแบบการจัดกิจกรรมของโปรเจกต์นี้ และเกิดมาเป็น Hell Day ที่มีการสร้างสถานการณ์จำลอง 24 ชั่วโมงในการดำเนินโปรเจกต์ที่มีความท้าทายกับเหล่าน้อง ๆ ที่เป็นผู้เข้าแข่งขันทุกคน เพื่อทดสอบความสามารถในระยะเวลาการทำกิจกรรมแบบ 24 ชั่วโมงในแบบออนไลน์ และสุดท้ายทาง BASE Playhouse ได้ทำรีพอร์ต 9 soft skills ของเด็กแต่ละคนออกมา เพื่อใช้ในการคัดเลือกให้เหลือผู้เข้าแข่งขัน 50 คนสุดท้าย

ความท้าทายในการจัดงานแบบออนไลน์

คุณอาร์ทเชื่อว่าการจัดงานแบบออนไลน์ก็ถือเป็นนวัตกรรมในการปรับตัวอย่างหนึ่งเช่นกัน เพราะเป็นระบบใหม่ที่ยังไม่เคยใช้เลย ซึ่งเราใช้แพลตฟอร์ม Airmeet ที่สามารถสร้างประสบการณ์ในการออดิชั่นได้ดีมาก สามารถแบ่งออกเป็น session ต่าง ๆ ได้ดี ทำให้การจัดกิจกรรมที่เปลี่ยนไปในทุก ๆ ชั่วโมงทำได้สะดวกมากขึ้น และในทุก ๆ 1 ชั่วโมง น้อง ๆ จะต้องจัดการเวลา และรับมือกับระบบที่ทำงานบนออนไลน์ตลอดเวลา 

ในส่วนของการจัดกิจกรรมต้องยกให้ทาง BASE Playhouse ที่ช่วยออกแบบมาให้ทำได้ราบรื่นในระบบออนไลน์ ทั้งกิจกรรมกลุ่ม และกิจกรรมเดี่ยวที่ต้องเปลี่ยนจากที่เคยวางแผนไว้ว่าเป็นกิจกรรม on-site มาเป็นกิจกรรมแบบออนไลน์ทั้งหมดในระยะเวลาสั้น ๆ ก่อนเริ่มงานไม่กี่สัปดาห์เท่านั้น ซึ่งกิจกรรมจะต้องมีการทดสอบความรู้ ถาม-ตอบคำถาม ไประหว่างที่ร่วมกิจกรรมหลักอื่น ๆ ทำให้เห็นว่าการนำเอาระบบออนไลน์มาใช้จะต้องปรับอะไรหลาย ๆ อย่าง และทาง BASE Playhouse ก็ออกแบบกิจกรรมต่าง ๆ ออกมาแล้วน้อง ๆ ไม่หลงทาง หรือหายออกไปจากกิจกรรม รวมทั้งมีระบบเก็บคะแนนอย่างละเอียดเพื่อมาประเมินผลหลังจบกิจกรรม และเป็นหลักฐานคะแนนให้น้อง ๆ ทุกคน แต่อย่างไรก็ตามในการดำเนินกิจกรรมก็ยังมีอีกหลาย ๆ อย่างที่ยังต้องปรับปรุงด้วยเช่นกัน เพราะอย่างที่ทราบกันดี กิจกรรมนี้เป็นครั้งแรกที่เราจัดในแบบออนไลน์

Digital Economy ตลาดอนาคตของคนรุ่นใหม่

    คุณอาร์ทมองว่าในอนาคตตลาดแรงงานไทย (ในกรณีที่น้อง ๆ ไม่ได้เป็นเจ้าของธุรกิจหรือเป็นฟรีแลนซ์) จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ บริษัทที่ยังมีธุรกิจอยู่ในอุตสาหกรรมดั้งเดิม เช่น ภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม ภาคขายส่ง หรือกลุ่มระบบเศรษฐกิจดังเดิม และอีกส่วนคือ บริษัทที่เริ่มพัฒนาอุตสาหกรรม และระบบเศรษฐกิจใหม่ อย่างเช่นเรื่องของ Digital Economy, Creative Economy ตัวอย่างเช่น SCG ที่มีรูปแบบทั้ง 2 ส่วนคือ ส่วนที่เป็นภาคอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ที่ในอนาคตอาจจะถูก disrupt ไปบ้าง หรือรายได้ลดลงบ้าง แต่ก็จะยังมีต่อไป และในขณะเดียวกันก็มีการสร้างระบบเศรษฐกิจใหม่ โดยจะเป็น Digital Economy เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

    ดังนั้นน้อง ๆ ก็จะมีตัวเลือก และไม่ต้องกังวล เพราะระบบแบบดั้งเดิมที่มีการดำเนินการแบบชัดเจนก็ยังคงมีอยู่ ที่จะต้องการคนที่มีความเชี่ยวชาญตามสายงานที่น้อง ๆ จบมา เช่น ด้านโลจิสติกส์ ด้านซัพพลายเชน เป็นต้น และงานในระบบเศรษฐกิจใหม่ที่มีความท้าทายเพิ่มมากขึ้นก็จะมีเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในองค์กรที่กำลังทำ Transformation อยู่ ทำให้มีวัฒนธรรมองค์กร และรูปแบบงานที่แตกต่างกันไปโดยสิ้นเชิง จึงต้องการคนที่มีทักษะประเภท T-Shape มากกว่าความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

    “และโครงการ WEDO Young Talent Program ก็เป็นโครงการสำหรับหาน้อง ๆ มาทำงานในระบบเศรษฐกิจแบบใหม่ เพราะมองว่าประเทศของเรายังขาดคนมาทำงานในประเภทนี้ค่อนข้างเยอะ และตอนนี้หลาย ๆ องค์กรใหญ่ก็กำลังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงไปหาโจทย์ธุรกิจใหม่ จึงต้องการคนเหล่านี้มาช่วยขับเคลื่อนเพื่อให้ทำ transformation สำเร็จไปได้ โครงการนี้ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ ในการเตรียมความพร้อมให้กับน้อง ๆ”

ในด้านของคุณม๋ำ และคุณแม็กมองว่า จากจุดประสงค์ของโครงการ Hell Day ก็มีความชัดเจนมากในเรื่องของการเฟ้นหาความสามารถของเด็ก ๆ และในการประเมินผู้ร่วมงานก็มีเรื่องของทักษะ 9 อย่างที่มีความจำเป็นมาก ๆ อย่าง creativity หรือ critical thinking แต่กลับเป็นทักษะที่หลาย ๆ องค์กรกลับไม่ได้ให้ความสำคัญในการดูความสามารถของเด็ก ๆ การที่ WEDO เลือกที่จะหยิบเอาทักษะเหล่านี้ออกมา มันทำให้เห็นว่าทักษะเหล่านี้มันมีความจำเป็นในการช่วยพัฒนาองค์กรยุคใหม่ ที่มีความเป็น Innovative Organization นอกจากนี้ยังทำให้เด็ก ๆ เห็นว่า ยุคนี้ไม่จำเป็นต้องเก่งแค่ในวิชาเรียน ทุกคนจะต้องหาประสบการณ์นอกห้องเรียนเช่นกัน เพราะ soft skill ก็มีความสำคัญมาก ๆ ในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในโลกยุคใหม่นี้

Hell Day

คุณอาร์ทเล่าว่า จากการจัดงาน Hell Day ก่อนจะถึงวันนี้ ทาง WEDO ได้มีการเทรนนิ่งให้น้อง ๆ ทุกคนทั้งในด้านของ Design, Business และ Technology และให้การบ้านเพื่อทำมาส่ง และในวันงานก็เป็นกิจกรรมแบบ 24 ชั่วโมง nonstop อีกทั้งยังมีการออกแบบกิจกรรมที่มีความท้าทาย ในขณะเดียวกันก็อาจจะสร้างความหงุดหงิดให้เด็ก ๆ

ในวันที่เริ่มกิจกรรมใน 12 ชั่วโมงแรกก็จะมีแบบทดสอบเดี่ยวให้ทุกคนได้ทำก่อนเพื่อทดสอบทักษะหลัก ๆ ที่ผู้เข้าร่วมจะต้องมี หลังจากนั้นจะเข้าสู่กิจกรรมที่เป็น team challenge ซึ่งจะเป็นกิจกรรม hackathon ในโจทย์ บอร์ดเกม ภายในระยะเวลา 4 ชั่วโมง ซึ่งใน 4 ชั่วโมงนี้จะมีการทดสอบแบบเดี่ยวกับผู้ร่วมงานแต่ละคนไปพร้อม ๆ กันด้วย และจบกิจกรรมวันแรกด้วยการ pitching ใน 12 ชั่วโมงถัดมาก็จะมีกิจกรรมที่เป็น project base เช่นกันแต่จะให้น้องจับกลุ่มใหม่ โดยจะมีการทำ Hackathon ข้ามคืน พร้อมแทรกแบบทดสอบเดี่ยวเช่นเดิม และจบด้วย final pitching ในเช้าของอีกวัน ทำให้ในโปรเจกต์นี้จะได้เก็บทักษะต่าง ๆ ที่มาจากการทดสอบเดี่ยว ทดสอบกลุ่ม และจากโปรเจกต์ที่พวกเขาทำ รวมทั้งได้เห็น reaction ของน้อง ๆ ในการทำงานที่ทั้งหนัก ทั้งเหนื่อย และกดดันมาก ๆ

ทาง BASE Playhouseได้เล่าเสริมว่า “ผลที่ออกมาก็มีความน่าประทับใจคือ น้อง ๆ สามารถรับมือกับความกดดันได้ดีมาก ทั้งแรงกดดันจากงานกลุ่ม และงานเดี่ยว ทำให้เห็นว่าพวกเขามีความแข็งแกร่งขนาดไหน และสามารถเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ได้ดีมาก ในส่วนของการวัดผลการปฏิบัติงานของน้อง ๆ จะมีทั้งจากการเก็บผลเดี่ยว ๆ และจากการ Pitching ซึ่งจะมีกรรมการดูทั้ง 3 ทักษะ คือ Design, Business และ Technology และถามคำถามเพื่อดูทักษะด้านต่าง ๆ ของน้อง ๆ รวมทั้ง 9 soft skills ด้วยเช่นกัน ซึ่งผลที่ออกมาแล้วพบว่าเด็ก ๆ หลายคนที่สามารถ pitching ได้ดีมีความพร้อมมาก ๆ ในการเข้ามาทำงานในองค์กรได้เลย”

คำแนะนำถึงคนรุ่นใหม่ และองค์กรที่กำลังมองหาเด็กรุ่นใหม่

    สำหรับเด็ก ๆ รุ่นใหม่คุณอาร์ทฝากมาว่า อยากให้เลือกทางเดินของตัวเองให้เจอ เพราะถึงแม้ว่าจะมีคนมาให้คำแนะนำ หรือมีเทรนด์ต่าง ๆ จากสังคมเข้ามา แต่สุดท้ายแล้วน้อง ๆ จะต้องเป็นคนที่เลือกด้วยตัวเอง ถ้า ณ ตอนนี้สำหรับน้อง ๆ ที่ไม่ได้มีแผนจะเป็นเจ้าของ Startup แต่มีแผนจะไปเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรต่าง ๆ ทั้งในอุตสาหกรรมแบบดั้งเดิม หรือแบบใหม่ก็ตาม ในกรณีที่มีศักยภาพดีในสายงานที่ได้เรียนมาก็อาจจะมีการดึงตัวไปสู่อุตสาหกรรมแบบดั้งเดิม หรือ หากไม่ได้มีความชอบในการทำงานกับระบบเศรษฐกิจแบบเดิม ก็อาจจะเดินไปในทางของอุตสาหกรรมแบบใหม่ตามที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งสายนี้น้อง ๆ จะต้องดูว่าเรามี mindset มีทักษะพร้อมหรือไม่ เพราะทั้งยาก และเหนื่อยกว่าแน่ ทั้งยังไม่มีอะไรแน่นอน กล่าวคือ เป็นงานที่มีการเปลี่ยนแปลง และท้าทายตลอดเวลา ดั้งนั้นน้อง ๆ เองจะต้องมี motivation, passion และ determination ที่แข็งแรงพอ มี mindset ที่ต้องการจะเรียนรู้ตลอดเวลา และเรียนรู้หลาย ๆ ด้าน มี mindset ที่เป็น entreprenuer ถึงแม้ว่าจะทำงานให้องค์กรก็ตาม ซึ่งสำคัญมากที่สุด เพราะทักษะต่าง ๆ เราสามารถฝึกได้ ในขณะที่ mindset ต้องอยู่ที่ตัวน้องเอง สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจจะเข้าร่วมหาประสบการณ์กับทาง WEDO ก็สามารถติดต่อเข้ามาได้ก่อนเลย และน้อง ๆ ที่ถึงแม้จะไม่ได้เข้ารอบ 50 คนสุดท้ายเป็น WEDO Young Talent แต่นั่นก็ไม่ใช่จุดสิ้นสุด น้อง ๆ ยังสามารถต่อยอดไปได้อีก

ในส่วนขององค์กร ตอนนี้มักจะหาคนเข้ามาร่วมงานเป็นส่วนใหญ่  เพราะคิดว่าองค์กรยังไม่มั่นคง และยังมีคนไม่พอ ซึ่งคุณอาร์ทมองว่า

“องค์กรใหญ่ ๆ ในประเทศไทยอาจจะร่วมมือกันในการเตรียมความพร้อมให้กับคน เพื่อที่จะเข้ามาทำงาน ตัวอย่างเช่น WEDO Young Talent Program ที่ก็เป็นเพียงจุดเล็ก ๆ ของการเริ่มต้นเตรียมความพร้อมให้กับน้อง ๆ โดยเราได้ไปร่วมมือกับวงการการศึกษาในการค้นหาเด็ก ๆ เพื่อมาลองประสบการณ์ทำงานร่วมกันจริง ๆ ทั้งนี้เราต้องการให้พวกเขามีความพร้อมทั้งด้านความรู้ ทักษะ และความสามารถในการทำงานจริงเมื่อพวกเขาเรียนจบออกมา ซึ่งองค์กรต่าง ๆ ก็สามารถร่วมมือกันได้ในการเตรียมความพร้อมเหล่านี้” 

เนื่องมาจากองค์กรมีรูปแบบธุรกิจ และการทำงานที่แตกต่างกันออกไป นอกจากจะสนับสนุนกลุ่มนักเรียน นักศึกษาแล้ว กลุ่มคนวัยทำงานก็เป็นอีกส่วนสำคัญเช่นกันในการเดินหน้าธุรกิจต่อ ด้วยการ upskill & reskill ให้พวกเขา และท้ายที่สุดนี้ อย่างที่ทราบกันดีว่าสังคมไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งภายใน 2 ปีนี้จะมีอัตราส่วนคนทำงานต่อคนไม่ทำงานอยู่ที่ 2.4 ต่อ 1 ซึ่งอาจจะเป็นผลดีที่จะนำ 1 ส่วนที่ยังมีศักยภาพในการทำงานมาร่วมงานอีกครั้ง

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

5 ข้อแตกต่างที่ทำให้ Jensen Huang เป็นผู้นำใน 0.4% ด้วยพลัง Cognitive Hunger

บทความนี้จะพาทุกคนไปถอดรหัสความสำเร็จของ Jensen Huang ด้วยแนวคิด Cognitive Hunger ความตื่นกระหายการเรียนรู้ เคล็ดลับสำคัญที่สร้างความแตกต่างและนำพา NVIDIA ก้าวสู่ความเป็นผู้นำระดับ...

Responsive image

เรื่องเล่าจาก Tim Cook “...ผมไม่เคยคิดเลยว่า Apple จะมีวันล้มละลาย”

Apple ก้าวเข้าสู่ยุค AI พร้อมรักษาจิตวิญญาณจาก Steve Jobs สู่อนาคตที่เปี่ยมด้วยนวัตกรรม โดย Tim Cook มุ่งเปลี่ยนโฉมเทคโนโลยีอีกครั้ง!...

Responsive image

วิจัยชี้ ‘Startup’ ยิ่งอายุมาก ยิ่งมีโอกาสประสบความสำเร็จ

บทความนี้ Techsauce จะพาคุณไปสำรวจว่าอะไรที่ทำให้ วัย 40 กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของนักธุรกิจและ Startup หลายคน...