สงครามเย็นด้านเทคโนโลยีระหว่างจีนและสหรัฐ จริงๆ แล้วควรนำมาเปรียบเทียบกันหรือ? | Techsauce

สงครามเย็นด้านเทคโนโลยีระหว่างจีนและสหรัฐ จริงๆ แล้วควรนำมาเปรียบเทียบกันหรือ?

ช่วงที่ผ่านมาอาจจะได้เห็นบทความเปรียบเทียบการแข่งขันด้านเทคโนโลยีระหว่างสหรัฐและจีนกันพอสมควร อีกทั้งกระแสข่าวสงครามเย็นระหว่างสองประเทศนี้ ที่ดูท่าว่าจะเข้มข้นเข้าไปทุกที จริงๆ แล้วมันเป็นเรื่องที่ควรนำมาเปรียบเทียบกันหรือเปล่า?

การที่เรานำเรื่องสงครามเย็นมาใช้เป็นคำจำกัดความ อธิบายการแข่งขันระหว่างสองประเทศ อาจเพราะมันเป็นเรื่องง่ายที่สุด ที่จะทำการเปรียบเทียบสถานการณ์ในปัจจุบันที่ยากจะอธิบาย ทั้งในเรื่องสงครามการค้า อุดมการณ์ของแต่ละประเทศ อีกทั้งความตึงเครียดทางภูมิศาสตร์ทางการเมือง ที่ล้วนเชื่อมโยงกับเรื่องเทคโนโลยีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

Ian Bremmer ประธาน Eurasia Group ได้พูดถึงเรื่องนี้ว่า “สงครามเย็นมีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้นในอีกห้าหรือสิบปีข้างหน้า ในปี 2019 นี้ การแข่งขันด้านเทคโนโลยีระหว่างจีนและสหรัฐจะเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะด้าน AI”

Yoshua Bengio ถือเป็นอีกคนที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น grand master ของวงการปัญญาประดิษฐ์สมัยใหม่ ได้ให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า “ผมไม่ค่อยชอบไอเดียการเปรียบเทียบด้าน AI ระหว่างสองประเทศนี้เท่าไร”

Yoshua Bengio
ภาพ Ecole polytechnique | Flickr

“การแข่งขันด้าน AI เป็นเรื่องที่ทุกประเทศสามารถเข้าร่วมได้ทั้งนั้น ในฐานะของนักวิทยาศาสตร์ และคนที่ต้องการสร้างสิ่งดีๆ ผมคิดว่า เราน่าจะไปโฟกัสในการสร้างเทคโนโลยีให้ฉลาดขึ้น อีกทั้งการสร้างความมั่นใจว่า เราจะนำมันมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนให้ได้มากที่สุดได้อย่างไร”

Yoshua กล่าวถึงการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศว่า “ในปัจจุบันการเข้าถึงทรัพยากรของประเทศกำลังพัฒนานับว่าเป็นความท้าทาย มันเป็นเรื่องค่อนข้างยากสำหรับนักวิจัยจากแอฟริกา ที่จะได้เข้ามาทำงานในยุโรป สหรัฐ หรือในแคนาดา สำหรับพวกเขาแล้ว การได้วีซ่าทำงานมันแทบจะเป็นล็อตเตอรี่ ซึ่งปกติมันก็เป็นเรื่องยากสำหรับพวกเขาที่จะทำงานวิจัยด้วยทรัพยากรที่มีจำกัดอยู่แล้ว การที่พวกเขาไม่สามารถเข้าถึงทรัพยากรได้นั้น ผมคิดว่ามันไม่ค่อยยุติธรรมเท่าไร อีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยแก้ปัญหาตรงนี้ ในปี 2020 เราเลยได้จัดงานประชุม The International Conference on Learning Representations (ICLR) ที่แอฟริกา ซึ่งถือเป็นอีกการประชุมใหญ่ในด้าน AI”

ยิ่งเราพัฒนาศักยภาพ AI ให้สามารถใช้ประโยชน์ในประเทศกำลังพัฒนาได้มากเท่าไรยิ่งดี เนื่องจากพวกเข้ามีความต้องการในการพัฒนาด้านเทคโนโลยีมากกว่าเรา

เขายังได้แสดงถึงความกังวลในเรื่องการผูกขาดทางการตลาดของบริษัทพัฒนา AI ในสหรัฐและจีนว่า “นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงควรให้ความสำคัญในประชาธิปไตยด้านการพัฒนา AI มากขึ้น”

“การเปรียบเทียบการค้นคว้าและพัฒนาด้าน AI มีแนวโน้มที่จะโฟกัสไปเรื่องที่ว่า ใครมีอำนาจ มีเงินทุน และมีนักวิจัยมากกว่า แน่นอนว่าเหล่านักศึกษาหัวกะทิก็จะต้องการเข้าไปทำงานในบริษัทชั้นนำ เนื่องจากพวกเขามีเงินและข้อมูลมากกว่า ซึ่งนี่ไม่ใช่เรื่องที่ดีเลย การที่เราให้อำนาจกับคนเพียงไม่กี่กลุ่ม มันเป็นเรื่องที่ค่อนข้างอันตราย”

Yoshua ยังได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการพัฒนาด้าน Deep learning อีกว่า “เราต้องทำการพัฒนา AI ในเรื่องการใช้เหตุผล ความสามารถในการวิเคราะห์เหตุและผล อีกทั้งการเรียนรู้ การรับข้อมูลใหม่ๆ”

มนุษย์สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่ๆ ได้ แต่ AI ทำไม่ได้ หากเราต้องการพัฒนามันให้ถึงขั้นใกล้เคียงกับความเป็นมนุษย์ เราต้องทำการลงทุนในระยะยาว และผมคิดว่าสถาบันการศึกษาควรเป็นผู้นำในด้านนี้

"ผู้นำด้านเทคโนโลยีในปัจจุบันคือประเทศจีน ทั้งด้าน AI และ Big Data ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็มาจากการวางนโยบายของรัฐ อีกทั้งเรื่องระบบความน่าเชื่อถือทางสังคม (Social Credit System)" Yasheng Huang ศาสตราจารย์จาก MIT Sloan School of Management กล่าว

“อย่างไรก็ตาม จีนยังคงต้องพึ่งพาสหรัฐทางด้านการเงิน และทรัพยากรคน จริงๆ แล้วไม่เฉพาะสหรัฐเท่านั้นที่จีนต้องพึ่งพา แต่ยังรวมไปถึงการพึ่งพาด้านอุตสาหกรรมจากญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และประเทศอื่นๆ ด้วย”

Yasheng ยังได้แสดงความเป็นห่วงในการจัดการเรื่องผู้อพยพของสหรัฐว่า “ความร่วมมือด้านงานวิจัยส่วนใหญ่ของ MIT เกิดขึ้นระหว่างนักศึกษาและนักวิจัยที่เป็นคนจีน ซึ่งการที่สหรัฐได้ทำการปิดประตูนี้ลงไปนั้น มันจะก่อให้เกิดผลกระทบมหาศาลอย่างแน่นอน”

สถานการณ์การแข่งขันด้านการพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีของสหรัฐกับจีน ต่างกับสหรัฐกับสหภาพโซเวียตตรงที่ สหรัฐกับสหภาพโซเวียต พัฒนาโดยเป็นอิสระจากกัน ในขณะที่สหรัฐกับจีนนั้น ยังคงต้องพึ่งพากันอยู่

หากทั้งสองประเทศนี้ได้ทำการปิดประตูการค้า สถาบันวิจัยพัฒนานานาชาติ และอุตสาหกรรมการผลิตลง บริษัทและผู้พัฒนานวัตกรรมจะต้องประสบปัญหาแน่นอน เนื่องจากความเสี่ยงมีอยู่ในทุกซัพพลายเชน

ในโลกที่ทุกอย่างเชื่อมถึงกันนี้ ทั้งสหรัฐและจีนจะต้องเผชิญกับ dilemma ในการรักษาซัพพลายเชน โดยเฉพาะความท้าทายในเรื่องความปลอดภัยของความเป็นส่วนตัว การจัดการควบคุมการใช้ AI อีกทั้งยังต้องรับมือกับปัญหาความเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศ เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ในโลกที่ต่างก็ต้องเผชิญเช่นกัน

อ้างอิง MIT Technology Review 1, 2, 3, CNBC

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เป็น Introvert ชีวิตก็ Work ได้ รู้จัก 5 วิธีพัฒนาจุดแข็งและปิดจุดอ่อน เพื่อก้าวหน้าในอาชีพสไตล์ Introvert

หลายครั้งสังคมมักมีความคิดแบบเหมารวมต่อ Introvert ว่าขาดคุณลักษณะที่เหมาะสมกับการทำงาน บทความนี้จะพาไปดูว่า จริงๆ แล้ว Introvert ในที่ทำงานเป็นยังไง และชาว Introvert จะมีวิธีใช้จุด...

Responsive image

จงถ่อมตัวอยู่เสมอ และยินดีกับโอกาสที่ได้รับ แนวคิดชีวิต Charles Leclerc นักแข่ง Formula 1 ผู้โด่งดัง

Charles Leclerc (ชาร์ล เลอแกลร์) นักแข่งฟอร์มูล่า 1 ที่มีชื่อเสียงจากทีม​ Scuderia Ferrari พูดในรายการ Podcast ของ Jay Shetty ถึงจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญในชีวิตเกี่ยวกับเส้นทางอาชีพ แล...

Responsive image

4 วิธีเลี้ยงลูก ให้เก่งแบบ Bill Gates ตามคำแนะนำของนักจิตบำบัด

เลี้ยงลูกยังไงดี ให้เก่งแบบ Bill Gates ลองดู 4 วิธีเลี้ยงลูกที่นักจิตบำบัดแนะนำ...