AirAsia จับมือ Airbus ผนึกกำลังลดคาร์บอน พัฒนาเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน 'SAF' ในอาเซียน | Techsauce

AirAsia จับมือ Airbus ผนึกกำลังลดคาร์บอน พัฒนาเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน 'SAF' ในอาเซียน

AirAsia ประกาศความร่วมมือระยะยาวครั้งสำคัญกับ Airbus ผู้ผลิตเครื่องบินชั้นนำจากยุโรป ขับเคลื่อนการวิจัย และพัฒนาด้านความยั่งยืนในอุตสาหกรรมการบิน เพื่อหมุดหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภูมิภาคอาเซียน

บันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างสองบริษัท จะมุ่งเน้นการศึกษาการผลิตเชื้อเพลิงการบินที่ยั่งยืน (Sustainable Aviation Fuel : SAF) แบบกระจายศูนย์ โดยใช้วัตถุดิบและเทคโนโลยีทางเลือกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความร่วมมือนี้จะช่วยส่งเสริมการพัฒนาเชิงพาณิชย์และขยายการผลิต SAF ในภูมิภาค

นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังจะร่วมกันศึกษาแนวทางปรับปรุงการจัดการจราจรทางอากาศ (Air Traffic Management : ATM) เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยอาศัยความเชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการเชื้อเพลิงของ AirAsia และความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีการบินของ Airbus โดยจะนำแนวทางจากโครงการวิจัย Single European Sky ATM Research (SESAR) ของยุโรปมาประยุกต์ใช้ในภูมิภาคอาเซียน

นายยัพ มุน ชิง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านความยั่งยืน กลุ่ม Capital A กล่าวว่า 

“AirAsia เป็นพันธมิตรหลักของ Airbus ในอาเซียน เพื่อทดสอบความเป็นไปได้ของการผลิตเครื่องบินขนส่งทางอากาศที่พัฒนาโดยใช้วัตถุดิบและเทคโนโลยีทางเลือก รวมถึงโครงการ ATM ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากทีมนวัตกรรมของแอร์บัส ในฐานะสายการบินระดับภูมิภาคที่มีฐานอยู่ใน 5 ประเทศอาเซียน เรานำประสบการณ์การดำเนินงานที่เป็นผู้นำในภูมิภาคมาเสริมความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีของ Airbus ความร่วมมือนี้ช่วยวางรากฐานสำหรับการสร้างโครงการร่วมกันในหลายระดับ เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายในการปรับปรุงประสิทธิภาพด้านสิ่งแวดล้อม”

AirAsia มีเป้าหมายลดการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050 โดยมีแผนอัปเกรดฝูงบินเป็นเครื่องบินรุ่นใหม่ที่ประหยัดน้ำมันและเพิ่มการใช้ SAF  โดยเครื่องบิน Airbus ทุกลำที่ส่งมอบให้ AirAsia ตั้งแต่ปี 2024 เป็นต้นไป จะใช้เชื้อเพลิงผสมที่มี SAF 5%

ปัจจุบัน AirAsia มีคำสั่งซื้อเครื่องบิน Airbus A321 จำนวน 361 ลำ เพื่อรองรับการเติบโตของฝูงบิน และความมต้องการเปลี่ยนเครื่องของสายการบินกลุ่มนี้ คาดว่าภายในปี 2035 การอัปเกรดฝูงบินจะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 10% เมื่อเทียบกับปี 2019 ส่วนประสิทธิภาพในการดำเนินงานและการใช้ SAF จะช่วยลดได้อีก 15% 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เจาะลึกวิกฤตน้ำกับ TCP เมื่อน้ำกำลังจะกลายเป็นของหายาก

วิกฤตน้ำทั่วโลกส่งผลกระทบหนักต่อระบบนิเวศและเศรษฐกิจ TCP เสนอแนวทางแก้ไขผ่าน Nature-based Solutions และกลยุทธ์บริหารจัดการน้ำ เพื่อสร้างความยั่งยืนให้ธุรกิจไทยในยุคโลกร้อน...

Responsive image

David Capodilupo จาก MIT Sloan เปิดเหตุผลตั้งสำนักงานในไทย ต้นแบบสู้ Climate Change อาเซียน

David Capodilupo ผู้ช่วยคณบดีด้านโครงการระดับโลกของ MIT Sloan เผยเหตุผลที่สถาบันเข้ามาตั้งสำนักงานในไทย เพื่อให้ไทยเป็นฮับอาเซียน ในการส่งเสริมการเรียนการสอน การวิจัยพัฒนา การแก้ปั...

Responsive image

SAF เชื้อเพลิงการบินยั่งยืน อุปสรรค และโอกาสครั้งใหญ่ของไทย ถอดแนวคิด Yap Mun Ching ผู้บริหารด้านความยั่งยืนแห่ง AirAsia

การเดินทางทางอากาศ แม้จะเชื่อมโยงโลกเข้าด้วยกัน แต่ก็สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การลดคาร์บอนจึงเป็นภารกิจสำคัญของอุตสาหกรรมการบินทั่วโลก และเชื้อเพลิงการบินที่...