กรณีศึกษา: ความท้าทายและแนวทางการวัด Carbon Footprint ขององค์กรธุรกิจ | Techsauce

กรณีศึกษา: ความท้าทายและแนวทางการวัด Carbon Footprint ขององค์กรธุรกิจ

บริษัทต่างๆทั่วโลก ต้องเผชิญกับความท้าทายในการวัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gas :GHG) ซึ่งการวัดผลดังกล่าวมักจะเป็นก้าวแรกสู่การลดและชดเชยคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) จากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับองค์กร และบริษัทจำนวนมากที่ติด 500 อันดับบริษัทใหญ่ของ Fortune มีความมุ่งมั่นที่จะลดก๊าซเรือนกระจกในเชิงรุก

ยกตัวอย่างเช่น Apple จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Carbon Neutral) ใน Product Line และ Supply Chain ภายในปี 2030  Amazon จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ในทุกการดำเนินงานภายในปี 2040 และ Microsoft จะชดเชยคาร์บอนเครดิตจากการดำเนินงานที่ผ่านมา (ตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทจนถึงปัจจุบัน) ภายในปี 2050

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าไม่ใช่ทุกบริษัทที่จะมีทรัพยากรเพียงพอที่จะปฏิบัติตามเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ แต่บริษัทส่วนใหญ่สามารถวัดและประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกพร้อมเริ่มดำเนินการเพื่อลดการปล่อยมลพิษได้ทันที ไม่เช่นนั้น หากไม่เริ่มดำเนินการ จะทำให้บริษัทต้องแบกรับความเสี่ยงด้านการเงิน ด้านตลาด และความเสี่ยงในทางกฎหมายที่อาจเกิดขึ้นได้ 

ในบทความนี้เราได้หยิบยกกรณีศึกษาที่น่าสนใจ ในการคำนวนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยจะกล่าวถึงแนวทางที่ใช้ในการวิเคราะห์ และความท้าทายที่เกิดขึ้นกับธุรกิจ 

แนวทางในการวิเคราะห์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก

การกำหนดขอบเขตการปล่อยมลพิษ ตามมาตรฐาน Greenhouse Gas Protocol ซึ่งเป็นหน่วยงานที่กำหนดมาตรฐานการรายงานการปล่อยมลพิษสำหรับรัฐบาล สมาคมอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจ โดยบริษัทที่ติดอันดับ Fortune 500 ส่วนใหญ่จะใช้โปรโตคอลในการรายงาน ซึ่งได้มีการกำหนดขอบเขตการปล่อยมลพิษไว้ 3 ขอบเขต ดังนี้

ขอบเขตที่ 1  คือ การคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากเชื้อเพลิงที่องค์กรใช้หรือเป็นเจ้าของ เช่น ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันเบนซินสำหรับรถยนต์ องค์กรขนาดใหญ่อาจรวมการฝังกลบในพื้นที่และเชื้อเพลิงสำหรับการบำบัดน้ำเสีย 

ขอบเขตที่ 2 คือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากพลังงานความร้อน ไอน้ำ และไฟฟ้าที่องค์กรทำการซื้อมา 

ขอบเขตที่ 3 คือ ก๊าซเรือนกระจกที่ไม่ได้เกิดจากแหล่งที่องค์กรเป็นเจ้าของโดยตรงหรือซื้อมา แต่เกิดจากกิจกรรมขององค์กร ซึ่งเป็นขอบเขตที่คำนวณได้ยากและอาจต้องใช้เวลา

ต่อมาคือการเลือกปีฐาน (Base Year) เพื่อวิเคราะห์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งองค์กรส่วนใหญ่จะคำนวณโดยใช้ปีล่าสุด ซึ่งอาจเป็นปีปฏิทินหรือปีงบประมาณที่มีข้อมูลการดำเนินงานครบถ้วน ในการวิเคราะห์การปล่อยมลพิษในแต่ละภาคส่วนและประมาณการลดลงเฉลี่ยจากปีฐาน 

และสุดท้ายเมื่อบริษัทคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตาม GHG Protocol แล้วก็ต้องมาตัดสินใจว่าจะเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะหรือไม่ หากเลือกเปิดเผยข้อมูลก็ต้องมาดูว่าจะทำในรูปแบบใดต่อไป

ความท้าทายการคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 

จากเคสที่กล่าวถึงในบทความนี้ ซึ่งเป็นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่มีการดำเนินงานกระจายอยู่ในหลายพื้นที่ จะเกิดความท้าทายในการเก็บข้อมูลและประมวลผลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งพบว่าแต่ละพื้นที่ดำเนินงานจะมีการเก็บเอกสารค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคในรูปแบบที่ต่างกันออกไป โดยมีทั้งในรูปแบบ Excel และ PDF รวมถึงค่าสาธารณูปโภคจะไม่แยกออกมา แต่รวมอยู่ในค่าเช่าจึงต้องมีการกำหนดพื้นที่อย่างชัดเจนและประเมินการใช้พลังงานโดยเฉลี่ยที่เกิดขึ้นต่อพื้นที่ รวมถึงความไม่สอดคล้องกันของข้อมูล ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นต้นทุนของบริษัท จึงควรมีการจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบและมีความสอดคล้องกันในแต่ละพื้นที่ดำเนินงาน

นอกจากนี้เคสความท้าทายของยานพาหนะ ที่นับวันยิ่งมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณมากขึ้น โดยความท้าทายที่เกิดขึ้น คือการรายงานระยะทางที่มีไม่ครบตลอดทั้งปี บริษัทที่มียานพาหนะในครอบครองจำนวนมากจึงต้องมีการติดตามข้อมูลอย่างใกล้ชิดเพื่อให้สะดวกต่อการระบุปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและสร้างความน่าเชื่อถือ 

แต่สิ่งที่ง่ายกว่าสำหรับการคำนวณในส่วนของยานพาหนะ คือสามารถคำนวณได้จากน้ำมันเบนซินหรือดีเซล 1 แกลลอน ซึ่งมีระยะทางและมีอัตราการปล่อยไอเสียเท่ากันสำหรับรถยนต์หนึ่งคัน และในส่วนของรถยนต์ไฟฟ้านั้นมีข้อได้เปรียบด้านสิ่งแวดล้อมเมื่อเทียบกับรถที่ใช้น้ำมัน ซึ่งการปล่อยมลพิษนั้นจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสถานที่ชาร์จ 

คำแนะนำสำหรับองค์กรธุรกิจ

สำหรับองค์กรที่พร้อมเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการกับปัญหา Climate Change สามารถดำเนินการตามขึ้นตอน ดังต่อไปนี้:

  • กำหนดปีฐาน และประเมินการดำเนินการเพื่อลดการปล่อยมลพิษ

  • คำนวณการปล่อยมลพิษตามขอบเขตที่ 1 และ 2 ข้างต้น

  • ระบุการปล่อยมลพิษจากการดำเนินงานในขอบเขตที่ 3 และนำมาคำนวณ 

  • ทำแผนการดำเนินงานด้านสภาพอากาศด้วยตารางที่แน่นอน พร้อมกำหนดขอบเขตค่าใช้จ่าย

  • จัดทำแผนติดตามการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างต่อเนื่อง

  • เปิดเผยข้อมูลจากการคำนวณต่อผู้ถือหุ้นและลูกค้า  

  • ช่วงเวลาฉลองความสำเร็จจากการดำเนินการ

เมื่อองค์กรต่างๆ ทราบถึงปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแล้ว นี่จะเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่นำไปสู่การหารือถึงสิ่งที่ควรทำในขั้นต่อไปเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้เกิดขึ้นน้อยที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้

ในบทความนี้เป็นการสรุปภาพรวมของแนวทางและความท้าทายเบื้องต้น ผู้อ่านสามารถติดตามรายละเอียดเคสของการคำนวนเพิ่มเติมได้ที่  Sustainable Brands


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เจาะลึกวิกฤตน้ำกับ TCP เมื่อน้ำกำลังจะกลายเป็นของหายาก

วิกฤตน้ำทั่วโลกส่งผลกระทบหนักต่อระบบนิเวศและเศรษฐกิจ TCP เสนอแนวทางแก้ไขผ่าน Nature-based Solutions และกลยุทธ์บริหารจัดการน้ำ เพื่อสร้างความยั่งยืนให้ธุรกิจไทยในยุคโลกร้อน...

Responsive image

David Capodilupo จาก MIT Sloan เปิดเหตุผลตั้งสำนักงานในไทย ต้นแบบสู้ Climate Change อาเซียน

David Capodilupo ผู้ช่วยคณบดีด้านโครงการระดับโลกของ MIT Sloan เผยเหตุผลที่สถาบันเข้ามาตั้งสำนักงานในไทย เพื่อให้ไทยเป็นฮับอาเซียน ในการส่งเสริมการเรียนการสอน การวิจัยพัฒนา การแก้ปั...

Responsive image

SAF เชื้อเพลิงการบินยั่งยืน อุปสรรค และโอกาสครั้งใหญ่ของไทย ถอดแนวคิด Yap Mun Ching ผู้บริหารด้านความยั่งยืนแห่ง AirAsia

การเดินทางทางอากาศ แม้จะเชื่อมโยงโลกเข้าด้วยกัน แต่ก็สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การลดคาร์บอนจึงเป็นภารกิจสำคัญของอุตสาหกรรมการบินทั่วโลก และเชื้อเพลิงการบินที่...