Eco-Runner XII รถยนต์แห่งอนาคตจากนักศึกษาชาวดัตช์ | Techsauce

Eco-Runner XII รถยนต์แห่งอนาคตจากนักศึกษาชาวดัตช์

กลุ่มนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเดลฟท์ ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้ทำการเปิดตัวรถยนต์ Eco-Runner XII (the ERXII) เมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา และเชื่อว่าจะเป็นรถยนต์ไฮโดรเจนที่มีประสิทธิภาพมากที่ในโลก

Image Source : Eco-Runner Team Delft

Hydrogen car คืออะไร

รถยนต์ขับเคลื่อนด้วยไฮโดรเจน เป็นหนึ่งในยานพาหนะที่ใช้เซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนเพื่อขับเคลื่อนมอเตอร์ไฟฟ้า ทำงานได้โดยใช้พลังงานไฮโรเจนในการผลิตกระแสไฟฟ้าที่ไม่ต้องผ่านการเผาไหม้เชื้อเพลิง แต่จะรวมเอาไฮโดรเจนและออกซิเจนมาทำปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมีรวมกัน จะได้ออกมาเป็นพลังงานไฟฟ้า ความร้อน และไอน้ำ ซึ่งพลังงานไฟฟ้าจะถูกเก็บไว้ในแบตเตอรี่จนกว่ามอเตอร์จะเริ่มมีการใช้พลังงาน

ความสำคัญของรถไฮโดรเจน

ถึงแม้ว่ายานพาหนะ zero-emission ถูกใช้ในสังคมมาแล้วกว่า 10 ปี แต่ยาพาหนะที่ใช้แบตเตอรี่นั่นพึ่งเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในระยะหลังนี้ อย่างไรก็ตามผู้ผลิต และผู้ใช้งานก็เริ่มที่จะมองหาพลังงานทดแทนอื่นมากขึ้น เพราะแบตเตอรี่มีค่าใช้จ่ายในการผลิตที่สูง อีกทั้งรถยนต์ไฟฟ้ามีระยะเวลาในการชาร์จนานแต่มีประสิทธิภาพการใช้งานน้อย พลังงานจากไฮโดรเจนจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจและยั่งยืน 

การเปิดตัวรถยนต์ไฮโดรเจน

กลุ่มนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเดลฟท์ ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้ทำการเปิดตัวรถยนต์ Eco-Runner XII (the ERXII) เมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับงาน Shell Eco-marathon 2023 การแข่งขันวิชาการระดับโลกที่นำเอานักศึกษา STEM มาร่วมแข่งขันประดิษฐ์และพัฒนายานพาหนะที่ประหยัดพลังงานมากที่สุด ที่กำลังจะเกิดขึ้นในเดือนมิถุนายนนี้ที่ประเทศฝรั่งเศส โดยทีมนักศึกษานี้มีความตั้งใจที่จะทำลายสถิติของแชมป์ปีที่แล้ว คือรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยเชื้อเพลิงเมทานอล Renault Zoe ซึ่งเดินทางไกลถึง 2,056 กิโลเมตร

ประสิทธิภาพของ ERXII

รถยนต์ไฮโดรเจน ERXII ถูกพัฒนามาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยใช้เทคนิคต่าง ๆ เพื่อทำให้รถมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบาเพียง 80 กิโลกรัม และมีหลักอากาศพลศาสตร์มากขึ้น เช่น การปรับรูปร่างของรถให้ลดแรงเสียดทานตามหลักอากาศพลศาสตร์ และสร้างโครงสร้างรับน้ำหนักที่เบาที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ มีรายงานว่า รถยนต์มีความเร็ว 45 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และคาดว่าจะวิ่งได้ 2,056 กิโลเมตรภายในสามวัน และอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้รถมีประสิทธิภาพคือการจำกัดการสูญเสียพลังงานภายในรถ ไม่ว่าจะเป็นแรงหมุน แรงต้านอากาศ การสูญเสียที่เกิดขึ้นเมื่อเปลี่ยนไฮโดรเจนเป็นไฟฟ้าและการเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานจลน์ เพื่อลดการสูญเสียพลังงานเหล่านี้ ทีมพัฒนาก็ได้ทำงานปรับปรุงระบบส่งกำลังด้วยเชื้อเพลิงใหม่เอง ทำให้การขนส่งมีความยั่งยืนและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

อนาคตของรถไฮโดรเจน

มีหลายประเทศที่กำลังมุ่งเน้นในการเปลี่ยนรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยเชื้อเพลิงเป็นรถยนต์แบตเตอรี่ แต่ทีมพัฒนา Eco-Runner เห็นว่าไม่ควรมองข้ามความสำคัญของรถยนต์ไฮโดรเจนไป หนึ่งในทีมพัฒนากล่าวว่า ถึงแม้ว่ารถยนต์ไฟฟ้าจะเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหายานพาหนะที่ยั่งยืน แต่กริดไฟฟ้านั้นกำลังจะเต็ม และการสร้างกระแสไฟฟ้าให้กับโลกไม่ใช่ทางเลือก ดังนั้นรถยนต์ไฮโดรเจนและรถยนต์ไฟฟ้าก็ล้วนมีความสำคัญไม่ต่างกัน และคาดว่ารถยนต์ไฮโดรเจนจะมีบทบาทมากขึ้นในอนาคตเพราะมีประสิทธิภาพที่ดี ใช้งบในการผลิตน้อย และเติมพลังงานได้อย่างรวดเร็ว


ถือเป็นเรื่องที่น่าสนใจและจับตามองสำหรับแวดวงยานพาหนะที่ยั่งยืนเป็นอย่างยิ่งว่ารถยนต์ไฮโดรเจนของนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเดลฟท์จะสร้างสถิติใหม่ของการเดินทางในงาน Shell Eco-marathon ที่จะจัดขึ้นในเดือนมิถุนายนนี้ได้หรือไม่ และรถยนต์ไฮโดรเจนนี้จะเป็นยานพาหนะที่สร้างความยั่งยืนให้แก่โลกในอนาคตได้มากน้อยเพียงใด 

อ้างอิง

1. ecorunner

2. shellecomarathon

3. hydrogenfuelnews

4. renaultgroup


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

One Bangkok จับมือ 5 สถาบันการเงินชั้นนำ รับดีล Green Loan สูงสุดในประวัติการณ์เพื่อพัฒนาโครงการ

One Bangkok ประกาศลงนามสัญญาสินเชื่อสีเขียวระยะยาวเพื่อพัฒนาโครงการมูลค่า 5 หมื่นล้านบาทร่วมกับ 5 สถาบันการเงินชั้นนำของประเทศไทย ประกอบด้วย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศ...

Responsive image

เจาะลึกวิกฤตน้ำกับ TCP เมื่อน้ำกำลังจะกลายเป็นของหายาก

วิกฤตน้ำทั่วโลกส่งผลกระทบหนักต่อระบบนิเวศและเศรษฐกิจ TCP เสนอแนวทางแก้ไขผ่าน Nature-based Solutions และกลยุทธ์บริหารจัดการน้ำ เพื่อสร้างความยั่งยืนให้ธุรกิจไทยในยุคโลกร้อน...

Responsive image

David Capodilupo จาก MIT Sloan เปิดเหตุผลตั้งสำนักงานในไทย ต้นแบบสู้ Climate Change อาเซียน

David Capodilupo ผู้ช่วยคณบดีด้านโครงการระดับโลกของ MIT Sloan เผยเหตุผลที่สถาบันเข้ามาตั้งสำนักงานในไทย เพื่อให้ไทยเป็นฮับอาเซียน ในการส่งเสริมการเรียนการสอน การวิจัยพัฒนา การแก้ปั...