Farmless Startup ด้าน Agritech นำเสนอการผลิตโปรตีนแบบใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม | Techsauce

Farmless Startup ด้าน Agritech นำเสนอการผลิตโปรตีนแบบใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

Farmless เป็น Startup จากเนเธอแลนด์ผู้มาพร้อมกับแนวทางการสร้างโปรตีนด้วยวิธีการเกษตรแบบใหม่เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่ทำให้ทำการผลิตทางการเกษตรยากขึ้น และรองรับประชากรโลกที่กำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  ล่าสุดบริษัทได้ระดมทุนรอบ Pre-seed เป็นจำนวนเงิน 1.2 ล้านยูโร 

Farmless คือใคร

Farmless คือ Startup ด้าน Agritech จากเนเธอแลนด์ที่ต้องการสร้างโปรตีน โดยไม่ใช้ที่วิธีการเกษตรแบบดั้งเดิม เช่น การทำฟาร์ม เป็นต้น 

โดยในการระดมทุนครั้งนี้มีการร่วมทุนกับกลุ่ม Venture ในด้านสิ่งแวดล้อม ยกตัวอย่างเช่น  Sustainable Food Ventures (SFV) และ VOYAGERS Climate-Tech Fund 

Adnan Oner ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Farmless เชื่อว่าวิธีการใหม่ในการผลิตโปรตีนนี้ สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกสำหรับอาหารที่เรากินและวิธีการที่เราผลิตอาหารได้

การเกษตรและการทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์แบบดังเดิมและที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน มักจะทำให้สูญเสียพื้นที่ป่าไม้ และกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพไม่ว่าจะเป็น การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การใช้สารกำจัดศัตรูพืช หรือเกิดการลดลงของน้ำจืดรวมไปถึงการพังทลายของดิน ซึ่งประมาณ 90% มักจะเกิดในพื้นที่เขตร้อน 

ภาพจาก : Farmless

วิธีการที่ Startup ด้าน Agritech ทำส่วนใหญ่เป็นหมักด้วยการนำโปรตีนที่มาจากเซลล์เดียวและ ใช้ก๊าซไฮโดรเจนรวมถึงคาร์บอนไดออกไซด์ ยกตัวอย่างเช่น Solar Foods ของฟินแลนด์ Air Protein จากแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา แต่การของวิธีการที่ Farmless ใช้กลับแตกต่างออกไป

วิธีการที่ Farmless ใช้เป็นกระบวนการหมักที่ไม่ต้องพึ่งน้ำตาลแต่จะใช้วัตถุดิบที่เป็นของเหลว ที่ประกอบไปด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ ไฮโดรเจน พลังงานทดแทนอย่างเช่น ไฟฟ้าหมุนเวียน และใช้แบคทีเรียที่ Non-GMO เปรียบเทียบให้เห็นภาพง่ายขึ้นก็คือ เหมือนกับการต้มเบียร์ แต่นี่คือการต้มจุลินทรีย์ที่เลือกมาเพื่อเป็นอาหาร กระบวนการนี้แตกต่างจาก Startup รายอื่นๆที่จะใช้ ก๊าซที่เป็นก๊าซเฉยๆ และเซลล์ในห้อง Lab 

วิธีการของ Farmless จะทำให้กระบวนการผลิตโปรตีน ไม่จำเป็นต้องใช้ที่ดิน

การทำไร่นาการเกษตรหรือการทำฟาร์มปศุสัตว์ล้วนขึ้นอยู่กับประเภทของฟาร์มที่เราต้องการจะทำ ยกตัวอย่างเช่น เลี้ยงโคกระบือ ต้องใช้พื้นที่ 1 ตัวต่อ 5 ไร่ อ้างอิงจาก ประกาศกระทรวงการคลัง และกระทรวงมหาดไทย

การผลิตโปรตีนแบบใหม่ของ Farmless จะใช้พื้นที่น้อยลงถึง 100- 500 เท่าเมื่อเทียบกับพื้นที่ สำหรับการเลี้ยงสัตว์หรือผลิตโปรตีนจากสัตว์ และใช้พื้นที่เพียง 10-100 เท่าเมื่อเทียบกับ การปลูกพืชหรือการเกษตร อีกทั้งแทบไม่ต้องใช้ที่ดินในการผลิต

เราเชื่อว่าเทคโนโลยีนี้มีศักยภาพที่จะสามารถยุติการเลี้ยงสัตว์ในโรงงาน เปลี่ยนแปลงพื้นผิว ของดินให้กลับคืนสู่ธรรมชาติ, และลดปริมาณคาร์บอนออกจากบรรยากาศได้หลายล้านกิกะตัน

                                               Adnan Oner CEO ของ Farmless กล่าว 

มองภาพรวมในระยะยาว

Farmless มองว่าวิธีการผลิตหมักโปรตีนแบบใหม่นี้จะสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงในอีก 10 ปีข้างหน้า เพื่อสร้างอาหารแบบทดแทนได้ และเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ให้มากขึ้น ลดพื้นที่สำหรับเกษตรกรรมลง และ ลดการผลิตอาหารจากเนื้อสัตว์

ภาพจาก : Farmless

แม้ว่าภาพรวมระหว่างบริษัทและนักลงทุนจะเป็นไปในเชิงบวก แต่หลังจากนี้ Farmless อาจต้องเจออุปสรรคจากหน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหารแห่งสหภาพยุโรป (EFSA) 

ในสหภาพยุโรปผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆต้องได้รับการประเมินโดยหน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหารแห่งสหภาพยุโรป หรือ EFSA ก่อนที่จะมีการพิจารณาโดยคณะกรรมาธิการยุโรปสำหรับ การอนุญาตทำตลาดในลำดับต่อไป 

โดย EFSA พิจารณาข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่ทั้งหมดในการประเมินความเสี่ยงภายใต้ กฎหมายของสหภาพยุโรป ผู้สมัครที่ขอใบอนุญาตดังกล่าวจะต้องให้ข้อมูลที่จำเป็นและ ข้อมูลที่สนับสนุนความปลอดภัยของวัตถุเจือปนในอาหาร ตามข้อกำหนดของ EFSA

ในการตรวจสอบของ EFSA จะมีเครื่องมือประเมินการสัมผัสสารเฉพาะที่ทาง EFSA คิดขึ้น หลักๆในการประเมินคือ

  • การประเมินความปลอดภัยของอาหาร (Food Safety Assessment): EFSA จะประเมินความปลอดภัยของสารอาหารและส่วนผสมอื่นๆ ในผลิตภัณฑ์อาหาร โดยพิจารณาความเป็นอันตรายของสารเคมี ภาพรวมของการบำรุงสุขภาพ และความพร้อมในการบริโภค
  • การประเมินสารอาหารใหม่ (Novel Food Assessment): หากผลิตภัณฑ์อาหารมีส่วนประกอบหรือแบบฉบับใหม่ที่ไม่เคยถูกบริโภคก่อนหน้านี้ จะต้องผ่านกระบวนการประเมินสารอาหารใหม่ ที่เน้นการวิจัยและการรับรองความปลอดภัยของสารอาหารใหม่ พร้อมกับการติดตามผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภคในระยะยาว

แต่เนื่องจากผลิตภัณฑ์ของ Farmlessจึงยังเป็นอุปสรรคทั้งการยอมรับและการทดสอบในการ ให้ผู้คนรับประทานเนื่องจากเป็นโปรตีนเทียมแบบใหม่จึงไม่สามารถรับฟีดแบ็คจากลูกค้าได้  และอาจต้องใช้ระยะเวลาที่นานถึงจะได้รับการรองรับ

ในเนเธอแลนด์ยังมีกฎข้อบังคับในเรื่องของการผลิตของหมักและการส่งผลิตภัณฑ์ไปสู่ผู้บริโภค กรณีของ Farmless จะเป็นในเรื่องของผลิตภัณฑ์ทางเลือกที่ยังมีข้อบังคับที่ซับซ้อน

Adnan  Oner มองว่ารัฐบาลและเอกชนควรมีการสนับสนุนเทคโนโลยีนี้เหมือนกับที่สนับสนุน รถยนต์ไฟฟ้าหรือ พลังงานทดแทนต่างๆ เพราะเมื่อได้รับการสนับสนุนนั้นจะทำให้ผลิตภัณฑ์นี้

มีราคาที่จับต้องได้กับบุคคลทั่วไปในที่สุด แม้ว่าจะมีอุปสรรคจากกฎเกณฑ์ต่างๆ และการยอมรับจากผู้คนที่ยังต้องการโปรตีนจากสัตว์จริงๆรวมไปถึงการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ให้มีศักยภาพมากขึ้น 

ที่มา : TechCrunch, Food Matters Live, EFSA, ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

สรุป 35 ความเสี่ยงจาก Global Risks Report 2025 ที่ธุรกิจไม่ควรมองข้าม

เจาะลึก Global Risks Report 2025 โดย World Economic Forum วิเคราะห์ 35 ความเสี่ยงระดับโลกที่สำคัญ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคม และเทคโนโลยี พร้อมแนวโน้มสำคัญในปี 2025, 2027 แ...

Responsive image

บางจาก ได้สินเชื่อรายแรกในไทย 6,500 ล้านบาทเพื่อพัฒนา SAF จากธนาคารยูโอบี ประเทศไทย

ธนาคารยูโอบี มอบสินเชื่อ 6,500 ล้านบาท สนับสนุนบางจากฯ พัฒนาโครงการน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน (SAF) แห่งแรกในไทย ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สูงสุด 80% เพื่อเป้าหมาย Net Zero 20...

Responsive image

One Bangkok จับมือ 5 สถาบันการเงินชั้นนำ รับดีล Green Loan สูงสุดในประวัติการณ์เพื่อพัฒนาโครงการ

One Bangkok ประกาศลงนามสัญญาสินเชื่อสีเขียวระยะยาวเพื่อพัฒนาโครงการมูลค่า 5 หมื่นล้านบาทร่วมกับ 5 สถาบันการเงินชั้นนำของประเทศไทย ประกอบด้วย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศ...