นวัตกรรม เทคโนโลยี ในการจัดการน้ำ ตามแนวพระราชดำริอย่างยั่งยืน | Techsauce

นวัตกรรม เทคโนโลยี ในการจัดการน้ำ ตามแนวพระราชดำริอย่างยั่งยืน

สรุปสาระสำคัญจากงาน ปลุกพลังความร่วมมือสู่เป้าหมายความยั่งยืน (Collaborative Partnership for Sustainability)  ในหัวข้อ "นวัตกรรม เทคโนโลยี ในการจัดการน้ำ ตามแนวพระราชดำริอย่างยั่งยืน"  บรรยายโดย ดร.รอยล จิตรดอน กรรมการและเลขาธิการ มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

การจัดการน้ำ

ในช่วงต้นของการแก้ปัญหาระบบการจัดการน้ำของไทย มีจุดเริ่มต้นจากแนวคิดการแก้ปัญหาเรื่องของความมั่นคงทางน้ำสำหรับภาคการเกษตรโดยการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งเมื่อมีการพัฒนาแหล่งน้ำในชนบทเพื่อให้ภาคการเกษตรในพื้นที่ชนบทมีน้ำใช้อย่างพอเพียงแล้ว สิ่งที่ได้ทรงแก้ปัญหาต่อมาก็คือปัญหาน้ำในเมือง และการแก้ปัญหาน้ำเสีย สุดท้ายจึงเป็นปัญหาเรื่องชายฝั่ง กลายเป็นโครงการในพระราชดำริที่ดำเนินการอยู่ทั่วประเทศ

ต่อมาเมื่อมีการใช้ระบบการเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ผ่านระบบสารสนเทศ ทำให้พบโจทย์น้ำที่สำคัญของประเทศไทย คือ ประเทศไทยมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยจากเดิมประมาณ 1,300 มิลลิเมตรต่อปี แต่หลังจาก Climate Change ทำให้ค่าเฉลี่ยขึ้นไปถึง 1,500 มิลลิเมตรต่อปี ปริมาณฝนมีอยู่ 7 แสนกว่าล้านลูกบาศก์เมตร กลายเป็นน้ำอยู่ประมาณ 2 แสนกว่าล้านลูกบาศก์เมตร ในขณะที่ความจุของอ่างมี 70 ล้านลูกบาศก์เมตร จากความจุรวมของอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 35 แห่งทั่วประเทศ แต่ปรากฏว่าน้ำไม่ไหลลงอ่างเพราะการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานและการใช้น้ำจากการท่องเที่ยวที่ขัดขวางการไหลของทางน้ำลงสู่อ่างเก็บน้ำปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำ เฉลี่ย ปีละ 40,335 ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะที่ความต้องการใช้น้ำแต่ละปี มากกว่า 1.5 แสนล้านลูกบาศก์เมตร

ในพื้นที่ชนบทต้องการใช้น้ำแค่ 80 ลิตรต่อคนต่อวันคน ในเมือง 200 กว่าลิตรต่อคนต่อวัน ในขณะที่ภาคการท่องเที่ยวต้องการ 1,200 ลิตรต่อคนต่อวัน ซึ่งไทยมีร่องรอยการใช้น้ำต่อคน สูงเป็นอันดับ 5 ของโลก โดยภาคการเกษตรใช้น้ำมากที่สุด ทั้งโดยตรงและตลอดห่วงโซ่การผลิตสินค้าเกษตร  คาดการณ์ว่าอีก 20 ปีข้างหน้า ความต้องการใช้น้ำทั้งประเทศเพิ่มขึ้น 25% 

การจัดการน้ำ

ปัญหาการขาดแคลนน้ำในภาคการเกษตรกลายเป็นภาระของประเทศเพราะว่าผลผลิตการเกษตรไม่ได้ผลเพราะการจัดการน้ำ จากปริมาณน้ำฝนทั้งหมดที่ตกอยู่ปัจจุบัน พบว่า ความต้องการน้ำที่ยังจัดการไม่ได้อีกกว่า 73,116 ล้านลูกบาศก์เมตร หนึ่งในทางแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนซึ่งเป็นแนวพระราชดำริที่ทรงพระราชทานไว้ คือ การเปลี่ยนรูปแบบการบริหารจัดการจากแบบศูนยก์กลางโดยภาครัฐเป็นผู้ควบคุมผ่านนโยบาย มาเป็นการกระจายอำนาจโดยความร่วมมือระหว่างภาคเอกชน ประชาชน และรัฐบาล โดยให้ชุมชนเป็นผู้บริหารจัดการน้ำในท้องที่เอง

ยกตัวอย่างเช่น ในปี 2560 กลุ่มธุรกิจ TCP มูลนิธิอุทกพัฒน์ฯ และ สสน.  ร่วมกันดำเนินงานบริหารจัดการน้ำตามแนวพระราชดำริ ด้วย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการน้ำ โดยน้อมนำแนวพระราชดำริการบริหารจัดการน้ำชุมชนของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ดำเนินงาน ในพื้นที่ลุ่มน้ำยม (ชุมชนบ้านแม่ขมิง) และ ลุ่มน้ำบางปะกง (ชุมชนดงขี้เหล็ก) เกิดเป็น “โครการ TCP  โอบอุ้มลุ่มน้ำไทย” โดยมีการทำ บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ“การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำชุมชนตามแนวพระราชดำริ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” ซึ่งถือเป็นต้นแบบการทำงานแบบ 3 ประสาน ระหว่าง ชุมชน เอกชน รัฐ อย่างแท้จริง

ท้ายที่สุดภาคเอกชนจะเป็นหัวใจของการเปลี่ยนอุตสาหกรรมการเกษตร เนื่องจากเป็นภาคที่มีความสำคัญต่อ GDP ของประเทศไทยอย่างมาก และเกี่ยวพันกับห่วงโซ่อุปทานที่ภาคธุรกิจและผู้บริโภคต้องการ ดังนั้นในท้ายที่สุด เมื่อได้รับการสนับสนุนทางด้านความรู้ เทคโนโลยี จากภาคเอกชน และได้รับความร่วมมือจากภาครัฐ ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในภาคการเกษตร นำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนได้




ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

บางจาก ได้สินเชื่อรายแรกในไทย 6,500 ล้านบาทเพื่อพัฒนา SAF จากธนาคารยูโอบี ประเทศไทย

ธนาคารยูโอบี มอบสินเชื่อ 6,500 ล้านบาท สนับสนุนบางจากฯ พัฒนาโครงการน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน (SAF) แห่งแรกในไทย ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สูงสุด 80% เพื่อเป้าหมาย Net Zero 20...

Responsive image

One Bangkok จับมือ 5 สถาบันการเงินชั้นนำ รับดีล Green Loan สูงสุดในประวัติการณ์เพื่อพัฒนาโครงการ

One Bangkok ประกาศลงนามสัญญาสินเชื่อสีเขียวระยะยาวเพื่อพัฒนาโครงการมูลค่า 5 หมื่นล้านบาทร่วมกับ 5 สถาบันการเงินชั้นนำของประเทศไทย ประกอบด้วย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศ...

Responsive image

เจาะลึกวิกฤตน้ำกับ TCP เมื่อน้ำกำลังจะกลายเป็นของหายาก

วิกฤตน้ำทั่วโลกส่งผลกระทบหนักต่อระบบนิเวศและเศรษฐกิจ TCP เสนอแนวทางแก้ไขผ่าน Nature-based Solutions และกลยุทธ์บริหารจัดการน้ำ เพื่อสร้างความยั่งยืนให้ธุรกิจไทยในยุคโลกร้อน...