Invisible e-waste ขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่คนมองข้าม

นอกเหนือจากขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่าง แล็ปท็อป สมาร์ทโฟน และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ที่เราคุ้นเคยแล้ว ยังมีขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่มองไม่เห็นหรือ Invisible e-waste ที่กำลังสร้างผลกระทบต่อทั้งสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ

Invisible e-waste ภัยเงียบที่มาพร้อมกับผลกระทบมากมาย

จากการศึกษาครั้งใหม่ของสถาบันฝึกอบรมและการวิจัยแห่งสหประชาชาติ (UNITAR) พบว่า Invisible e-waste มีจำนวนสูงถึง 9 พันล้านกิโลกรัมต่อปี หรือเป็น 1 ใน 6 ของขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดทั่วโลก

ไม่ว่าจะเป็น สายไฟที่ไม่ได้ใช้ แปรงสีฟันไฟฟ้า เสื้อผ้าที่ตกแต่งด้วย LED บุหรี่ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เล็ก ๆ รวมถึงชุดรถแข่งของเล่น ของเล่นที่มีเสียง โดรน และอื่น ๆ อีกมากมาย ล้วนถือเป็น Invisible e-waste ทั้งสิ้น ซึ่งเกิดเป็นขยะถึง 7.3 พันล้านชิ้นต่อปี ซึ่งสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่มักถูกมองข้ามเหล่านี้ก่อให้เกิดความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจอย่างมาก

ปัญหาในการกำจัด Invisible e-waste อยู่ตรงส่วนประกอบที่เป็นวัสดุอันตรายซึ่งส่งผลกระทบกัยสิ่งแวดล้อม เช่น ตะกั่วหรือปรอทที่สามารถปนเปื้อนลงนํ้าและดินหากกำจัดด้วยการฝังกลบ รวมถึงแบตเตอรี่ลิเทียม ที่มาจากบุหรี่ไฟฟ้าแบบใช้แล้วทิ้ง มีความเสี่ยงเกิดไฟไหม้หากกำจัดผิดวิธี อีกทั้งแบตเตอรี่ลิเทียม ยังเป็นหนึ่งในวัตถุดิบสำคัญทั้งทางเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงยุโรปไปสู่ยุคพลังงานสะอาด

รวมถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจ โลกสูญเสียกว่า 9.5 พันล้านดอลลาร์ จากการไม่รีไซเคิล Invisible e-waste ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเหล็ก ทองแดง และทองคำ ที่สามารถนำกลับมาใช้ซํ้าได้ จากรายงานของ WEEE Forum สมาคมนานาชาติที่รวบรวมข้อมูลด้านขยะอิเล็กทรอนิกส์ กล่าวว่า ในปี 2019 สายเคเบิลทองแดงที่ถูกทิ้งสามารถรีไซเคิลได้ถึง 950 กิโลกรัม ซึ่งเป็นปริมาณที่พันรอบโลกได้มากถึง 107 ครั้ง 

จัดการกับ Invisible e-waste ด้วยกฎหมาย

ความพยายามในการต่อสู้กับวิกฤตนี้เกิดขึ้นในยุโรปกว่าสองทศวรรษผ่านกฎหมาย Extended Producer Responsibility หรือ EPR ระบบที่การขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิตตั้งแต่ขั้นตอนออกแบบ การใช้ซํ้า จนไปถึงการบำบัด เพื่อให้ผู้ผลิตตระหนักถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมอย่างครบวงจร 

แต่อัตราการรวบรวมขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกมีเพียง 17% เท่านั้น จากการที่หลาย ๆ ประเทศยังไม่มีการบังคับใช้กฎหมาย EPR  จึงมีการเรียกร้องให้เพิ่มความตระหนักรู้ เช่นเดียวกับการให้ความสำคัญกับมลพิษจากพลาสติก เพื่อแก้ไขปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

International E-Waste ในวันที่ 14 ตุลาคมนี้ หวังว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความตระหนักรู้และสามารถจัดการกับ Invisible e-waste ด้วยความรับผิดชอบ เป็นส่วนสำคัญต่ออนาคตที่ยั่งยืน รักษาสภาพแวดล้อมและทรัพยากรอันมีค่าเพื่อคนรุ่นต่อ ๆ ไป

อ้างอิง: interestingengineering, theverge, thaiplastics


No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

VTT จับมือ Refinity ถ่ายทอดเทคโนโลยี Olefy พลิกโฉมการรีไซเคิลพลาสติกแบบผสมสู่เวทีโลก

VTT หน่วยงานวิจัยและพัฒนาแห่งชาติของฟินแลนด์ ได้ลงนามถ่ายทอดสิทธิการใช้ Olefy เทคโนโลยีการรีไซเคิลพลาสติกแบบผสม (mixed plastic recycling) ให้กับบริษัท Refinity...

Responsive image

Muhammad Yunus เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ปี 2006 กล่าวอะไรบ้างบนเวที BIMSTEC Young Gen Forum

Pro.Muhammad Yunus เดินทางมาร่วมงาน BIMSTEC Young Gen Forum: Where the Future Meets งานสัมมนาคู่ขนานกับการประชุมผู้นำ BIMSTEC ครั้งที่ 6 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ สาระสำคัญมีอะไรบ้า...

Responsive image

"Fungal Battery" แบตเตอรี่ชีวภาพจากเชื้อรา พิมพ์ 3D ได้ ผลิตไฟฟ้าเองได้ ย่อยสลายได้จริง

แบตเตอรี่ชีวภาพจากเชื้อรา นวัตกรรมใหม่จากสวิตเซอร์แลนด์ ใช้เทคโนโลยี 3D Printing ผสมเชื้อราสร้างแบตเตอรี่ที่ผลิตไฟฟ้าได้จริง ย่อยสลายตัวเองได้ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมพลิกวงการ...