"เราต้องออกจาก Ego และมุ่งสู่ Eco" Marc Buckley ชวนตั้งคำถามถึงอนาคตของมนุษยชาติ บนฐานคิดเชิงนิเวศวิทยาที่ทุกชีวิตล้วนเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน | Techsauce

"เราต้องออกจาก Ego และมุ่งสู่ Eco" Marc Buckley ชวนตั้งคำถามถึงอนาคตของมนุษยชาติ บนฐานคิดเชิงนิเวศวิทยาที่ทุกชีวิตล้วนเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน

‘สิ่งแวดล้อม’ หนึ่งในประเด็นเร่งด่วนระดับโลกที่หลายประเทศกำลังดำเนินการควบคุมผลกระทบหรือพยายามที่จะแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน การมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (Environmental Social Governance) มีความสำคัญต่อองค์กรทั่วโลกมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในระดับสังคมคนทั่วไป โดย Climate Tech ก็เป็นหัวข้อใหม่ที่ถูกเพิ่มในงาน Techsauce Global Summit ในปีนี้ด้วยเช่นกัน สำหรับ Main Stage เราได้รับเกียรติจาก Marc Buckley นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมและสภาพอากาศ ผู้เชี่ยวชาญด้าน Ecological Economist ที่ทำงานร่วมกับ UN, WEF, ALOHAS Regenerative Foundation ที่ได้มาร่วมแชร์ความรู้ แนวคิด และสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้ชมเกี่ยวกับความเชื่อและวิธีการทำงานเพื่อขับเคลื่อนสังคมไปสู่โลกที่ดีกว่า ปัจจุบันปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความไม่มั่นคงทางอาหาร รวมถึงปัญหาที่ลึกซึ้งในเชิงระบบนิเวศของสิ่งมีชีวิตถูกให้ความสนใจมากขึ้น  

"เราต้องออกจาก Ego และมุ่งสู่ Eco" Marc Buckley ชวนตั้งคำถามถึงอนาคตของมนุษยชาติ บนฐานคิดเชิงนิเวศวิทยาที่ทุกชีวิตล้วนเชื่อมโยงซึ่งกันและกันนอกจากนี้ยังเปิดเผยถึงตัวชี้วัดของหน่วยงานระดับโลกและมุมมองเกี่ยวกับเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมในฐานะ ตัวแทนสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาด้านความยั่งยืนหรือ SDG’s ผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาด้าน ESG ให้กับองค์กรและ Sustainable Futurist & Sustainable Innovator นักปฏิรูป Regenerative Futurist ที่ได้รับการยอมรับในระดับโลก

Symbiocene ยุคใหม่ของมนุษยชาติ ความเชื่อมโยงซึ่งกันและกันระหว่างสิ่งมีชีวิตบนโลก

Marc Buckley เสนอแนวความคิดในมุมมองที่น่าสนใจเกี่ยวกับ Symbiocene ที่ถูกกล่าวถึงในปี 2011 โดย Glen Albrecht ที่ได้อธิบายถึง 'ยุคใหม่ของมนุษยชาติที่อยู่บนแกนหลักของการคิดเชิงนิเวศวิทยาที่ยืนยันความเชื่อมโยงระหว่างมนุษย์และสิ่งมีชีวิตบนโลกนี้' เขาแย้งว่าการแนวคิดยุคปัจจุบันอย่างการตั้งมั่นโดยมนุษย์เป็นหลัก Anthropocene ในเรื่องของเกี่ยวกับสภาพอากาศนั้นเป็นไปในทางลบเป็นส่วนใหญ่ เขาอ้างอิงถึงหนังสือ Symbiocene Planet ซึ่งเขียนโดย Lynn Margulis ที่นำเสนอเกี่ยวกับ Symbiotic planet และ หลักการวิวัฒนาการของ Symbiosis ของนวัตกรรมและเทคโนโลยีและนวัตกรรมบนโลก จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเราใช้ Symbiosis ในธุรกิจ ชีวิตของเรา องค์กร หรือโลกของเราในอนาคต 

“ต่อไปมหาเศรษฐีจะเป็นผู้ประกอบการในธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หากคุณพยายามแก้ปัญหาของผู้คนจริงๆ หลายพันล้านคน และเรามีปัญหามากกว่าหนึ่งข้อในโลกนี้  ดังที่เห็นว่าเรามีผู้ประกอบการที่ยอดเยี่ยมมากมายที่สร้างสรรค์นวัตกรรมมากมาย มีการดำเนินงานแบบพึ่งพาอาศัยกันด้วยรูปแบบธุรกิจบนระบบแพลตฟอร์มที่สร้างขึ้นใหม่ ทุกดอลลาร์ใช้เพื่อแก้ปัญหาความทุกข์ทรมานของมนุษย์หรือความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ระดับโลก ความมั่งคั่งที่แท้จริงจะมาพร้อมกับ Symbiocene”

จุดประสงค์ในการดำรงอยู่ โลกที่เหมาะกับทุกคนมีหน้าตาอย่างไร?

Marc Buckley ชวนผู้ชมตั้งคำถามว่าก่อนทศวรรษนี้จะหมดลง เราจะทำอะไร? หรือในอีก 8 ปีข้างหน้า หรือก่อนถึงธันวาคม 2030? เราจะทำอะไร? โลกที่ทุกคนอยากเห็นจะเป็นอย่างไร ? เขากล่าวว่า เราควรคิดถึงภาพในอนาคต เพื่อจินตนาการถึงโลกที่เราต้องการ แล้วเราจะมีภาพนี้ได้อย่างไร

Marc เล่าเรื่องเกี่ยวกับเพื่อนของเขา Dr. Bertrand Piccard ซึ่งเป็นชายคนแรกที่บินรอบโลกด้วยเครื่องบินพลังงานแสงอาทิตย์ โดยเขาค้นพบวิธีนำแผงโซลาร์เซลล์ถูกประดิษฐ์ขึ้นในปี ค.ศ. 1800 และหลักการการสร้างเครื่องบินของพี่น้องตระกูลไรท์ในช่วงต้นทศวรรษ 1900 มาพัฒนาร่วมกัน สร้างแรงบันดาลใจในการคิดต่อยอดจากเทคโนโลยีเดิม 

"เราต้องออกจาก Ego และมุ่งสู่ Eco" Marc Buckley ชวนตั้งคำถามถึงอนาคตของมนุษยชาติ บนฐานคิดเชิงนิเวศวิทยาที่ทุกชีวิตล้วนเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน

คุณไม่จำเป็นต้องประดิษฐ์ล้อใหม่ เพียงแค่ต้องการค้นหาแอปพลิเคชันที่ดีกว่า เราไม่ได้ออกจากยุคหินเพราะไม่มีหินอีกต่อไป เราออกจากยุคหิน เพราะ คนเราค้นพบวิถีการใช้ชีวิตที่ดีกว่าเดิม

ในคลิปของ Dr. Piccard ที่พูดคุยกับ UN ขณะอยู่บนเครื่องบินพลังงานแสงอาทิตย์ เขากล่าวว่า “จงเป็นผู้บุกเบิก เป็นนักผจญภัย และเป็นนักสำรวจหาทางออกของวันนี้ นี่คือวิธีที่เราสามารถสร้างโลกที่ดีขึ้นได้ เพราะเรามีทางออก” การมีความคิดที่เปิดกว้างจะช่วยให้เราค้นพบวิธีอื่นๆ ที่ดีกว่าในการทำสิ่งต่างๆ

Marc เล่าต่อว่า การเปลี่ยนแปลงไม่ได้เดินทางเป็นเส้นตรง ตั้งแต่ยุคค้าขายจนถึงยุคอุตสาหกรรม แม้กระทั่งอารยธรรมที่เกิดขึ้นตลอดช่วงประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา เกิดการ Disruption ที่ท้าทายซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งวิถีชีวิตและระบบความคิดของมนุษย์ การฝ่าฟันแต่ละครั้งทำให้มนุษย์ก้าวหน้ามากขึ้นในการดึงทรัพยากร คิดค้นหาวิธีรับมือการเปลี่ยนแปลง มนุษยชาติถูกบีบบังคับให้สร้างระบบที่ไม่เท่าเทียมกันเพื่อให้สามารถแข่งขันได้และเพื่อความอยู่รอดของเรา

ปัจจุบันเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่โลกเก่าของเราพังทลายลง เกิดวิถีทางในการการผลิตแบบใหม่ตามความต้องการ สมาร์ทโฟนกลายเป็นแท่นพิมพ์ใหม่ของเรา เปลี่ยนวิธีที่เราเชื่อมต่อกันและกัน แสงอาทิตย์ ลม แบตเตอรี่ช่วยให้เราสามารถสร้างพลังงานของเราเองได้ เรากำลังแฮ็กระบบชีววิทยาให้สามารถสร้างอาหารของตนเองได้ ในขณะเดียวกัน หุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์ และนาโนเทคโนโลยีจะช่วยให้เราสามารถสร้างสิ่งที่เราต้องการได้เกือบทั้งหมดด้วยต้นทุนเพียงเล็กน้อย เทคโนโลยีในยุคแห่งการสร้างสรรค์เหล่านี้ตอบสนองเรา และช่วยให้มีชีวิตที่ดีขึ้นได้

วิธีการมองโลกแบบใหม่จะเปิดพื้นที่ความเป็นไปได้ เราต้องการนักคิดอิสระรุ่นใหม่ เพื่อนำเอาเลนส์ใหม่ๆมาสู่โลก หากเป็นเช่นนั้น เราจะสร้างบทใหม่สำหรับมนุษยชาติ ซึ่งไม่เคยมีอารยธรรมใดเคยประสบมาก่อน เราเรียกมันว่ายุคแห่งอิสรภาพ

เราทุกคนคือลูกเรือบนโลกใบนี้ ทุกคนเป็นลูกเรือที่สามารถนำทางยานอวกาศนี้ได้ 

เขาเล่าว่า มนุษยชาติได้เห็นภาพดวงจันทร์ในทุกวันนี้ เพราะการมีเป้าหมายในอนาคต การคิดค้นนวัตกรรมเพื่อไปให้ถึงจุดนั้น หากเราไม่ได้ไปอวกาศโดย ไม่มีเทคโนโลยีล่าสุด นวัตกรรมล่าสุด เราจะไม่มีแม้แต่ภาพดวงจันทร์หรือภาพของโลกใบนี้  เขายกตัวอย่างว่า นักเศรษฐศาสตร์นิเวศวิทยาส่วนใหญ่มักมีเหตุผลที่ว่า เราทุกคนอยู่บนดาวดวงเดียวกัน ไม่มีพรมแดนของประเทศ เราอยู่ในเรือหรือเมืองที่เรามองไม่เห็นแม้แต่ภาษา พวกเราทั้งหมดอยู่บนยานอวกาศ 'Spaceship Earth' (ชื่อหนังสือที่เขียนโดย Buckminster Fuller) ที่เปรียบเทียบว่า เราทุกคนคือลูกเรือบนโลกใบนี้ ทุกคนเป็นลูกเรือที่สามารถนำทางยานอวกาศนี้ได้ ถึงแม้โลกของเราไม่ได้มาพร้อมกับคู่มือการใช้งาน เราจึงต้องร่วมกันกำหนดคู่มือการใช้งาน ซึ่ง Buckley เองได้กล่าวว่า SDG เป็นกรอบความรับผิดชอบหนึ่งในนั้น 

"เราต้องออกจาก Ego และมุ่งสู่ Eco" Marc Buckley ชวนตั้งคำถามถึงอนาคตของมนุษยชาติ บนฐานคิดเชิงนิเวศวิทยาที่ทุกชีวิตล้วนเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน

ในช่วงท้าย Marc ได้นำผู้ชมกลับมาที่นิยามความหมาย SDGs โดยเขาแย้งว่า เป้าหมายทั้ง 17 ข้อนั้นสร้างความสับสนกับผู้คน คนส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าเป้าหมายเหล่านี้มีจุดประสงค์เพื่ออะไร ทำให้หน้าที่ของ Marc คือ การเป็นตัวแทนในการสร้างความเข้าใจ และนำเสนอภาพในอนาคตแบบที่เขาเชื่อมั่น “นั่นคือสิ่งที่ผมกำลังทำงานอยู่ คุณไม่สามารถมุ่งเน้นเลือกทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้บรรลุผลได้ เพราะทั้งหมดเชื่อมโยงกันเป็นระบบ” Marc ทิ้งท้ายว่า เราควรลองมีมุมมองเชิงนิเวศน์มากขึ้น ไม่ว่าเพศใด เราทุกคนใช้ชีวิตอยู่ตรงกลางของระบบร่วมกับสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์อื่น ๆ 

“ลองนึกภาพโลกที่ไม่มีความยากจน ไม่มีความหิวโหย เรามีสุขภาพที่ดี มีความเป็นอยู่ที่ดี มีการศึกษาที่มีคุณภาพและความเท่าเทียมทางเพศเต็มรูปแบบในทุกที่ มีน้ำสะอาดและสุขาภิบาลสำหรับทุกคน พลังงานสะอาดและราคาไม่แพง สร้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน การลงทุนในอุตสาหกรรมเจริญรุ่งเรือง มีนวัตกรรมและโครงสร้างพื้นฐานที่เข้าถึงได้และลดความเหลื่อมล้ำ เราอาศัยอยู่ในเมืองและชุมชนที่ยั่งยืน มีความรับผิดชอบต่อการบริโภคและการผลิต ได้รับความสงบสุขและความยุติธรรมผ่านสถาบันที่เข้มแข็งมีเป้าหมายในระยะยาวด้วยกัน”

"เราต้องออกจาก Ego และมุ่งสู่ Eco" Marc Buckley ชวนตั้งคำถามถึงอนาคตของมนุษยชาติ บนฐานคิดเชิงนิเวศวิทยาที่ทุกชีวิตล้วนเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน

เราต้องออกจาก Ego และมุ่งสู่ Eco การใช้ชีวิตที่รู้จักเสียสละในฐานะสมาชิกลูกเรือเพื่อขับเคลื่อนยานอวกาศที่ชื่อโลก สร้างอนาคตใหม่ที่ไม่ใช่แค่เพื่อมนุษยชาติรุ่นต่อมาเท่านั้น แต่สำหรับทุกชีวิต

"เราต้องออกจาก Ego และมุ่งสู่ Eco" Marc Buckley ชวนตั้งคำถามถึงอนาคตของมนุษยชาติ บนฐานคิดเชิงนิเวศวิทยาที่ทุกชีวิตล้วนเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

One Bangkok จับมือ 5 สถาบันการเงินชั้นนำ รับดีล Green Loan สูงสุดในประวัติการณ์เพื่อพัฒนาโครงการ

One Bangkok ประกาศลงนามสัญญาสินเชื่อสีเขียวระยะยาวเพื่อพัฒนาโครงการมูลค่า 5 หมื่นล้านบาทร่วมกับ 5 สถาบันการเงินชั้นนำของประเทศไทย ประกอบด้วย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศ...

Responsive image

เจาะลึกวิกฤตน้ำกับ TCP เมื่อน้ำกำลังจะกลายเป็นของหายาก

วิกฤตน้ำทั่วโลกส่งผลกระทบหนักต่อระบบนิเวศและเศรษฐกิจ TCP เสนอแนวทางแก้ไขผ่าน Nature-based Solutions และกลยุทธ์บริหารจัดการน้ำ เพื่อสร้างความยั่งยืนให้ธุรกิจไทยในยุคโลกร้อน...

Responsive image

David Capodilupo จาก MIT Sloan เปิดเหตุผลตั้งสำนักงานในไทย ต้นแบบสู้ Climate Change อาเซียน

David Capodilupo ผู้ช่วยคณบดีด้านโครงการระดับโลกของ MIT Sloan เผยเหตุผลที่สถาบันเข้ามาตั้งสำนักงานในไทย เพื่อให้ไทยเป็นฮับอาเซียน ในการส่งเสริมการเรียนการสอน การวิจัยพัฒนา การแก้ปั...